อีเอฟแอลคัพ 2018 นัดชิงชนะเลิศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีเอฟแอลคัพ 2018 นัดชิงชนะเลิศ
สนามกีฬาเวมบลีย์ จะเป็นเจ้าภาพในนัดชิงชนะเลิศ
รายการอีเอฟแอลคัพ ฤดูกาล 2017–18
วันที่25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018
สนามสนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
แว็งซ็อง กงปานี (แมนเชสเตอร์ซิตี)
ผู้ตัดสินเคร็ก พอว์สัน (เซาท์ ยอร์คเชียร์)[1]
ผู้ชม85,671 คน
2017
2019 →

การแข่งขัน ฟุตบอลลีกคัพ 2018 นัดชิงชนะเลิศ หรือ อีเอฟแอลคัพ 2018 นัดชิงชนะเลิศ เป็นการแข่งขันฟุตบอลที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 ระหว่าง แมนเชสเตอร์ซิตี และ อาร์เซนอล ที่ สนามกีฬาเวมบลีย์ ในกรุงลอนดอน, ประเทศอังกฤษ.[2]

มันจะเป็นนัดชิงชนะเลิศลีกคัพครั้งแรกภายใต้ชื่อที่ใช้ในการแข่งขันที่มีชื่อว่า คาราบาว คัพ ตามชื่อจากผู้สนับสนุน เครื่องดื่มชูกำลังคาราบาว. ครั้งนี้จะเป็นการแข่งขันระหว่าง แมนเชสเตอร์ซิตี และ อาร์เซนอล. ทีมชนะเลิศจะได้ผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบสองของ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018-19.[3]

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ[แก้]

รอบ คู่แข่งขัน ผล
3 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน (A) 2–1
4 วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ (H) 0–0 (4–1 ลูกโทษ)
รอบก่อนรองชนะเลิศ เลสเตอร์ซิตี (A) 1–1 (4–3 ลูกโทษ)
รอบรองชนะเลิศ บริสตอลซิตี (H) 2–1
บริสตอลซิตี (A) 3–2
สัญลักษณ์: (H) = สนามเหย้า; (A) = สนามเยือน.

แมนเชสเตอร์ซิตี[แก้]

แมนเชสเตอร์ซิตีในฐานะสโมสรจากพรีเมียร์ลีกได้มีส่วนร่วมใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2017–18 เริ่มต้นการแข่งขันในรอบที่สามโดยที่พวกเขาได้ถูกจับสลากออกไปเยือนทีมร่วมพรีเมียร์ลีก เวสต์บรอมมิชอัลเบียน. ที่ เดอะฮอว์ทอนส์, พวกเขาเอาชนะไปได้ 2–1 ซึ่งมาจากการทำคนเดียวสองประตูจาก เลรอย ซาเน.[4] ในรอบที่สี่พวกเขาจับสลากพบกับทีมจาก ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ ที่บ้านของพวกเขา เอติฮัด สเตเดียม, แมตช์นี้จบลงด้วย 0–0 หลังต่อเวลาพิเศษ แต่ แมนเชสเตอร์ซิตี สามารถผ่านเข้ารอบโดยการเอาชนะ การดวลลูกโทษ 4–1.[5] ในรอบก่อนรองชนะเลิศ, พวกเขาถูกจับสลากโดยออกไปเยือนทีมร่วมพรีเมียร์ลีกอย่าง เลสเตอร์ซิตี. ที่สนาม คิงเพาเวอร์สเตเดียม, แมตช์นี้จบลงที่ 1–1 หลังต่อเวลาพิเศษอย่างไรก็ตามแมนเชสเตอร์ซิตี ชนะการดวลลูกโทษ 4–3.[6] ในรอบรองชนะเลิศสองนัดพวกเขาถูกจับสลากพบกับทีมจากแชมเปียนชิป บริสตอลซิตี. ในเลกแรกที่เอติฮัด สเตเดียม, แมนเชสเตอร์ซิตี ชนะ 2–1 เนื่องจากประตูที่มาจาก เกฟิน เดอ เบรยเนอ และ เซร์คีโอ อะกูเอโร.[7] ในเลกที่สองที่ สนามกีฬาแอชตันเกต, แมนเชสเตอร์ซิตี สามารถก้าวเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศหลังจบผลการแข่งขันในนัดนี้ได้ที่ 3–2, ซึ่งรวมผลสองนัดด้วยสกอร์รวม 5–3.[8]

รอบ คู่แข่งขัน ผล
3 ดอนคาสเตอร์โรเวอส์ (H) 1–0
4 นอริชซิตี (H) 2–1 (หลังต่อเวลาพิเศษ)
รอบก่อนรองชนะเลิศ เวสต์แฮมยูไนเต็ด (H) 1–0
รอบรองชนะเลิศ เชลซี (A) 0–0
เชลซี (H) 2–1
สัญลักษณ์: (H) = สนามเหย้า; (A) = สนามเยือน.

