ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 282: บรรทัด 282:
== กระแสตอบรับ ==
== กระแสตอบรับ ==
[[มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]] ([[กรุงเทพโพลล์]]) สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “[[สุดยอดความนิยมของวัยรุ่น]]” ตั้งแต่วันที่ 17-19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่น อายุ 13-21 ปีที่อาศัยอยู่ใน[[กรุงเทพมหานคร]] จำนวน 1,016 คน พบว่า รายการโทรทัศน์ที่นิยมดูมากที่สุด 5 อันดับแรก อันดับที่ 1 คือรายการ[[ชิงร้อยชิงล้าน]]ร้อยละ 20.3 <ref>[http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000099239 โจ๋กรุงเทใจ “ชิงร้อยชิงล้าน-คลื่นซี้ด” สุดยอดความนิยม]</ref>
[[มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]] ([[กรุงเทพโพลล์]]) สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “[[สุดยอดความนิยมของวัยรุ่น]]” ตั้งแต่วันที่ 17-19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่น อายุ 13-21 ปีที่อาศัยอยู่ใน[[กรุงเทพมหานคร]] จำนวน 1,016 คน พบว่า รายการโทรทัศน์ที่นิยมดูมากที่สุด 5 อันดับแรก อันดับที่ 1 คือรายการ[[ชิงร้อยชิงล้าน]]ร้อยละ 20.3 <ref>[http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000099239 โจ๋กรุงเทใจ “ชิงร้อยชิงล้าน-คลื่นซี้ด” สุดยอดความนิยม]</ref>

== '''ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด''' ==
[[ไฟล์:Chai100ching1000000hamahassajanwanyood1.jpg|350px|thumb|'''[[ชิงร้อยชิงล้าน ฮาฮอลิเดย์|ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด]]'''ทาง'''[[ช่อง 7 สี]]''']] '''[[ชิงร้อยชิงล้าน ฮาฮอลิเดย์|ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด]]''' (เดิมใช้ชื่อว่า '''ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ฮามหัศจรรย์วันหยุด''') เป็นรายการโทรทัศน์ที่รวบ'''รวมฉาก'''ตลกต่างๆไม่ว่าจะเป็น'''ละครแก๊งสามช่า'''ของ'''ช่วงตลก'''ใน'''ช่วงใครกันหนอ'''โดยออกอากาศในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์(หากเป็นช่วงที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ติดต่อกันหลายวัน จะออกอากาศเพียงวันใดวันหนึ่งเท่านั้น) โดยเริ่มออกอากาศในวันที่ [[23 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2548]]


== '''อ้างอิง''' ==
== '''อ้างอิง''' ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:35, 22 มิถุนายน 2560

ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า

ไฟล์:ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า 1.jpg
(4 มีนาคม 2541 - 28 สิงหาคม 2545)
ออกอากาศ 4 มีนาคม 2541 - 28 สิงหาคม 2545
สถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 (2541)
ททบ.5 (2542 - 2545)
ผู้ดำเนินรายการ ปัญญา นิรันดร์กุล
มยุรา เศวตศิลา
แก๊งสามช่า
ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า

ไฟล์:Ching100.png
(4 กันยายน 2545 - 26 มีนาคม 2551
และ 5 พฤษภาคม 2552 - 27 ธันวาคม 2554)
ออกอากาศ 4 กันยายน 2545 - 26 มีนาคม 2545
5 พฤษภาคม 2552 - 27 ธันวาคม 2554[1]
สถานีโทรทัศน์ ททบ.5 (2545 - 2548)
ช่อง 7 สี (2549 - 2551 / 2552 - 2554)
ผู้ดำเนินรายการ ปัญญา นิรันดร์กุล
มยุรา เศวตศิลา
แก๊งสามช่า
ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ร่วมกับ
มีเดีย ออฟ มีเดียส์ (2549-2552)

ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ทรือ ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha ทรือ ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการเกมโชว์ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบมาจากชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม โดยออกอากาศครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 และย้ายไปออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และกลับมาออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อีกครั้งเมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา และตั้งแต่วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ชื่อที่เรียกในรายการจะใช้แค่ว่า ชิงร้อยชิงล้าน เท่านั้น และในปี พ.ศ. 2555 ย้ายกลับไป สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกครั้งในชื่อใหม่ "ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์" ฉากใหม่และเวลาใหม่
ปัจจุบันออกอากาศซ้ำเวลา 17.00 - 18.00 น. ในชื่อ "ชิงร้อยชิงล้าน Classic" (เฉพาะช่วงละครและช่วงเกม) ทางช่องเวิร์คพอยท์ทีวี นอกจากนี้ ในชิงร้อยชิงล้านตั้งแต่ปี 2542 ถึงปี 2545 ได้แต่งคำขวัญให้คล้องกับกระแสในช่วงนั้น ต่อมาในปี 2546 ได้นำคำขวัญ เที่ยวเมืองไทย ปลอดภัยทุกที่ มาแสดงที่ด้านล่าง หลังจากที่ไตเติ้ลเริ่มรายการใกล้จะจบลง แต่ใด้ใช้เพียงระยะสั้นๆ

ประวัติของชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า

หลังจากชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม จบลง ชิงร้อยชิงล้านจึงเปลี่ยนชื่อใหม่และฉากใหม่มาเป็น ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า โดยเปลี่ยนฉากใหม่ให้ใหญ่และอลังการขึ้นและเพิ่มรูปแบบรายการให้เป็นรูปแบบใหม่พร้อมเปิดตัวกลุ่มตลกในชื่อว่า แก๊งสามช่า พร้อมเพิ่มโชว์ในรายการให้อารมณ์เหมือนดูโชว์สดด้วย

ไฟล์:Ching100chinglarn-20thcenturytuck-mayura-gang3cha.jpg
มยุราและแก๊งสามช่าในยุคชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊กกับชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (ชิงร้อยชิงล้าน)ในช่อง 7 สี

โดยรูปแบบรายการของ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ช่วงแรก คือปี พ.ศ. 2541 ได้แนวคิดมาจากการแสดงคาบาเรต์โชว์และสีสันของลาสเวกัสในสหรัฐอเมริกาหรือสหรัฐ และรูปแบบที่ 2 ในปี พ.ศ. 2545 ได้ปรับเปลี่ยนแนวโชว์จริง ๆ และเพิ่มโรงละครแก๊งสามช่าเพิ่อความสนุกสนานต่อผู้ชม โดยชื่อชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า เป็นชื่อที่ถูกใช้ยาวนานมากที่สุด รวมระยะเวลามากกว่า 10 ปีของรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย

ตั้งแต่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2549 หม่ำ จ๊กมก เป็นพิธีกรแทน ปัญญา นิรันดร์กุล ในกรณีที่ปัญญาติดภารกิจและงานต่าง ๆ จนไม่สามารถมาดำเนินรายการได้

ระยะเวลาออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ วัน เวลา ช่วงระหว่าง
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 พุธ 22.00 - 00.00 น. 4 มีนาคม - 30 ธันวาคม 2541
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก 6 มกราคม 2542 - 28 ธันวาคม 2548
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 22.30 - 00.30 น. 11 มกราคม 2549 - 26 มีนาคม 2551
อังคาร 5 พฤษภาคม 2552 - 25 ตุลาคม 2554
22.20 - 00.20 น. 1 พฤศจิกายน - 27 ธันวาคม 2554
  • ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 จะขยับออกอากาศให้ชมกันเร็วขึ้นเป็นเวลา 22.20 - 00.20 น. (ออกอากาศเฉพาะในช่วงที่มีมหาวิกฤติอุทกภัยปี พ.ศ. 2554)

ละครสามช่า

ละครสามช่าเป็นการแสดงละครเวทีโดยแก๊งสามช่า ความยาวประมาณ 30 นาที ตอนแรกออกอากาศวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2542 ซึ่งในปี 2542 เป็นเพียงละครสั้นเวลา 3 - 5 นาที เพื่อปูเรื่องสำหรับผู้กล้าประจำสัปดาห์เท่านั้น และตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นละครยาวจนถึงปัจจุบัน ซึ่งละครสามช่าตอนแรก คือ การล้อเลียนรายการ เกมแก้จน และต่อมาก็มีศิลปินดารารับเชิญในแต่ละสัปดาห์ หรือ เว้นสัปดาห์มาร่วมแสดงกับแก๊ง 3 ช่าถือว่าเป็นครั้งแรก ชิงร้อยชิงล้าน ที่มีการเชื้อเชิญดารารับเชิญมาร่วมแสดงกับแก๊ง 3 ช่า

เกมในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า

ในส่วนของเกมการแข่งขันในรายการชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุคด้วยกัน คือยุคแรกเริ่ม (ตั้งแต่ 4 มีนาคม 2541 ถึง 20 มกราคม 2542), ยุคกลาง (27 มกราคม 2542 - 26 มีนาคม 2551) และยุคปัจจุบัน (ตั้งแต่ 5 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นมา) ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ (อย่างไรก็ดี เกมในยุค ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก นั้น ก็ยังมีลักษณะมาจากชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ในยุคกลางอยู่ดี แต่ภายหลังได้มีการดัดแปลงไปบ้างตามสมควร)

4 มีนาคม 2541 - 20 มกราคม 2542

ทายดาราปริศนา

ในเกมนี้เป็นการทายดารารับเชิญ ซึ่งยังคงรูปแบบเดียวกับรายการชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม โดยเกมทายดารา จะแบ่งออกเป็น 3 รอบ ดังนี้

  1. รอบที่ 1 จะเป็นการทายภาพดาราปริศนา (ยังจำได้ไหม) จะเป็นการทายภาพของดารารับเชิญโดยในภาพนี้จะเป็นการปกปิดใบหน้าบางส่วนของดารารับเชิญ
  2. รอบที่ 2 จะเป็นการทายเสียงและเงา (เสียงของใคร) จะเป็นการทายเสียงและเงาของดารารับเชิญ ซึ่งเกมนี้มีพัฒนามาจากเกมทายภาพดาราปริศนา (ยังจำได้ไหม) เป็น 3 ภาพ 3 ช่วงเวลา
  3. รอบที่ 3 จะเป็นรอบ ขอสักครั้ง จะเป็นการทายดารารับเชิญจากภาพวีทีอาร์ โดยที่ผู้เข้าแข่งขันนั้นไม่สามารถเห็นหน้าของดารารับเชิญชัด ๆ ได้ ดารารับเชิญนั้นจะทำแบบไม่เห็นหน้าหรือบังหน้าเอาไว้ด้วย เห็นได้แต่ด้านหลังดารารับเชิญเท่านั้น

