07 โชว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
07 โชว์
ประเภทวาไรตี้,ซิทคอม, เกมโชว์
พัฒนาโดยบริษัท เจเอสแอล จำกัด
เสนอโดยสัญญา คุณากร
สุวนันท์ คงยิ่ง
สันติสุข พรหมศิริ
เชษฐวุฒิ วัชรคุณ
วรรธนะ กัมทรทิพย์
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
ความยาวตอน2 ชั่วโมง (ยุคแรก)
1 ชั่วโมง 15 นาที (ยุคหลัง)
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ออกอากาศมีนาคม พ.ศ. 2540 –
17 ตุลาคม พ.ศ. 2553
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
วิก 07
ศูนย์ 07

07 โชว์ เป็น รายการสดประเภทวาไรตี้,ซิทคอม,เกมโชว์ทางโทรทัศน์ ของบริษัท เจเอสแอล จำกัด ที่ทำรายการให้กับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

ประวัติ[แก้]

รายการ "07 โชว์" สร้างโดย เจเอสแอล ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 โดยเสนอเป็นประจำทุกเย็นวันอาทิตย์ ทางช่อง 7 สี โดยเป็นรายการสดประเภทวาไรตี้โชว์ ที่เสนอเรื่องเพลง ละคร ข่าวดารา และเกมการแข่งขัน ด้วยรูปแบบการนำเสนอที่สนุกสนาน ตื่นเต้น เข้าถึงผู้ชมได้ง่าย ลักษณะการถ่ายทำใช้ห้องส่งของเจเอสแอล แล้วทำการถ่ายทอดสดผ่านสถานีไปยังผู้ชมทั่วประเทศ รายการนี้ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และยังได้สร้างศิลปินนักร้อง รวมทั้งนักแสดงมากมาย จนถึงปัจจุบัน

รายการออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553 โดยเปลี่ยนเป็นรายการ กิ๊กดู๋ (ปัจจุบันใช้ชื่อว่า กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน ทางสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36) ร่วมกับบริษัท ทริปเปิ้ลทู จำกัด ซึ่งเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2553 รวมระยะเวลาการออกอากาศได้ 23 ปี (หากเริ่มนับจากรายการ วิก 07 และ ศูนย์ 07 อย่างต่อเนื่อง)

ระยะเวลาออกอากาศ[แก้]

  • ปี 2540 - 2541 วันอาทิตย์ เวลาประมาณ 15.00 น. - 17.00 น.
  • ปี 2541 - 2543 วันอาทิตย์ เวลา 15.45 น. - 17.30 น.
  • ปี 2544 - 2549 วันอาทิตย์ เวลา 16.00 น. - 17.30 น.
  • ปี 2550 - 17 ต.ค.2553 วันอาทิตย์ เวลา 15.45 น. - 17.00 น.

พิธีกร[แก้]

พิธีกรในอดีต[แก้]

พิธีกรรับเชิญ[แก้]

นักแสดงประจำรายการ[แก้]

จาตุรงค์ พลบูรณ์(มกจ๊ก) 2540 - 2544

โก๊ะตี๋ อารามบอย 2540 - 2544

ยาว อยุธยา 2540- 2543

สีหนุ่ม เชิญยิ้ม 2540 - 2544

ช่วงต่าง ๆ ของรายการ[แก้]

ทายผลโหวตกับรีจอยส์[แก้]

ในช่วงนี้ผู้สนับสนุนคือแชมพูรีจอยส์ โดยผู้โชคดีทางบ้านที่โทรศัพท์เข้ามาร่วมสนุกในช่วงนี้ และได้รับการติดต่อกลับจากทางรายการ(ซึ่งทางรายการจะเปิดให้โทรเข้ามาได้ หลังจากพักโฆษณาในช่วงนี้) จะได้เข้ามาบันทึกรายการสด และได้รับเงินรางวัลไปก่อน 5,000 บาท จากนั้นจะต้องทายให้ถูกว่าพิธีกร 2 ท่าน ที่ได้มาร้องเพลงคือใครบ้าง(จากการเปิดแผ่นป้ายเจอ) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นให้ทายว่าทีมที่ชนะคือทีมหมายเลขใด แล้วเลือกแผ่นป้ายว่าจะได้คูณเงินรางวัลที่มีอยู่ไปอีกกี่เท่า โดยจะมีเลข 2 กับ 3 ซึ่งถ้าทายทีมที่ชนะได้ถูก เงินรางวัลที่มีอยู่จะถูกคูณตามจำนวนที่เปิดเจอ แต่ถ้าทายผิดจะได้รับเงินรางวัลทีมีอยู่ 5,000 บาท กลับไป

