เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2020

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2020
รายการเอฟเอคัพ ฤดูกาล 2019–20
วันที่1 สิงหาคม ค.ศ. 2020
สนามสนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
ปีแยร์-แอเมอริก โอบาเมอย็องก์ (อาร์เชนอล)
ผู้ตัดสินแอนโธนี เทย์เลอร์ (เชสเชียร์)
ผู้ชม0 คน[note 1]
2019
2021

เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ ปี 2020, หรือที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ เฮดส์ อัป เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ,[1] เป็นรอบชิงชนะเลิศครั้งที่ 139 ของเอฟเอคัพ, การแข่งขันฟุตบอลถ้วยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก. ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2020 ที่ สนามกีฬาเวมบลีย์ ในกรุงลอนดอน, ประเทศอังกฤษ เนื่องมาจากมีความล่าช้าเนื่องจาก การระบาดทั่วของโควิด-19 ในสหราชอาณาจักร.[2] และเป็นการตัดสินกันระหว่าง อาร์เชนอล และ เชลซี.[3] ทีมชนะเลิศจะได้ผ่านเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มของการแข่งขันฟุตบอล ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2020–21.[4] การแข่งขันได้รับชื่ออย่างเป็นทางการว่า เฮดส์ อัป เอฟเอ คัพ รอบชิงชนะเลิศโดย สมาคมฟุตบอลอังกฤษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์เกี่ยวกับการรับรู้ด้านสุขภาพจิตส่งเสริมการรับรู้โดยประธานเอฟเอ, เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์.[1] แมตช์นี้จะลงเล่น หลังปิดประตู.[5]

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ[แก้]

อาร์เซนอล[แก้]

รอบ คู่แข่งขัน ผล
3 ลีดส์ยูไนเต็ด (H) 1–0
4 บอร์นมัท (A) 2–1
5 พอร์ตสมัท (A) 2–0
QF เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด (A) 2–1
SF แมนเชสเตอร์ซิตี (N) 2–0
สัญลักษณ์: (H) = สนามทีมเหย้า; (A) = สนามทีมเยือน; (N) = สนามกลาง

อาร์เซนอลในฐานะสโมสรจาก พรีเมียร์ลีก, เริ่มต้นในรอบที่สามโดยที่พวกเขาถูกจับสลากพบกับทีมจาก แชมเปียนชิป ลีดส์ยูไนเต็ด ที่สนามของพวกเขา เอมิเรตส์สเตเดียม. อาร์เซนอล ชนะ 1–0 มาจากการทำประตูของ รีสส์ เนลสัน.[6] ในรอบที่สี่, พวกเขาถูกจับสลากพบกับทีมร่วมพรีเมียร์ลีก บอร์นมัท เยือนที่ ดีนคอร์ต. อาร์เซนอล ชนะ 2–1 จากการทำประตูของ บูกาโย ซากา และ เอ็ดดี เอ็นเคเตียห์.[7] ในรอบต่อมาอาร์เซนอลถูกจับสลากออกไปเยือนทีมจาก ลีกวัน พอร์ตสมัท. ที่ แฟรตตันพาร์ก, อาร์เซนอล ชนะ 2–0 จากประตูของ โซกราติส และ เอ็นเคเตียห์.[8] ในรอบก่อนรองชนะเลิศ, พวกเขาจับสลากพบกับทีมร่วมพรีเมียร์ลีก เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด. ที่ บรามอลล์เลน, อาร์เซนอล ชนะ 2–1 กับหนึ่งลูกโทษจาก นีกอลา เปเป และประตูชี้ชัยชนะช่วงทดเวลาบาดเจ็บจาก ดานิ เซบาโยส.[9] ในรอบรองชนะเลิศที่สนามเป็นกลางสนามกีฬาเวมบลีย์, พวกเขาได้จับสลากพบกับทีมจากพรีเมียร์ลีกและ แชมป์เก่าเอฟเอคัพ แมนเชสเตอร์ซิตี. อาร์เซนอลสามารถทะลุเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จหลังจากเอาชนะไปได้ 2–0 กับสองประตูจาก ปีแยร์-แอเมอริก โอบาเมอย็องก์.[10]

เชลซี[แก้]

รอบ คู่แข่งขัน ผล
3 นอตทิงแฮมฟอเรสต์ (H) 2–0
4 ฮัลล์ซิตี (A) 2–1
5 ลิเวอร์พูล (H) 2–0
QF เลสเตอร์ซิตี (A) 1–0
SF แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (N) 3–1
สัญลักษณ์: (H) = สนามทีมเหย้า; (A) = สนามทีมเยือน; (N) = สนามกลาง

