คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Dentistry, Chiang Mai University | |
สถาปนา | 31 มีนาคม พ.ศ. 2515 |
---|---|
คณบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์ นฤมนัส คอวนิช[1] |
ที่อยู่ | ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 |
วารสาร | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร (CMDJ) |
สี | สีม่วงเข้ม |
เว็บไซต์ | http://www.dent.cmu.ac.th/ |
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Dentistry, Chiang Mai University) จัดตั้งเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นแห่งที่ 3 ของประเทศไทยต่อจากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และยังเป็นเป็นเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในเขตภูมิภาค มีอาจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.ถาวร อนุมานราชธน ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรก
ประวัติ
[แก้]คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มต้นจากแผนกทันตกรรมของโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2502 มีการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น แผนกทันตกรรม โดยมีทันตแพทย์หญิง ดร.ถาวร อนุมานราชธน เป็นหัวหน้าแผนก จึงมีฐานะเป็นแผนกทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต่อมามีการโอนย้ายคณะแพทยศาสตร์เข้าสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แผนกทันตกรรมจึงเปลี่ยนเป็นแผนกหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2508[2]
สถานที่ทำงานเดิมในช่วงที่เป็นแผนกทันตกรรมนั้น อยู่บนชั้นสองของอาคารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตึกผู้ป่วยนอกของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ห้องทำงานของแผนกทันตกรรมจะมีอยู่ 2 ห้อง ซึ่งประกอบด้วยห้องตรวจ ห้องเอกซเรย์ และห้องอุดฟันที่ใช้ร่วมกัน 1 ห้อง และห้องถอนฟันอีก 1 ห้อง โดยอาจารย์ทันตแพทย์ที่ทำการสอนจะหมุนเวียนกันเป็นอาจารย์แต่ละห้อง และหลังจากที่ได้เป็นภาควิชาทันตแพทยศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2511 แล้วก็ยังคงใช้ห้อง 2 ห้องนั้นเป็นสถานที่ทำงานอยู่ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2512 คณะแพทยศาสตร์ย้ายสถานที่ทำงานไปยังตึก 7 ชั้นที่สร้างใหม่ ภาควิชาทันตแพทยศาสตร์จึงดัดแปลงอาคารเดิมที่อยู่ เป็นห้องทำงานของภาควิชา (แม้จะได้รับการประกาศเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์แล้ว ก็ยังใช้สถานที่นี้ทำการสอน การวิจัย และบริการผู้ป่วยเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2519)
แผนกทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มเปิดสอนสาขาทันตแพทยศาสตร์ในส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรกปี พ.ศ. 2509 โดยคณาจารย์ที่ทำการสอนเป็นทันตแพทย์ในแผนกทันตกรรมของคณะแพทยศาสตร์ ประกอบด้วยอาจารย์ประจำ 9 ท่าน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2511 สำนักนายกรัฐมนตรี มีประกาศยกฐานะแผนกทันตกรรม ขึ้นเป็นภาควิชาทันตแพทยศาสตร์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และต่อมาวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2515 มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้จัดตั้งเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค[3] ด้วยการรับนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีและงานในสาขาต่างๆ มีบุคลากรเพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานที่เดิมของคณะทันตแพทยศาสตร์ค่อนข้างคับแคบ คณะฯ จึงได้รับการอนุมัติให้สร้างอาคารที่ทำการถาวรขึ้นในที่ดินของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 11 ไร่ บนถนนสุเทพ ตรงข้ามวัดสวนดอก ปัจจุบันมีอาคารสำนักงาน ห้องบรรยาย ห้องปฏิบัติการ คลินิก และศูนย์วิจัยต่างๆ รวมทั้งสิ้น 9 อาคาร
โครงสร้างคณะ
[แก้]คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งโครงสร้างคณะดังนี้[4]
- สำนักงานคณะ
- ภาควิชาชีววิทยาช่องปากและวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก เก็บถาวร 2017-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาควิชาทันตกรรมครอบครัวและชุมชน เก็บถาวร 2017-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาควิชาทันตกรรมจัดฟันและทันตกรรมสำหรับเด็ก เก็บถาวร 2017-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาควิชาทันตกรรมบูรณะและปริทันตวิทยา เก็บถาวร 2017-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ เก็บถาวร 2017-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เก็บถาวร 2017-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โรงพยาบาลทันตกรรม เก็บถาวร 2017-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คลินิกทันตกรรมพิเศษ เก็บถาวร 2017-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]ปัจจุบัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดทำการเรียนการสอนในสาขาวิชาดังต่อไปนี้
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[5] | ||
---|---|---|
ระดับปริญญาบัณฑิต | ||
ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
หลักสูตรทันแพทยศาสตรบัณฑิต (ทพ.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.ม.)
|
ไม่มีการเรียนการสอน |
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต[6] | |
---|---|
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต | ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง |
หลักสูตร ป.กศ. ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
|
หลักสูตร ป.กศ.ชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (ทันตแพทยศาสตร์)
|
รายนามคณบดี
[แก้]ทำเนียบคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | ||
รายนามคณบดี | ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
| |
---|---|---|
1. ดร. ทันตแพทย์หญิง ถาวร อนุมานราชธน | พ.ศ. 2515 - 2521 | |
2. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ พิชิต โคตรจรัส | พ.ศ. 2521 - 2525 | |
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ สัมพันธ์ ศรีสุวรรณ | พ.ศ. 2525 - 2533 | |
4. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ทะนง ฉัตรอุทัย | พ.ศ. 2533 - 2537 | |
5. รองศาสตราจารย์ ร้อยเอก ทันตแพทย์ ธำรง อนันตศานต์ | พ.ศ. 2537 - 2540 | |
6. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ วิรัช พัฒนาภรณ์ | พ.ศ. 2541 - 2549 | |
7. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ทองนารถ คำใจ | พ.ศ. 2549 - 2557 | |
8. รองศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์ สิทธิชัย วนจันทรรักษ์ | พ.ศ. 2557 - 2561 | |
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์ นฤมนัส คอวนิช | พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ↑ พระราชบัญญัติ โอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ราชกิจจานุเบกษา หน้า 154 เล่ม 82 ตอน 26 วันที่ 30 มีนาคม 2508
- ↑ ประวัติคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ↑ โครงสร้างองค์กร
- ↑ หลักสูตร
- ↑ หลักสูตร