ทั้งนี้ ทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีม มีโอกาสเขียนในกระดานคำตอบได้ 3 ครั้งเท่านั้น หลังจากนั้น จะะเฉลยว่าดารารับเชิญคนนี้คือใคร โดยการเชิญดารารับเชิญปริศนาในรอบนั้นๆ ออกมาเปิดตัวด้วยการร้องเพลง เพื่อเป็นการเฉลยคำตอบ โดยที่ ถ้าผู้เข้าแข่งขันทีมไหน ตอบถูกในแต่ละรอบ ก็จะได้คะแนนไปด้วย โดยการทายชื่อ ชื่อที่ถูกต้อง รอบละ 5 คะแนน ถือว่าในรอบนี้มีคะแนนเต็มถึง 15 คะแนน หลังจากที่มีการเฉลยคำตอบแล้ว ก็จะมีการพูดคุยกับดารารับเชิญเกี่ยวกับความเป็นมาและเรื่องราวต่างหลังจากนั้น ยังมีแก๊งสามช่ามาสร้างสีสันเสียงหัวเราะให้ท่านผู้ชมได้รับความสนุกสนานกันอีกด้วย โดยดาราปริศนาที่มารายการชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า เป็นท่านแรก คือ พล ตัณฑเสถียร เมื่อวันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541

จริงหรือไม่ (แก๊งสามช่า)

เกมนี้ เป็นเกมจริงหรือไม่ในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยจะมี ผู้กล้า ซึ่งอาจเป็นบุคคลจากทางบ้าน หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงในด้านต่างๆ มาแสดงโชว์สาธิตให้ดูในรายการ จากนั้น จะมีการท้าแก๊งสามช่าว่า แก๊งสามช่าสามารถโชว์แสดงอย่างที่ผู้กล้ามาโชว์สาธิตในรายการได้จริงหรือไม่ ทั้งนี้ จะให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีมเป็นผู้ตอบ หลังจากนั้น แก๊งสามช่าจะทำการสาธิตโชว์แบบเดียวกันกับผู้กล้า เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าทำได้แบบผู้กล้าหรือไม่ ถ้าทำได้แสดงว่าจริง แต่ถ้าทำไม่ได้แสดงว่าไม่จริง ทั้งนี้ ทีมผู้เข้าแข่งขันทีมใดที่ทายคำตอบถูกต้อง จะได้รับ 10 คะแนนไปในรอบนี้

ผู้กล้าท้าแก๊งสามช่าคนแรกคือ ดิเรก รุจ ท้าแข่งเล่นกล่องล่องหนออกอากาศวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541

จริงหรือไม่ (ผู้เข้าแข่งขัน)

เกมนี้ เป็นเกมจริงหรือไม่ในรูปแบบปกติที่รู้จักกันดี โดยนำเอาประสบการณ์ชีวิตในแง่มุมต่างๆของดาราที่เป็นผู้เข้าแข่งขันในเกม ไม่ว่าจะเป็น ความชอบ งานอดิเรก ของสะสมส่วนตัว หรือแม้กระทั่งประสบการณ์ลี้ลับ และเฉียดความตาย มาใช้เป็นคำถามในรอบนี้ โดยในการแข่งขัน ทีมที่จะเป็นผู้ตอบคำถาม คือทีมฝ่ายตรงข้ามอีกสองทีมที่ไม่ใช่เจ้าของเรื่อง ซึ่งทีมที่ตอบจะต้องทายว่าคำถามในข้อนั้นเป็นเรื่องจริง หรือไม่จริง หลังจากที่ตอบแล้ว ทีมเจ้าของเรื่องนั้นจะเป็นผู้เฉลยว่าคำถามนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ทีมเจ้าของเรื่องนั้นจะเป็นผู้เฉลยว่าคำถามนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ถ้าทีมฝ่ายตรงข้ามตอบถูกก็จะได้ 10 คะแนน แต่ถ้าตอบผิดจะไม่ได้คะแนน

ทั้งนี้ คำถามในเกมจริงหรือไม่ในยุคนี้จะถูกลดเหลือ 2 ข้อ จากเดิม 3 ข้อ ซึ่งแต่ละทีมจะมีโอกาสตอบเพียงแค่คำถามของทีมตรงข้ามเท่านั้น และให้ทายว่าเรื่องคนนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ โดยในแต่ละข้อ หลังจากที่มีการเฉลยคำตอบแล้ว ก็จะมีการพูดคุยกับดาราเจ้าของเรื่องเกี่ยวกับเรื่องที่ตั้งเป็นคำถามนั้นๆ บางครั้งอาจมีการสาธิตโชว์เรื่องนั้นให้ดูในรายการ หากเป็นเรื่องความสามารถ หรือมีการนำของสะสมต่างๆ มากมายที่เป็นของดารามาแสดงในรายการ ในกรณีที่คำถามเกี่ยวข้องกับของสะสมของดารา ทั้งนี้ การพูดคุยกับดารา ยังมี หม่ำ จ๊กมก, เท่ง เถิดเทิง และ หนู คลองเตย (ภายหลัง หนู คลองเตย ออกจากแก๊งสามช่า แล้วนำ โหน่ง ชะชะช่า มาแทน) มาสร้างสีสันเสียงหัวเราะให้ท่านผู้ชมได้รับความสนุกสนานกันอีกด้วย โดยการล้อเลียนดารารับเชิญที่เป็นเจ้าของเรื่องในช่วงนั้นๆ

27 มกราคม 2542 - 26 มีนาคม 2551

ทำได้หรือไม่ได้

เกมนี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับจริงหรือไม่ในรูปแบบก่อนหน้านี้ ทว่ามีลักษณะเป็นเกมการแข่งขันมากขึ้น ต่างจากเดิมที่เป็นเพียงการแสดงตามแบบแผนเดียวกันกับผู้กล้า ทั้งนี้ จะมีเกมการแข่งขันเกมหนึ่ง ซึ่งถูกกำหนดกติกาแตกต่างกันออกไปในแต่ละสัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับว่าผู้กล้าในสัปดาห์นั้น จะทำการแข่งขันเกี่ยวกับเรื่องใด) โดยผู้กล้าในสัปดาห์นั้นจะเป็นผู้แข่งขันเกมดังกล่าวก่อนเป็นลำดับแรก หลังจากนั้น แก๊งสามช่าจะต้องเล่นเกมในรูปแบบเดียวกันข้างต้น แต่จะมีการต่อรองเกิดขึ้น เพื่อให้แก๊งสามช่ามีโอกาสในการเล่นเกมสำเร็จเพิ่มมากขึ้น (เช่น การต่อเวลา, ต่อจำนวนคนที่แข่งขัน, ต่อผลของการเล่นเกม เช่น เกมเตะฟุตบอล จากเดิมต้องเตะ 5 ลูก อาจเหลือแค่ 3 ลูกเป็นต้น) ทั้งนี้ แก๊งสามช่าจะมีโอกาสเล่นเกมดังกล่าวได้ทั้งหมด 2 ครั้ง ซึ่งแต่เดิม ผู้เข้าแข่งขันจะเป็นหม่ำ และเท่ง โดยทั้งสองคนจะแข่งขันกันคนละ 1 รอบ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นรอบของหม่ำ และรอบของเท่ง แต่ภายหลังเกมทั้ง 2 รอบ ไม่จำเป็นจะต้องแข่งโดยหม่ำ และเท่งเท่านั้น เพราะบางเกมอาจต้องใช้ผู้เข้าแข่งขันเป็นคู่ หรือแก๊งสามช่าทุกคนเลยก็ได้

เกมทำได้หรือไม่ได้นี้ ผู้เข้าแข่งขันที่มาร่วมรายการจะต้องทายว่าแก๊งสามช่าจะทำได้หรือไม่ ทั้งนี้ หากแก๊งสามช่าเล่นเกมดังกล่าวสำเร็จเพียงครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเล่นในรอบแรก หรือรอบที่สอง จะถือว่าแก๊งสามช่า ทำได้โดยทันที แต่ในทางตรงกันข้าม หากแก๊งสามช่าเล่นเกมไม่สำเร็จทั้งสองรอบ จะถือว่าทำไม่ได้นั่นเอง ซึ่งตรงนี้ หากผู้เข้าแข่งขันคนใดทายถูกต้องก็จะได้คะแนนไปในรอบนี้ โดยเกมแรกของรอบทำได้หรือไม่ได้คือ การแข่งขันการสลับขวดเป๊ปซี่ระหว่างขวดเปล่ากับขวดบรรจุน้ำอัดลมที่อยุ่ในลังพลาสติก ออกอากาศเมื่อวันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2542

เกมทำได้หรือไม่ได้ ถูกใช้มาโดยตลอดเกือบ 10 ปี แม้ว่าชิงร้อยชิงล้านจะอยู่ในช่วงของทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊กก็ตาม ก็ยังคงมีเกมนี้อยู่เช่นเดิม จนกระทั่งชิงร้อยชิงล้านเริ่มมีรูปแบบของเกม ใครทำได้ เกิดขึ้น เกมทำได้หรือไม่ได้จึงค่อยๆเริ่มหายไป จนกระทั่งในเดือนเมษายน 2552 เกมนี้จึงถูกยกเลิกไปโดยสมบูรณ์ (สำหรับเกมใครทำได้ในยุคนี้ ดูที่ เกมในขิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคปัจจุบัน)

เกมทำได้หรือไม่ได้ในยุคแรก ยังไม่มีผู้สนับสนุน เริ่มมีผู้สนับสนุนตั้งแต่ 9 มกราคม พ.ศ. 2545 (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ ลีโอเบียร์(ครั้งที่ 1) ตั้งแต่ 9 มกราคม จนถึง 21 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ต่อมาเป็นไทเบียร์ตั้งแต่ 28 สิงหาคม จนถึงประมาณกลางปี พ.ศ. 2547 ลีโอเบียร์(ครั้งที่ 2) ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2549 และไม่มีผู้สนับสนุนไปพักหนึ่งในปลายปี 2549 และกลับมามีผู้สนับสนุนอีกครั้งคือ โซดาสิงห์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550)

