แฟร์ดีน็อง ฟ็อช
ผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร | |
---|---|
ดำรงตำแหน่ง 26 มีนาคม 1918 – 10 มกราคม 1920 | |
ก่อนหน้า | ตำแหน่งก่อตั้ง |
ถัดไป | ตำแหน่งถูกยุบเลิก[a] |
ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพฝรั่งเศส | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มิถุนายน 1918 – 10 มกราคม 1920 | |
ก่อนหน้า | ตำแหน่งก่อตั้ง |
ถัดไป | ตำแหน่งถูกยุบเลิก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 ตุลาคม ค.ศ. 1851[1] ตาร์บ (จังหวัดโอต-ปีเรเน, ฝรั่งเศส) |
เสียชีวิต | 20 มีนาคม ค.ศ. 1929[2] ปารีส (แซน, ฝรั่งเศส) | (77 ปี)
ที่ไว้ศพ | ออแตลเดแซ็งวาลีด |
เชื้อชาติ | ฝรั่งเศส |
คู่สมรส | ฌูว์ลี เบียงเวอนูว์ |
บุตร | มารี ฟ็อช อาน ฟ็อช เออแฌน ฌูล แฌร์แม็ง ฟ็อช แฌร์แม็ง ฌูล หลุยส์ ฟ็อช |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | เอกอลปอลีแต็กนิก |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 |
สังกัด | กองทัพบกฝรั่งเศส |
ประจำการ | 1870 – 1923 |
ยศ | Général de division[b] |
หน่วย |
|
บังคับบัญชา |
|
ผ่านศึก | |
แฟร์ดีน็อง ฟ็อช (ฝรั่งเศส: Ferdinand Foch, 2 ตุลาคม 1851 – 20 มีนาคม 1929) เป็นนายพลและนักทฤษฎีทางทหารชาวฝรั่งเศส เขาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฟ็อชดำรงตำแหน่งนี้ในปี 1918 เมื่อฝ่ายเยอรมันดำเนินการรุกฤดูใบไม้ผลิเพื่อผลักดันฝ่ายสัมพันธมิตรหลังการรบในสนามเพลาะหยุดนิ่ง เขาประสบความสำเร็จในการประสานกองทัพฝรั่งเศส บริติชและอเมริกันเพื่อหยุดยั้งการรุกของเยอรมัน ก่อนจะรุกกลับในการรุกร้อยวัน เดือนพฤศจิกายน 1918 ฟ็อชตอบรับคำขอสงบศึกของฝ่ายเยอรมัน นำไปสู่การสงบศึกเพื่อยุติสงคราม ต่อมาเขามีความเห็นว่าสนธิสัญญาแวร์ซายนั้นปรานีต่อฝ่ายเยอรมันจนเกินไป และเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในวันที่ 28 มิถุนายน 1919 ฟ็อชได้กล่าวว่า "นี่ไม่ใช่สันติภาพ แต่เป็นแค่การสงบศึกเป็นเวลา 20 ปี" ซึ่งต่อมาอีก 20 ปีก็เกิดสงครามโลกครั้งที่สองตามมา[3]
ฟ็อชเกิดในครอบครัวคาทอลิกที่เมืองตาร์บ จังหวัดโอต-ปีเรเนในปี 1851 เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนคณะเยสุอิต Collège Saint-Michel และ Collège Saint-Clement[4] เมื่อเกิดสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ฟ็อชในวัย 19 ปีถูกเกณฑ์เข้ากรมทหารราบที่ 4 แต่ไม่ได้ร่วมรบในสงคราม[5] หลังจากนั้นเขาทำงานหลายแห่ง เช่น กรมทหารปืนใหญ่ที่ 24, École Supérieure de Guerre, กรมทหารปืนใหญ่ที่ 35 และเหล่าทหารที่ 20 ที่เมืองน็องซี
เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติขึ้นในปี 1914 ฟ็อชได้รับหน้าที่บัญชาการกองทัพที่ 9 ร่วมกับแม็กซีม แวร์ก็อง เขาสามารถหยุดยั้งฝ่ายเยอรมันที่รุกคืบผ่านเบลเยียมและฝรั่งเศสไว้ได้ในยุทธการที่มาร์นครั้งที่หนึ่ง[6] แต่ความเสียหายด้านกำลังพลในยุทธการที่อาร์ตัวส์ครั้งที่สามและยุทธการที่แม่น้ำซอม ทำให้เขาถูกปลดแล้วถูกส่งไปบัญชาการแนวรบอิตาลีแทน[7] ในปี 1917 ฟ็อชได้รับตำแหน่งผู้แทนทหารถาวรของฝรั่งเศสเมื่อมีการก่อตั้งสภาสงครามสูงสุดเพื่อประสานงานฝ่ายสัมพันธมิตร ต่อมาในปี 1918 ฝ่ายเยอรมันเริ่มการรุกฤดูใบไม้ผลิโดยมีจุดประสงค์เพื่อเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรให้ได้ก่อนสหรัฐจะส่งกำลังสนับสนุน ฟ็อชได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร ดำเนินการประสานงานกับทัพสัมพันธมิตรอื่น ๆ และจัดตั้งกำลังสำรองเพื่อสนับสนุนแนวป้องกันฝ่ายเยอรมัน[8] เดือนกรกฎาคม เขาได้รับยศจอมพลหลังได้รับชัยชนะในยุทธการที่มาร์นครั้งที่สองอันเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่การรุกกลับของฝ่ายสัมพันธมิตร[9] วันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 ฟ็อชร่วมลงนามในการสงบศึกเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
