ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kalasee (คุย | ส่วนร่วม)
Kalasee (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 44: บรรทัด 44:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางศิลาฤกษ์ “มหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี” (ในขณะนั้น) ณ หมู่บ้านไตรรัตน์ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
วันที่ [[18 เมษายน]] [[พ.ศ. 2541]] [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางศิลาฤกษ์ '''“มหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี”''' (ในขณะนั้น) ณ หมู่บ้านไตรรัตน์ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี


หากย้อนอดีต เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2538 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้มหาวิทยาลัยมหิดลรับภารกิจในการจัดตั้งหมาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี ในโครงการขยายการศึกษาขั้นอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดตั้งโครงการจัดตั้งมหาวิทยามหิดล ณ กาญจนบุรี ขึ้นในสังกัดสำนักงานอธิการบดีในปี พ.ศ. 2538 โดยรัฐบาลมีนโยบายที่จะกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบท ประกอบกับในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 8 ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยามนุษย์ ทบวงมหาวิทยาลัยจึงมีนโยบาย ที่จะขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปยังส่วนภูมิภาค เพื่อยกระดับชีวิต รายได้ การสร้างงาน ตลอดจนฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทให้ดีขึ้น แต่เนื่องด้วยงบประมาณของประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงใช้วิธีการขยายโอกาสทางการศึกษา ด้วยการให้มหาวิทยาลัยขอรัฐขยาย วิทยาเขตการศึกษา อันจะใช้งบประมาณน้อยกว่าการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ ประกอบกับประชาชนจังหวัดกาญจนบุรี ได้มีความต้องการที่จะให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ณ จังหวัดกาญจนบุรีขึ้น ซึ่งจากการประสานงานระหว่าง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ผู้แทนจังหวัดกาญจนบุรีและอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เห็นชอบที่จะให้มหาวิทยาลัยมหิดลขยายวิทยาเขตการศึกษาไปที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยจังหวัดได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดหาที่ดินเพื่อเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ เพื่อทำหน้าที่สำรวจ ตรวจสอบและศึกษา พื่นที่แปลงต่างๆ ที่เหมาะสม โดยได้เสนอพื้นที่ให้มหาวิทยาลัยพิจารณารวม 3 แห่ง คือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอพนมทวน และอำเภอไทรโยค
เมื่อวันที่ [[20 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2538]] คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้มหาวิทยาลัยมหิดลรับภารกิจในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี ในโครงการขยายการศึกษาขั้นอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] จึงจัดตั้งโครงการจัดตั้งมหาวิทยามหิดล ณ กาญจนบุรี ขึ้นในสังกัดสำนักงานอธิการบดีในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งจากการประสานงานระหว่าง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ผู้แทนจังหวัดกาญจนบุรีและอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เห็นชอบที่จะให้มหาวิทยาลัยมหิดลขยายวิทยาเขตการศึกษาไปที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยจังหวัดได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดหาที่ดินเพื่อเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ เพื่อทำหน้าที่สำรวจ ตรวจสอบและศึกษา พื่นที่แปลงต่างๆ ที่เหมาะสม โดยได้เสนอพื้นที่ให้มหาวิทยาลัยพิจารณารวม 3 แห่ง คือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอพนมทวน และอำเภอไทรโยค


วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2538 คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่ที่จังหวัดเสนอไว้ทั้ง 3 แห่งและมหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีมติให้เลือกพื้นที่บริเวณอำเภอไทรโยค ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านไตรรัตน์ หมู่ที่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอโทรโยค เนื้อที่ประมาณ 6,000 ไร่ และบางส่วนอยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 323 (กาญจนบุรี – ทองผาภูมิ) เป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี
วันที่ [[5 เมษายน]] [[พ.ศ. 2538]] คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่ที่จังหวัดเสนอไว้ทั้ง 3 แห่งและมหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีมติให้เลือกพื้นที่บริเวณอำเภอไทรโยค ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านไตรรัตน์ หมู่ที่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอโทรโยค เนื้อที่ประมาณ 6,000 ไร่ และบางส่วนอยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 323 (กาญจนบุรี – ทองผาภูมิ) เป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี


เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เริ่มก่อสร้าง อาคารเรียนรวม และอาคารอำนวยการ ขึ้นเป็นจุดแรกของพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งเป็นภาพความทรงจำ และความภาคภูมิใจ ที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรี และบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี เป็นอย่างยิ่งและในด้านพื้นที่ที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัย ณ กาญจนบุรี เป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอไทรโยค สภาพเป็นที่ราบสูงและภูเขา เป็นที่ดินจำนวน 58 แปลงเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ นอกจากนี้เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีสถานที่สวยงานสำหรับการประชุมและสัมมนา ชาวจังหวัดกาญจนบุรียังได้จัดซึ้งที่ดินติดริมแม่น้ำแควน้อย ในเขตสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม อำเภทโทรโยค จำนวน 24 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา มอบให้แก่มหาวิทยาลัยอีกด้วย
เมื่อวันที่ [[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2540]] [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] ได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนรวมและอาคารอำนวยการขึ้นเป็นจุดแรกของพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งเป็นภาพความทรงจำและความภาคภูมิใจ ที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรี และบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี เป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอไทรโยค สภาพเป็นที่ราบสูงและภูเขา เป็นที่ดินจำนวน 58 แปลงเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ นอกจากนี้เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีสถานที่สวยงานสำหรับการประชุมและสัมมนา ชาวจังหวัดกาญจนบุรียังได้จัดซึ้งที่ดินติดริมแม่น้ำแควน้อย ในเขตสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม อำเภทโทรโยค จำนวน 24 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา มอบให้แก่มหาวิทยาลัยอีกด้วย


วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 มีประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2552 เพื่อให้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหิดลมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 จึงได้ออกประกาศให้มหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งส่วนงานออกเป็น 2 สำนักงาน 1 วิทยาเขต 17 คณะ 7 สถาบัน 5 วิทยาลัย 1 หอสมุดฯ (จากราชกิจจานุเบกษา 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เล่ม 126 ตอนที่ 168 ง หน้า 120-121)
วันที่ [[20 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2552]] มีประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2552 เพื่อให้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหิดลมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 จึงได้ออกประกาศให้มหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งส่วนงานออกเป็น 2 สำนักงาน 1 วิทยาเขต 17 คณะ 7 สถาบัน 5 วิทยาลัย 1 หอสมุดฯ (จากราชกิจจานุเบกษา 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เล่ม 126 ตอนที่ 168 ง หน้า 120-121) โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี จึงยกฐานะเป็น '''มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี''' นับตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน <ref> ราชกิจจานุเบกษา,[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/169/120.PDF การจัดตั้งส่วงานของมหาวิทยาลัยมหิดล], 16 กันยายน พ.ศ.2552</ref>

โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี จึงยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี นับตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/169/120.PDF การจัดตั้งส่วงานของมหาวิทยาลัยมหิดล]</ref>


== ทำเนียบรองอธิการบดีวิทยาเขตกาญจนบุรี ==
== ทำเนียบรองอธิการบดีวิทยาเขตกาญจนบุรี ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:27, 2 ธันวาคม 2559

มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาเขตกาญจนบุรี
Mahidol University
Kanchanaburi Campus
ไฟล์:Logo Mahidol.png
ชื่อย่อMUKA
คติพจน์อตฺตานํ อุปมํ กเร
(พึงปฏิบัติต่อผู้อื่น เหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง) [1]
สถาปนา18 เมษายน พ.ศ. 2541
คณบดีผศ.เชิญโชค ศรขวัญ
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี199 หมู่ 9 ถนนแสงชูโต ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150
สี███ สีแดงอิฐ [2]
เว็บไซต์www.ka.mahidol.ac.th

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นส่วนงานระดับคณะ สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล

  • ปรัชญา = เรียนรู้อย่างบูรณาการ ประสานชุมชน สู่สากลอย่างยั่งยืน
  • ปณิธาน = Wisdom of the West (ปัญญาแห่งภูมิภาคตะวันตก)
  • วิสัยทัศน์ = เป็นผู้นำการศึกษาและวิชาการแบบบูรณาการบนฐานทรัพยากรในภูมิภาคตะวันตกของอาเซียน

