พายุโซนร้อนกำลังแรงนกเต็น (พ.ศ. 2554)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA) | |||
---|---|---|---|
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS) | |||
![]() | |||
ก่อตัว | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | ||
สลายตัว | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | ||
ความเร็วลม สูงสุด |
| ||
ความกดอากาศต่ำสุด | 984 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.06 นิ้วปรอท) | ||
ผู้เสียชีวิต | เสียชีวิตมากกว่า 55 คน สูญหาย 26 คน | ||
ความเสียหาย | 99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2011) | ||
พื้นที่ได้รับ ผลกระทบ |
ฟิลิปปินส์ จีน เวียดนาม ลาว ไทย | ||
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 |
พายุโซนร้อนกำลังแรงนกเต็น เป็นพายุหมุนเขตร้อนซึ่งสร้างความเสียหายแก่ตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นพายุลูกที่แปดที่ได้รับการตั้งชื่อและพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรงลูกที่สี่ในฤดูไต้ฝุ่นแปซิฟิก 2554 นกเตน ตั้งตามชื่อนกชนิดหนึ่งที่พบในประเทศลาว ขึ้นฝั่งแล้ว 3 ครั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 55 คน และสร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 99 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[1]
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา[แก้]

พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม


วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 บริเวณความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของฟิลิปปินส์[2] ระบบค่อย ๆ เคลื่อนตัวมาทางตะวันตกในอีกหลายวันถัดมา และในวันที่ 24 กรกฎาคม ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) เริ่มเฝ้าติดตามสังเกตระบบดังกล่าวซึ่งเป็นพายุดีเปรสชัน[3] วันรุ่งขึ้น สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวเป็นพายุดีเปรสชัน[4] อีกไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง สำนักงานด้านบรรยากาศ ภูมิฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ของฟิลิปปินส์ (PAGASA) เริ่มเฝ้าติดตามสังเกตระบบดังกล่าวที่เป็นพายุดีเปรสชัน และตั้งชื่อว่า "Juaning"[5] ระบบดังกล่าวเคลื่อนตัวมาทางตะวันตกอย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อถึงเที่ยงคืนของวันนั้น JMA ได้ยกระดับระบบดังกล่าวเป็น พายุหมุนเขตร้อน และตั้งชื่อว่า นกเตน[6]
วันที่ 27 กรกฎาคม JMA รายงานว่า นกเตนยังคงทวีความรุนแรงขึ้นและยกระดับความรุนแรงอีกครั้งเป็นพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรง [7]อีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมา JTWC รายงานว่า นกเตนทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 อย่างรวดเร็ว และเริ่มขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์และค่อยอ่อนกำลังลง[8] ในวันเดียวกัน JMA รายงานว่า นกเตนพัดออกจากเกาะลูซอนแต่ยังคงมีความรุนแรงเป็นพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรงอยู่[9] อย่างไรก็ตาม ชั่วข้ามคืน พายุกลับอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วและ JMA ลดระดับพายุลงเหลือพายุหมุนเขตร้อนกำลังเบาในวันรุ่งขึ้น[10]
วันที่ 29 กรกฎาคม พายุกลับค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้งและมุ่งหน้าเข้าสู่ชายฝั่งทางใต้ของจีน และขึ้นฝั่งที่ฉงไห่[11] วันเดียวกัน พายุทวีความรุนแรงขึ้นขณะพัดอยู่เหนือพื้นดินและมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปยังไหโข่ว เมืองหลวงของมณฑลไหหนาน[12] พายุดังกล่าวอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และเที่ยงคืนวันนั้น JMA ซึ่งออกประกาศเตือนครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับระบบ ลดความรุนแรงลงเหลือหย่อมความกดอากาศต่ำ[13]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Philippine storm toll hits 52 as more go missing". MCIL Multimedia Sdn Bhd. สืบค้นเมื่อ 31 July 2011.
- ↑ "NWS Guam – Tropical Weather Advisory 1 for Pre-Tropical storm Nock-ten". National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-23. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
- ↑ "JTWC – Tropical Depression 10W – Warning 001". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
- ↑ "JMA Tropical Cyclone Advisory 250000". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-18. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
- ↑ "PAGASA – Severe Weather Bulletin Number ONE". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-17. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
- ↑ "JMA Tropical Cyclone Advisory – 260000". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-26. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
- ↑ "JMA Tropical Cyclone Advisory – 270600". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "JTWC – Typhoon 10W – Warning 11". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
- ↑ "JMA Tropical Cyclone Advisory – 271200". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
- ↑ "JMA Tropical Cyclone Advisory – 280600". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
- ↑ "JMA – Tropical Storm Advisory 290900 – Tropical Storm Nock-ten". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 29 July 2011.
- ↑ "JMA Tropical Cyclone Advisory 291200 – Tropical Storm nock-ten". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-19. สืบค้นเมื่อ 29 July 2011.
- ↑ "JMA – Tropical Cyclone Advisory 310000 – Post-Tropical Storm Nock-ten". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 31 July 2011.