เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ประเภท | บริษัทจำกัด |
---|---|
ก่อตั้ง | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 |
ผู้ก่อตั้ง | ลาวัลย์ กันชาติ สมพล สังขะเวส จำนรรค์ ศิริตัน หนุนภักดี |
เลิกกิจการ | 1 กรกฎาคม 2565 (42 ปี 235 วัน) |
สำนักงานใหญ่ | 154 ซอยลาดพร้าว 107 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร |
บุคลากรหลัก | ลาวัลย์ กันชาติ-ประธาน ปริพันธ์ หนุนภักดี-รองประธาน จำนรรค์ ศิริตัน หนุนภักดี-ประธานกรรมการบริหาร รติวัลคุ์ ธนาธรรมโรจน์-ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร วัชระ แวววุฒินันท์-ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ |
ผลิตภัณฑ์ | รายการโทรทัศน์ ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สตูดิโอ จัดงานแสดง อีเวนท์ คอนเสิร์ต โชว์บิซ |
เว็บไซต์ | www |
บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด (อังกฤษ: JSL Global Media Company Limited) เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย เดิมชื่อว่า บริษัท เจ เอส แอล จำกัด ปัจจุบัน มีนาง รติวัลคุ์ ธนาธรรมโรจน์ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สำนักงานอยู่ที่ซอยลาดพร้าว 107 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
ประวัติ[แก้]
เจ เอส แอล ก่อตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2522 ด้วยเงินทุนจดทะเบียนแรกเริ่ม 1 แสนบาท โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ ลาวัลย์ ชูพินิจ (กันชาติ), จำนรรค์ ศิริตัน และสมพล สังขะเวส นักแปลนิยายชื่อดัง ซึ่งชื่อของบริษัทมาจากชื่อของผู้ก่อตั้งนั่นเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ และจัดรายการทางวิทยุโทรทัศน์ รวมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ จนกระทั่งสมพลขอลาออกจึงได้มีการเปลี่ยนกรรมการผู้จัดการและหุ้นส่วนคนสำคัญเป็น เสรี ชยามฤต และสมพงษ์ วรรณภิญโญ ตามลำดับ ภายหลังสมพงษ์และบุคลากรจำนวนหนึ่งได้ขอแยกตัวไปก่อตั้งทีวี ธันเดอร์ เจ เอส แอล จึงได้ปริพันธ์ หนุนภักดี เป็นรองประธานกรรมการ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด เพื่อให้เข้ากับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารไร้พรมแดน ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยมีรติวัลคุ์ ธนาธรรมโรจน์ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และมีบริษัทในเครือ อาทิ AI (Thailand) ที่เป็นผู้ดูแลลิขสิทธิ์คาแรคเตอร์การ์ตูนดังๆ ในการนำไปผลิตเป็นสินค้า รวมทั้งยังมีบริการให้เช่า กล้อง ห้องตัดต่อ ห้องลงเสียงและสตูดิโอ[1]
บริษัทเริ่มทำการผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ต่อมาได้ขยายการผลิตรายการในหลากหลายรูปแบบ และหลายสถานี เช่น ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 3 ช่อง 9 ไอทีวี ช่องวัน 31 ไทยรัฐทีวี และอื่น ๆ เป็นจำนวนกว่า 100 รายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศ เช่น เกมโชว์ ควิซโชว์ เรียลลิตี้โชว์ การประกวด วาไรตี้โชว์ ทอล์คโชว์ รายการตลก ละครเวที ละครซิทคอม ละครเรื่องยาว ละครสั้น สารคดีโทรทัศน์ และรายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทุกเพศ ทุกวัย และยังได้รับรางวัลจากหลายสถาบัน
ปัจจุบันมีรายการโทรทัศน์ประเภททอล์คโชว์และวาไรตี้โชว์ออกอากาศทางเอ็มคอตเอชดีและพีพีทีวี โดยบางรายการจะมีผู้ผลิตรายการรายอื่นร่วมผลิตด้วย