ดวลไมค์ดวลมุก[แก้]

จะเป็นการนำเสนอความสนุกสนานผ่าน 4 พิธีกรร่วมในช่วงนี้(จาตุรงค์,โก๊ะตี๋,ยาว,สีหนุ่ม) โดยในแต่ละสัปดาห์จะเชิญแขกรับเชิญมาร่วมโชว์และพูดคุยต่างๆในประเด็นนั้นๆ ซึ่งช่วงนี้จะเน้นความสด ไหวพริบ ปฏิฏาณ และหยิบเหตุการณ์ปัจจุบันมานำเสนอแบบทันด่วน โดยในยุคแรกๆจะอัดเทปล่วงหน้า แต่เนื่องจากช่วงนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง จึงปรับรูปแบบจากอัดเทปมาเป็นเล่นสดในรายการ

โชว์ฮอต คนฮิต[แก้]

จะเป็นช่วงการแสดงโชว์จากศิลปินค่ายต่างๆและจะเป็นช่วงสัมภาษณ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะบันทึกเทปล่วงหน้าไว้ก่อนเริ่มรายการสด ต่อมาจะเป็นรายการสดล้วน

มิวสิคแอ็คชั่นโชว์[แก้]

โดยก่อนร้องเพลง ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกป้ายมา 1 ป้าย จาก 3 แผ่นป้าย เพื่อเลือกเรียงลำดับการร้องเพลง หลังเลือกป้ายแล้ว ผู้เข้าแข่งขันต้องร้องเพลงที่เลือกมา เพื่อขอคะแนนโหวตจากผู้ชมทางบ้านที่โทรศัพท์โหวตกันเข้ามา เมื่อร้องครบทั้ง 3 คนแล้ว พิธีกรจะประกาศผลคะแนนโหวต ถ้าผู้แข่งขันคนไหนมีคะแนนโหวตน้อยที่สุดจะตกรอบทันที ส่วนอีก 2 คนที่เหลือ จะเข้าไปสู่รอบต่อไป ส่วนคนที่ตกรอบแรกผู้ชมทางบ้านที่โหวตกันเข้ามา จะได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท อนึ่ง ในช่วงเริ่มเกมนี้ใหม่ๆ หลังจบโชว์ร้องเพลงทั้ง 3 คน พิธีกรจะเปิดให้ผู้ชมในห้องส่ง ส่งเสียงเชียร์เพื่อวัดระดับเสียงเป็นคะแนนให้กับผู้แข่งขันคนนั้นๆ โดยคะแนนในส่วนนี้จะไปรวมกับคะแนนโหวตจากผู้ชมทางบ้านที่โทรศัพท์โหวตเข้ามา ภายหลังเปลี่ยนเป็นระบบโหวตกดปุ่มไฟแดงไฟเขียวเป็นคะแนนให้กับผู้แข่งขันคนนั้นๆ ถ้าไฟเขียวคือเข้ารอบ แต่ถ้าไฟแดงคือตกรอบ

ทั้งนี้ในช่วงปลายปี2542 ถึงกลางปี2543 ได้เพิ่มช่วงพิเศษ "พบโชค พบฟาบูโลโซ" ซึ่งเป็นการแจกรางวัลพิเศษเพิ่มเติม โดยจะไปค้นหาผู้โชคดีที่ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน "ฟาบูโลโซ" ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักในช่วงนี้ โดยผู้โชคดีที่ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จะต้องเลือกแผ่นป้าย 3 แผ่นป้าย เพื่อเลือกหมายเลขเชียร์ผู้เข้าแข่งขัน หากหมายเลขที่เลือกมาทำคะแนนโหวตสูงสุด ผู้โชคดีจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท แต่ในทางกลับกัน ถ้าคะแนนโหวตน้อยกว่า ก็จะได้รับเงินรางวัล 3,000 บาท

