ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศบอตสวานา

พิกัด: 24°39.5′S 25°54.5′E / 24.6583°S 25.9083°E / -24.6583; 25.9083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Botswana)

24°39.5′S 25°54.5′E / 24.6583°S 25.9083°E / -24.6583; 25.9083

สาธารณรัฐบอตสวานา

Lefatshe la Botswana (สวานา)
Republic of Botswana (อังกฤษ)
ตราแผ่นดินของบอตสวานา
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"Pula" (สวานา)
"ฝน"
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
กาโบโรเน
24°39.5′S 25°54.5′E / 24.6583°S 25.9083°E / -24.6583; 25.9083
ภาษาราชการ
กลุ่มชาติพันธุ์
(2012[1])
ศาสนา
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบพรรคเด่น สาธารณรัฐระบบรัฐสภาโดยมีประธานาธิบดีที่มีอำนาจบริหาร[3][4]
มูเควตซี มาซีซี[5]
Slumber Tsogwane
Phandu Skelemani
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เอกราช 
• ก่อตั้ง (รัฐธรรมนูญ)
30 กันยายน ค.ศ. 1966
พื้นที่
• รวม
581,730 ตารางกิโลเมตร (224,610 ตารางไมล์)[6] (อันดับที่ 47)
2.7
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
2,250,260[7] (อันดับที่ 145)
• สำมะโนประชากร 2011
2,024,904
3.7 ต่อตารางกิโลเมตร (9.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 231)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2021 (ประมาณ)
• รวม
43.389 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (120)
$18,113[8] (99)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2021 (ประมาณ)
• รวม
18.726 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (120)
7,817 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (101)
จีนี (2015)positive decrease 53.3[10]
สูง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.735[11]
สูง · อันดับที่ 100
สกุลเงินปูลา (BWP)
เขตเวลาUTC+2 (เวลาแอฟริกากลาง[12])
รูปแบบวันที่ปปปป-ดด-วว
วว/ดด/ปปปปa
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+267
โดเมนบนสุด.bw
เว็บไซต์
www.gov.bw
  1. ปปปป-ดด-วว ในภาษาสวานา; วว/ดด/ปปปป ในภาษาอังกฤษ

บอตสวานา (อังกฤษและสวานา: Botswana) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐบอตสวานา (อังกฤษ: Republic of Botswana; สวานา: Lefatshe la Botswana) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาใต้ และเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตดังนี้ ทิศใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ ทิศตะวันตกติดกับประเทศนามิเบีย ทิศเหนือติดกับประเทศแซมเบีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศซิมบับเว

ภูมิศาสตร์

[แก้]
แผนที่ประเทศบอตสวานา
เลชเวในโอคาวันโกเดลตา

บอตสวานามีพื้นที่ 600,370 ตารางกิโลเมตรและใหญ่เป็นอันดับที่ 45 ของโลก (มีขนาดใกล้เคียงกับประเทศมาดากัสการ์) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และพื้นดินกว่าร้อยละ 70 ถูกครอบคลุมโดยทะเลทรายกาลาฮารี บอตสวานามีโอคาวันโกเดลตาซึ่งเป็นพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ทางตะวันตก และมัคกาดิคกาดี ซึ่งเป็นทะเลสาบเกลือที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ทางตอนเหนือ ด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำลิมโปโป ซึ่งเป็นภูมิลักษณ์ของพื้นที่ส่วนใหญ่ในแอฟริกาใต้ แม่น้ำโชบีอยู่ทางเหนือของประเทศและเป็นเขตพรมแดนกั้นระหว่างบอตสวานาและนามิเบีย

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ดินแดนนี้เป็นที่อยู่ของชาวบุชแมนมาก่อนที่ชาวบันตูจะเคลื่อนย้ายเข้ามา ในช่วงทศวรรษที่ 19 เกิดสงครามระหว่างชนพื้นเมือง โชนา ที่อาศัยอยู่ใน บัตสวานากับชนเผ่าเดเบเล่ที่อพยพมาจาก อาณานิคมในทะเลทรายกาลาฮารี ความตึงเครียดจากพวกบัวร์ในทรานสวาล พ.ศ. 2429 บอตสวานากลายเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษเพื่อป้องกันการโจมตีของพวกบัวร์และเยอรมัน ได้รับเอกราช เมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2509

