ข้ามไปเนื้อหา

จูไห่

พิกัด: 22°16′18″N 113°34′37″E / 22.2716°N 113.5769°E / 22.2716; 113.5769
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จูไห่

珠海
สถานที่ต่าง ๆ ในนครจูไห่
สมญา: 
เมืองโรแมนติก (浪漫之城); เมืองร้อยเกาะ (百岛之城)
ที่ตั้งของนครจูไห่ในมณฑลกวางตุ้ง
ที่ตั้งของนครจูไห่ในมณฑลกวางตุ้ง
แผนที่
จูไห่ตั้งอยู่ในประเทศจีน
จูไห่
จูไห่
ที่ตั้งในประเทศจีน
พิกัด: 22°16′18″N 113°34′37″E / 22.2716°N 113.5769°E / 22.2716; 113.5769
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลกวางตุ้ง
ศูนย์กลางการปกครองเขตเซียงโจว (香洲区)
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคกัว หย่งหาง (郭永航)
 • นายกเทศมนตรีเหยา อี้เชิง (姚奕生)
พื้นที่
 • นครระดับจังหวัด1,724.32 ตร.กม. (665.76 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ690 ตร.กม. (270 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง1,724.32 ตร.กม. (665.76 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล17,572.9 ตร.กม. (6,784.9 ตร.ไมล์)
ความสูง36 เมตร (118 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโนปี 2010[1])
 • นครระดับจังหวัด1,562,530 คน
 • ความหนาแน่น910 คน/ตร.กม. (2,300 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง1,562,530 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง910 คน/ตร.กม. (2,300 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล44,478,513 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล2,500 คน/ตร.กม. (6,600 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์519000
รหัสพื้นที่0756
รหัส ISO 3166CN-GD-04
คำนำหน้าทะเบียนรถ粤C
– ทั้งหมดCNY 222.63 พันล้าน (2015)[2]
– ต่อหัวCNY 134,500
USD 20,200 (2015) [2]
เว็บไซต์zhuhai.gov.cn
จูไห่
"จูไห่" ในภาษาจีน
ภาษาจีน珠海
เยลกวางตุ้งJyū-hói
ความหมายตามตัวอักษร"ทะเลไข่มุก"

จูไห่ (จีน: 珠海; พินอิน: Zhūhǎi; เยล: Jyūhói) เป็นนครระดับจังหวัดตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของชะวากทะเลของแม่น้ำเพิร์ล บนชายฝั่งตอนกลางของมณฑลกวางตุ้งตอนใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่บริเวณมุมตะวันออกเฉียงใต้ของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ความหมายของจูไห่เมื่อแปลตรงตัวคือ "ทะเลไข่มุก" ซึ่งมาจากสถานที่ตั้งของเมืองซึ่งอยู่ติดปากแม่น้ำเพิร์ลไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ ทิศตะวันตกของจูไห่ติดกับเจียงเหมิน ทิศเหนือติดกับจงชาน และทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับมาเก๊า และมีอาณาเขตทางทะเลติดกับเชินเจิ้นและฮ่องกงทางตะวันออกเฉียงเหนืออีกฝั่งของปากแม่น้ำ

จูไห่เป็นหนึ่งในสี่เขตเศรษฐกิจพิเศษในช่วงแรกที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1980 และเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำของจีนที่เรียกว่า ริเวียร่าของจีน (Chinese Riviera) แม้ว่าเมืองนี้จะตั้งอยู่ในภูมิภาคที่พูดภาษากวางตุ้ง แต่ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้ที่พูดภาษาจีนกลางที่อพยพมาจากมณฑลทางตอนในของประเทศ

ศูนย์กลางเมืองของจูไห่ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเขตการปกครองนครจูไห่ เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่รอบอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Guangdong-Hong Kong-Macau Greater Bay Area) ซึ่งเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยจำนวนผู้อยู่อาศัยกว่า 44,478,513 คน ตามข้อมูลสำมะโนประชากรปี 2010 ซึ่งครอบคลุม เชินเจิ้น ตงกว่าน ฝัวชาน จงชาน มาเก๊า ฮ่องกง ส่วนใหญ่ของกว่างโจว และส่วนเล็ก ๆ ของเจียงเหมินและฮุ่ยโจว

จากรายงานของสถาบันสังคมศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2014 ระบุว่าจูไห่เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในประเทศจีน[3]

ภูมิอากาศ

[แก้]

จูไห่มีสภาพอากาศชื้นแบบกึ่งเขตร้อน ได้รับผลกระทบจากลมมรสุมเอเชียตะวันออก (เขตภูมิอากาศเคิพเพินแบบ Cwa) ซึ่งควบคุมโดยทะเลจีนใต้ โดยมีฤดูร้อนที่ยาวนาน อากาศร้อนและชื้น มีพายุฝนฟ้าคะนองบ่อย และฤดูหนาวที่สั้น อบอุ่นและแห้งแล้ง อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในเดือนมกราคมและกรกฎาคมอยู่ที่ 18 และ 32 °C (64 และ 90 °F) ตามลำดับ ไม่มีหิมะและไม่เคยมีการบันทึกน้ำค้างแข็งในบริเวณใจกลางเมือง ในทางกลับกัน คลื่นความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงจะไม่ปรากฏขึ้นในขณะที่เคลื่อนเข้าสู่แผ่นดิน จูไห่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดแห่งหนึ่งของจีน จึงมีโครงการอสังหาริมทรัพย์มากมายที่นี่ ผู้อยู่อาศัยจากแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มาจากทางเหนือ จะซื้อบ้านและใช้เวลาช่วงฤดูหนาวในจูไห่

ข้อมูลภูมิอากาศของจูไห่ (ค.ศ. 1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 27.8
(82)
28.8
(83.8)
30.5
(86.9)
33.2
(91.8)
35.3
(95.5)
36.8
(98.2)
38.7
(101.7)
37.3
(99.1)
36.3
(97.3)
34.8
(94.6)
32.9
(91.2)
29.1
(84.4)
38.7
(101.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 18.6
(65.5)
18.9
(66)
21.5
(70.7)
25.4
(77.7)
28.9
(84)
30.8
(87.4)
32.0
(89.6)
31.9
(89.4)
30.6
(87.1)
28.4
(83.1)
24.4
(75.9)
20.2
(68.4)
25.97
(78.74)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 15.1
(59.2)
15.8
(60.4)
18.4
(65.1)
22.3
(72.1)
25.7
(78.3)
27.7
(81.9)
28.5
(83.3)
28.3
(82.9)
27.3
(81.1)
25.0
(77)
21.0
(69.8)
16.6
(61.9)
22.64
(72.76)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 12.6
(54.7)
13.7
(56.7)
16.3
(61.3)
20.4
(68.7)
23.5
(74.3)
25.5
(77.9)
25.9
(78.6)
25.8
(78.4)
24.8
(76.6)
22.5
(72.5)
18.4
(65.1)
13.9
(57)
20.28
(68.5)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 1.6
(34.9)
3.0
(37.4)
2.7
(36.9)
9.4
(48.9)
14.8
(58.6)
18.6
(65.5)
20.9
(69.6)
20.9
(69.6)
17.4
(63.3)
10.5
(50.9)
5.2
(41.4)
2.2
(36)
1.6
(34.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 27.0
(1.063)
57.0
(2.244)
83.1
(3.272)
197.7
(7.783)
298.3
(11.744)
347.1
(13.665)
278.6
(10.969)
337.4
(13.283)
223.2
(8.787)
75.1
(2.957)
43.8
(1.724)
31.0
(1.22)
1,999.3
(78.713)
ความชื้นร้อยละ 74 81 85 86 85 85 83 84 80 74 71 69 79.8
แหล่งที่มา: China Meteorological Data Service Center

อ้างอิง

[แก้]
  1. "China: Guăngdōng (Prefectures, Cities, Districts and Counties) - Population Statistics, Charts and Map". www.citypopulation.de. 16 กรกฎาคม 2021.
  2. 2.0 2.1 2016年珠海市国民经济和社会发展统计公报 (ภาษาจีนตัวย่อ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กรกฎาคม 2018.
  3. 社科院:珠海取代香港成为最宜居城市] 网易新闻. 163.com news. 9 พฤษภาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]