รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
中华人民共和国宪法
ปกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ภาพรวม
ท้องที่ใช้จีน สาธารณรัฐประชาชนจีน
วันประกาศ4 ธันวาคม พ.ศ. 2525 (41 ปี)
มีผลบังคับใช้4 ธันวาคม พ.ศ. 2525 (41 ปี)
ระบบรัฐเดี่ยว ลัทธิมากซ์–เลนิน รัฐพรรคการเมืองเดียว สังคมนิยมอัตลักษณ์จีน สาธารณรัฐ
โครงสร้างรัฐบาล
แขนง6 (นิติบัญญัติ, บริหาร, ทหาร, กำกับดูแล, ตุลาการ, อัยการ)
ประมุขแห่งรัฐประธานาธิบดี
ฝ่ายนิติบัญญัติสภาประชาชนแห่งชาติ
ฝ่ายบริหารคณะมนตรีรัฐกิจ นำโดยนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายตุลาการศาลประชาชนสูงสุด
สำนักงานอัยการประชาชนสูงสุด
ระบอบการกระจายอำนาจภายในรัฐเดียว (เขตบริหารพิเศษ)
คณะผู้เลือกตั้งใช่ – สภาประชาชนแห่งชาติได้รับการเลือกตั้งโดยการเลือกตั้งทางอ้อมสองชั้น ได้แก่ สภาประชาชนประจำเทศมณฑลและเขตการปกครองท้องถิ่นเลือกสมาชิกสภาประชาชนประจำจังหวัด ซึ่งจะมาเลือกสมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติตามลำดับ
ประวัติศาสตร์
นิติบัญญัติชุดแรก21 กันยายน พ.ศ. 2492 (สภาปรึกษาการเมืองประชาชนจีน)
27 กันยายน พ.ศ. 2497 (สภาประชาชนแห่งชาติ)
บริหารชุดแรก27 กันยายน พ.ศ. 2497 (ประธาน)
1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 (นายกรัฐมนตรี)
ตุลาการชุดแรก22 ตุลาคม พ.ศ. 2492
แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้ง)5
แก้ไขครั้งล่าสุด11 มีนาคม พ.ศ. 2561
ที่เก็บรักษาปักกิ่ง
ผู้ยกร่างคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 11
ฉบับก่อนหน้ารัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พุทธศักราช 2521
เอกสารฉบับเต็ม
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน บนวิกิซอร์ซ

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตัวย่อ: 中华人民共和国宪法; จีนตัวเต็ม: 中華人民共和國憲法; พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó Xiànfǎ) เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้รับการประกาศใช้โดยสภาประชาชนแห่งชาติ ชุดที่ 5 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2525 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมทุก ๆ 5 ปี เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งแทนที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2497, พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2521 [1]

ประวัติ[แก้]

รัฐธรรมนูญฉบับแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2497 หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญสองฉบับในปี พ.ศ. 2518 และ 2521 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ได้รับการประกาศในปี พ.ศ. 2525 แต่ละฉบับมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และต่อมามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2525 ถึง 5 ครั้ง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโครงสร้างของรัฐบาลจีน

โครงสร้าง[แก้]

  1. คำปรารภ
  2. หมวด 1 บททั่วไป
  3. หมวด 2 สิทธิและหน้าที่พื้นฐานพลเมือง
  4. หมวด 3 โครงสร้างของรัฐ — ซึ่งรวมถึงองค์กรของรัฐ เช่น สภาประชาชนแห่งชาติ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะมนตรีรัฐกิจ คณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง สภาและรัฐบาลท้องถิ่นทุกระดับ องค์กรปกครองตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์อิสระ คณะกรรมาธิการตรวจสอบแห่งชาติ และศาลประชาชนและอัยการประชาชน
  5. หมวด 4 ธงชาติ เพลงชาติ ตราแผ่นดิน และเมืองหลวง[2]

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน[แก้]

การแก้ไขเพิ่มเติม[แก้]

สภาประชาชนแห่งชาติ ชุดที่ 7 (พ.ศ. 2531)[แก้]

สภาประชาชนแห่งชาติแก้ไขมาตรา 10 และ 11 ของรัฐธรรมนูญ อนุญาตให้มีการเกิดขึ้นของภาคเอกชนและอนุญาตให้มีการโอนการถือครองที่ดิน[3]

สภาประชาชนแห่งชาติ ชุดที่ 8 (พ.ศ. 2536)[แก้]

สภาประชาชนแห่งชาติได้แก้ไขเนื้อหาและคำปรารภส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญ ตลอดจนอนุญาตให้มีการเลือกตั้งผู้แทนสภาประชาชนในท้องถิ่น สถาปนาระบบ "เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม" อย่างเป็นทางการ และมีการเพิ่มความร่วมมือหลายฝ่ายและระบบการปรึกษาทางการเมืองภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนไว้ในคำปรารภ

สภาประชาชนแห่งชาติ ชุดที่ 9 (พ.ศ. 2542)[แก้]

สภาประชาชนแห่งชาติได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยปรับปรุงสถานะของเศรษฐกิจภาคเอกชนให้ดียิ่งขึ้น และยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วย "อาชญากรรมต่อต้านการปฏิวัติ"

สภาประชาชนแห่งชาติ ชุดที่ 10 (พ.ศ. 2547)[แก้]