วัฒนธรรมองค์กร

M - Mastery รู้แจ้ง รู้จริง สมเหตุ สมผล

A - Altruism มุ่งผลเพื่อผู้อื่น

H - Harmony กลมกลืนกับสรรพสิ่ง

I - Integrity มั่นคงยิ้งในคุณธรรม

D – Determination แน่วแน่ทำ กล้าตัดสินใจ

O – Originality สร้างสรรค์สิ่งใหม่

L – Leadership ใฝ่ใจเป็นผู้นำ

K – Kindness เลิศล้ำเมตตา

A – Adaptability ละอัตตาพร้อมปรับตัว

ประวัติ

วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางศิลาฤกษ์ “มหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี” (ในขณะนั้น) ณ หมู่บ้านไตรรัตน์ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2538 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้มหาวิทยาลัยมหิดลรับภารกิจในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี ในโครงการขยายการศึกษาขั้นอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดตั้งโครงการจัดตั้งมหาวิทยามหิดล ณ กาญจนบุรี ขึ้นในสังกัดสำนักงานอธิการบดีในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งจากการประสานงานระหว่าง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ผู้แทนจังหวัดกาญจนบุรีและอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เห็นชอบที่จะให้มหาวิทยาลัยมหิดลขยายวิทยาเขตการศึกษาไปที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยจังหวัดได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดหาที่ดินเพื่อเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ เพื่อทำหน้าที่สำรวจ ตรวจสอบและศึกษา พื่นที่แปลงต่างๆ ที่เหมาะสม โดยได้เสนอพื้นที่ให้มหาวิทยาลัยพิจารณารวม 3 แห่ง คือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอพนมทวน และอำเภอไทรโยค

วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2538 คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่ที่จังหวัดเสนอไว้ทั้ง 3 แห่งและมหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีมติให้เลือกพื้นที่บริเวณอำเภอไทรโยค ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านไตรรัตน์ หมู่ที่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอโทรโยค เนื้อที่ประมาณ 6,000 ไร่ และบางส่วนอยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 323 (กาญจนบุรี – ทองผาภูมิ) เป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนรวมและอาคารอำนวยการขึ้นเป็นจุดแรกของพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งเป็นภาพความทรงจำและความภาคภูมิใจ ที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรี และบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี เป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอไทรโยค สภาพเป็นที่ราบสูงและภูเขา เป็นที่ดินจำนวน 58 แปลงเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ นอกจากนี้เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีสถานที่สวยงานสำหรับการประชุมและสัมมนา ชาวจังหวัดกาญจนบุรียังได้จัดซึ้งที่ดินติดริมแม่น้ำแควน้อย ในเขตสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม อำเภทโทรโยค จำนวน 24 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา มอบให้แก่มหาวิทยาลัยอีกด้วย

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 มีประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2552 เพื่อให้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหิดลมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 จึงได้ออกประกาศให้มหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งส่วนงานออกเป็น 2 สำนักงาน 1 วิทยาเขต 17 คณะ 7 สถาบัน 5 วิทยาลัย 1 หอสมุดฯ (จากราชกิจจานุเบกษา 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เล่ม 126 ตอนที่ 168 ง หน้า 120-121) โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี จึงยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี นับตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน [3]

ทำเนียบรองอธิการบดีวิทยาเขตกาญจนบุรี

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
รองอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2542 - กันยายน พ.ศ. 2545
2. รองศาสตราจารย์ ดร.นพดล ไชยคำ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - กันยายน พ.ศ. 2549
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นคร เหมะ ตุลาคมพ.ศ. 2549 (วาระที่ 1)
4. รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา สุนทรานันท์ (รักษาการ) 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เชิญโชค ศรขวัญ (รักษาการ) 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (วาระที่ 1)
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นคร เหมะ 22 ธันวาคมพ.ศ. 2554 (วาระที่ 2)
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. น.สพ.กำลัง ชุมพลบัญชร 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 31 ธันวาคมพ.ศ. 2557
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เชิญโชค ศรขวัญ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน (วาระที่ 2)

โครงสร้างการบริหารงาน

สำนักวิชาสหวิทยาการ

สำนักงานวิทยาเขตกาญจนบุรี

ส่วนงานอื่นๆ

หลักสูตร

หลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี มีดังนี้

ระดับปริญญาตรี
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
    • สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร (Agricultural Science)
    • สาขาเทคโนโลยีการอาหาร (Food Technology)
    • สาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ (Conservation Biology)
    • สาขาธรณีศาสตร์ (Geoscience)
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
    • สาขาวิชาการจัดการ (Management)
  • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
    • สาขาวิชาบัญชี (Accounting)
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
    • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ (Environmental Engineering and Disaster Management)
ระดับปริญญาโท
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชาความมั่นคงด้านอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ

พิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์พืช (Herbarium) อาจเปรียบเทียบได้กับหอสมุดพรรณไม้ โดยเป็นแหล่งข้อมูลต่างๆ ของพืช และส่วนสำคัญที่สุด คือ เป็นที่เก็บรวบรวมพันธุ์ไม้รักษาสภาพ ซึ่งทำการเก็บเป็นตัวอย่างแห้ง ที่จัดเป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบ

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างในสภาพอื่นๆ เช่น ตัวอย่างดอง ภาพถ่าย ภาพวาด ตัวอย่างเนื้อไม้ เปลือกไม้ ซากดึกดำบรรพ์ (fossil) หนังสือ ตำราเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ทั้งทางด้านอนุกรมวิธาน นิเวศวิทยา ธรรมชาติวิทยา พฤกษศาสตร์เศรษฐกิจ เป็นต้น

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น