กำแพงประจิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กำแพงประจิม
הכותל המערבי (HaKotel HaMa'aravi)
الْحَائِط ٱلْبُرَاق (Ḥā’iṭ al-Burāq)
มุมมองของกำแพงประจิม
กำแพงประจิมตั้งอยู่ในเยรูซาเลม
กำแพงประจิม
แสดงที่ตั้งภายในเยรูซาเลม
ชื่ออื่นกำแพงโอดครวญ
โคเทล
กำแพงอัล-บุร็อก
ที่ตั้งเยรูซาเลม
พิกัด31°46′36″N 35°14′04″E / 31.7767°N 35.2345°E / 31.7767; 35.2345พิกัดภูมิศาสตร์: 31°46′36″N 35°14′04″E / 31.7767°N 35.2345°E / 31.7767; 35.2345
ประเภทกำแพงหินปูนโบราณ
ส่วนหนึ่งของเนินพระวิหาร
ความยาว488 เมตร (1,601 ฟุต)
ความสูงexposed: 19 เมตร (62 ฟุต)
ความเป็นมา
ผู้สร้างพระเจ้าเฮโรดมหาราช
วัสดุหินปูน
สร้าง19 ปีก่อนค.ศ.
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
สภาพป้องกัน

กำแพงประจิม (อังกฤษ: Western Wall) หรือ กำแพงโอดครวญ (อังกฤษ: Wailing Wall) หรือ กำแพงอัล-บุร็อก (อาหรับ: حائط البراق) เป็นกำแพงโบราณในเขตเมืองเก่าเยรูซาเลม สร้างขึ้นจากหินปูนเมื่อครั้งมีการขยายพระวิหารหลังที่สองของพวกยิวโดยพระเจ้าเฮโรดมหาราชในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล กำแพงแห่งนี้ตั้งอยู่อาณาบริเวณขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าเนินพระวิหาร ซึ่งสำหรับชาวมุสลิมแล้ว เนินแห่งนี้เป็นสถานที่ที่มุฮัมหมัดถูกพระอัลลอห์รับขึ้นไปบนสวรรค์

ชาวยิวจะเรียกกำแพงนี้ว่ากำแพงประจิม เนื่องตั้งอยู่ทางตะวันตกของเนินพระวิหาร ส่วนชาวคริสต์จะเรียกกำแพงนี้ว่ากำแพงโอดครวญ เพื่อสะท้อนเหตุการณ์ที่ชาวยิวต่างพากันมาร่ำร้องโอดครวญกันที่กำแพงแห่งนี้ในวันที่พวกโรมันเข้ายึดครองเยรูซาเลมในค.ศ. 70 และพระวิหารของชาวยิวถูกทำลาย

ชาวมุสลิมได้เกิดการปะทะกับชาวคริสต์ขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1929 ในประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองกำแพง ในช่วงเวลานั้นอำนาจเหนือดินแดนแถบนี้อยู่ในมือของอังกฤษ อังกฤษได้ตัดสินใจให้กำแพงยังคงอยู่ในมือของชาวมุสลิม แต่ชาวยิวสามารถใช้เพื่อการแสวงบุญในสถานที่แห่งนี้ได้โดยมีเงื่อนไขว่าพวกเขาจะต้องไม่นำเครื่องบูชาเฉพาะของตนเข้าไปในเขตเนินพระวิหาร ตั้งแต่นั้นมา กำแพงแห่งนี้ก็กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่ชาวยิวสามารถประกอบพิธีได้ แม้ว่าตามหลักศาสนายูดาห์แล้ว สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดจะอยู่ด้านในกำแพง