ภาษาปัญจาบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Punjabi language)
ปัญจาบ
ਪੰਜਾਬੀ, پن٘جابی
ออกเสียง
ประเทศที่มีการพูดปากีสถานและอินเดีย
ภูมิภาคภูมิภาคปัญจาบ
ชาติพันธุ์ชาวปัญจาบ
จำนวนผู้พูด113 ล้านคน  (2011–2017)[1]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อินเดีย
ผู้วางระเบียบDepartment of Languages, ปัญจาบ, ประเทศอินเดีย[7]
Punjab Institute of Language, Art, and Culture - ปากีสถาน
รหัสภาษา
ISO 639-1pa
ISO 639-2pan
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
pan – Panjabi
pnb – Western Panjabi
Linguasphere59-AAF-e
พื้นที่ในอนุทวีปอินเดียที่มีผู้พูดภาษาปัญจาบ
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ปัญจาบ (อักษรคุรมุขี: ਪੰਜਾਬੀ, อักษรชาห์มุขี: پن٘جابی,[8] ออกเสียง [pənˈdʒaːbːi]) เป็นภาษาอินโด-อารยันที่พูดโดยชาวปัญจาบในภูมิภาคปัญจาบของประเทศปากีสถานและอินเดีย มีการประมาณว่ามีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 113 ล้านคน โดย 80.5 ล้านคนใน ค.ศ. 2017 อยู่ในปากีสถาน ส่วนอินเดียมีผู้พูด 31.1 ล้านคน (ใน ค.ศ. 2011)

ภาษาปัญจาบเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในกลุ่มย่อยอินโด-อิเรเนียน เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนภาษาเดียวที่เป็นภาษาวรรณยุกต์ ซึ่งวรรณยุกต์เกิดจากการออกเสียงพยัญชนะชุดต่าง ๆ ด้วยเสียงสูงต่ำที่ต่างกัน ในเรื่องของความซับซ้อนของรูปศัพท์ เป็นภาษาที่ใช้คำประกอบ (agglutinative language) [9]และมักจะเรียงคำตามลำดับ 'ประธาน กรรม กิริยา'

ชาวปัญจาบได้ถูกแบ่งระหว่างอินเดียและปากีสถานระหว่างการแบ่งอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2490 อย่างไรก็ดี ภาษาและวัฒนธรรมปัญจาบมักเป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวปัญจาบอยู่รวมกันไม่ว่าจะสัญชาติหรือศาสนาใด มีชาวปัญจาบอพยพจำนวนมากในหลายประเทศเช่น สหรัฐ ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา ภาษาปัญจาบเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของชาวสิกข์ที่ใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนา เป็นภาษาที่ใช้ในดนตรีภันคระที่แพร่หลายในเอเชียใต้

สำเนียงและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์[แก้]

ภาษาปัญจาบ เป็นภาษาราชการของรัฐปัญจาบในอินเดีย และเป็นภาษาราชการร่วมในรัฐข้างเคียงคือ จันทิครห์ เดลฮี และหรยณะ มีผู้พูดในบริเวณใกล้เคียงเช่นแคชเมียร์และหิมาจัลประเทศ เป็นภาษาหลักของจังหวัดปัญจาบในปากีสถานแต่ไม่มีสถานะเป็นภาษาราชการ โดยภาษาราชการในบริเวณดังกล่าวคือภาษาอูรดูและภาษาอังกฤษ

ภาษาปัญจาบมีสำเนียงต่างๆมากมาย โดยได้รับอิทธิพลจากภาษาสินธีในปากีสถานและภาษาฮินดีในประเทศอินเดีย สำเนียงหลักของภาษาปัญจาบคือ ลาโฮรี ดัรบี มัลไว และโปวาธี ในอินเดีย สำเนียง โปโกฮารี ลัห์นดี และ มุลตานีในปากีสถาน สำเนียงลาโอรีเป็นสำเนียงมาตรฐานสำหรับภาษาเขียนของภาษาปัญจาบ บางสำเนียงเช่นสำเนียงโดกรี สิไรกิ และอินห์โก บางครั้งแยกออกเป็นอีกภาษาต่างหาก

