หลิว เช่าฉี
หลิว เช่าฉี | |
---|---|
刘少奇 | |
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน พ.ศ. 2502 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2511 (9 ปี 187 วัน) | |
หัวหน้ารัฐบาล | โจว เอินไหล |
รองประธานาธิบดี | ต่ง ปี้อู่ และซ่ง ชิ่งหลิง |
ผู้นำ | เหมา เจ๋อตง (ประธานพรรค) |
ก่อนหน้า | เหมา เจ๋อตง |
ถัดไป | ต่ง ปี้อู่ และซ่ง ชิ่งหลิง |
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กันยายน พ.ศ. 2497 – 28 เมษายน พ.ศ. 2502 (4 ปี 225 วัน) | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | จู เต๋อ |
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 28 กันยายน พ.ศ. 2499 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2509 (2 ปี 212 วัน) | |
ประธาน | เหมา เจ๋อตง |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | หลิน เปียว |
สมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กันยายน พ.ศ. 2497 – 21 ตุลาคม พ.ศ. 2511 (14 ปี 36 วัน) | |
เขตเลือกตั้ง | ปักกิ่ง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 หนิงเซียง มณฑลหูหนาน จักรวรรดิชิง |
เสียชีวิต | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 (70 ปี) ไคเฟิง มณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน |
เชื้อชาติ | จีน |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน (2464–2511) |
คู่สมรส | วัง กวงเหม่ย (2491–2512) |
บุตร | 9 คน |
หลิว เช่าฉี | |||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 刘少奇 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 劉少奇 | ||||||||||||
|
หลิว เช่าฉี (จีนตัวย่อ: 刘少奇; จีนตัวเต็ม: 劉少奇; พินอิน: Liú Shàoqí) (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 – 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512) เป็นนักปฏิวัติและนักการเมืองชาวจีน เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการประจำสภาประชาชนแห่งชาติระหว่างปี พ.ศ. 2497– 2502 รองประธานของพรรคคอมมิวนิสต์จีนระหว่างปี พ.ศ. 2499–2509 และประธานสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างปี พ.ศ. 2502–2511 เขาถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเหมา เจ๋อตง แต่สุดท้ายก็ถูกขับออกจากพรรคในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม
ในช่วงวัยรุ่น หลิวมีส่วนร่วมในขบวนการแรงงาน รวมไปถึงการนัดหยุดงานประท้วงต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือขบวนการ 30 พฤษภาคม หลังจากสงครามกลางเมืองจีนปะทุขึ้นในปี พ.ศ. 2470 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ส่งหลิวไปทำงานที่เซี่ยงไฮ้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน จากนั้นในปี พ.ศ. 2475 เขาก็เดินทางไปยังโซเวียตเจียงซี เขาเข้าร่วมการเดินทัพทางไกลและได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคประจำภาคเหนือของจีนในปี พ.ศ. 2479 เพื่อนำการต่อต้านญี่ปุ่นในพื้นที่ดังกล่าว ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง หลิวได้รับมอบหมายให้ดูแลสำนักงานพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำที่ราบภาคกลาง (Central Plains Bureau) ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 หลังจากเหตุการณ์กองทัพใหม่ที่สี่ เขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนทางการเมืองของกองทัพ เมื่อหลิวเดินทางกลับเหยียนอันในปี พ.ศ. 2486 เขาก็ได้รับตำแหน่งเลขาธิการสำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรองประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง
หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 หลิวได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองประธานรัฐบาลประชาชนกลาง ต่อมาหลังจากมีการจัดตั้งสภาประชาชนแห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2497 หลิวก็ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการประจำสภาฯ และในปี พ.ศ. 2502 เขาก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนสืบต่อจากเหมา เจ๋อตง ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี หลิวได้ริเริ่มนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง 7,000 คนในปี พ.ศ. 2505 เขาได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นทายาททางการเมืองของเหมา เจ๋อตงในปี พ.ศ. 2504 แต่ทว่าโชคชะตาของหลิวก็พลิกผันหลังจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรมเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2509 เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกเหมาขับออกจากพรรคในปี พ.ศ. 2510 เขาถูกจับกุมและคุมขัง ตลอดช่วงเวลานั้นเขาถูกใส่ร้ายว่าเป็น "หัวหน้ากองบัญชาการชนชั้นนายทุนจีน" และเป็น "พวกเดินเส้นทางทุนนิยม" คนสำคัญของจีน รวมถึงเป็นผู้ทรยศต่อการปฏิวัติ หลิวเสียชีวิตในคุกในปี พ.ศ. 2512 ด้วยภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หลังการเสียชีวิต หลิวถูกประณามอย่างหนักหน่วงเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งได้รับการฟื้นฟูเกียรติยศโดยรัฐบาลของเติ้ง เสี่ยวผิงในปี พ.ศ. 2523 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย "แก้ไขความผิดพลาด ปรับปรุงสิ่งที่ถูกต้อง" รัฐบาลของเติ้งยังได้จัดรัฐพิธีศพให้กับเขาด้วย
วัยเยาว์
[แก้]หลิ่ว เชาฉี เกิดในครอบครัวชาวนาที่ค่อนข้างร่ำรวยที่หมู่บ้านหัวหมิงโหลว[1] อำเภอหนิงเซียง มณฑลหูหนาน[2] บ้านบรรพบุรุษของเขาตั้งอยู่ที่อำเภอจี๋ฉุ่ย มณฑลเจียงซี เขาได้รับการศึกษาสมัยใหม่[3]: 142 โดยเรียนที่โรงเรียนมัธยมปลายหนิงเซียงจู้เชิง และได้รับการคัดเลือกให้เข้าเรียนที่เซี่ยงไฮ้เพื่อไปศึกษาต่อที่รัสเซีย ในปี พ.ศ. 2463 เขากับเหริน ปี้ฉือได้เข้าร่วมคณะเยาวชนสังคมนิยม และในปีถัดมาหลิวก็ได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยกรรมกรแห่งตะวันออกของคอมมิวนิสต์สากล ในกรุงมอสโก[1]
เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2464 ปีถัดมาเขากลับมายังจีนในฐานะเลขานุการสหพันธ์แรงงานแห่งชาติจีน เขาได้นำการประท้วงของพนักงานรถไฟหลายครั้งในหุบเขาแยงซีและที่อันหยวน บนชายแดนเจียงซี–หูหนาน[1]
กิจกรรมการปฏิวัติ
[แก้]สาธารณรัฐประชาชนจีน
[แก้]การถูกโจมตี เสียชีวิต และการฟื้นฟู
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Dittmer, Lowell, Liu Shao-ch’i and the Chinese Cultural Revolution: The Politics of Mass Criticism, University of California Press (Berkeley), 1974, p. 27
- ↑ Snow, Edgar, Red Star Over China, Random House (New York), 1938. Citation is from the Grove Press 1973 edition, pp. 482–484
- ↑ Hammond, Ken (2023). China's Revolution and the Quest for a Socialist Future. New York, NY: 1804 Books. ISBN 9781736850084.