ในช่วงปี 2544-วาระสุดท้าย ได้ยกเลิกระบบป้าย

ในช่วงปี 2545-2546 และ ปี2547-2548 ได้อยู่ในช่วงรอบตัดสินและทดแทนรอบแอ็คชั่นผจญภัย

แอ็คชั่นผจญภัย (รูปแบบแรกและรูปแบบที่ 5)[แก้]

ในรอบนี้ผู้ที่เข้ารอบทั้ง 2 คนจะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักทั้งหมด 12 ป้าย โดยหลังแผ่นป้ายจะเป็นเกมต่างๆ ถ้าเปิดเจอแผ่นป้ายที่เป็นเกมก็เล่นเกมตามที่ป้ายบอก ภายในเวลา 60 วินาที เมื่อคนใดคนหนึ่งเล่นเกมเสร็จก่อนหมดเวลาจะถือว่าชนะทันที หรือเมื่อหมดเวลา หากผู้แข่งขันคนไหนทำผลงานได้ดีกว่าก็จะได้คะแนนในเกมนี้ไป โดยผู้ชนะจะได้ 100 คะแนน ส่วนผู้แพ้ได้ 50 คะแนน ถ้าผู้แข่งขันคนไหนชนะทั้ง 2 เกม(คะแนนรวม 200 คะแนน)ก็จะได้เข้ารอบแจ็คพ๊อตทันที ส่วนผู้ที่มีคะแนนน้อยกว่าจะตกรอบทันที พร้อมกับได้รับเงินรางวัลปลอบใจ 20,000 บาท ส่วนผู้ชมทางบ้านที่โทรศัพท์โหวตกันเข้ามา จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท

ภายหลังในช่วงปรับฉากใหม่ ก็ได้นำเกมนี้กลับมาเล่นอีกครั้ง แต่ปรับกติกาเล็กน้อย โดยจะมีแผ่นป้าย 18 ป้าย ในแต่ละฝั่งซ้ายเป็นป้ายจะเป็นเกมต่างๆ ฝั่งขวาเป็นเงินรางวัลต่างๆและป้ายผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ แอทแทคต่อมาเป็นมาจิคลีนและบิ๊กตามลำดับ) ถ้าหากว่าเจอเกมตามป้ายก็เล่นเกมตามป้ายที่เขาบอกแล้วถ้าคนใดคนหนึ่งเล่นเสร็จก่อนคนนั้นจะเป็นผู้ชนะและจะได้มีสิทธิ์เปิด2ป้าย ถ้าใครสะสมเงินรางวัลหรือพร้อมทั้งสะสมคะแนนเยอะสุดเข้ารอบแจ็คพอตทันที

อนึ่ง เมื่อผู้แข่งขันที่เข้ารอบนี้เป็นผู้หญิง พิธีกรจะต่อเพิ่มจำนวนโอกาสชนะในแต่ละเกมให้ง่ายขึ้น เพื่อลดในการได้-เสียเปรียบ

เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2540-2541 และ 2544-2545

แอ็คชั่นผจญภัย (รูปแบบที่ 2)[แก้]