เชลซีในฐานะสโมสรจาก พรีเมียร์ลีก, เริ่มต้นในรอบที่สามเล่นในเกมเหย้าพบกับทีมจากแชมเปียนชิป นอตทิงแฮมฟอเรสต์ และชนะไปได้ 2-0 กับประตูจาก แคลลัม ฮัดสัน-โอดอย และ รอสส์ บาร์กลีย์ ที่สนามของพวกเขา สแตมฟอร์ดบริดจ์.[11] ในรอบสี่, พวกเขาถูกจับสลากพบกับทีมจาก ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป ฮัลล์ซิตี. ที่ เคคอมสเตเดียม, เชลซีชนะ 2-1 เนื่องจากประตูของ มีชี บัตชัวยี และ ฟีกาโย โทโมรี.[12] ในรอบต่อมาพวกเขาได้ถูกจับสลากพบกับทีมร่วมพรีเมียร์ลีก ลิเวอร์พูล ที่บ้านและเอาชนะไปได้ 2-0 จากประตูของ วีลียัง และ บาร์กลีย์.[13] ในรอบก่อนรองชนะเลิศ, พวกเขาถูกจับสลากมาพบกับทีมจากพรีเมียร์ลีก เลสเตอร์ซิตี. ที่สนาม คิงเพาเวอร์สเตเดียม, เชลซีชนะ 1-0 จากประตูของบาร์กลีย์.[14] ในรอบรองชนะเลิศที่เวมบลีย์, เชลซีลงเล่นพบกับทีมจากพรีเมียร์ลีก แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด. เชลซีทะลุเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศหลังจากเอาชนะไปได้ 3-1 กับประตูจาก ออลีวีเย ฌีรู, เมสัน เมานต์ และการทำเข้าประตูตัวเองหนึ่งประตูของ แฮร์รี แมไกวร์.[15]

แมตช์[แก้]

รายละเอียด[แก้]

อาร์เซนอล
เชลซี
GK 26 อาร์เจนตินา เอมิเลียโน มาร์ติเนซ
CB 16 อังกฤษ ร็อบ โฮลดิง
CB 23 บราซิล ดาวิด ลูอีซ Substituted off in the 88 นาที 88'
CB 3 สกอตแลนด์ คีแรน เทียร์นีย์ Substituted off in the 90+13 นาที 90+13'
RM 2 สเปน เอกตอร์ เบเยริน
CM 8 สเปน ดานิ เซบาโยส โดนใบเหลือง ใน 73 นาที 73'
CM 34 สวิตเซอร์แลนด์ กรานิต จากา
LM 15 อังกฤษ เอนส์ลีย์ เมตแลนด์-ไนลส์
RW 19 โกตดิวัวร์ นีกอลา เปเป
CF 9 ฝรั่งเศส อาแล็กซ็องดร์ ลากาแซ็ต Substituted off in the 82 นาที 82'
LW 14 กาบอง ปีแยร์-แอเมอริก โอบาเมอย็องก์ (กัปตัน)
ผู้เล่นสำรอง:
GK 33 อังกฤษ แมตต์ มาซีย์
DF 5 กรีซ โซกราติส ปาปัสตาโทปูโลส Substituted on in the 88 minute 88'
DF 31 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เซอัด คอลาชินัตส์ Substituted on in the 90+13 minute 90+13'
MF 11 อุรุกวัย ลูกัส ตอร์เรย์รา
MF 28 อังกฤษ โจ วิลล็อก
MF 57 อังกฤษ แมตต์ สมิธ
MF 77 อังกฤษ บูกาโย ซากา
FW 24 อังกฤษ รีสส์ เนลสัน
FW 30 อังกฤษ เอ็ดดี เอ็นเคเตียห์ Substituted on in the 82 minute 82'
ผู้จัดการทีม:
สเปน มิเกล อาร์เตตา
GK 13 อาร์เจนตินา วิลิ กาบาเยโร
CB 28 สเปน เซซาร์ อัซปิลิกูเอตา (กัปตัน) โดนใบเหลือง ใน 26 นาที 26' Substituted off in the 35 นาที 35'
CB 15 ฝรั่งเศส กูร์ต ซูมา
CB 2 เยอรมนี อันโทนีโอ รือดีเกอร์ โดนใบเหลือง ใน 75 นาที 75' Substituted off in the 78 นาที 78'
RM 24 อังกฤษ รีซ เจมส์
CM 5 อิตาลี ฌอร์ฌิญญู
CM 17 โครเอเชีย มาเทออ คอวาชิช Yellow card 14' Yellow-red card 73'
LM 3 สเปน มาร์โกส อาลอนโซ
RW 19 อังกฤษ เมสัน เมานต์ โดนใบเหลือง ใน 45+4 นาที 45+4' Substituted off in the 78 นาที 78'
CF 18 ฝรั่งเศส ออลีวีเย ฌีรู Substituted off in the 78 นาที 78'
LW 22 สหรัฐ คริสเตียน พูลิซิช Substituted off in the 79 นาที 79'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 1 สเปน เกปา อาร์ริซาบาลากา
DF 4 เดนมาร์ก แอนเทรแอส เครสเตินเซิน Substituted on in the 35 minute 35'
DF 29 อังกฤษ ฟีกาโย โทโมรี
DF 33 อิตาลี แอแมร์ซง ปัลมีเอรี
MF 7 ฝรั่งเศส อึงโกโล ก็องเต
MF 8 อังกฤษ รอสส์ บาร์กลีย์ โดนใบเหลือง ใน 89 นาที 89' Substituted on in the 78 minute 78'
MF 20 อังกฤษ แคลลัม ฮัดสัน-โอดอย Substituted on in the 78 minute 78'
FW 9 อังกฤษ แทมมี อับราฮัม Substituted on in the 78 minute 78'
FW 11 สเปน เปโดร Substituted on in the 79 minute 79'
ผู้จัดการทีม:
อังกฤษ แฟรงก์ แลมพาร์ด