อาร์เซนอล[แก้]

อาร์เซนอลในฐานะสโมสรจากพรีเมียร์ลีกได้มีส่วนร่วมใน ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2017–18 เริ่มต้นการแข่งขันในรอบที่สามโดยที่พวกเขาได้ถูกจับสลากเล่นในบ้านพบกับทีมจากฟุตบอลลีกวัน ดอนคาสเตอร์โรเวอส์. ที่สนามของพวกเขา เอมิเรตส์ สเตเดียม, อาร์เซนอล ชนะไปได้ 1-0 เนื่องมาจากหนึ่งประตูโดย ทีโอ วอลคอตต์.[9] ในรอบต่อไปพวกเขาได้ถูกจับสลากพบกับทีมจากฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป นอริชซิตี ที่บ้านของพวกเขา. อาร์เซนอลได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปหลังจากเอาชนะไปได้ 2-1 หลังช่วงต่อเวลาพิเศษกับสองประตูจาก เอ็ดดี เอ็นเคเตียห์.[10]

ในรอบก่อนรองชนะเลิศ, อาร์เซนอลได้ถูกจับสลากมาพบกับทีมร่วมพรีเมียร์ลีกและทีมจากกรุงลอนดอน เวสต์แฮมยูไนเต็ด, โดยที่พวกเขาเอาชนะไปได้ 1-0 ที่เอมิเรตส์ สเตเดียมซึ่งทำได้โดยหนึ่งประตูจาก แดนนี เวลเบก.[11] ในรอบรองชนะเลิศ, พวกเขาถูกจับสลากพบกับทีมร่วมพรีเมียร์ลีกของพวกเขาและยังเป็นศึก ศึกคู่รักคู้แค้นร่วมเมืองลอนดอน เชลซี. หลังเกมเลกแรกด้วยผลเสมอ 0-0 ที่สนามเหย้าของเชลซี สแตมฟอร์ด บริดจ์,[12] อาร์เซนอลสามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศหลังจากเก็บชัยชนะไปได้ 2-1 ที่เอมิเรตส์ สเตเดียม มาจากการทำเข้าประตูตัวเองหนึ่งลูกจากนักเตะของเชลซี อันโทนีโย รือดีเกอร์ และหนึ่งประตูจาก กรานิต จากา.[13] ส่งผลให้อาร์เซนอลกรุยทางเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศโดยที่ไม่ต้องออกจากกรุงลอนดอนซึ่งเป็นเกมของพวกเขาทั้งหมดจนกระทั่งรอบรองชนะเลิศได้เล่นในบ้าน, กับเลกของการออกไปเยือนของรอบรองชนะเลิศก็ได้ลงเล่นในกรุงลอนดอน.[14][15][10][16][12][17][18][19][20]

แมตช์[แก้]

รายละเอียด[แก้]

อาร์เซนอล
แมนเชสเตอร์ซิตี
GK 13 โคลอมเบีย ดาบิด โอสปีนา
CB 21 อังกฤษ แคลัม เชมเบอส์ โดนใบเหลือง ใน 47 นาที 47' Substituted off in the 65 นาที 65'
CB 20 เยอรมนี ชโคดรัน มุสทาฟี
CB 6 ฝรั่งเศส โลร็อง โกเซียลนี (c)
RM 24 สเปน เอกตอร์ เบเยริน โดนใบเหลือง ใน 24 นาที 24'
CM 10 อังกฤษ แจ็ก วิลเชียร์ โดนใบเหลือง ใน 88 นาที 88'
CM 29 สวิตเซอร์แลนด์ กรานิต จากา
LM 18 สเปน นาโช มอนเรอัล Substituted off in the 26 นาที 26'
RW 11 เยอรมนี เมซุท เออซิล
LW 8 เวลส์ แอรอน แรมซีย์ โดนใบเหลือง ใน 32 นาที 32' Substituted off in the 73 นาที 73'
CF 14 กาบอง ปีแยร์-แอเมอริก โอบาเมอย็องก์
ตัวสำรอง:
GK 33 เช็กเกีย แปเตอร์ แช็ค
DF 4 เยอรมนี แพร์ แมร์เทสอัคเคอร์
DF 31 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เซอัด คอลาชินัตส์ Substituted on in the 26 minute 26'
MF 30 อังกฤษ เอนส์ลีย์ เมตแลนด์-ไนลส์
MF 35 อียิปต์ โมฮัมหมัด เอลเนนี
FW 17 ไนจีเรีย อเล็กซ์ อิโวบี Substituted on in the 73 minute 73'
FW 23 อังกฤษ แดนนี เวลเบก Substituted on in the 65 minute 65'
ผู้จัดการทีม:
ฝรั่งเศส อาร์แซน แวงแกร์
GK 1 ชิลี เกลาดีโอ บราโบ
RB 2 อังกฤษ ไคล์ วอล์กเกอร์
CB 4 เบลเยียม แว็งซ็อง กงปานี (c) โดนใบเหลือง ใน 80 นาที 80'
CB 30 อาร์เจนตินา นีโกลัส โอตาเมนดี
LB 3 บราซิล ดานีลู
CM 8 เยอรมนี อิลไค กึนโดอัน
CM 25 บราซิล เฟร์นังจิญญู โดนใบเหลือง ใน 36 นาที 36' Substituted off in the 52 นาที 52'
CM 21 สเปน ดาบิด ซิลบา
RW 17 เบลเยียม เกฟิน เดอ เบรยเนอ
LW 19 เยอรมนี เลรอย ซาเน Substituted off in the 77 นาที 77'
CF 10 อาร์เจนตินา เซร์คีโอ อะกูเอโร Substituted off in the 89 นาที 89'
ตัวสำรอง:
GK 31 บราซิล แอแดร์ซง
DF 5 อังกฤษ จอห์น สโตนส์
DF 14 ฝรั่งเศส แอมริก ลาปอร์ต
MF 20 โปรตุเกส บือร์นาร์ดู ซิลวา Substituted on in the 52 minute 52'
MF 35 ยูเครน ออแลกซันดร์ ซินแชนกอ
MF 47 อังกฤษ ฟิล โฟเดน Substituted on in the 89 minute 89'
FW 33 บราซิล กาบรีแยล เฌซุส Substituted on in the 77 minute 77'
ผู้จัดการทีม:
สเปน เปป กวาร์ดีโอลา