หลังสงคราม ฟ็อชได้รับยศจอมพลจากกองทัพสหราชอาณาจักรและโปแลนด์[10] นอกจากนี้เขายังได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เช่น Order of Merit (สหราชอาณาจักร), Distinguished Service Medal (สหรัฐ) และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีของสยาม ฟ็อชเสียชีวิตจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดที่กรุงปารีสในปี 1929 ร่างของเขาถูกฝังที่ออแตลเดแซ็งวาลีด[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Governement of the French Republic. "Birth certificate of Foch, Ferdinand". culture.gouv.fr. สืบค้นเมื่อ 24 July 2019.
- ↑ Governement of the French Republic. "Death certificate of Foch, Ferdinand". culture.gouv.fr. สืบค้นเมื่อ 24 July 2019.
- ↑ Williamson Murray; Jim Lacey (2009). The Making of Peace: Rulers, States, and the Aftermath of War. Cambridge UP. p. 209. ISBN 9780521517195.
- ↑ René Puaux (1919). Foch: Sa vie. Sa doctrine. Son œuvre. La foi en la victoire (ภาษาฝรั่งเศส). Payot. p. 14.
- ↑ Hickman, Kennedy (December 3, 2018). "World War I: Marshal Ferdinand Foch". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ January 20, 2020.
- ↑ "Ferdinand Foch". HISTORY. November 12, 2009. สืบค้นเมื่อ January 20, 2020.
- ↑ Overy, Richard (2014). World War I: The Definitive Visual History from Sarajevo to Versailles. London, England: Penguin. p. 291. ISBN 9781465434906.
- ↑ Dawes, Charles Gates (2016). A Journal of the Great War. Morrisville, North Carolina, United States: Lulu.com. p. 161. ISBN 9780990657415.
- ↑ "Marshal Ferdinand Jean Marie Foch 1851 – 1929". Artware Fine Art. สืบค้นเมื่อ January 20, 2020.
- ↑ "Ferdinand Foch". Britannica. สืบค้นเมื่อ January 20, 2020.
- ↑ "Ferdinand Foch". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ January 20, 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แฟร์ดีน็อง ฟ็อช
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ แฟร์ดีน็อง ฟ็อช
- วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ แฟร์ดีน็อง ฟ็อช
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2394
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2472
- นายพลชาวฝรั่งเศส
- จอมพลชาวฝรั่งเศส
- จอมพลสูงสุด
- นายพลในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ทหารชาวฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ผู้นำการทหารในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- เสียชีวิตจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส.ร.
- บุคคลจากจังหวัดโอต-ปีเรเน
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์