ทายดาราสามช่ารับเชิญ

ในเกมนี้ผู้เข้าแข่งขันต้องทายภาพวาดของหมอ - ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ ทันตแพทย์ และนักวาดภาพการ์ตูนล้อเลียน ซึ่งจะมาวาดภาพล้อเลียนของดาราที่จะมาเป็นสามช่ารับเชิญประจำสัปดาห์นั้นๆ โดยในเกมนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทายว่าภาพที่หมอทวีวัฒน์ได้วาดนี้ เป็นภาพของใคร โดยหมอทวีวัฒน์จะไม่วาดภาพทั้งหมดในคราวเดียว แต่เมื่อวาดไปได้ส่วนหนึ่ง พิธีกรจะให้ผู้เข้าแข่งขันแย่งกันกดไฟตอบคำถามก่อน ถ้าใครกดไฟติด คนนั้นจะได้สิทธิ์ในการตอบคำถาม หลังจากนั้นพิธีกรจะเฉลยคำตอบ โดยการให้คนนั้นๆ ปรากฏตัวออกมาร้องเพลง ถ้าคนนั้นๆ ปรากฏตัวออกมาร้องเพลงแล้ว เป็นดารารับเชิญที่ผู้เข้าแข่งขันตอบไป นั่นหมายความว่าผู้เข้าแข่งขันคนนั้นตอบถูก และจะได้คะแนนไป แต่ถ้าคนนั้นๆ ปรากฏตัวออกมาแล้วไม่ใช่ดารารับเชิญที่ผู้เข้าแข่งขันตอบไป แก๊งสามช่าคนใดคนหนึ่งซึ่งอาจจะเป็น หม่ำ,เท่ง หรือโหน่ง ก็จะออกมาร้องเพลง ซึ่งหมายความว่าผู้เข้าแข่งขันนั้นตอบผิด จะไม่ได้คะแนนไป ทั้งนี้ ถ้าตอบผิด หมอทวีวัฒน์จะทำการวาดภาพต่อและเกมจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งจะทายภาพสามช่ารับเชิญคนดังกล่าวได้ถูกต้อง ซึ่งเกมทายดาราสามช่ารับเชิญนี้ จะมีทั้งหมด 3 คน (หรือ 3 ข้อ) นั่นเอง ทั้งนี้หากผู้เข้าแข่งขันสามารถตอบคำถามจากภาพปริศนาได้ครบ 3 ข้อ จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาทจากผู้สนับสนุนด้วย (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ ลีโอเบียร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ถึงประมาณปี พ.ศ. 2545) ซึ่งต่อมาได้ยกเลิกการแจก 100,000 บาทไป โดยสามช่ารับเชิญ 3 ท่านแรก ที่มารายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า คือ แดนนี่ ศรีภิญโญ รัญญา ศิยานนท์ และ สราวุฒิ พุ่มทอง เมื่อวันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2542

เกมนี้ เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า "เขาเป็นใครหนอ" ซึ่งมาจากการที่แดนเซอร์ของรายการจะร้องเพลงประกอบกับการที่หมอทิววัฒน์กำลังวาดภาพอยู่ แต่ในระยะหลังๆ หมอทิววัฒน์จะไม่เริ่มวาดภาพในรายการโดยทันที แต่จะวาดไว้ส่วนหนึ่งก่อนเริ่มรายการ โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขันทายภาพที่หมอวาดไว้ก่อนแล้วก่อน ถ้าหากไม่มีใครทายถูก หมอจึงจะเริ่มวาดในส่วนที่เหลือต่อไป เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ 27 มกราคม 2542 จนถึง 17 ตุลาคม 2544

มีข้อสังเกตประการหนึ่งในเกมนี้คือ หากผู้เข้าแข่งขันทายสามช่ารับเชิญถูกต้อง เมื่อสามช่ารับเชิญคนดังกล่าวออกมา ประตูใหญ่และประตูเล็กของฉากจะถูกเปิดออกทั้งหมด แต่ถ้าหากทายผิด และเป็นแก๊งสามช่าที่ออกมา ประตูเล็กจะถูกเปิดเพียงประตูเดียว

ใครเป็นคนทำ (2542 - 2544)

เกมนี้เป็นเกมที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตอบคำถามโดยเป็นการทายเรื่องของสามช่ารับเชิญ ตลอดจนเป็นการทายว่าเรื่องราวประสบการณ์ของสามช่ารับเชิญที่พิธีกรได้เล่ามานั้นเป็นเรื่องของใคร โดยในรอบนี้จะถามคำถามซึ่งเป็นข้อมูลจริง ทั้งหมด 3 ข้อ โดยที่พิธีกรหญิง(ตั๊ก มยุรา)จะเป็นคนถามคำถามว่า "ใน 3 คนนี้ ใครคือคนที่เคย..............มาก่อน โดยให้ผู้เข้าแข่งขันเขียนคำตอบลงในกระดานคำตอบว่าใครเป็นเจ้าของเรื่อง หลังจากนั้นพิธีกรจะเฉลยคำตอบโดยให้สามช่ารับเชิญทั้งสามคนนั้นออกมายืนด้านหน้าโพเดียม แล้วใครที่เป็นเจ้าของเรื่องให้ลงมาจากโดมแก๊งสามช่า (โพเดียมสามช่ารับเชิญจะอยู่ภายใต้โดมแก๊งสามช่า) ทั้งนี้ หากสามช่ารับเชิญใครคนใดคนหนึ่งลงมาจากโดมแก๊งสามช่า เขาผู้นั้นคือเจ้าของเรื่องดังกล่าว และถือเป็นคำตอบที่ถูกต้องนั่นเอง สำหรับผู้เข้าแข่งขันคนใดก็ตามที่ตอบถูกจะได้คะแนนไปในรอบนี้(ตอบถูก 1 ข้อ ก็จะได้ 1 คะแนน หากตอบถูกทั้ง3ข้อ ก็จะได้ 3 คะแนน)หลังจากนั้น สามช่ารับเชิญที่เป็นเจ้าของเรื่องจะได้มาเล่าเรื่องที่เป็นประสบการณ์ชีวิตของตนเองว่าเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเล่าจบ พิธีกรจะเชิญแก๊งสามช่าออกมาสร้างสีสัน โดยการแสดงโชว์ตลกเพื่อความสนุกสนานนั่นเอง

และในรอบนี้จะมีกติกาพิเศษคือ หากสามช่ารับเชิญทั้ง 3 คน สามารถทำให้ผู้แข่งขันทั้ง 3 คน ตอบผิดทั้งหมดก็จะมีเงินรางวัลพิเศษให้ในรอบนี้รวมกัน 60,000 บาท (ข้อละ 20,000 บาท) [2]

สำหรับเกมนี้ใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2542 จนถึงประมาณปี 2544 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อของรอบนี้มาเป็น ใครกันหนอ

จริงหรือไม่สามช่ารับเชิญ (2542 - 2544)

เกมนี้ เป็นเกมจริงหรือไม่ในรูปแบบทายเรื่องราวของสามช่ารับเชิญ ซึ่งแตกต่างจากเกมจริงหรือไม่ในรูปแบบเดิมที่เป็นจะการทายเรื่องราวของดาราที่เป็นผู้เข้าแข่งขัน โดยจะนำเอาประสบการณ์ชีวิตในแง่มุมต่างๆของสามช่ารับเชิญไม่ว่าจะเป็น ความชอบ งานอดิเรก ของสะสมส่วนตัว หรือแม้กระทั่งประสบการณ์ลี้ลับ และเรื่องเฉียดความตาย มาใช้เป็นคำถามในรอบนี้

โดยในการตั้งคำถาม พิธีกรหญิง(ตั๊ก มยุรา)จะถามว่า ในสามช่ารับเชิญทั้ง3 คนนี้ จริงหรือไม่ ที่คุณ...เคย..............มาแล้ว (ตัวอย่างเช่น ในสามช่ารับเชิญทั้ง 3 คนนี้ "จริงหรือไม่ ที่คุณโน๊ตเคยขับรถชนเสาไฟฟ้าขาด 2 ท่อนมาแล้ว") โดยให้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเขียนคำตอบลงในกระดานคำตอบว่า เรื่องที่สามช่ารับเชิญผู้ที่โดนตั้งคำถามมานี้เป็นเรื่องที่จริงหรือไม่ เสร็จแล้วก็จะให้สามช่ารับเชิญผู้ที่โดนตั้งคำถามออกมาเฉลยว่าจริงหรือไม่ หากผู้แข่งขันตอบถูก(คือตรงกับที่สามช่ารับเชิญผู้ที่โดนตั้งคำถามได้เฉลยไว้)ก็จะได้ 3 คะแนน เมื่อเฉลยเสร็จแล้วก็จะมีการพูดคุยถึงความเป็นมา หรือเล่ารายละเอียดต่าง ๆของเรื่องอย่างสนุกสนาน พร้อมด้วยการสอดแทรกสาระ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ชม รวมไปถึงเชิญแก๊งสามช่าออกมาสร้างสีสัน โดยการแสดงโชว์ตลกเพื่อเพิ่มความสนุกสนานของเรื่องนั่นเอง

และในรอบนี้จะมีกติกาพิเศษคือ หากสามช่ารับเชิญทั้ง 3 คน สามารถทำให้ผู้แข่งขันทั้ง 3 คน ตอบผิดทั้งหมดก็จะได้เงินรางวัลพิเศษในรอบนี้ 30,000 บาท [2]

สำหรับเกมนี้ใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2542 จนถึงประมาณปี 2544

ใครกันหนอ (2544 - 2552)

หลังจากที่ได้ยกเลิกเกมจริงหรือไม่สามช่ารับเชิญ ในปี 2544 แล้ว เกมใครกันหนอนี้จึงได้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเกมที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตอบคำถามจากประสบการณ์ชีวิตของสามช่ารับเชิญที่มาร่วมรายการ ซึ่งเหมือนกับเกมใครเป็นคนทำ (2542 - 2544) แต่จะลดคำถามจาก3ข้อ เหลือเพียง2ข้อ (และจากเดิมที่1ช่วงจะถามคำถามครบทั้ง3ข้อ มาเป็นการถามแบบช่วงละ1ข้อ โดยทื่ข้อที่2นั้น จะเข้ามาถามแทนเกมจริงหรือไม่สามช่ารับเชิญนั่นเอง)

ในเกมนี้ พิธีกรจะบอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์ชีวิตของสามช่ารับเชิญคนใดคนหนึ่งให้ผู้ชม และผู้เข้าแข่งขันได้ทราบก่อน จากนั้นจะถามว่าเรื่องที่ได้เล่ามาทั้งหมดนี้ สามช่ารับเชิญคนใดเป็นเจ้าของเรื่อง โดยให้ผู้เข้าแข่งขันเขียนคำตอบลงในกระดานคำตอบว่าใครเป็นเจ้าของเรื่อง(เช่นเดียวกับเกม ใครเป็นคนทำ) หลังจากนั้นพิธีกรจะเฉลยคำตอบโดยให้สามช่ารับเชิญทั้งสามคนนั้นออกมายืนด้านหน้าโพเดียม แล้วใครที่เป็นเจ้าของเรื่องให้ลงมาจากโดมแก๊งสามช่า (โพเดียมสามช่ารับเชิญจะอยู่ภายใต้โดมแก๊งสามช่า) ทั้งนี้ หากสามช่ารับเชิญใครคนใดคนหนึ่งลงมาจากโดมแก๊งสามช่า เขาผู้นั้นคือเจ้าของเรื่องดังกล่าว และถือเป็นคำตอบที่ถูกต้องนั่นเอง สำหรับผู้เข้าแข่งขันคนใดก็ตามที่ตอบถูกจะได้คะแนนไปในรอบนี้ หลังจากนั้น สามช่ารับเชิญที่เป็นเจ้าของเรื่องจะได้มาเล่าเรื่องที่เป็นประสบการณ์ชีวิตของตนเองว่าเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเล่าจบ พิธีกรจะเชิญแก๊งสามช่าออกมาสร้างสีสัน โดยการแสดงโชว์ตลกเพื่อความสนุกสนานนั่นเอง