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด
แว็งซ็อง กงปานี (แมนเชสเตอร์ซิตี)

คณะผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:[1]
Gary Beswick (Durham)
Adam Nunn (Wiltshire)
ผู้ตัดสินที่สี่:[1]
Graham Scott (Berks & Bucks)
ผู้ตัดสินที่ห้า:[1]
Ian Hussin (Liverpool)
Video assistant referee:[1]
Neil Swarbrick (Lancashire)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินจากการใช้วีดิโอ:[1]
Peter Kirkup (Northamptonshire)

กติกา

  • แข่งขัน 90 นาที.
  • ถ้าเสมอกันต้องต่อเวลาพิเศษ 30 นาที.
  • ดวลจุดโทษตัดสินหาผู้ชนะถ้าเสมอกันใน 120 นาที.
  • มีชื่อเปลี่ยนตัวสำรองได้ถึง 7 คน, แต่ใช้เปลี่ยนตัวลงสนามได้เพียงแค่สามคน.

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Match Officials confirmed for Carabao Cup Final". EFL.com. English Football League. 13 February 2018. สืบค้นเมื่อ 24 February 2018.
  2. "Key Dates". English Football League. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม ค.ศ. 2018. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "Preliminary Access List 2018/19". UEFA. 2016-08-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-22. สืบค้นเมื่อ 2018-01-23 – โดยทาง Kassiesa.
  4. "West Bromwich Albion 1-2 Manchester City". 20 กันยายน พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2561 – โดยทาง www.bbc.co.uk. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "Man City 0-0 Wolves (aet, 4-1 on pens)". 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2561 – โดยทาง www.bbc.co.uk. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "Leicester City 1-1 Manchester City (3-4 pens)". 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2561 – โดยทาง www.bbc.co.uk. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "Manchester City 2-1 Bristol City". 25 มกราคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2561 – โดยทาง www.bbc.co.uk. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "FT: Bristol City 2-3 Man City — Guardiola reaches first final in England". 25 มกราคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2561 – โดยทาง www.bbc.co.uk. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. "Arsenal 1-0 Doncaster Rovers". BBC Sport. 2017-09-20. สืบค้นเมื่อ 2018-01-25.
  10. 10.0 10.1 Gerry Cox, The Emirates (2017-10-24). "Arsenal 2 Norwich 1 (AET): Eddie Nketiah becomes instant hit with brace to spare blushes in cup comeback". Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2018-01-25.
  11. O'Keeffe, Greg (2017-12-19). "Arsenal 1-0 West Ham United". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2018-01-25.
  12. 12.0 12.1 "Chelsea 0-0 Arsenal". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 2018-01-26.
  13. Emons, Michael. "Arsenal 2-1 Chelsea (2-1 agg)". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2018-01-25.
  14. Kelly, Ryan (2017-04-21). "Carabao Cup: Draws, fixtures, results & guide to each round". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 2018-01-25.
  15. Lawrence, Amy. "Nervous Arsenal scrape past Doncaster after Theo Walcott's neat finish". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2018-01-27.
  16. "Arsenal 1 West Ham 0: Olivier Giroud injured as Danny Welbeck's goal wins drab Carabao Cup quarter-final". The Telegraph. 2017-12-19. สืบค้นเมื่อ 2018-01-27.
  17. Gholam, Simeon (2017-05-21). "Arsenal 2 - 1 Chelsea". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 2018-01-27.
  18. "Manchester City vs Arsenal". Sports Illustrated. สืบค้นเมื่อ 2018-01-30.
  19. "Arsenal scores and fixtures". ESPN. สืบค้นเมื่อ 2018-02-02.
  20. Ryan Kelly. "When is the Carabao Cup final? Date, venue and everything you need to know". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 2018-02-04.