ข้ามไปเนื้อหา

เดอะมอลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก The Mall)
สัญลักษณ์ของเดอะมอลล์
เอ็ม ไลฟ์สโตร์ ท่าพระ
เอ็ม ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน
เอ็ม ไลฟ์สโตร์ บางแค (ก่อนปรับปรุง)
เอ็ม ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ
เดอะมอลล์ โคราช

เอ็ม ไลฟ์สโตร์ (อังกฤษ: M Lifestore) และ เดอะมอลล์ (อังกฤษ: The Mall) เป็นศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย โดยมีเจ้าของ คือ กลุ่มเดอะมอลล์ หรือบริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด[1] มีสาขา ได้แก่ รามคำแหง, ท่าพระ, งามวงศ์วาน, บางแค, บางกะปิ และนครราชสีมา นอกจากนี้บางสาขายังมีสวนน้ำ และสวนสนุกด้วย

เดอะมอลล์สาขาแรก เปิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2524 บริหารงานโดยศุภชัย อัมพุช เจ้าของธุรกิจอาบอบนวดหลายแห่งบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ปัจจุบันเดอะมอลล์บริหารงานโดยสุรัตน์ อัมพุช และศุภลักษณ์ อัมพุช บุตรสาวของศุภชัย

นอกจากนี้ เอ็มโพเรียม, เอ็มควอเทียร์, เอ็มสเฟียร์, สยามพารากอน และบลูพอร์ต ก็เป็นธุรกิจในเครือเดอะมอลล์ด้วย

ประวัติ

[แก้]

ตระกูลอัมพุชที่ทำธุรกิจบันเทิงหลายแห่งย่านถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ซึ่งในขณะนั้นศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าอื่นยังไม่ตื่นตัว ได้นำเอาศูนย์รวมความบันเทิงมาเป็นจุดขาย หลังจากเปิดสาขาแรกที่เดอะมอลล์ราชดำริ แต่ก็ต้องปิดตัวไปในปี พ.ศ. 2531 เนื่องจากขาดทุน ไม่มีค่าเช่าห้าง ศุภลักษณ์ อัมพุช วิเคราะห์ปัญหาว่า ปัญหาของเดอะมอลล์ ราชดำริ เกิดจาก มีที่จอดรถไม่ดีและสถานที่ห้างเล็กไป บันไดเลื่อนวางไม่ดี ทางเข้าแคบไป แม้ทางเข้าจะมีคนเข้าออกมากมาย มีโฆษณาที่ดี คอนเซปต์ที่ดี ออกแบบร้านที่ดูดี มีสินค้าดี แต่ก็ขาดทุน[2] ประกอบกับเกิดเหตุไฟไหม้อาคาร ภายหลังได้ให้ บริษัท นารายณ์ภัณฑ์พาวิลเลี่ยน จำกัด เช่าพื้นที่เป็นศูนย์ศิลปหัตถกรรมไทย[3] กระทั่งหมดสัญญา ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าว คือเกษรทาวเวอร์ [4][5] เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เกษรวิลเลจ จากนั้นอีกสองปีต่อมา ได้เปิดบริการสาขารามคำแหง 2 และในอีกสองปีหลังจากนั้นได้เปิดบริการเดอะมอลล์ 3 และเดอะมอลล์ 4 ปัจจุบันเดอะมอลล์ 4 ได้ปิดตัวลง ต่อมาได้ขยับขยายเปิดห้างสรรพสินค้าย่านฝั่งธนฯ ด้วยเหตุผลที่ว่า ฝั่งธนบุรียังมีพื้นที่สีเขียวว่างอยู่ทางตะวันตก ขณะนั้นบริเวณนั้นก็ยังไม่มีห้างสรรพสินค้าอยู่เลยแม้จะเป็นบริเวณที่มีคนอาศัยกันอยู่หนาแน่น[2] จึงเปิดเดอะมอลล์ 1 แห่งใหม่ ณ ท่าพระ ในปี พ.ศ. 2532 เป็นห้างแบบครบวงจร และมีสวนน้ำลอยฟ้าอยู่ชั้นบนสุดของห้าง แต่ปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2550 เพราะเจอเสาร้าวและทรุดตัว 5 ต้น และยกเลิกสวนน้ำ มาเป็นโรงหนังและฟิตเนสแทน[6] ต่อด้วยเดอะมอลล์ 5 งามวงศ์วาน ในปี พ.ศ. 2534 และเปิดเดอะมอลล์ 2 สาขาพร้อมกัน คือ เดอะมอลล์ 6 บางแค และ เดอะมอลล์ 7 บางกะปิ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2537 จนมาเปิดสาขาต่างจังหวัดแห่งแรกที่เดอะมอลล์ โคราช จังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2543

ในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการปรับปรุงเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เป็นเอ็ม ไลฟ์สโตร์ และต่อมาสาขาท่าพระ, บางแค และบางกะปิ ก็ได้มีการปรับปรุงเช่นกัน ทั้งนี้ กลุ่มเดอะมอลล์มีกำหนดปรับปรุงสาขาโคราชและก่อสร้างใหม่ที่สาขารามคำแหง 2 พร้อมกันในลำดับถัดไป

ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า

[แก้]

เดอะมอลล์มีจำนวนสาขาทั้งหมด 8 สาขา 9 สาขา ตามลำดับ ปัจจุบันได้เปิดให้บริการทั้งหมด 8 สาขา ได้แก่

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

[แก้]
สาขา วันที่เริ่มเปิดบริการ รูปแบบการพัฒนาโครงการ เขต/อำเภอ จังหวัดที่ตั้ง พื้นที่รวม (ตร.ม.) ร้านค้าหลัก รายละเอียดโครงการ
เดอะมอลล์
รามคำแหง 2 หรือ รามคำแหง ซอย 12 22 ธันวาคม พ.ศ. 2526 (ปิดปรับปรุง วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561) โครงการก่อสร้าง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 230,000 ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์, บิวตี้ ฮอลล์, สปอร์ตสมอลล์, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, กูร์เมต์ อีทส์, โรงภาพยนตร์ ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง ซอย 12 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอาคารนี้ถูกรื้อถอน และกำลังอยู่ระหว่างทำแบบพัฒนาโครงการ เพื่อทำการก่อสร้างใหม่ เป็นเอ็ม ไลฟ์สโตร์
รามคำแหง 3 หรือ รามคำแหง ซอย 15,17 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 โครงการก่อสร้าง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ไม่มีข้อมูล ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์, โฮม เฟรช มาร์ท ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง ระหว่างซอยรามคำแหง 15 กับซอยรามคำแหง 17 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
เอ็มไลฟ์สโตร์
ท่าพระ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2532
2 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ท่าพระ)
โครงการก่อสร้าง เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 150,000[7] ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์, บิวตี้ ฮอลล์, สปอร์ตสมอลล์, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, กูร์เมต์ อีทส์, เอสเอฟ ซีเนม่า, ฮาร์เบอร์แลนด์, ฟิตเนส เฟิร์สท์ ชื่อเดิม "เดอะมอลล์ ธนบุรี"[ต้องการอ้างอิง] ตั้งอยู่บนถนนรัชดาภิเษกช่วงท่าพระ ใกล้ทางแยกรัชดา-ราชพฤกษ์ และสถานีตลาดพลู แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
งามวงศ์วาน 22 ธันวาคม พ.ศ. 2534
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 (เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน)
โครงการก่อสร้าง อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 302,232[8] ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์, บิวตี้ ฮอลล์, สปอร์ตสมอลล์, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, กูร์เมต์ อีทส์, เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า, ฟิตเนส เฟิร์สท์, สวนน้ำแฟนตาเซียลากูน, ฮาร์เบอร์แลนด์, เดอะมอลล์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เป็นสาขาแรกที่ย้ายจากราชดำริและตั้งอยู่บนถนนงามวงศ์วาน ใกล้ทางแยกพงษ์เพชร ตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ติดกับโรงพยาบาลนนทเวช
บางแค 5 สิงหาคม พ.ศ. 2537
29 มีนาคม พ.ศ. 2567 (เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางแค)
โครงการก่อสร้าง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 350,000 ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์, บิวตี้ ฮอลล์, สปอร์ตสมอลล์, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, กูร์เมต์ อีทส์, เอสเอฟ ซีเนม่า, ฟิตเนส เฟิร์สท์, สวนน้ำฮาร์เบอร์ไอส์แลนด์, เมกาฮาเบอร์แลนด์, เอสบี ดีไซน์ สแควร์, เดอะมอลล์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม บริเวณทางแยกต่างระดับถนนเพชรเกษม (ฝั่งขาเข้า) ตัดถนนกาญจนาภิเษก (ฝั่งตะวันตก) แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
บางกะปิ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2537
8 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ)
โครงการก่อสร้าง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 350,000 ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์, บิวตี้ ฮอลล์, สปอร์ตสมอลล์, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, กูร์เมต์ อีทส์, บางกะปิ ซีนีเพล็กซ์, ฟิตเนส เฟิร์สท์, สวนน้ำฮาร์เบอร์ไอส์แลนด์, เมกาฮาเบอร์แลนด์, เดอะมอลล์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ตั้งอยู่บนถนนลาดพร้าว เยื้องห้างสรรพสินค้า โลตัส สาขาบางกะปิ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