และเมื่อมีการยกเลิกเกมทายดาราสามช่ารับเชิญไป ในวันที่ 24 ตุลาคม 2544 สามช่ารับเชิญจะมาจากการเปิดตัวโดยพิธีกรซึ่งเป็นผู้แนะนำ โดยการเปิดตัวจะมีรูปแบบเดียวกันกับในเกมทายดาราสามช่ารับเชิญ คือการออกมาร้องเพลงนั่นเอง และโดยเฉพาะในข้อที่2ของเกม(ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2544 จนถึงปี 2552)ได้มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นเรื่องราวประสบการณ์เกี่ยวกับผี และวิญญาณของดาราเจ้าของเรื่อง ซึ่งรูปแบบเกมจะเป็นเช่นเดียวกันกับข้อแรก โดยเจ้าของเรื่องก็จะเป็นผู้มาเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับผีและวิญญาณว่าเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากนั้นจะมีแก๊งสามช่า (หม่ำ,เท่ง และ โหน่ง) ออกมาด้วยเพื่อสร้างความตกใจให้กับในห้องส่งและผู้ชมทางบ้าน ต่อมา นับตั้งแต่ปลายปี 2548 จนถึง 2552 นั้น หม่ำ,เท่ง และ โหน่ง จะวิเคราะห์เรื่องประสบการณ์น่ากลัวของดาราเจ้าของเรื่องว่าน่ากลัวขนาดไหนพร้อมกับบอกด้วยว่าจะให้รางวัลกี่กะโหลกแก่ดาราเจ้าของเรื่องนั้น ซึ่งรางวัลจะเป็นถ้วยรูปหัวกะโหลกเล็กๆแต่ต่างจำนวนกัน โดยขึ้นอยู่กับความน่ากลัวของเนื้อหา เช่น ความน่ากลัวอยู่ในระดับปานกลางจะให้ 3 กะโหลก ความน่ากลัวอยู่ในระดับเสียวสันหลังจะได้ 4 กะโหลก และความน่ากลัวระดับขวัญผวาจะได้ 5 กะโหลก ซึ่งถ้วย 5 กะโหลกถือเป็นคะแนนสูงสุด แต่ส่วนใหญ่ หม่ำ,เท่ง และ โหน่ง จะให้รางวัลแค่ 4 กะโหลก แต่ในบางครั้ง แก๊งสามช่า มอบหลอดไฟซิลวาเนียเป็นของขวัญ เพื่อสำหรับคนกลัวผีอีกด้วย ซึ่งในรอบนี้ถ้าตอบถูกก็จะได้รับข้อละ 1 คะแนน

เกมใครกันหนอนี้เริ่มมาตั้งแต่ช่วงประมาณปี2544 และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน แม้จะอยู่ในช่วงของทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊กก็ตาม จนถึงสิ้นปี 2552

5 พฤษภาคม 2552 - 27 ธันวาคม 2554

จับคู่แก๊งสามช่า

เกมนี้ เป็นเกมที่มาจากพัฒนาจากเกมใครทำได้ จากยุคชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก คือ ผู้เข้าแข่งขันจะได้มาร่วมแข่งขันกับแก๊งสามช่าด้วย จากเดิมที่เป็นเพียงผู้ทายเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกแก๊งสามช่าคนใดคนหนึ่ง จากนั้นก็จะมาร่วมเล่นเกมพร้อมๆกันกับแก๊งสามช่า โดยทีมของใครที่สามารถทำสถิติคะแนนจากการแข่งขันได้มากที่สุด หรือมีผลการแข่งขันดีที่สุด ผู้เข้าแข่งขันในทีมนั้นจะได้คะแนนไป แต่หากมีทีมมากกว่าหนึ่งทีมที่มีผลการแข่งขันดีที่สุด ผู้เข้าแข่งขันที่อยู่ในทีมดังกล่าวทั้งสองทีม หรือสามทีมจะได้รับคะแนนไป ดังนั้น ผู้เข้าแข่งขันจะได้คะแนนหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับว่าทีมของตนจะมีผลการแข่งขันดีที่สุดหรือไม่นั่นเอง

แต่ในเทปวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 จนถึงปัจจุบัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกแก๊งสามช่า 1 คน จาก 4 คน คือ หม่ำ, เท่ง, โหน่งและตุ๊กกี้ เมื่อผู้เข้าแข่งขันเลือกแก๊งสามช่าครบแล้ว สมาชิกแก๊งสามช่าคนใดที่ไม่ถูกเลือกจะต้องช่วยเล่นให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ทีม (หมายความว่า แก๊งสามช่าคนที่ไม่ถูกเลือกนั้นจะต้องเล่นถึง 3 รอบ หรือเป็นตัวช่วยนั่นเอง)

ใครกันหนอ

เกมใครกันหนอนี้ เป็นเกมเดียวกันกับที่เคยเล่นในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า และเล่นอยู่จนถึง 15 ธันวาคม 2552 โดยในยุคนี้จะมีคำถามแค่ข้อเดียวเท่านั้น (ก่อนหน้านี้จะมีคำถาม 2 ข้อ)

ชิงร้อยฯ โชว์/สามช่า พามาโชว์

เกมชิงร้อยฯ โชว์ เป็นการแสดงโชว์ของแปลกหรือสิ่งที่น่าสนใจในรายการ แต่ในบางสัปดาห์จะมีแขกรับเชิญ โดยอาจเป็นการทายแขกรับเชิญจากคำใบ้ของแก๊งสามช่า หรืออาจให้แขกรับเชิญท้าแก๊งสามช่าแข่งเกมต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของแขกรับเชิญคนนั้นๆ โดยคำถามในแต่ละสัปดาห์นั้นอาจมีตัวเลือกให้ตอบหรือไม่มีตัวเลือกให้ตอบก็ได้ โดยผู้ที่ตอบถูกจะได้ 1 คะแนน ส่วนผู้ที่ตอบผิดจะไม่ได้คะแนน

ขุดขื้นมาฮา

เกมขุดขึ้นมาฮา เป็นการตอบคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตของรายการ โดยจะเป็นการถามว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นเกี่ยวกับแก๊งสามช่าคนไหน หรือเกี่ยวกับสิ่งของอะไร ให้ผู้เข้าแข่งขันเขียนคำตอบบนลงกระดานและเปิดแผ่นป้ายเฉลยคำตอบ ถ้าตอบถูกรับ 1 คะแนน ตอบผิดจะไม่ได้คะแนน

ท้าคนชนคลิป

เกมท้าคนชนคลิป เป็นเกมใหม่ที่เกิดขึ้นแทนที่เกมชิงร้อยฯ โชว์ โดยเป็นการนำคลิปความสามารถแปลกๆจากทั่วทุกมุมโลกมาให้ได้ชมกัน หลังจากนั้นจะเชิญผู้ที่มีความสามารถเช่นเดียวกับในคลิปที่เป็นคนไทยมาแสดงความสามารถ ซึ่งหลังจากนั้นจะมีการท้าเกิดขึ้น โดยการท้านั้นพิธีกรจะกำหนดกติกาสำหรับท้าผู้ที่เชิญมา และผู้ที่ถูกท้าจะต้องทำให้ได้ตามคำท้าของพิธีกร สำหรับผู้เข้าแข่งขันจะมีหน้าที่ทายว่าผู้ที่เชิญมาจะทำได้ตามคำท้าหรือไม่ ถ้าทายถูกจะได้รับ 1 คะแนน

ถูกใจให้ร้อย

ถูกใจให้ร้อย ถือเป็นช่วงใหม่ของรายการซึ่งแทนที่ขุดขึ้นมาฮา โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้านมาแสดงความสามารถที่คิดว่าสามารถทำให้ผู้ชมถูกใจได้ โดยการตัดสินนั้น ผู้ชมจะมีปุ่มกดอยู่ในมือแล้ว หากพึงพอใจโชว์ที่แสดง ก็สามารถก็ปุ่มนั้นได้ โดยผลคะแนนที่ได้จะวัดเป็น 10 ระดับ โดยระดับสูงสุดจะเรียกว่าระดับ 100 หากสามารถทำให้ผู้ชมพึงพอใจและได้รับคะแนนในระดับ 7 ขึ้นไป ก็จะได้รับถ้วยรางวัล แต่ในรอบนี้ไม่มีคะแนนสะสมใดๆ

ว้าวก่อนนอน

ว้าวก่อนนอน ถือเป็นช่วงใหม่ของรายการอาจจะสลับช่วงถูกใจให้ร้อยบางสัปดาห์ โดยเป็นการแสดงทดลองวิทยาศาสตร์ของเท่ง เถิดเทิง ที่นำมาเสนอในบางสัปดาห์ จนพิธีกร ดารารับเชิญ และผู้ชมในห้องส่งจนต้องร้องเสียงดัง "ว้าว" แต่ในรอบนี้ไม่มีคะแนนสะสมใดๆ

รอบสะสมเงินรางวัล

ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า นั้นยังคงใช้รูปแบบเดียวกับชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม โดยมี 2 รอบและ 2 เกมด้วยกันในยุคแรก ยุคกลาง และยุคสุดท้าย ต่อมาในยุคสุดท้ายเหลือเกมเดียวแต่สะสม 2 รอบ แต่ถูกปรับปรุงมาหลายครั้งด้วยกันโดยเงินรางวัลสะสมนั้นเป็นเงินรางวัลสำหรับผู้ที่เข้ารอบ Jackpot โดยเงินรางวัลนั้นไปรวมยอดกับเงินรางวัลรอบสุดท้ายไปด้วย