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
ปีแยร์-แอเมอริก โอบาเมอย็องก์ (อาร์เซนอล)

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:[16]
Gary Beswick (Durham)
Adam Nunn (Wiltshire)
ผู้ตัดสินที่สี่:[16]
Chris Kavanagh (Manchester)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินสำรอง:[16]
Lee Betts (Norfolk)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ:[16]
Stuart Attwell (Birmingham)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินจากการใช้วีดิโอช่วยตัดสิน:[16]
Stephen Child (London)

ข้อมูลกฏ-กติกาในแมตช์[17][18]

  • แข่งขันครบ 90 นาที
  • ต่อเวลา 30 นาที หากเสมอกันในเวลา 90 นาที
  • ยิงจุดโทษตัดสิน หากเสมอกันในเวลา 120 นาที
  • มีตัวสำรอง 7 คน
  • เปลี่ยนตัวสำรองได้ 5 คน, แต่สามารถเปลี่ยนตัวสำรองคนที่ 6 ได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ[note 2]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 รอบชิงชนะเลิศจะลงเล่น หลังปิดประตู เนื่องจาก การระบาดทั่วของโควิด-19 ในสหราชอาณาจักร.[5]
  2. แต่ละทีมจะได้รับโอกาสเพียงแค่สามครั้งในการเปลี่ยนตัวผู้เล่น, กับโอกาสครั้งที่สี่ในช่วงต่อเวลาพิเศษ, ไม่นับรวมการเปลี่ยนตัวผู้เล่นในช่วงพักครึ่งเวลาแรก, ก่อนเริ่มต้นของการต่อเวลาพิเศษและช่วงพักครึ่งเวลาแรกในช่วงของการต่อเวลาพิเศษ.

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "2020 FA Cup final renamed Heads Up FA Cup final to promote mental health". BBC Sport. 11 June 2020. สืบค้นเมื่อ 17 July 2020.
  2. "FA Cup final to be held on 1 August with quarter-finals resuming on 27 June". The Guardian. 29 May 2020. สืบค้นเมื่อ 17 July 2020.
  3. "FA Cup semi-final draw: Man Utd vs Chelsea, Arsenal vs Man City". Sky Sports. 29 June 2020. สืบค้นเมื่อ 17 July 2020.
  4. "Access List 20/24" (PDF). UEFA. สืบค้นเมื่อ 17 July 2020. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. 5.0 5.1 "When is the FA Cup 2019-20 final & will fans be allowed to attend?". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 2020-07-20.
  6. Begley, Emlyn (6 January 2020). "Arsenal 1–0 Leeds United: Reiss Nelson goal sends Gunners into fourth round". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 18 July 2020.
  7. McNulty, Phil (27 January 2020). "Bournemouth 1–2 Arsenal: Arteta pleased with 'courageous' Gunners in FA Cup win". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 18 July 2020.
  8. Begley, Emlyn (2 March 2020). "Portsmouth 0–2 Arsenal: Gunners ease into FA Cup quarter-finals". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 18 July 2020.
  9. "Sheffield United 1–2 Arsenal: Dani Ceballos' late goal sends Arsenal to FA Cup semis". BBC Sport. 28 June 2020. สืบค้นเมื่อ 18 July 2020.
  10. "Arsenal 2–0 Man City: Pierre-Emerick Aubameyang guides Gunners into FA Cup final". BBC Sport. 18 July 2020. สืบค้นเมื่อ 18 July 2020.
  11. Emons, Michael (2020-01-05). "Chelsea 2-0 Nottingham Forest, FA Cup third round". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2020-07-19.
  12. Rose, Gary (2020-01-25). "Hull City 1-2 Chelsea: Blues edge Tigers to reach FA Cup fifth round". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2020-07-19.
  13. McNulty, Phil (2020-03-03). "Chelsea 2-0 Liverpool: Reds suffer second successive defeat". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2020-07-19.
  14. McNulty, Phil (2020-06-28). "Leicester City 0-1 Chelsea: Ross Barkley goal takes Blues into FA Cup semi-finals". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2020-07-19.
  15. "Watch Manchester United v Chelsea LIVE in FA Cup semi-final". BBC Sport. 1970-01-01. สืบค้นเมื่อ 2020-07-19.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ referees
  17. "Rules of the FA Challenge Cup competition" (PDF). The Football Association.
  18. "Minute's applause to be held ahead of all Emirates FA Cup quarter-finals". The Football Association. 25 June 2020. สืบค้นเมื่อ 1 August 2020.