นอกจากนี้ ยังเปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เจ เอส แอล แชนแนล โดยนำเสนอรายการต่างๆ ของบริษัทตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ทั้งที่เคยออกอากาศแล้วแต่ยังคงความร่วมสมัย และเทปรายการที่ไม่เคยออกอากาศทางโทรทัศน์ เนื่องจากไม่ผ่านการเซ็นเซอร์ รวมทั้งรายการใหม่ของผู้จัดรายต่าง ๆ ที่นำเสนอผลงานแต่ไม่ได้รับโอกาสจากที่อื่นอีกด้วย[2] แต่ได้ยุติการแพร่ภาพลงตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยยังไม่มีกำหนดการกลับมาแพร่ภาพแต่อย่างใด
ที่ทำการของบริษัท เริ่มแรกใช้บ้านพักบริเวณสนามเป้า ถนนพหลโยธิน แล้วจึงย้ายมาที่ซอยอินทามระ 6 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย และหมู่บ้านราชาวิลล่า ซอยลาดพร้าว 67 ตามลำดับ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน บริษัทมีสำนักงานและสตูดิโอของตนเอง ตั้งอยู่ที่ 154 ซอยลาดพร้าว 107 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร [3][4]
ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 มีกระแสข่าวว่าบริษัทบันเทิงระดับตำนานแห่งหนึ่ง เตรียมปิดตัวอย่างกะทันหัน[5] กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ทางบริษัท เจเอสแอล ได้เผยแพร่จดหมายยุติการดำเนินงานบางส่วน ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป[6] โดยผลประกอบการห้าปีหลังสุดก่อนประกาศดังกล่าวนั้น บริษัทขาดทุนสะสม 176 ล้านบาท[4]
ผลงาน[แก้]
รายการโทรทัศน์[แก้]
เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย ผลิตรายการต่างๆ ทั้งเกมโชว์ ควิซโชว์ เกมโชว์สำหรับเด็ก ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ วาไรตี้คอเมดี้โชว์ เรียลลิตี้โชว์ การประกวด ละครเวที สารคดี และรายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นจำนวนกว่า 100 รายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, สถานีโทรทัศน์เอแอลทีวี, สถานีโทรทัศน์ช่องวัน 31, สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์, สถานีโทรทัศน์นาว 26, สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี ,สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี, สถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี และ สถานีโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์ปัจจุบัน เจเอสแอล โกลบอลมีเดีย มีรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวน 10 รายการ เป็นรายการประเภททอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ วาไรตี้เกมโชว์ สารคดี เรียลลิตี้โชว์ และรายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ ออกอากาศทางช่อง 3 HD ช่อง 5 HD ช่อง 7 HD ช่อง 9 MCOT HD และช่องไทยพีบีเอส เอชดี (รายการที่กำลังออกอากาศอยู่ เน้น ตัวหนา รายการที่ขายลิขสิทธิ์และออกอากาศในแอปพลิเคชัน LINE TV , AIS PLAY , และ VIU เน้น ตัวเอน)
เกมโชว์/ควิซโชว์[แก้]
เกมโชว์สำหรับเด็ก[แก้]
ทอล์คโชว์/วาไรตี้โชว์[แก้]
ทอล์คโชว์ข่าว[แก้]
ซิทคอมเกมโชว์[แก้]
วาไรตี้โชว์ซิตคอม[แก้]
สารคดี[แก้]
วาไรตี้คอเมดี้โชว์[แก้]
รายการวันหยุดนักขัตฤกษ์[แก้]
สารคดี[แก้]
เรียลลิตี้โชว์[แก้]
เรียลลิตี้โชว์สำหรับเด็ก[แก้]
เรียลลิตี้โชว์สำหรับอาหาร[แก้]
การประกวด[แก้]
ละครเวที[แก้]
ละครโทรทัศน์[แก้]
ละครชุด[แก้]
ซิตคอม[แก้]
ละครเวที[แก้]
บริษัทในเครือ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
|