ข้ามไปเนื้อหา

การปฏิวัติเงียบสงบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กำแพงเบอร์ลินที่ประตูบรันเดินบวร์ค, 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989

การปฏิวัติเงียบสงบ (เยอรมัน: Friedliche Revolution) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่นำไปสู่การเปิดชายแดนของเยอรมนีตะวันออกและตะวันตก จุดสิ้นสุดของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี(SED)ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี(เยอรมนีตะวันออก) และการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งนำไปสู่การรวมประเทศของเยอรมนีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1990 สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มาจากการริเริ่มและการเดินขบวนที่ไม่ใช้ความรุนแรง การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ถูกเรียกในภาษาเยอรมันว่า Die Wende (เสียงอ่านภาษาเยอรมัน: [diː ˈvɛndə], "จุดเปลี่ยน")

เหตุการณ์เหล่านี้เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการตัดสินใจของผู้นำโซเวียต มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ที่จะละทิ้งอำนาจโซเวียตในยุโรปตะวันออก รวมทั้งขบวนการปฏิรูปที่แผ่ขยายไปทั่วประเทศกลุ่มตะวันออก นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต การขาดความาสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี รวมทั้งหนี้สินของชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความไม่มั่นคงในสถานะรัฐพรรคการเมืองเดียวของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี

การขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปในสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี ได้รวมถึงกลุ่มปัญญาชนและคริสจักรชนที่อยู่ในการคัดค้านใต้ดินเป็นเวลาหลายปี ผู้คนที่พยายามหลบหนีออกจากประเทศ และผู้ประท้วงอย่างสันติที่ไม่ยอมทนต่อการคุกคามจากความรุนแรงและการกดขี่ข่มเหง

เพราะการไม่เป็นมิตรกับการตอบสนองต่อการปฏิรูปการดำเนินภายใน"ดินแดนภราดรภาพสังคมนิยม" ความเป็นผู้นำของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนั้นโดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ ภายในกลุ่มประเทศตะวันออก เมื่อได้รับอนุญาตให้เปิดชายแดนที่กำแพงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 ผ่านการเปลี่ยนแปลงความเป็นผู้นำและความเต็มใจที่จะเจรจา พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีพยายามที่จะเอาชนะความคิดริเริ่มทางการเมือง แต่การควบคุมสถานการณ์ได้ทวีคูณมากขึ้นกับรัฐบาลเยอรมันตะวันตกภายใต้การนำโดยเฮ็ลมูท โคล

ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1989 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีของนายกรัฐมนตรี ฮันส์ โมโดร ได้มีอิทธิพลจากการประชุมบนกลางโต๊ะกลม ซึ่งนำไปสู่การดำเนินทำการยุบหน่วยสตาซีและเตรียมการเลือกตั้งแบบเสรี ภายหลังชนะการเลือกตั้งเพื่อพรรคร่วมกันที่สนับสนุนการรวมประเทศเยอรมนี เส้นทางการเมืองภายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีได้กระจ่างแจ้งแล้ว

ช่วงเวลา

[แก้]
การเข้าคิวอยู่นอกธนาคารในเมืองเกร่า, เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1990, วันที่เยอรมนีตะวันออกได้นำสกุลเงินเยอรมนีตะวันตกมาใช้.

เหตุการณ์ที่สำคัญ:

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Childs, David (2014) The Fall of the GDR. Abingdon: Routledge.
  2. On this day: 27 June - the Iron Curtain was breached. European Parliament, 26 June 2009. Retrieved 8 August 2019
  3. Walker, Shaun (18 August 2019) How a pan-European picnic brought down the iron curtain on Guardian Online. Retrieved 20 August 2019
  4. "Geschichte der Bundesrepublik". www.hdg.de (ภาษาเยอรมัน). Stiftung Deutsches Historisches Museum. สืบค้นเมื่อ 29 June 2018.
  5. Tomforde, Anna (19 Oct 1989) East Germans oust Honecker in The Guardian. Retrieved 4 August 2019
  6. 6.0 6.1 How ordinary people smashed the Stasi in The Local.de, 4 December 2014. Retrieved 25 July 2019
  7. Vilasi, Antonella Colonna (2015). The History of the Stasi. Bloomington, Indiana: AuthorHouse. ISBN 9781504937054. สืบค้นเมื่อ 2 September 2019.
  8. Illmer, Andreas (18 March 2010) [1] on DW.com. Retrieved 8 August 1990
  9. 9.0 9.1 9.2 Bromley, Joyce E. (2017) German Reunification: Unfinished Business. Abingdon-on-Thames:Routledge on Google Books. Retrieved 8 August 2019.