การเมืองการปกครอง

[แก้]
มูเควตซี มาซีซี เป็นประธานาธิบดีของบอตสวานามาตั้งแต่ปี 2562

บอตสวานาเป็นสาธารณรัฐแบบรัฐสภาที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งบอตสวานา และเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดในแอฟริกา[13] [14] ที่ตั้งของรัฐบาลอยู่ในกาโบโรเน[15] สถาบันการปกครองของบอตสวานาก่อตั้งขึ้นหลังจากกลายเป็นประเทศเอกราชในปี 2509 โครงสร้างการปกครองของบอตสวานามีพื้นฐานอยู่บนทั้งระบบเวสต์มินสเตอร์ของสหราชอาณาจักรและรัฐบาลชนเผ่าของชาวสวานา[13] บอตสวานามีรัฐบาลรวมศูนย์ซึ่งกฎหมายของประเทศเข้ามาแทนที่กฎหมายท้องถิ่น[16] กฎหมายท้องถิ่นได้รับการพัฒนาโดยสภาท้องถิ่นและสภาเขต[17] บอตสวานาได้รับอิทธิพลอย่างมากจากรัฐบาลชนเผ่า ซึ่งนำโดยหัวหน้าเผ่า[17]

รัฐสภาบอตสวานาประกอบด้วยรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่เป็นสภานิติบัญญัติอย่างเป็นทางการของประเทศ และ Ntlo ya Dikgosi ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยหัวหน้าชนเผ่าและสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งอื่นๆ[18] ฝ่ายบริหารของบอตสวานานำโดยประธานาธิบดีบอตสวานา ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล.[13] สมาชิกรัฐสภาเลือกประธานาธิบดี จากนั้นประธานาธิบดีจะแต่งตั้งรองประธานาธิบดีและสมาชิกคณะรัฐมนตรี[19] ประธานาธิบดีมีอำนาจสำคัญในบอตสวานา และสภานิติบัญญัติมีอำนาจเพียงเล็กน้อยในการตรวจสอบประธานาธิบดีเมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้ว[20][21] ฝ่ายตุลาการประกอบด้วยศาลสูงแห่งบอตสวานา ศาลอุทธรณ์ และศาลผู้พิพากษา[22]คดีต่างๆ มักจะได้รับการตัดสินโดยศาลตามธรรมเนียมซึ่งมีหัวหน้าเผ่าเป็นประธาน[17]


การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

ประเทศบอตสวานาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เขต (district) ได้แก่

  1. เขตเซนทรัล
  2. เขตกาฮันซี
  3. เขตคกาลากาดี
  4. เขตคกาตเลง
  5. เขตคเวเนง
  6. เขตนอร์ทอีสต์
  7. เขตนอร์ทเวสต์
  8. เขตเซาท์อีสต์
  9. เขตเซาเทิร์น
  10. เขตโชเบ

เศรษฐกิจ

[แก้]

โครงสร้าง

[แก้]

ตั้งแต่ได้รับเอกราช บอตสวานาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราเจริญเติบโตของรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงที่สุดในโลก[23] และสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นจากหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกมาเป็นประเทศรายได้ระดับกลางซึ่งมีจีดีพีเฉลี่ย (PPP) 16,516 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2550 [24] มีการประเมินว่าบอตสวานามีรายได้มวลรวมประชาชาติโดยวัดจากความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อสูงเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา ทำให้มีมาตรฐานการครองชีพใกล้เคียงกับเม็กซิโกและตุรกี[25]

จากสถิติของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ บอตสวานามีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 9 ตั้งแต่ปี 2509 ถึง 2542 บอตสวานามีเสรีภาพทางเศรษฐกิจที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศแอฟริกาอื่น ๆ[26] เป็นประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงที่สุดในแอฟริกา และมีเงินสำรองแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมากกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ในปี 2548-2549 (ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าประมาณ 2 ปีครึ่ง) สภาพเศรษฐกิจที่มั่นคงของบอตสวานามีรากฐานมาจากการนำรายได้จากการทำเหมืองเพชรในประเทศมาพัฒนาประเทศผ่านนโยบายทางการเงินและนโยบายต่างประเทศที่รอบคอบ[27] อย่างไรก็ตาม การพัฒนาประเทศที่มีพื้นฐานจากอุตสาหกรรมเพชรนี้ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจผิดเพี้ยนในหลายรูปแบบ เช่นรัฐบาลมีอำนาจมากจนทำให้ภาคเอกชนไม่พัฒนา อัตราว่างงานสูง[28]

รัฐบาลถือหุ้นร้อยละ 50 ของเดบสวานา ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองเพชรที่ใหญ่ที่สุดในบอตสวานา.[29] อุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่สร้างรายได้ให้รัฐบาลถึงร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด[30] ในต้นพุทธทศวรรษที่ 2550 มีการค้นพบแร่ยูเรเนียมในบอตสวานา[31] และโครงการเหมืองแร่ยูเรเนียมมีกำหนดจะเริ่มในปี พ.ศ. 2553 บริษัทเหมืองแร่ข้ามชาติหลายแห่งที่ตั้งสำนักงานใหญ่ประจำพื้นที่ในบอตสวานาโดยหวังที่จะมีโอกาสทำเหมืองเพชร ทอง ยูเรเนียม ทองแดง หรือแม้แต่น้ำมัน รัฐบาลบอตสวานาประกาศเมื่อต้นปี 2552 ว่าจะพยายามลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมเพชรให้น้อยลง เนื่องจากความกังวลจากการพยากรณ์ว่าเพชรจะหมดไปจากบอตสวานาในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า