ในรอบนี้จะมีกุญแจในกรง 16 ดอก และตู้ในกรง 16 ตู้ โดยให้ผู้ที่เข้ารอบทั้ง 2 คน เข้าไปแข่งทีละคนภายในเวลา 90 วินาที โดยด่านแรกให้ไปเปิดแผ่นหาแท่งผลึก จากนั้นให้ไปที่ปุ่มเหยียบไฟเมื่อเหยียบไฟครบจนได้ยินเสียงสัญญาณแล้ว ก็จะไปหยิบกุญแจเพื่อไขตู้เปิดหาแท่งผลึกหรือว่าหากุญแจเรื่อยๆจนกว่าจะหมดเวลา ถ้าใครเจอกุญแจแล้วไขประตูออกถึงเส้นชัยของคนใดคนหนึ่งเกมก่อนเปิดป้ายของคนใดคนหนึ่งจะหยุดลงทันที จากนั้นจะมานับจำนวนแท่งผลึกที่หยิบได้(เช่น 6 แท่งได้เปิด 6 แผ่นป้าย) ถ้าใครเปิดตู้เจอแท่งผลึกได้น้อย คนนั้นจะเปิดได้น้อย หลังจากนั้นจะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนทั้งหมด 12 ป้ายซึ่ง จะมี 0 อยู่ 4 ป้าย เลข 3,000 อยู่ 4 ป้าย เลข 5,000 อยู่ 4 ป้าย ผู้แข่งขันท่านใดสะสมเงินรางวัลได้มากที่สุดจะได้เข้าไปเล่นในรอบแจ็กพอตทันที ส่วนผู้ที่ตกรอบจะได้รับเงินรางวัลปลอบใจ 20,000 บาท และผู้ชมทางบ้านที่โทรศัพท์โหวตกันเข้ามา จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้คือผงซักฟอกบิ๊ก เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี2541-2542

แอ็คชั่นผจญภัย (รูปแบบที่ 3,รูปแบบที่ 4)[แก้]

ในรอบนี้ผู้แข่งขัน 2 คนที่เข้ารอบ จะต้องเลือกป้าย "บิ๊ก" ซึ่งมีให้เลือก 2 ป้ายคือขนาด 5,000 กรัม และ 200 กรัม เพื่อเลือกว่าจะได้ลูกบอลสีอะไร โดยที่ด้านหลังของแผ่นป้าย จะมีรูปลูกบอลสีน้ำเงินหรือสีส้ม อย่างละ 1 สี หลังจากเลือกป้ายแล้ว จะมีลูกบอลในอ่าง 16 ลูก เป็นลูกบอลสีน้ำเงินและสีส้ม อย่างละ 8 ลูกที่เหลือจะเป็นสีอื่น โดยให้ผู้เข้าแข่งขันลงไปที่อ่างบอลเพื่อหยิบลูกบอลหลังจากที่เปิดแผ่นป้ายก่อนเล่นเกม จากนั้นผู้แข่งขันจะต้องชู้ตลูกบอลจากอ่างเพื่อเข้าห่วงตามแผ่นป้าย โดยแท่นแผ่นป้ายจะหมุนไปเรื่อยๆ มีเวลา 2 นาที ถ้าชู้ตลงห่วงตาข่ายจากป้ายไหน จะมีผลต่อการเปิดป้ายนั้นๆ (เช่นเข้า 8 ห่วง ได้เปิด 8 แผ่นป้าย) ถ้าผู้แข่งขันทั้ง 2 คน ชู้ตบอลเข้าห่วง 8 ห่วงเท่ากัน เกมก่อนเปิดป้ายเงินรางวัลจะหยุดลงทันที โดยหลังแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการ 16 ป้าย จะมี 0,3000,5000 และป้ายผู้สนับสนุนหลัก(ซึ่งมีค่าถึง 10,000) อย่างละ 4 แผ่นป้าย ผู้แข่งขันท่านไหนสะสมเงินรางวัลได้มากที่สุด จะผ่านเข้าสู่รอบแจ็คพอตทันที ส่วนผู้ที่ตกรอบจะได้รับเงินรางวัลปลอบใจ 20,000 บาท และผู้ชมทางบ้านที่โทรศัพท์โหวตกันเข้ามา จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้คือผงซักฟอกบิ๊ก