ถังแตก

เกมถังแตกเริ่มตั้งแต่ปี 2541 ถึงปี 2549 โดยใช้รูปแบบเดียวกันกับชิงร้อยชิงล้าน Super Game ในเกมนี้จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้าย ในแต่ละป้ายจะมีป้ายผู้สนับสนุนหลักในรอบถังแตกอยู่ 8 แผ่นป้ายหมายถึงได้เงินรางวัล 10,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือตู้เซฟลีโก้ ต่อมาเป็นผงชูรสอายิโนะทะกะระ ตราภูเขา ผงปรุงรสรสหนึ่ง และกาแฟกระป๋องเบอร์ดี้) และป้ายถังแตกอีก 4 แผ่นป้าย ถ้าเปิดเจอถังแตกครบทั้ง 4 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าเปิดเจอเปิดเจอป้ายผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 8 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัลเพียง 80,000 บาทเท่านั้น ถ้าเปิดป้ายผู้สนับสนุนหลักแล้วป้ายต่อไปเป็นถังแตก จะถือว่าเกมจะหยุดลงทันทีและได้เงินรางวัลตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแรกเป็นถังแตก แล้วป้ายต่อไปเป็นผู้สนับสนุนหลัก จะถือว่าเกมจะหยุดลงทันทีพร้อมรับเงินรางวัล 10,000 บาทไปด้วย

ในกลางปี 2549 ถึงต้นปี 2552 ถูกปรับเปลี่ยนโดยในเกมนี้จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 6 แผ่นป้ายหมายถึงได้เงินรางวัล 10,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ กาแฟกระป๋องเบอร์ดี้) และแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักที่มีรูปถังแตกอีก 6 แผ่นป้าย ถ้าเปิดเจอผู้สนับสนุนหลักครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าเปิดแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก ป้ายต่อไปเป็นถังแตก จะถือว่าเกมจะหยุดลงทันทีและได้เงินรางวัลตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแรกเป็นถังแตก ก็จะไม่ได้รับเงินรางวัลสะสมเลยในเกมนี้ เกมนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2539 (ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม) ถึงปี 2552 (ในยุคชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก)

จับคู่

เกมนี้เป็นการจับคู่กาแฟกระป๋องเบอร์ดี้ ซึ่งเกมนี้เป็นเกมที่มาจากยุค Super Game ช่วงที่ย้ายจากช่อง 7 มาช่อง 3 โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่งจะมีแผ่นป้ายของกาแฟ 2 รส รสละ 6 แผ่นป้าย (โรบัสต้าและมิลค์กี้คอฟฟี่ (ภายหลังเป็นซุปเปอร์เบลนด์)) โดยให้เลือกมา 8 แผ่นป้าย โดยจะต้องเปิดให้ได้โรบัสต้าหรือซุปเปอร์เบลนด์ (มิลค์กี้คอฟฟี่) 3 ใน 4 ของแผ่นป้ายทั้งหมด ถ้าหากจับคู่ได้ถูกต้องจะได้คู่ละ 20,000 บาท ถ้าไม่ถูกต้องจะไม่ได้เงินรางวัลใดๆ ถ้าหากจับคู่ได้โรบัสต้าหรือซุปเปอร์เบลนด์(มิลค์กี้คอฟฟี่) 3 ใน 4 จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาททันที ถ้าหากจับคู่ได้อย่างละ 2 ใน 4 จะได้รับเงินรางวัล 80,000 บาทแต่แจ็คพอตจะไม่แตก เกมนี้เริ่มใช้ในปี 2541 และยกเลิกในปีเดียวกัน โดยไม่มี Jackpot แตกเลย แต่เคยมีเหตุการณ์ที่เกือบแจ๊กพอตแตก เมื่อเทปวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2541 โดยจับคู่ได้เบอร์ดี้ รสโรบัสต้า 2 คู่ เบอร์ดี้ รสซูเปอร์เบลนด์ 1 คู่ แต่คู่สุดท้ายจับคู่ไม่สำเร็จ เพราะเปิดได้เบอร์ดี้ รสโรบัสต้า 1 แผ่นป้าย และเบอร์ดี้ รสซูเปอร์เบลนด์ 1 แผ่นป้าย โดยได้เงินรางวัลสะสมในรอบนี้ 60,000 บาท โดยคู่ที่แจ๊กพอตเกือบแตกคือ อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง,สมพร ปรีดามาโนช (ปิง ฟรุ๊ตตี้)

ภายหลังในช่วงต้นปี 2542 ก็ได้นำเกมนี้มาเล่นใหม่อีกครั้ง แต่กติกาเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง โดยจะมีรูปกาแฟกระป๋อง 2 แถว แถวละ 1 รส (เบอร์ดี้ตอนนั้นคือ โรบัสต้าและซุปเปอร์เบลนด์ และในช่วงปลายปี 2543 ได้เปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักมาเป็นเครื่องดื่มนมเปรี้ยวคาลพิโก้ ซึ่งเป็นของอายิโนะโมะโต๊ะเช่นเดียวกัน โดยจะเป็นรูปนมเปรี้ยวกระป๋องรสส้มกับรสองุ่น) โดยจะมี 12 แผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ ซึ่งแผ่นป้ายนั้นจะมีรูปกระป๋องของแต่ละรส ซึ่งจะมี 6 แผ่นป้ายต่อรสชาติ โดยให้เลือก 8 แผ่นป้าย โดยจะต้องวางบนแถวบน 4 แผ่นป้าย แถวล่างอีก 4 แผ่นป้าย ถ้าหากจับคู่ตรงกับรสชาติจะได้รับเงินรางวัลสะสม 5,000 บาท แต่ถ้าไม่ตรงกันจะไม่ได้รางวัล ถ้าหากจับคู่ได้ทั้งหมดครบ 8 แผ่นป้าย จะได้เงินรางวัล 1,000,000 บาททันที เกมนี้ใช้เล่นตั้งแต่ช่วงต้นปี 2542 ถึง กลางปี 2544 ซึ่งผู้ที่ทำ Jackpot แตกในรอบนี้เป็นคนแรกและคนเดียวคือ โก๊ะตี๋ อารามบอย

สลับตำแหน่ง

เกมนี้เป็นการวางสลับตำแหน่งของกาแฟกระป๋องเบอร์ดี้ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักในเกมนี้ ในเกมนี้จะมีรูปกาแฟกระป๋อง 2 รส รสละ 6 รูป (ในขณะนั้นคือรสโรบัสต้ากับซุปเปอร์เบลนด์) โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยให้เลือกแผ่นป้ายมา 6 แผ่นป้าย โดยถ้าป้ายแรกเป็นกาแฟกระป๋องรสอะไร ป้ายต่อไปต้องสลับไปเป็นอีกรสหนึ่งเท่านั้น ถ้าสลับกับป้ายก่อนหน้านั้นจะได้เงินรางวัลสะสมป้ายละ 10,000 บาท ถ้าซ้ำกับป้ายก่อนหน้านั้นจะไม่ได้รางวัล แต่ถ้าสลับกันครบทุกป้าย จะได้เงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาท เริ่มตั้งแต่ช่วงต้นปี 2542 (ช่วงที่ย้ายไปช่อง 5)

ต่อชิ้นส่วน

เกมนี้เริ่มใช้เมื่อกลางปี 2544 ถึงต้นปี 2550เป็นการวางตำแหน่งจิ๊กซอว์ชิ้นส่วนของกาแฟกระป๋องเบอร์ดี้ และต่อมาเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักเป็นเครื่องดื่มกระป๋องเป๊ปซี่ โดยจะมีรูปกาแฟกระป๋อง 2 รสชาติ (โรบัสต้าและซุปเปอร์เบลนด์) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน (บน,กลาง,ล่าง) ส่วนละ 2 แผ่นป้ายต่อ 1 รสชาติ ผู้แข่งขันต้องเลือกแผ่นป้ายผู้สนับสนุนของรายการทั้งหมด 6 แผ่นป้ายมาวางตามตำแหน่งของกาแฟกระป๋องแต่ละรสชาติ หากถูกรสชาติและถูกตำแหน่ง จะได้รับตำแหน่งละ 5,000 บาท แต่ถ้าหากไม่ถูกตำแหน่ง ไม่ถูกรสชาติ ถูกรสชาติ ไม่ถูกตำแหน่ง หรือถูกตำแหน่งแต่รสชาติไม่ถูกต้อง จะไม่ได้เงินรางวัลใดๆ หากวางตำแหน่งได้ถูกต้อง 1 กระป๋อง จะได้รับเงินรางวัลสะสม 100,000 บาท และถ้าหากวางตำแหน่งได้ถูกต้องทั้ง 2 กระป๋อง จะได้รับเงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาท

ต่อมาในปี 2545 (เมื่อเปลี่ยนฉากใหม่) มีการเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยรูปกาแฟกระป๋องยังแบ่งเป็น 2 กระป๋องเช่นเดิม แต่จะมีเพียงแค่ 2 ส่วน (บน,ล่าง) ส่วนละ 3 แผ่นป้ายต่อ 1 รสชาติ โดยต้องเลือกแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการมา 4 แผ่นป้าย และเปิดให้เป็นชิ้นส่วนบนและชิ้นส่วนล่างของกาแฟกระป๋องตรงตำแหน่งกันจะได้เงินรางวัล 5,000 บาทแต่เปิดป้ายเจอชิ้นส่วนบนหรือส่วนล่างแต่ไม่ตรงกันจะไม่มีเงินรางวัลอย่างใด ทั้งนี้ถ้าวางตำแหน่งจิ๊กซอว์ชิ้นส่วนบนและชิ้นส่วนล่างของกาแฟกระป๋องตรงกัน 1 กระป๋องรสชาติ จะได้เงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าวางตำแหน่งตรงกันทั้ง 2 กระป๋อง จะได้รับเงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาท

ต่อมาในปี 2549 (เมื่อย้ายมาช่อง 7) ได้เปลี่ยนผู้สนับสนุนเป็นเครื่องดื่มเป๊ปซี่ โดยมีรูปเครื่องดื่มกระป๋องเป๊ปซี่ 6 กระป๋องส่วนบน และมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายโดยแบ่งเป็นชิ้นส่วนบน 6 แผ่นป้าย และชิ้นส่วนล่าง 6 แผ่นป้ายตามรสที่ผู้ผลิตได้ผลิตออกมาในขณะนั้น (รสพิเศษที่ผู้ผลิตได้ผลิตออกมาในขณะนั้นคือ เป๊ปซี่ ลาเต้ ต่อมาเป็น เป๊ปซี่ โกลด์) โดยให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการมา 6 แผ่นป้าย และเปิดให้เป็นชิ้นส่วนล่างของเครื่องดื่มกระป๋องเป๊ปซี่ ถ้าเปิดได้เป็นชิ้นส่วนล่างจะได้รับเงินรางวัลสะสม 5,000 บาท แต่ถ้าหากเปิดได้เป็นชิ้นส่วนบนจะไม่ได้รับเงินรางวัลสะสม ทั้งนี้ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายชิ้นส่วนล่างของเครื่องดื่มกระป๋องเป๊ปซี่จะได้รับเงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาท

พรานทะเลพรานเท่ง

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2550 มีการเปลี่ยนแปลงเป็นจับคู่เหมือน โดยผลิตภัณท์อาหารแช่แข็งยี่ห้อพรานทะเลเป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัลและเป็นผู้สนับสนุนหลักในเกมนี้ โดยมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยมีรูปผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งพรานทะเล 6 ชนิด ชนิดละ 2 แผ่นป้าย โดยเปิดป้ายให้ได้ผลิตภัณท์อาหารแช่แข็งพรานทะเลที่ตรงกับที่กำหนดไว้ จะได้เงินรางวัลสะสม 5,000 บาท แต่ถ้าไม่ตรงกันจะไม่ได้เงินรางวัลเลย แต่ถ้าจับคู่ตรงกับที่กำหนดไว้ครบทั้ง 6 ชนิด จะได้เงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาททันที ภายหลังได้เปลี่ยนกติกาใหม่โดยมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยมีแผ่นป้ายพรานทะเลอยู่ 6 แผ่นป้ายและป้ายพรานเท่งอยู่ 6 แผ่นป้าย โดยเปิดป้ายให้ได้ป้ายพรานทะเล จะได้เงินรางวัลสะสม 5,000 บาท แต่ถ้าเปิดเจอป้ายพรานเท่ง จะไม่ได้เงินรางวัลเลย แต่ถ้าเปิดเจอป้ายพรานทะเลครบ 6 ป้าย จะได้เงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาททันที เริ่มใช้ตั้งแต่ต้นปี 2550 ถึง ต้นปี 2551

ลุ้นยิ้มลุ้นโชค

เกมนี้ เป็นเกมที่มาจากชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก และทดแทนเกมถังแตกที่เลิกใช้ไป โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีรูปใบหน้าของเหล่าสมาชิกแก๊งสามช่าทั้ง 3 ได้แก่ หม่ำ, เท่ง และ โหน่ง ในอิริยาบถยิ้ม และเศร้า โดยแผ่นป้ายรูปหน้ายิ้ม และหน้าเศร้าจะมีอย่างละ 6 แผ่นป้ายด้วยกัน หากเปิดป้ายได้ใบหน้าของสมาชิกแก๊งสามช่าที่ยิ้มจะได้เงินรางวัลสะสม 10,000 บาท แต่ถ้าเปิดเป็นรูปสมาชิกแก๊งสามช่าที่เศร้าเกมจะหยุดลงทันทีแม้จะเปิดเป็นแผ่นป้ายแรกก็ตาม ทั้งนี้ หากสามารถเปิดป้ายสมาชิกแก๊งสามช่าที่ยิ้มได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัลสะสม 100,000 บาท เกมลุ้นยิ้มลุ้นโชคได้ยุติลงในวันอังคารที่ 29 ธันวาคม 2552

เป่ายิ้งฉุบ

เกมนี้ เป็นเกมที่มาจากชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมาเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ กาแฟสำเร็จรูปเบอร์ดี้) ซึ่งมีหมายเลข 1-6 2 ฝั่ง ฝั่งละ 1 ผลิตภัณฑ์ (เบอร์ดี้ ไอซ์คอฟฟี่ และเบอร์ดี้ ทรีอินวัน) ทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นมือรูปค้อน 4 แผ่นป้าย, มือรูปกระดาษ 4 แผ่นป้าย และมือรูปกรรไกร 4 แผ่นป้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำการเลือกแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการมา 6 แผ่นป้าย และวางในตำแหน่งที่ได้จัดไว้ จากนั้นจะต้องเปิดแผ่นป้ายให้ได้รูปมือสัญลักษณ์ที่สามารถชนะแผ่นป้ายรูปมือที่ติดไว้ด้านบนได้ โดยอ้างอิงจากกติกาของเกมเป่ายิ้งฉุบ (เช่นหากแผ่นป้ายด้านบนเป็นค้อน แผ่นป้ายล่างต้องเปิดให้ได้กระดาษ เป็นต้น) ถ้าหากสามารถเปิดแผ่นป้ายแล้วชนะแผ่นป้ายด้านบนได้ จะได้รับเงินรางวัลครั้งละ 5,000 บาท แต่ถ้าหากผลออกมาเสมอ (เปิดแผ่นป้ายได้เหมือนกับด้านบน) หรือผลออกมาแพ้ก็จะไม่ได้เงินรางวัลสะสม หากสามารถเป่ายิ้งฉุบชนะได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาท เกมเป่ายิ้งฉุบได้ยุติลงในวันอังคารที่ 29 ธันวาคม 2552 พร้อมกับเกมลุ้นยิ้มลุ้นโชค

ตู้มหาสมบัติ

เกมนี้ เป็นการจับฉลากเงินในตู้ลม กติกาคือมีฉลากราคาตั้งแต่มูลค่า 20 บาท / 50 บาท / 100 บาท / 500 บาท และ 1,000 บาท ชนิดละ 100 ใบ อยู่ในตู้ลม ให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คนส่งตัวแทน 1 คนในการจับฉลากราคาให้ได้มากที่สุดภายในเวลา 30 วินาที ถ้าหมดเวลาแล้วนำมานับฉลากราคาที่จับมาและเป็นเงินรางวัลสะสม โดยจะทำการสะสมรางวัลในเกมนี้ 2 รอบเหมือนกับเปิดแผ่นป้ายสะสมเงินรางวัลที่ผ่านมา

รอบตัดสิน

ในเกมนี้เป็นการตัดสินให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าสู่รอบ Jackpot

เปิดป้ายคะแนน

มีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักในรอบนั้นที่มีเลข 1-12 12 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักคือเป๊ปซี่ ต่อมาเป็นเป๊ปซี่ ทวิสต์ เป๊ปซี่ บลู เกเตอเรด มิรินด้า รสแอปปเปิ้ล เป๊ปซี่ ไฟร์&ไอซ์ โบตันมินต์บอล แอทแทคอีซี่ และป๊อป ซีเคร็ท) ต่อมากลางปี 2552 ได้เปลี่ยนเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย ซึ่งมีคะแนน 1-9 ส่วนอีก 3 ป้าย คือรูปใบหน้าของคุณปัญญา,คุณมยุรา และคุณหม่ำ โดยแผ่นป้ายปัญญาหรือป้ายมยุรามีค่า 10 คะแนน (แต่ในกรณีที่เปิดแผ่นป้ายเดียว ป้ายมยุราจะสามารถชนะป้ายปัญญา) และป้ายหม่ำเป็นป้ายตกรอบ (ป้ายหม่ำนั้น ในกรณีที่ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดได้ 2 แผ่นป้าย ถึงจะสามารถเปิดเจอป้ายใดๆก็ตาม แต่ถ้าอีกแผ่นป้ายหนึ่งเปิดเจอหม่ำ จะถือว่าตกรอบทันทีเช่นเดียวกัน) ในเกมเปิดแผ่นป้ายคะแนนนี้ จะมีการดูคะแนนจากรอบเกมจริงหรือไม่, ทายดาราปริศนา (ยุคที่ 1) ทำได้หรือไม่ได้, ทายสามช่ารับเชิญ, ใครกันหนอ (ยุคที่ 2 และ 3) ด้วย โดยในช่วงปี 2541-2542 ทีมที่มีคะแนนสะสมจากเกมมากที่สุด จะได้เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนอีกทีมหนึ่งจะได้เลือกเปิด 1 แผ่นป้าย (แต่ถ้ามีคะแนนเสมอกัน ทั้งสองฝ่ายจะได้เลือกเปิดคนละ 1 แผ่นป้ายเท่านั้น) ทั้งนี้ ในการเล่นเกม ทีมที่เปิดป้ายได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบทันที แต่ถ้ามีคะแนนเท่ากัน ทีมที่เปิดได้ 2 ป้าย จะเข้ารอบทันที อย่างไรก็ดี ในเกมนี้ สำหรับทีมที่ได้เปิด 2 แผ่นป้าย หากสามารถเปิดแผ่นป้ายได้เป็นรูปปัญญาและมยุรา ทีมนั้นจะได้รับเงินรางวัลพิเศษ 100,000 บาท

ทว่าในปี 2542-2552 (จนถึงยุค ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก) ได้ถูกปรับเปลี่ยนเล็กน้อยโดยมีหลักการดังต่อไปนี้

  • กรณีที่ 1 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนต่างกันทั้งสามคน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุด 2 อันดับแรก จะได้เล่นเกมนี้ โดยผู้เล่นที่มีคะแนนมากกว่ามีสิทธิ์เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนผู้เล่นที่มีคะแนนน้อยกว่าได้เลือก 1 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ถือว่าตกรอบโดยอัตโนมัติ
  • กรณีที่ 2 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเสมอกัน 2 คน โดยสองคนดังกล่าว มีคะแนนสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนนั้นจะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ โดยได้เลือกคนละ 1 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนน้อยกว่าสองคนดังกล่าว ถือว่าตกรอบเช่นกัน
  • กรณีที่ 3 ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งมีคะแนนมากที่สุด และผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่มีคะแนนน้อยกว่ามีคะแนนเท่ากัน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่เหลือ จะได้เลือกคนละ 1 แผ่นป้าย
  • กรณีที่ 4 ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนมีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เลือกคนละ 1 แผ่นป้ายทุกคน

สำหรับการเล่นเกมเปิดแผ่นป้ายคะแนนนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่เปิดป้ายได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบทันที แต่ถ้ามีคะแนนเท่ากัน ผู้ที่เปิดได้ 2 ป้ายจะเข้ารอบทันที อย่างไรก็ดี ในเกมนี้ สำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ได้เปิด 2 แผ่นป้าย หากสามารถเปิดแผ่นป้ายได้เป็นรูปปัญญาและมยุรา ผู้เข้าแข่งขันท่านนั้นจะได้รับเงินรางวัลพิเศษ 100,000 บาท (ผู้สนับสนุนเงินรางวัลโดยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา มาม่า ต่อมาเป็นซอสหอยนางรมตรา แม่ครัว) ทว่าในทางปฏิบัติ การจะได้สิทธิ์ลุ้นเงินรางวัล 100,000 บาทได้นั้น จะต้องเป็นไปตามหลักในข้อที่ 1 และข้อ 3 ซึ่งได้กล่าวมาไว้ข้างต้นเท่านั้น อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ 1 เมษายน 2552 เป็นต้นมา จะไม่มีการให้เงินรางวัลพิเศษ 100,000 บาทในกรณีที่เปิดได้ป้ายรูปปัญญาและมยุราอีก โดยให้ถือว่าผู้ที่เปิดได้ป้ายรูปปัญญาและมยุรานั้นเข้ารอบสุดท้ายไปโดยอัตโนมัติแทน