กาโบโรเน เมืองหลวงของบอตสวานา

ประชากรศาสตร์

[แก้]
ประชาการใรประเทศบอตสวานา[7]
ปี ประชากร
1950 0.4
2000 1.7
2020 2.4

ในปี 2012 ชาวสวานาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ในบอตสวานา ซึ่งคิดเป็นประมาณ 79% ของประชากร รองลงมาคือ Kalanga ที่ 11% และ San (Basarwa) ที่ 3% ส่วนที่เหลืออีก 7% ประกอบด้วย White Batswana/European Batswana[32]อินเดียน,[1] และกลุ่มชาติพันธุ์แอฟริกาตอนใต้เล็กๆ อีกจำนวนหนึ่ง

กลุ่มชนพื้นเมือง ได้แก่ Bayei, Bambukushu, Basubia, Baherero และ Bakgalagadi ชนกลุ่มน้อยชาวอินเดียประกอบด้วยทั้งผู้อพยพล่าสุดและลูกหลานของผู้อพยพชาวอินเดียที่มาจากโมซัมบิก เคนยา แทนซาเนีย มอริเชียส และแอฟริกาใต้

Population pyramid 2016

ตั้งแต่ปี 2000 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในซิมบับเว จำนวนชาวซิมบับเวในบอตสวานาจึงเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นคน[33] ชาวซานไม่ถึง 10,000 คนยังคงดำเนินชีวิตตามวิถีชีวิตนักล่าและคนเก็บอาหารแบบดั้งเดิม ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 รัฐบาลกลางของบอตสวานาพยายามย้ายชาวซานออกจากดินแดนประวัติศาสตร์ของพวกเขา[34]

เชิงอรรถ

[แก้]

 บทความนี้รวมข้อความจากงานที่มีเนื้อหาเสรี (free content) ลิขสิทธิ์ภายใต้ CC BY-SA IGO 3.0 ข้อความนำมาจาก UNESCO Science Report: Towards 2030, 546–547, UNESCO, UNESCO Publishing.