ต่อมาได้มีการเปลี่ยนกติกาและฉากบางส่วนโดยการยกเลิกการเปิดแผ่นป้ายหาสีลูกบอลก่อนเล่นเกม,เปลี่ยนสีลูกบอลจากสีน้ำเงินและสีส้มเป็นสีน้ำเงินและสีเขียว,เปลี่ยนจากบอลสีอื่นในอ่างเป็นโฟมในอ่าง,เพิ่มอุโมงค์,เปลี่ยนจากห่วงตาข่ายเป็นช่องลูกบอลและเปลี่ยนจากแท่นแผ่นป้ายหมุนเป็นกำแพงแผ่นป้าย แต่กติกาที่เหลือยังเหมือนเดิม โดยจะมีลูกบอลในอ่าง 16 ลูก แบ่งเป็นสีน้ำเงินและสีเขียว อย่างละ 8 ลูก โดยให้ผู้เข้าแข่งขันลงไปที่อ่างโฟมเพื่อหยิบลูกบอล จากนั้นให้ลอดอุโมงค์ เมื่อถึงที่แท่นแผ่นป้ายแล้ว ให้หยิบลูกบอลแล้วปาใส่ช่อง ภายในเวลา 2 นาที โดยจะวัดจากการปาลูกบอลเข้าช่อง(เช่นเข้า 8 ช่อง ได้เปิด 8 แผ่นป้าย) ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 คน ปาบอลเข้าช่อง 8 ช่อง เท่ากัน เกมก่อนเปิดป้ายเงินรางวัลจะหยุดลงทันที โดยหลังแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักมีทั้งหมด 16 ป้าย แบ่งเป็น 0 อยู่ 4 ป้าย เลข 3,000 อยู่ 4 ป้าย เลข 5,000 อยู่ 4 ป้าย และป้ายผู้สนับสนุนหลัก(ซึ่งมีค่าถึง 10,000) 4 แผ่นป้าย ผู้แข่งขันท่านไหนสะสมเงินรางวัลได้มากที่สุด จะผ่านเข้าสู่รอบแจ็คพอตทันที ส่วนผู้ที่ตกรอบจะได้รับเงินรางวัลปลอบใจ 20,000 บาท และผู้ชมทางบ้านที่โทรศัพท์เชียร์กันเข้ามา จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้คือผงซักฟอกแอคแทค เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี2542-2543 และปี2543-2544

รอบตัดสิน (2546)[แก้]

โดยในรอบนี้จะผู้สนับสนุนอยู่ 18 ป้าย (ผู้สบับสนุนในรอบนี้คือ ผงซักฟอกบิ๊ก)โดยมีโล้โก้ผงซักฟอกบิ๊กอยู่ 15 ป้าย แบ่งเป็นคะแนนต่างๆ และตัวหยุดอยู่ 3 แผ่นป้าย โดยทีมผู้ชนะจะต้องผลัดกันเลือกให้เจอป้ายโล้โก้ผงซักฟอกบิ๊กไปเรื่อยๆ ถ้าใครมีคะแนนมากกว่าเข้ารอบ แต่ถ้าเปิดเจอตัวหยุดตั้งแต่ป้ายแรกหรือมีคะแนนน้อยกว่าตกรอบ

รอบตัดสิน (รูปแบบปี 2546-2547)[แก้]

โดยในรอบนี้จะผู้สบับสนุนอยู่ 18 ป้าย โดยมีเลข 0 - 16 อย่างละ 1 ป้าย ป้ายแจ็คพอต 1 ป้าย (ผู้สบับสนุนในรอบนี้คือ ถั่วลันเตาอบกรอบ สแน็คแจ๊ค) โดยให้แต่ละทีมเลือกป้ายครั้งละ 1 ป้าย เพื่อหาคะแนน ทีมไหนทำคะแนนได้เยอะกว่าเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าในกรณี เจอป้ายแจ็คพอต ทีมนั้นจะชนะโดยอัตโมมัติทันที ทีมไหนชนะครบ 2 รอบ จะเข้าสู่รอบแจ็คพอตทันที (โดยในรอบนี้ ทีมไหนมีคะแนนโหวตทางบ้านเยอะกว่า จะมีสิทธิ์เปลี่ยนป้ายได้ 1 ครั้ง ซึ่งจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)

รอบตัดสิน (รูปแบบปี 2547)[แก้]

โดยรอบนี้จะมีป้ายอยู่ 16 ป้ายโดยมี ป้ายน้ำยาปรับผ้านุ่ม smart 8 ป้าย ป้ายหยุด 8 ป้าย ใครเจอตัวหยุดถือว่าตกรอบ ใครเจอน้ำยาปรับผ้านุ่ม smart เข้ารอบ