ภูมิภาค

[แก้]
สาขา วันที่เริ่มเปิดบริการ รูปแบบการพัฒนาโครงการ เขต/อำเภอ จังหวัดที่ตั้ง พื้นที่รวม (ตร.ม.) ร้านค้าหลัก รายละเอียดโครงการ
เดอะมอลล์
โคราช 10 สิงหาคม พ.ศ. 2543 โครงการก่อสร้าง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา 350,000 ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์, บิวตี้ ฮอลล์, สปอร์ตสมอลล์, บีเทรนด์, เพาเวอร์มอลล์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, เดอะมอลล์ ฟู๊ดฮออล์, โคราช ซีนีเพล็กซ์, เอสบี ดีไซน์ สแควร์, ฟิตเนส เฟิร์สท์, เดอะริงก์ ไอซ์ สเก็ต, สนามสกีในร่ม, สวนน้ำแฟนตาเซียลากูน, สวนสนุกวันเดอร์แพลเน็ต, อาคารสำนักงานเดอะมอลล์ โคราช ความสูง 10 ชั้น, อาคารที่พักอาศัยเดอะมอลล์ โคราช ความสูง 16 ชั้น, เดอะมอลล์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โคราช ตั้งอยู่บริเวณถนนมิตรภาพ ในพื้นที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นศูนย์การค้าในเครือเดอะมอลล์แห่งแรกในจังหวัดภูมิภาค (นอกเขตกรุงเทพและปริมณฑล) ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างทำแบบพัฒนาโครงการ เพื่อทำการปรับปรุงใหม่ เป็นเอ็ม ไลฟ์สโตร์

เอ็มซีซี ฮอลล์

[แก้]

เอ็มซีซี ฮอลล์ (อังกฤษ: MCC Hall) มีชื่อเต็มว่า เดอะมอลล์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เป็นโถงสำหรับการแสดงสินค้า การประชุม และคอนเสิร์ต ภายในศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 4 แห่ง คือ

  1. สาขาบางกะปิ
  2. สาขางามวงศ์วาน
  3. สาขาโคราช
  4. สาขาบางแค

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เกี่ยวกับกลุ่มเดอะมอลล์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-01. สืบค้นเมื่อ 2016-01-15.
  2. 2.0 2.1 ธนวัฒน์ ทรัพย์ไพบูลย์ (2556). กลยุทธ์สู่ความร่ำรวยตระกูล "มหาเศรษฐีอาเซียน". กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ. ISBN 9786167536415.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  4. "สรุปอาณาจักร THE MALL". www.longtunman.com. 2017-11-01.
  5. "Bangkok | Gaysorn Village". SkyscraperCity Forum (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-08-25.
  6. เปิดประวัติ “เดอะมอลล์” ศูนย์การค้าที่เติบโตคู่คนไทยมาตั้งแต่ ยุค 80s
  7. ช้อปสนุกและฟินกว่าเดิม!! เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ท่าพระ จุดหมายใหม่ล่าสุดของชาวฝั่งธนฯ
  8. เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน 29 ปี ก้าวสู่ไลฟ์สโตร์ การเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]