อาณาจักรยูดาห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณาจักรยูดาห์

𐤉‬𐤄𐤃𐤄‬
9th[1][2] or 8th century BCE[3]–586 ปีก่อนค.ศ.
LMLK seal (700–586 BCE)ของยูดาห์
LMLK seal (700–586 BCE)
Map of the region in the 9th century BCE
Map of the region in the 9th century BCE
เมืองหลวงฮีบรอน
เยรูซาเลม
ภาษาทั่วไปฮีบรู
ศาสนา
เอกเทวนิยมลัทธิยาห์เวห์/ศาสนายูดาห์
พหุเทวนิยมคะนาอัน
พหุเทวนิยมเมโสโปเตเมีย
ศาสนาพื้นบ้าน[4]
การปกครองราชาธิปไตย
ยุคประวัติศาสตร์ยุคเหล็กลิแวนต์
9th[1][2] or 8th century BCE[3]
• Siege of Jerusalem (587 ปีก่อนค.ศ.)
586 ปีก่อนค.ศ.
ก่อนหน้า
ถัดไป
Kingdom of Israel
Yehud (Babylonian province)
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอิสราเอล
ปาเลสไตน์
ภาพแสดงถึงพระราชาและทหารในอาณาจักรยูดาห์โบราณ

ราชอาณาจักรยูดาห์ (ฮีบรู: מַמְלֶכֶת יְהוּדָה; มัมเลกเฮต เยฮูดาห์) คืออดีตรัฐยิวที่ก่อตั้งขึ้นบริเวณตอนใต้ของเขตลิแวนต์ในช่วงยุคเหล็ก มักถูกเรียกขานโดยทั่วไปว่า ราชอาณาจักรใต้ เพื่อที่จะไม่ให้สับสนกับราชอาณาจักรอิสราเอลที่อยู่ทางเหนือ ซึ่งทั้งสองอาณาจักรเคยมีสถานะเป็นรัฐเดียวกันมาก่อนในนามว่า สหราชอาณาจักรอิสราเอล

ยูดาห์ถูกสันนิษฐานว่าน่าจะพัฒนากลายมาเป็นรัฐในช่วงหลังศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดที่สามารถยืนยันข้อสันนิษฐานนี้ได้[5][6] ในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรมีประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งมากกว่าประชากรของรัฐข้างเคียงมาก ต่อมาพวกอัสซีเรียเข้ารุกรานและควบคุมยูดาห์เนื่องจากต้องการทรัพยากรน้ำมันมะกอกอันล้ำค่าของยูดาห์ ยูดาห์จึงตกเป็นรัฐบริวารของอัสซีเรีย[7] ราชอาณาจักรยูดาห์สงบสุขและรุ่งเรืองระหว่างที่อยู่ใต้อาณัตของอัสซีเรีย (ขณะที่มีการก่อกบฏรุนแรงในรัชสมัยของกษัตริย์เซนนาเชริบแห่งอัสซีเรีย) แต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล อัสซีเรียก็ล่มสลายลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เกิดสงครามแย่งชิงดินแดนแถบนี้ระหว่างอียิปต์โบราณกับจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ตามมานับครั้งไม่ถ้วน จนในที่สุดนำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรยูดาห์ในช่วง 597 - 582 ปีก่อนคริสตกาล รวมไปถึงการเนรเทศขับไล่ชนชั้นปกครองออกจากดินแดนดังกล่าว[7]

รายพระนามกษัตริย์แห่งยูดาห์[แก้]

พระนาม ระยะเวลาการครองราชย์
ดาวิด (David) ค.ศ. 1010 - ค.ศ. 970 (41 ปี)
ซาโลมอน (Solomon) ค.ศ. 970 - ค.ศ. 931 ( 41 ปี)
เรโหโบอัม (Rehoboam) ค.ศ. 931 - ค.ศ. 912 (18 ปี)
อาบียัม (Abijah) ค.ศ. 913 - ค.ศ. 911 (2 ปี)
อาสา (Asa) ค.ศ. 911 - ค.ศ. 870 (41 ปี)
เยโฮชาฟัท (Jehoshaphat) ค.ศ. 870 - ค.ศ. 848 (22 ปี)
เยโฮรัม (Jehoram) ค.ศ. 848 - ค.ศ. 841 (7 ปี)
อาหัสยาห์ (Ahaziah) ค.ศ. 841 - ค.ศ. 841 (1 ปี )
อาธาลิยาห์ (Athaliah) ค.ศ. 841 - ค.ศ. 835 (6 ปี)
เยโฮอาช (Joash) ค.ศ. 835 - ค.ศ. 796 (39 ปี)
อามาซิยาห์ (Amaziah) ค.ศ. 796 - ค.ศ. 781 (15 ปี)
อาซาริยาห์/อุสซียาห์ (Azariah/Uzziah) ค.ศ. 781 - ค.ศ. 740 (41 ปี)
โยธาม (Jotham) ค.ศ. 740 - ค.ศ. 736 (4 ปี)
อาหัส (Ahaz) ค.ศ. 736 - ค.ศ. 716 (20 ปี)
เฮเซคียาห์ (Hezekiah) ค.ศ. 716 - ค.ศ. 687 (29 ปี)
มนัสเสห์ (Manasseh) ค.ศ. 687 - ค.ศ. 642 (45 ปี)
อาโมน (Amon) ค.ศ. 642 - ค.ศ. 640 (2 ปี)
โยสิยาห์ (Josiah) ค.ศ. 640 - ค.ศ. 609 (31 ปี)
เยโฮอาหา (Jehoahaz) ค.ศ. 609 - ค.ศ. 606 (3 ปี )
เยโฮยาคิม (Jehoiakim) ค.ศ. 606 - ค.ศ. 595 (11 ปี)
เยโฮยาคีน (Jehoiachin) ครอบครองอยู่ 3 เดือน
เศเดคียาห์ (Zedekiah) ค.ศ. 592 - ค.ศ. 581 (11 ปี)

อ้างอิง[แก้]

  1. Grabbe, Lester L., บ.ก. (2008). Israel in Transition: From Late Bronze II to Iron IIa (c. 1250–850 B.C.E.). A&C Black. pp. 225–226. ISBN 978-0567027269. สืบค้นเมื่อ 12 October 2018.
  2. Vaughn, Andrew G.; Killebrew, Ann E., บ.ก. (2003). Jerusalem in Bible and Archaeology: The First Temple Period. Society of Biblical Literature. p. 149. ISBN 978-1589830660. สืบค้นเมื่อ 12 October 2018.
  3. Finkelstein, Israel (2006). Amit, Yairah; Ben Zvi, Ehud; Finkelstein, Israel; Lipschits, Oded (บ.ก.). The Last Labayu: King Saul and the Expansion of the First North Israelite Territorial Entity. Eisenbrauns. p. 179. ISBN 978-1575061283. สืบค้นเมื่อ 12 October 2018. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |encyclopedia= ถูกละเว้น (help)
  4. Finkelstein, Israel; Silberman, Neil Asher (2001). The Bible Unearthed: Archaeology's New Vision of Ancient Israel and the Origin of Sacred Texts. The Free Press. pp. 240–243. ISBN 978-0743223386.
  5. Grabbe 2008, pp. 225–6.
  6. Lehman in Vaughn 1992, p. 149.
  7. 7.0 7.1 Thompson 1992, pp. 410–1.