รอบตัดสิน (รูปแบบปี 2549-2550)[แก้]

โดยในรอบนี้จะผู้สบับสนุนหลักอยู่ 14 ป้าย โดยมีรูปหน้าพิธีกรทั้ง 5 คน คนละ 3-4 ป้าย (ในแต่ละสัปดาห์) ยกเว้นรูปหน้าคุณสัญญา ซึ่งมีเพียงป้ายเดียว โดยแต่ละคนมี - 300 , - 500 , -1,000 และ 10,000 คะแนน (ผู้สบับสนุนในรอบนี้คือ รถจักรยานเทอร์โบ ต่อมาเปลี่ยนเป็น แป้งเบบี้มายด์) โดยให้ทีมดารารับเชิญเลือกทีมละ 1 ป้าย เจอพิธีกรคนไหน คนนั้นต้องเตรียมตัวร้องเพลงทันที (ในกรณีที่เปิดเจอป้ายติดลบ คะแนนโหวตของทีมพิธีกรจะถูกลบจากแผ่นป้ายที่เปิดไว้ทันที ในกรณีที่เจอป้าย 10,000 คะแนน ทีมที่เปิดเจอจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท ทันที)

รอบตัดสิน (รูปแบบปี 2552-2553)[แก้]

โดยในรอบนี้จะมีแผ่นป้ายผู้สบับสนุนหลักอยู่ 14 ป้าย โดยมีป้ายพีธีกร (ยกเว้นคุณสัญญา ซึ่งต่อมาได้เพิ่มเป็น 1 ป้าย) และผู้ชนะจากการประกวด สู่ฝันปั้นดาวอีก 3 คน เป็น 7 คน ต่อมาเป็นเพิ่มเชาเชาและเพิ่มเป็น 16 แผ่นป้าย (ผู้สบับสนุนในขณะนั้นคือ กาแฟเนเจอร์กิ๊ฟ) โดยให้ดารารับเชิญทั้ง 2 ทีมเลือกป้าย โดยรอบแรก เลือกแถวบน และรอบสอง เลือกแถวล่าง จนครบ 4 คนในแต่ละรอบ โดยต้องเล่นเกมให้ชนะทีมพิธีกร ถ้าชนะในแต่ละรอบได้ ก็จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท

รอบแจ็คพอต (รูปแบบแรก)[แก้]

ในรอบนี้จะมีเหรียญจำนวน 20 เหรียญในตู้น้ำ (เหรียญรูปรีจอยส์สีเขียว) ส่วนที่เหลือจะเป็นเหรียญ07สีเขียวเช่นกันแต่จะซีดกว่า โดยให้ผู้เข้าแข่งขันลงไปดำน้ำ งมหาเหรียญภายในเวลา 60 วินาที โดยเมื่อเริ่มจับเวลา ระดับน้ำในตู้จะค่อยๆเพิ่มสูงขึ้นจนเต็มเมื่อหมดเวลา จากนั้นพิธีกรจะทำการนับเหรียญ โดยเหรียญที่หยิบมาได้ (ที่ไม่ใช่ลาย07) มีค่าเหรียญละ 3,000 บาท ถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเก็บเหรียญได้ครบ 20 เหรียญ เกมจะจบลงจะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าหากไม่ถึง 20 เหรียญจะได้รับเงินรางวัลเท่าที่ทำได้ โดยถ้าเงินรางวัลในรอบที่แล้ว ทำได้มากกว่าในรอบนี้ ก็จะได้รับเงินรางวัลในส่วนนี้ไป ส่วนผู้ชมทางบ้านที่โทรศัพท์เชียร์กันเข้ามา จะได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชคคือแชมพูรีจอยส์ (ในช่วงแรกเป็นผลิตภัณฑ์ทเวลฟ์พลัส แต่ภายหลังได้เพิ่มผู้สนับสนุนร่วม อาทิ ปลาสวรรค์ทาโร่และผลิตภัณฑ์วัตถุปรุงแต่งรสอาหารคนอร์ รสทิพ) เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2540 - 2545