ประตูหม่ำนำโชค

เกมนี้ มีประตูอยู่ 4 ช่อง โดยสิทธิ์และจำนวนในการเลือกช่องประตูจะขึ้นอยู่กับคะแนนที่สะสมมาในรอบจับคู่แก๊งสามช่า รอบชิงร้อยฯโชว์ และรอบขุดขึ้นมาฮา ในทางการปฏิบัติเลือกประตูไว้ 4 กรณีดังนี้

  • กรณีที่ 1 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนต่างกันทั้งสามคน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุด 2 อันดับแรก จะได้เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ในแต่ละประตูจะมี หม่ำ,เท่ง และโหน่ง ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะต้องเลือก 2 ใน 3 ประตู ส่วนประตูที่เหลือจะตกเป็นของผู้ที่มีคะแนนรองลงมา
  • กรณีที่ 2 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเสมอกัน 2 คน โดยสองคนดังกล่าว มีคะแนนสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนนั้นจะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 2 ประตู ในแต่ละประตูจะมี หม่ำและตุ๊กกี้ ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตู
  • กรณีที่ 3 ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งมีคะแนนมากที่สุด และผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่มีคะแนนน้อยกว่ามีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 4 ประตู ในแต่ละประตูจะมี หม่ำ,เท่ง,โหน่ง และตุ๊กกี้ ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะต้องเลือก 2 ใน 4 ประตู ส่วนคนที่เหลือจะต้องเลือกคนละ 1 ประตู
  • กรณีที่ 4 ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนมีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ในแต่ละประตูจะมี หม่ำ,เท่ง และโหน่ง ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตู

ผู้เข้าแข่งขันที่เปิดประตูเจอหม่ำ จะได้รับช่อดอกไม้แสดงความยินดีจากคุณหม่ำที่สามารถผ่านเข้าไปในรอบสุดท้ายได้ ในขณะที่แก๊งสามช่าคนอื่นๆอาจจะถืออุปกรณ์ประกอบฉากอย่างอื่นออกมาด้วยแทน

เกมนี้ มีพัฒนาการมาจาก "ประตูหม่ำ ประตูหมื่น" จาก ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret และ ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต ในปี 2536-2538 อย่างไรก็ดี เนื่องจากตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553 หม่ำ จ๊กมก เดินทางไปต่างประเทศ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกมใหม่มาเป็นประตูสามช่ามหาสมบัติแทน

ประตูสามช่ามหาสมบัติ

เกมนี้ มีประตูอยู่ 4 ช่อง โดยสิทธิ์และจำนวนในการเลือกช่องประตูจะขึ้นอยู่กับคะแนนที่สะสมมาในรอบจับคู่แก๊งสามช่า รอบชิงร้อยฯโชว์ และรอบขุดขึ้นมาฮา ในทางการปฏิบัติเลือกประตูไว้ 4 กรณีดังนี้

  • กรณีที่ 1 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนต่างกันทั้งสามคน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุด 2 อันดับแรก จะได้เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ในแต่ละประตูจะมีกล่องมหาสมบัติ 1 ประตู และแก๊งสามช่าอีก 2 ประตู ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะต้องเลือก 2 ใน 3 ประตู ส่วนประตูที่เหลือจะตกเป็นของผู้ที่มีคะแนนรองลงมา
  • กรณีที่ 2 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเสมอกัน 2 คน โดยสองคนดังกล่าว มีคะแนนสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนนั้นจะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 2 ประตู ในแต่ละประตูจะมีกล่องมหาสมบัติและแก๊งสามช่า อย่างละ 1 ประตู ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตู
  • กรณีที่ 3 ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งมีคะแนนมากที่สุด และผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่มีคะแนนน้อยกว่ามีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 4 ประตู ในแต่ละประตูจะมีกล่องมหาสมบัติ 1 ประตู และแก๊งสามช่าอีก 3 ประตู ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะต้องเลือก 2 ใน 4 ประตู ส่วนคนที่เหลือจะต้องเลือกคนละ 1 ประตู
  • กรณีที่ 4 ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนมีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ในแต่ละประตูจะมีกล่องมหาสมบัติ 1 ประตู และแก๊งสามช่าอีก 2 ประตู ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตู

ผู้เข้าแข่งขันที่เปิดประตูเจอกล่องมหาสมบัติ จะได้ผ่านเข้าไปในรอบสุดท้ายได้ ในขณะที่แก๊งสามช่าคนอื่นๆ อาจจะถืออุปกรณ์ประกอบฉากอย่างอื่นออกมาด้วยแทน

รอบสุดท้าย

เดือนมีนาคม 2541 - กลางปี 2549

มีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยมีแผ่นป้ายเลข 0 6 แผ่นป้าย มีเงินรางวัล 10,000 บาท และป้ายผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค ปี 2541 - 2549 คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า) โดยในการเปิดแผ่นป้าย จะมี 3 แผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักที่มีตัวเลข 20,000 กำกับซึ่งมีเงินรางวัล 20,000 บาท แต่อีก 3 ป้ายเป็นป้ายเปล่าถือว่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ทั้งนี้ถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้าย 0 ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยจะแบ่ง 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาท ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนรายการที่ผู้ชมส่งมานั่นเอง แต่ถ้าหากเปิดแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท โดยที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเพียงฝ่ายเดียว ส่วนผู้โชคดีทางบ้านก็จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทตามปกติเช่นเดียวกับยุค Super Game ต่อมาถูกปรับเปลี่ยนเป็นได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาททั้ง 2 รูปแบบ แต่ถ้า 6 เดือนแจ็คพอตไม่แตกผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คนจะจับชิ้นส่วนขึ้นมาคนละ 1 ชิ้นส่วน เมื่อจบการแข่งขันผู้เข้าแข่งขันท่านใดเข้ารอบแจ็คพอดผู้โชคดีทางบ้านรับไปเลยเงินรางวัล 1,000,000 บาท ส่วนอีก 2 ท่านที่เหลืออาจจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทหรือผลิตภัณฑ์มาม่าไปรับประทานฟรี 1 ปีแล้วแต่ยุค อย่างไรก็ดี ในยุคนี้ก็มี Jackpot แตกซึ่งได้ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544

กลางปี 2549 - กลางปี 2552

ได้ปรับเปลี่ยนกติกาใหม่ คือมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชคคือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า ต่อมาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหารตราแม่ครัวฉลากทอง) 6 แผ่นป้าย ซึ่งมีป้ายเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท และแผ่นป้ายเลข 0 มี 6 แผ่นป้าย เป็นแผ่นป้ายเปล่าซึ่งไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ทั้งนี้ถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาท ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนรายการนั่นเอง แต่ถ้า 6 เดือนแจ็คพอตไม่แตกผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คนจะจับชิ้นส่วนขึ้นมาคนละ 1 ชิ้นส่วน เมื่อจบการแข่งขันผู้เข้าแข่งขันท่านใดเข้ารอบแจ็คพอดผู้โชคดีทางบ้านรับไปเลยเงินรางวัล 1,000,000 บาท ส่วนอีก 2 ท่านที่เหลืออาจจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทหรือผลิตภัณฑ์มาม่าไปรับประทานฟรี 1 ปีแล้วแต่ยุค

โดยผู้พิชิตแจ๊คพอตคนแรกและคนเดียว คือ บอล เชิญยิ้ม เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549

เปิดป้ายโลกยิ้ม

ในช่วงกลางปี 2552 ได้ปรับเปลี่ยนกติกาใหม่ คือมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักทั้งหมด 12 แผ่นป้ายที่มีหมายเลข 1-6 2 แถว แถวละ 6 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค ปี 2552 คือ พานาโซนิค) โดยมีแผ่นป้ายรูปโลกยิ้ม 6 แผ่นป้าย ซึ่งมีเงินรางวัล 10,000 บาท และแผ่นป้ายเลข 0 มี 6 แผ่นป้าย เป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ทั้งนี้ถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายโลกยิ้มได้ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท อย่างไรก็ดี ในยุคนี้ไม่มี Jackpot แตกเลยเช่นกัน

ผ้าขาว-แบคทีเรีย

ในช่วงกลางปี 2552 - กลางปี 2553 ได้ปรับเปลี่ยนกติกาใหม่ คือมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักทั้งหมด 12 แผ่นป้ายที่มีหมายเลข 1-12 (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค ปี 2552 - 2553 คือ ผงซักฟอกแอทแทค อีซี่) โดยมีแผ่นป้ายรูปเสื้อสีขาว 6 แผ่นป้าย ซึ่งมีเงินรางวัล 10,000 บาท และแผ่นป้ายรูปแบคทีเรีย 3 หัว 6 แผ่นป้าย (รูปแบดทีเรียจะเป็นใบหน้าของแก๊งค์สามช่า หม่ำ/เท่ง/โหน่งอยู่ในร่างเดียวกัน) เป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ทั้งนี้ถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายรูปเสื้อสีขาวได้ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท อย่างไรก็ดี ในยุคนี้ไม่มี Jackpot แตกเลยเช่นกัน

เปิดป้ายปัญญา-มยุรา

ในช่วงกลางปี 2553 - ปลายปี 2554 ได้ปรับเปลี่ยนกติกาใหม่ คือมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักทั้งหมด 12 แผ่นป้ายที่มีหมายเลข 1-12 (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค ปี 2553 - 2554 คือ คาโอ) โดยมีแผ่นป้ายรูปใบหน้าของพิธีกรรายการ 6 แผ่นป้าย โดยในการเปิดแผ่นป้าย จะมีป้ายปัญญา 3 แผ่นป้าย และป้ายมยุรา 3 แผ่นป้าย ซึ่งมีเงินรางวัล 10,000 บาท และแผ่นป้ายรูปใบหน้าสมาชิกแก๊งสามช่า 6 แผ่นป้าย (หม่ำ เท่ง โหน่ง ตุ๊กกี้ ส้มเช้ง พัน คนละ 1 แผ่นป้าย) เป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ทั้งนี้หากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายรูปพิธีกรได้ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท อย่างไรก็ดี ในยุคนี้ไม่มี Jackpot แตกเลยเช่นกัน