รัฐธรรมนูญได้รับการแก้ไขเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547 เพื่อรับประกันเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนบุคคล ("ทรัพย์สินส่วนบุคคลที่ได้รับตามกฎหมายพลเมืองจะมิถูกละเมิด") และสิทธิมนุษยชน ("รัฐเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชน") รัฐบาลประกาศว่าสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของระบอบประชาธิปไตยจีน และเป็นสัญญาณจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่าพวกเขาตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับตัวให้เข้ากับเศรษฐกิจจีนที่กำลังเฟื่องฟู ซึ่งได้สร้างชนชั้นกลางที่กำลังเติบโตซึ่งต้องการการคุ้มครองทรัพย์สินส่วนบุคคล[4] และ "อี้หย่งจฺวินจี้นสิงฉฺวี่" ก็ถูกบัญญัติให้เป็นเพลงชาติอย่างชัดเจนด้วย

หู จิ่นเทา ผู้นำจีนกล่าวว่า "การแก้ไขรัฐธรรมนูญของจีนเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาของจีน [...] เราจะใช้ความพยายามอย่างจริงจังเพื่อดำเนินการดังกล่าวในทางปฏิบัติ"[4]

สภาประชาชนแห่งชาติ ชุดที่ 13 (พ.ศ. 2561)[แก้]

รัฐธรรมนูญได้รับการแก้ไขเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561 ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 2,958 เสียง ไม่เห็นด้วย 2 เสียง และงดออกเสียง 3 เสียง[5][6] โดยมีการการแก้ไขต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมการควบคุมและอำนาจสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[7] รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบแห่งชาติ[8] การจัดตั้งหน่วยงานต่อต้านการรับสินบนใหม่ ขยายอำนาจของหน่วยงานเฝ้าระวังการรับสินบนของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพิ่มมุมมองทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาของหู จิ่นเทา และความคิดของสี จิ้นผิง ลงในคำปรารภของรัฐธรรมนูญ[9] และยกเลิกข้อจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ส่งผลให้สี จิ้นผิง สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไปได้อย่างไม่มีกำหนด สียังดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดโดยพฤตินัยในพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ปกครองจีนโดยไม่มีการจำกัดวาระ[10][11][12]

แนวคิดเรื่องการสร้างอารยธรรมทางนิเวศวิทยา (ecological civilization) ถูกเพิ่มเข้าไปในรัฐธรรมนูญด้วย[13]: 1 

การแก้ไขยังเพิ่มวลี “พรรคคอมมิวนิสต์จีน” และ “ความเป็นผู้นำ” เข้าไปในเนื้อหาหลักของรัฐธรรมนูญ ก่อนที่จะมีการแก้ไข วลีดังกล่าวได้ถูกกล่าวถึงในคำปรารภเท่านั้น (คำปรารภตามรัฐธรรมนูญมักไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา)[14]

การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ[แก้]

ข้อวิจารณ์[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Diamant, Neil J. (2022). Useful Bullshit: Constitutions in Chinese Politics and Society (ภาษาอังกฤษ). Cornell University Press. ISBN 978-1-5017-6129-4.
  2. "Constitution of the People's Republic of China (2018 Amendment)". webcache.googleusercontent.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 29, 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-28.
  3. "中国共产党中央委员会关于修改中华人民共和国宪法个别条款的建议". 中国人大网. 1988-02-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-09. สืบค้นเมื่อ 2018-03-10.
  4. 4.0 4.1 Zhong, Huang; Qian, Cheng (2014). "The Disappearance of Hong Kong in Comics, Advertising and Graphic Design". ใน Plantilla, Jefferson R. (บ.ก.). Bridging Human Rights Principles and Business Realities in Northeast Asia (PDF). Malaysia: Vinlin Press. pp. 21–53.
  5. Nectar Gan (2018-03-12). "Xi Jinping cleared to stay on as China's president with just 2 dissenters among 2,964 votes". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-25. สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.
  6. Liangyu, บ.ก. (2018-03-11). "China's national legislature adopts constitutional amendment". Xinhuanet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-25. สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.
  7. Babones, Salvatore (11 March 2018). "China's Constitutional Amendments Are All About The Party, Not The President". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 7, 2019. สืบค้นเมื่อ 18 November 2019.
  8. Gao, Charlotte (28 December 2017). "China Plans to Amend Its Constitution". The Diplomat.
  9. Huang, Joyce (19 September 2017). "China's Constitution to Include Xi Jinping Thought". VOA News.
  10. "Translation: 2018 Amendment to the P.R.C. Constitution". npcobserver.com. March 11, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2018. สืบค้นเมื่อ December 22, 2018.
  11. Liangyu, บ.ก. (2018-02-25). "CPC proposes change on Chinese president's term in Constitution". Xinhuanet (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-25. สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.
  12. Buckley, Chris; Meyers, Steven Lee (11 March 2018). "China's Legislature Blesses Xi's Indefinite Rule. It Was 2,958 to 2". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2019. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019.
  13. Rodenbiker, Jesse (2023). Ecological States: Politics of Science and Nature in Urbanizing China. Environments of East Asia. Ithaca, NY: Cornell University Press. ISBN 978-1-5017-6900-9.
  14. "The U.S. Constitution: Preamble". United States Courts. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2019. สืบค้นเมื่อ 18 November 2019.