นอกจากนี้ยังเพิ่มรางวัลพิเศษให้กับผู้ชมทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนมาร่วมสนุก เช่น ปลาสวรรค์ทาโร่ต่อมาเป็นคนอร์รสทิพ ในปี2541-2542 จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 9 ป้าย แบ่งเป็นมูลค่าเงินรางวัลต่างๆ ต่อมาในปี 2542-2544 จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 6 ป้าย แบ่งเป็นน้ำหนักทองต่างๆ ผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกแผ่นป้ายมา 1 ป้าย เปิดได้เท่าไหร่ ผู้โชคดีที่จับชิ้นส่วนขึ้นมา จะได้รับรางวัลนั้นไป และในปี 2542-2544 ก่อนจับรางวัลและก่อนการเปิดป้ายหาจำนวนรางวัล ผู้แข่งขันจะต้องเลือกป้ายจาก 6 แผ่นป้ายว่า จะจับชิ้นส่วนของกองชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ไหน โดยมีป้ายหมูและไก่อย่างละ 3 ป้าย ภายหลังเปลี่ยนเป็นวิธีการเลือกเป็นไขลูกบอลจากตู้ หากชิ้นส่วนของผู้ชมทางบ้านที่ส่งเข้ามาทายจำนวนเหรียญได้ตรงกับผู้แข่งขันที่ทำไว้ จะได้รับทองคำหนัก 10 บาททันที แต่ถ้าทายไม่ตรงกัน จะได้รับทองคำหนัก 1 บาทแทน(โดยจำนวนรางวัลน้ำหนักทองคำจะเพิ่มไปเรี่อยๆ จนครบ 100 บาทหรือจนกว่าจะมีคนทายถูกในสัปดาห์นั้นๆ)

รอบแจ็กพอต (รูปแบบที่ 2)[แก้]

ในรอบนี้ให้ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบแจ็กพอตทั้ง 3 คน ช่วยกันโยกปั๊มน้ำใส่กระบอกให้ได้มากที่สุดภายในเวลา 60 วินาที โดยตัวกระบอกมีจะมีระดับน้ำอยู่ทั้งหมด6ขีด มีตั้งแต่ระดับ 3,000 / 5,000 / 10,000 / 30,000 / 50,000 และ 100,000 บาท ถ้าทำถึงขีดที่6 เกมจะหยุดลงและจะได้รับเงินรางวัล 100000 บาท หากหมดเวลาในระดับน้ำเท่าไหร่ ก็จะได้รับเงินเท่าที่ทำได้กลับบ้านไป ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชคคือแชมพูรีจอยส์ เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี2545-2546

รอบแจ็กพอต (รูปแบบที่ 3)[แก้]

ในรอบให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คน ที่เข้ารอบแจ็กพอตส่งตัวแทน 3 คน นั่งม้าหมุนโดยทีมงานจะหมุนม้าหมุนจนครบ 10 รอบ โดยรอบแรกหมุน 30 วินาที ส่วนรอบที่ 2 ไปเก็บสลากที่มีสัญลักษณ์ rejoice กลางอากาศ ภายในเวลา 60 วินาที รวมทั้ง 2 รอบ 90 วินาที ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 เก็บสลากตราสัญลักษณ์ rejoice จนครบ 30 ใบ (โดยแต่ละใบมีมูลค่าใบละ 3,000 บาท) จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาททันที แต่ถ้าหากไม่ถึง 30 ใบ ก็จะได้รับเงินเท่าที่ทำได้กลับบ้านไป ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชคคือแชมพูรีจอยส์ เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี2546-2547

รอบแจ็กพอต (รูปแบบที่ 4)[แก้]

หมุนวงล้อของผลิตภัณฑ์รีจอยส์ โดยก่อนที่จะเล่น ให้ทีมที่ชนะ เลือกก่อนว่าจะเอาเป็นแชมพู หรือ ครีมนวดผม ซึ่งมีทั้งหมด 6 สูตร (ตามที่ผลิตในขณะนั้น) เมื่อเลือกแล้วต้องหมุนวงล้อเพื่อลุ้นว่าตกช่องไหน (เช่น เลือกครีมนวดผมรีจอยส์ ก็ต้องไปตกที่ช่องครีมนวดผมรีจอยส์ สูตรไหนก็ได้) หากตกช่องที่เลือกไว้ 100,000 บาท ทันที แต่ถ้าไม่ตรงจะได้รับเงินรางวัลที่สะสมมาในรอบก่อน