ผู้เข้าแข่งขัน

ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่านั้นจะมีทีมละ 2 ทีมด้วยกันโดยแต่ละทีมจะมีอยู่ 2 คนด้วยกัน (รูปแบบคล้ายคลึงกับ ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret) โดยตั้งแต่ 4 มีนาคม 2541 ถึง 20 มกราคม 2542 ตั้งแต่ภายหลังถูกปรับเปลี่ยนเป็น 3 คนต่อสัปดาห์ โดยในแต่ละสัปดาห์จะไม่เหมือนกัน ในกรณีที่ทางรายการจะเชิญดารานักแสดงชาย 2 คนและหญิง 1 คน ในสัปดาห์ต่อไปจะเชิญดารานักแสดงหญิง 2 คนและดารานักแสดงชาย 1 คน สลับกันสัปดาห์เว้นสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2542 ถึงช่วงปัจจุบัน โดยผู้แข่งขันที่เป็นคู่ 2 คู่แรกที่ได้มาแข่งขันในรายการชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า คือ พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง,เมทนี บูรณศิริ และ นาตาชา เปลี่ยนวิถี,ธัญญา สื่อสันติสุข ส่วนผู้แข่งขันที่เป็นยุค 3 คนต่อสัปดาห์ ผู้แข่งขัน 3 คนแรกที่ได้มาแข่งขันในรายการชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า คือ สมชาย เข็มกลัด,กนกวรรณ บุรานนท์ และ โน้ต เชิญยิ้ม

เทปเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 และ 2 กุมภาพันธ์ 2553 ถือว่าเป็นเทปที่มีผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้หญิงล้วนทั้ง 3 คน ต่างจากเทปอื่นที่ผ่านมา

เพลงประกอบ

เพลงนี้เป็นเพลงที่คุณ ธนพร แวกประยูร ร่วมร้องบทเพลงที่มีชื่อว่า ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า

  • (คอรัส) ชิงร้อยชิงล้าน....ชะชะช่า
  • (ชาย) ร้อยถึงจะมีแค่ร้อยฉันให้เธอหมดร้อยยอมให้เธอหมดใจ ล้านใครจะมีกี่ล้านจะให้มากี่ล้านฉันไม่มีเปลี่ยนใจ
  • (หญิง) มีเธอเพียงหนึ่งก็พอแล้ว เธอเป็นยิ่งกว่าเงินล้าน หากมีใครแยกเราไปนั้น ต้องแข่งกันชิงกันไม่มีถอย
  • (คอรัส) ชิงร้อยชิงล้าน.... ชิงร้อยชิงล้าน.... ชะชะช่า

ฉาก

ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า มีฉากที่ค่อนข้างใหญ่และแปลกไปจากเดิม มีความเป็นโชว์มากขึ้นกว่าชิงร้อยชิงล้านยุคก่อน โดยฉากแบบแรกได้รับอิทธิพลมาจากเมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาในเดือนกันยายน 2545 ได้เปลี่ยนฉากไปเป็นรูปแบบศิลปะคล้ายตะวันออกกลาง มีส่วนประกอบ ดังนี้

  • อุโมงค์รูปหัวสิงโต ถือเป็นสัญลักษณ์เด่นประจำรายการชิงร้อยชิงล้าน โดยหัวสิงโตนั้นมีอยู่สองรูปแบบ
    • รูปแบบแรก เป็นรูปหัวสิงโตสีเหลือง(คล้ายโลโก้รายการ) ดวงตาสิงโตเป็นสีเขียว ประตูอุโมงค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู อยู่ใต้คางของหัวสิงโต มีสองประตู ประตูทางด้านขวา มีไฟกะพริบคำว่า Cha ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นประตูที่ปิดอุโมงค์ไว้ ส่วนประตูทางด้านซ้ายจะเป็นประตูเงา สำหรับให้ดาราปริศนาอยู่ทางด้านหลัง และส่องไฟจากทางด้านหลังเป็นเงาของดาราปริศนาออกมา(ใช้ในรอบดาราปริศนา) ใช้ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคแรก (มีนาคม 2541- สิงหาคม 2545)
    • รูปแบบสอง ได้พัฒนามาจากหัวสิงโตรูปแบบแรก และการใช้งานก็เหมือนหัวสิงโตรูปแบบแรก แต่ต่างกันที่รูปทรงที่เปลี่ยนไปคือเป็นรูปสิงโตอ้าปาก(คล้ายกับสิงโตในโลโก้ของบริษัทผลิตภาพยนตร์ MGM ในสหรัฐอเมริกา) สีเหลืองทอง ดวงตาสีแดง มีเขี้ยว 2 เขี้ยวที่ปาก ลวดลายประดับสิงโตแบบตะวันออกกลาง พื้นหลังเป็นครึ่งวงกลมสีแดง มีรูปดอกไม้เล็กๆสีเหลือง หลายดอกประดับ(2545-ปลายปี 2546 มีพื้นหลังมีสีน้ำตาล มีรูปหัวสิงโตเล็กๆ) มีประตูสองประตูทรงหกเหลี่ยมอยู่ในปากสิงโต ประตูแรกเป็นรูปโลโก้รายการมีไฟกระพริบ พื้นหลังสีแดง(ตอนแรกมีแค่รูปหัวสิงโต และไฟกระพริบ)เป็นประตูหลักที่ใช้ปิดอุโมงค์ และประตูที่สองจะเป็นรูปต่างๆที่สอดคล้องกับเรื่องที่นำเสนอ(ในรอบสามช่ารอบเชิญ)และการแข่งขันในรอบแข่งเกม(ในรอบทำได้หรือไม่ได้) (ใช้ตั้งแต่ กันยายน 2545- ธันวาคม 2554 ) และหัวสิงโตรูปแบบนี้ได้มีการใช้ในชิงร้อยชิงล้าน ยุคต่อมาจนถึงปัจจุบันแต่ได้มีการตกแต่งประดับดวงไฟต่างๆไว้ที่หัวสิงโต และมีไม่มีประตูกับฉากหลัง

อุโมงค์สิงโตทั้งสองแบบ สามารถเปิดแยกเป็นสองส่วนได้ สำหรับให้ดาราสามช่ารับเชิญออกมาจากหลังฉาก และหลังฉากสิงโตจะมีรูปโลโก้รายการประดับไฟ และมีบันไดประดับ 2 บันไดอยู่บริเวณโลโก้อีกด้วย

  • โดมหมุนรูปแก๊งสามช่า เป็นลักษณะฉากประตูรูปแก๊งค์สามช่า 3 รูป พื้นวงกลม สามารถหมุนเปิดได้โดยจะหมุนไปทางด้านขวา ใช้หมุนเปิดฉากละครสามช่า(ตอนใกล้จะจบละคร) (ฉากรองในช่วงต่างๆ)หรือจะเป็นช่วงแข่งเกม(จุดเริ่มต้นหรือเส้นชัย) ยาวไปจนรอบสามช่ารับเชิญ สำหรับให้สามช่ารับเชิญไปยืนตรงนั้น มีทั้งหมด 3 แบบคือ
    • แบบแรก เป็นพื้นวงกลม มีประตูรูปแก๊งค์สามช่าคือหนู(สีแดง อยู่ด้านซ้าย) หม่ำ(สีเขียว อยู่ตรงกลาง) และเท่ง(สีน้ำเงิน อยู่ด้านขวา) มีไฟกระพริบประดับระหว่างรูป หลังประตูรูปแก๊งค์สามช่าจะเป็นแถบสีเขียวและขาวสลับกัน ต่อมาหนู เชิญยิ้มได้ออกจากแก๊งค์สามช่า รูปของหนูจึงแทนที่ด้วยโลโก้รายการแทน ใช้ตั้งแต่ปี 2541-ปลายปี 2542
    • แบบที่สอง คล้ายกับแบบแรกแต่ได้เพิ่มรางขั้นวงกลมหมุน ซึ่งจะอยู่ในแนวเดียวกับรูปแก๊งค์สามช่า และพื้นวงกลมสำหรับตั้งวางฉากต่างๆ มีประตูรูปแก๊งค์สามช่าคือหม่ำ(สีเขียว อยู่ตรงกลาง) เท่ง(สีแดง อยู่ด้านซ้าย) และโหน่ง(สีน้ำเงิน อยู่ด้านขวา) มีไฟกระพริบระหว่างรูป หลังประตูดังกล่าวจะมีแถบสีเขียวและขาวสลับกัน และเพิ่มโลโก้รายการ(หัวสิงโต) ไว้ประตูตรงกลางหลังรูปของหม่ำ ใช้ตั้งแต่ปลายปี 2542 - กันยายน 2545
    • แบบที่สาม คล้ายกับแบบที่สอง แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่คือ รูปแก๊งสามช่าแต่ละคน(หม่ำ เท่ง โหน่ง)มีการเปลี่ยนชุดเสื้อผ้าใหม่และท่าทางที่ตลกขบขัน และได้สลับรูปเท่งและโหน่ง ส่วนรูปหม่ำอยู่ที่เดิม มีส่วนที่ยื่นออกมาขั้นแต่รูปไว้ หลังประตูรูปแก๊งค์สามช่าจะเป็นลวดลายสไตล์ตะวันออกกลาง พื้นวงกลมมีสีน้ำตาล มีลวดลายประดับตรงรางขั้นวงกลมหมุน ใช้ตั้งแต่ปี 2545 -2554

การผลิตวีซีดี

ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ได้มีวีซีดีโดยส่วนมากจะเป็นละครของแก๊งสามช่าและแข่งท้าผู้กล้าด้วยโดยผู้ผลิตและผู้ถือลิขสิทธิ์ในช่วงแรกคือบริษัท อีวีเอส เอนเทอร์เทนเมนท์ จำกัด โดยจะมีละครแก๊งสามช่าอยู่ 2 ตอนและแข่งท้าผู้กล้ามีอยู่ 1 ตอนปัจจุบันผู้ที่ถือลิขสิทธิ์คือบริษัท พี.เอ็ม. เอนเทอร์เทนเมนท์ จำกัดส่วนผู้จัดจำหน่ายเป็นของบริษัท อีวีเอส โดยเพิ่มช่วงท้าแข่งผู้กล้าอีก 1 ตอน

กระแสตอบรับ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “สุดยอดความนิยมของวัยรุ่น” ตั้งแต่วันที่ 17-19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่น อายุ 13-21 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,016 คน พบว่า รายการโทรทัศน์ที่นิยมดูมากที่สุด 5 อันดับแรก อันดับที่ 1 คือรายการชิงร้อยชิงล้านร้อยละ 20.3 [3]

อ้างอิง

  1. http://www.workpoint.co.th/uploads/part/20thtuck.jpg
  2. 2.0 2.1 เวิร์คพอยท์เอ็นเทอร์เทนเมนท์ (16 สิงหาคม 2543). "ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha". Workpoint.ksc.net. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: line feed character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 15 (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. โจ๋กรุงเทใจ “ชิงร้อยชิงล้าน-คลื่นซี้ด” สุดยอดความนิยม
ก่อนหน้า ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ถัดไป
ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า
(4 มีนาคม 2541 - 26 มีนาคม 2551)
ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก
ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า
(5 พฤษภาคม 2552 - 27 ธันวาคม 2554)
ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์