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Botswana". The World Factbook. Central Intelligence Agency. 2014. สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.
  2. Pew Research Center's Religion & Public Life Project: Botswana เก็บถาวร 16 ธันวาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Pew Research Center. 2010.
  3. "Africa :: Botswana – The World Factbook - Central Intelligence Agency". www.cia.gov. สืบค้นเมื่อ 17 December 2019.
  4. Selolwane, Onalenna (2002). "Monopoly Politikos: How Botswana's Opposition Parties Have Helped Sustain One-Party Dominance". African Sociological Review. 6 (1): 68–90. doi:10.4314/asr.v6i1.23203. JSTOR 24487673.
  5. "Masisi to Lead Botswana as Khama Steps Down After a Decade". Bloomberg.com. 28 March 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2018. สืบค้นเมื่อ 31 March 2018.
  6. Global Forest Resources Assessment 2015 – Country Report – Botswana (PDF). fao.org (Report). United Nations Food and Agriculture Organization. 2015. p. 9. Total Country Area ('000)ha / 58 173
  7. 7.0 7.1 "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  8. 8.0 8.1 8.2 "IMF Country Specific Data". สืบค้นเมื่อ 10 August 2019.
  9. "IMF Country Specific Data". สืบค้นเมื่อ 10 August 2019.
  10. "GINI index (World Bank estimate)". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2017. สืบค้นเมื่อ 20 April 2019.
  11. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  12. Chapter: 01:04 (20 July 1984). "Interpretation Act 1984 (§40(1))". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2017. สืบค้นเมื่อ 11 September 2020.
  13. 13.0 13.1 13.2 Sebudubudu, David; Maripe, Bugalo; Botlhomilwe, Mokganedi Z.; Malila, Ikanyeng S. (2013). "The Mutation of Parliament into a "Registration Chamber": Executive Dominance over the Legislature in Botswana". The African Review: A Journal of African Politics, Development and International Affairs. 40 (2): 33–59. ISSN 0856-0056. JSTOR 45341655.
  14. Sebudubudu, David; Bodilenyane, Keratilwe; Kwerepe, Phana (2016). "The Politics of Opposition Electoral Coalitions and Alliances in Botswana". The African Review: A Journal of African Politics, Development and International Affairs. 43 (1): 1–26. ISSN 0856-0056. JSTOR 45342124.
  15. "Botswana", The World Factbook (ภาษาอังกฤษ), Central Intelligence Agency, 2023-09-25, สืบค้นเมื่อ 2023-09-28
  16. Mooketsane, K.; Bodilenyane, K.; Motshekgwa, B. (2017). "Is decentralisation in Botswana a democratic fallacy?". African Journal of Public Affairs. 9 (5): 47–60. hdl:10520/EJC-6a061f80d.
  17. 17.0 17.1 17.2 Sharma, Keshav C. (2020-08-23). "Role of local government in Botswana for effective service delivery: Challenges, prospects and lessons". Commonwealth Journal of Local Governance (7): 135–142.
  18. Norton, Philip (2004-12-21). "How many bicameral legislatures are there?". The Journal of Legislative Studies. 10 (4): 1–9. doi:10.1080/1357233042000322436. ISSN 1357-2334. S2CID 143950774.
  19. Beaulier, Scott A.; Subrick, J. Robert (2006). "The Political Foundations of Development: The Case of Botswana". Constitutional Political Economy (ภาษาอังกฤษ). 17 (2): 103–115. doi:10.1007/s10602-006-0002-x. ISSN 1043-4062. S2CID 59354401.
  20. Botlhale, Emmanuel; Lotshwao, Kebapetse (2013). "The Uneasy Relationship Between Parliament and the Executive in Botswana". Botswana Notes and Records. 45: 39–51. ISSN 0525-5090. JSTOR 90024373.
  21. Mogalakwe, Monageng; Nyamnjoh, Francis (2017-01-02). "Botswana at 50: democratic deficit, elite corruption and poverty in the midst of plenty". Journal of Contemporary African Studies (ภาษาอังกฤษ). 35 (1): 1–14. doi:10.1080/02589001.2017.1286636. ISSN 0258-9001.
  22. "The Hierarchy of the Courts". Government of Botswana. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2011.
  23. US Department of State website Botswana (01/08) Background Note: Botswana Economy
  24. IMF Database
  25. Klaus Kästle (2009-07-24). "GNI PPP table". Nationsonline.org. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
  26. "Botswana ranked Africa's leader in economic freedom". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-09. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
  27. "The African exception". The Economist. 2002-03-28.[ลิงก์เสีย]
  28. John D. Holm. "Diamonds and Distorted Development in Botswana". Center for Strategic and International Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-27. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
  29. Joe Nocera (August 8, 2008). "Diamonds are Forever in Botswana". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-03-15.
  30. "Botswana Country Brief". World Bank.
  31. "Impact says large uranium area identified at Botswana prospect". Mining Weekly. 2009-11-18. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
  32. "Botswana". The World Factbook (2024 ed.). Central Intelligence Agency. 10 May 2022. (Archived 2022 edition)
  33. Betts, Alexander; Kaytaz, Ezra (2009). "National and international responses to the Zimbabwean exodus: implications for the refugee protection regime" (PDF). Research Papers. 175. Policy Development and Evaluation Service, United Nations High Commissioner for Refugees. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)[ลิงก์เสีย]
  34. Lovgren, Stefan (14 September 2004) African Bushmen Tour U.S. to Fund Fight for Land เก็บถาวร 8 สิงหาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. National Geographic News

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Charles, Thalefang (2016). Botswana's Top50 Ultimate Experiences. Mmegi Publishing House. ISBN 9789996845413.
  • Acemoglu, Daron; Johnson, Simon; Robinson, James A. (11 July 2001). "An African Success Story: Botswana". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-18. สืบค้นเมื่อ 2022-02-18 – โดยทาง mit.edu.
  • Cohen, Dennis L. (1979). "The Botswana Political Elite: Evidence from the 1974 General Election". Journal of Southern African Affairs. 4, 347–370.
  • Colclough, Christopher and Stephen McCarthy. The Political Economy of Botswana: A Study of Growth and Income Distribution (Oxford University Press, 1980)
  • Denbow, James & Thebe, Phenyo C. (2006). Culture and Customs of Botswana. Westport, CT: Greenwood Press. ISBN 978-0-313-33178-7.
  • Edge, Wayne A. and Mogopodi H. Lekorwe eds. Botswana: Politics and Society (Pretoria: J.L. van Schaik, 1998)
  • Good, Kenneth. "Interpreting the Exceptionality of Botswana". Journal of Modern African Studies (1992) 30, 69–95.
  • Good, Kenneth (September 1994). "Corruption and Mismanagement in Botswana: A Best-Case Example?" (PDF). Journal of Modern African Studies. 32 (3): 499–521. doi:10.1017/S0022278X00015202. eISSN 1469-7777. ISSN 0022-278X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-03. สืบค้นเมื่อ 13 July 2018 – โดยทาง harvard.edu.
  • Cunningham, A.B.; Milton, S.J. (1987). "Effects of basket-weaving industry on mokola palm and dye plants in northwestern Botswana". Economic Botany. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  • Tlou, Thomas, and Alec C. Campbell. History of Botswana (Macmillan Botswana, 1984)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]