รอบแจ๊กพอต (2551-2552)[แก้]

โดยในรอบนี้จะมีแผ่นป้ายผู้สบับสนุนหลักอยู่ 14 ป้าย โดยมีเลข 1 - 5 สลับกันอยู่ 13 ป้าย และ ป้ายพิเศษ 1 ป้าย ซึ่งเป็นเงินรางวัล 10,000 บาท และสามารถใช้แทนเลขไหนก็ได้ (ผู้สบับสนุนในขณะนั้นคือ กาแฟเนเจอร์กิ๊ฟ) โดยต้องทายว่า ป้ายต่อไป เล็กกว่า หรือ ใหญ่กว่า (ซึ่งกติกาจะคล้ายกับ พลิกล็อก) ถ้าทายถูกจะได้ป้ายละ 10,000 บาท หากทายถูกครบ 5 ป้าย จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท เงินรางวัลสูงสุดคือ 110,000 บาท หากตอบผิดเกมจะหยุดลง

รอบเปิดป้ายสะสมเงินรางวัล/รอบเปิดป้ายตกรอบ[แก้]

(รูปแบบปี 2545-2546)[แก้]

โดยในรอบนี้จะผู้สนับสนุนอยู่ 18 ป้าย (ผู้สบับสนุนในรอบนี้คือ ผงซักฟอกบิ๊ก )โดยมีโล้โก้ผงซักฟอกบิ๊กอยู่ 15 ป้าย และตัวหยุดอยู่ 3 แผ่นป้าย โดยทีมผู้ชนะจะต้องผลัดกันเลือกให้เจอป้ายโล้โก้ผงซักฟอกบิ๊กไปเรื่อยๆ หากเปิดเจอโล้โก้ผงซักฟอกบิ๊กใบป้ายแรกจะได้รับเงินรางวัล 5,000 และถ้าหากเปิดเจอในป้ายต่อๆไป จะได้รับเงินรางวัลป้ายละ 300,000 บาท แต่ถ้าเปิดเจอตัวหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้รับเงินรางวัลที่สะสมกลับไป

(รูปแบบปี 2547-2548)[แก้]

โดยในรอบนี้จะมีแผ่นป้ายผู้สบับสนุนหลักอยู่ 16 ป้าย โดยมีป้าย 1,000 บาท 4 ป้าย 2,000 บาท และ 3,000 บาท อย่างละ 3 ป้าย ป้ายโบนัส ซึ่งมีมูลค่า 10,000 บาท และป้ายหยุด อีกอย่างละ 3 ป้าย (ผู้สบับสนุนในรอบนี้คือ รถจักรยานเทอร์โบ,กรุงศรี) โดยกติกาคือผู้ที่เข้ารอบจากรอบมิวสิคแอ๋คชั้นจะต้องเปิดป้ายรางวัลเรื่อยๆ จนกว่าจะได้เงินสูงสุดก่อนเล่นเกมด่านสุดท้าย แต่ถ้าเจอตัวหยุดเกมจะยุติทันทีพร้อมกับเงินที่สะสมไว้

(รูปแบบปี 2551)[แก้]

โดยในรอบนี้จะมีแผ่นป้ายผู้สบับสนุนหลักอยู่ 14 ป้าย เป็นเงิน 5,000 บาท ทั้งหมด 9 ป้าย และตัวหยุดซึ่งเป็นหน้าพิธีกรทั้ง 5 คน คนละ 1 ป้าย (ผู้สบับสนุนในขณะนั้นคือ แป้งเบบี้มายด์) โดยให้ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบจากการประกวด สู่ฝันปั้นดาว ในสัปดาห์นั้นเป็นคนเลือก เปิดได้เท่าไหร่เอาไปเท่านั้น

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]