ภาษาปัญจาบตะวันตกและตะวันออก[แก้]

แหล่งข้อมูลบางแหล่งแบ่งภาษาปัญจาบเป็นภาษาปัญจาบตะวันตกหรือลัห์นดี กับภาษาปัญจาบตะวันออกซึ่งเป็นข้อมูลที่อ้างอิงจาก G.A. Grierson นักภาษาศาสตร์ท่เข้าไปสำรวจในอินเดีย Grierson กำหนดว่าภาษาปัญจาบตะวันตกคือภาษาที่ใช้พูดทางตะวันตกของเส้นแบ่งแนวเหนือใต้จากตำบลสาหิวัลไปตำบลคุชรานวาลา อย่างไรก็ตามข้อเสนอนี้ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่

คำศัพท์[แก้]

คำศัพท์ภาษาปัญจาบสมัยใหม่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับ ภาษาอูรดู ภาษาเปอร์เซีย และภาษาสันสกฤต ภาษาที่ใช้ในหมู่ผู้อพยพชาวปัญจาบจะมีคำยืมจากภาษาที่ใช้ในบริเวณนั้น เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาสเปน ภาษาดัตช์

อ้างอิง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 80.5 ล้านคนในประเทศปากีสถาน (2017), 31.1 ล้านคนในอินเดีย (2011), 0.5 ล้านคนในประเทศแคนาดา (2016), 0.3 ล้านคนในสหราชอาณาจักร (2011), 0.3 ล้านคนในสหรัฐ (2017), 0.1 ล้านคนในออสเตรเลีย (2016). ดู § การแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์ ข้างล่าง.
  2. "NCLM 52nd Report" (PDF). NCLM. 15 November 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 November 2016. สืบค้นเมื่อ 13 January 2020.
  3. "Punjab mandates all signage in Punjabi, in Gurmukhi script". The Hindu. 21 February 2020. สืบค้นเมื่อ 9 September 2020.0
  4. "All milestones, signboards in Haryana to bear info in English, Hindi and Punjabi: Education Minister". The Indian Express. 3 March 2020. สืบค้นเมื่อ 9 September 2020.
  5. "Punjabi, Urdu made official languages in Delhi". The Times of India. 25 June 2003. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
  6. "Multi-lingual Bengal". The Telegraph. 11 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2018. สืบค้นเมื่อ 25 March 2018.
  7. India, Tribune (19 August 2020). "Punjabi matric exam on Aug 26". The Tribune. สืบค้นเมื่อ 18 September 2020.
  8. Laurie Bauer, 2007, The Linguistics Student's Handbook, Edinburgh
  9. Bhatia, T. "Punjabi: A Cognitive-Descriptive Grammar", 1993. p 279. ISBN 0-415-00320-2

ข้อมูล[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Bhatia, Tej. 1993 and 2010. Punjabi : a cognitive-descriptive grammar. London: Routledge. Series: Descriptive grammars.
  • Gill H.S. [Harjit Singh] and Gleason, H.A. 1969. A reference grammar of Punjabi. Revised edition. Patiala, Punjab, India: Languages Department, Punjab University.
  • Chopra, R. M., Perso-Arabic Words in Punjabi, in: Indo-Iranica Vol.53 (1–4).
  • Chopra, R. M.., The Legacy of The Punjab, 1997, Punjabee Bradree, Calcutta.
  • Singh, Chander Shekhar (2004). Punjabi Prosody: The Old Tradition and The New Paradigm. Sri Lanka: Polgasowita: Sikuru Prakasakayo.
  • Singh, Chander Shekhar (2014). Punjabi Intonation: An Experimental Study. Muenchen: LINCOM EUROPA.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]