ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาราบาว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎เบ็ดเตล็ด: ปรับปรุงเนื้อหาครั้งใหญ่
บรรทัด 170: บรรทัด 170:
* กินลม ชมบาว: [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2556]] ที่ บ้านแอ๊ด คาราบาว สัตหีบ
* กินลม ชมบาว: [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2556]] ที่ บ้านแอ๊ด คาราบาว สัตหีบ


== เกร็ด ==
== เบ็ดเตล็ด ==
* เทปแรกของรายการ [[แฟนพันธุ์แท้]] ที่ออกอากาศเมื่อคืนวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 คือตอนของวง ''คาราบาว'' และจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ได้จัดในตอนคาราบาวมาแล้วถึง 2 ครั้ง
* คาราบาว เป็นวงดนตรีของ[[เอเชีย]]วงแรกที่มีรูปขึ้นบน[[ไฟแช็ก]][[ซิปโป้]]เหมือนศิลปินที่มีชื่อเสียงวงอื่น ๆ ของต่างประเทศ
* อัลบั้มทุกชุด จะมีข้อเขียนในลักษณะความในใจของแอ๊ด คาราบาว อยู่เสมอ นับเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของคาราบาว ยกเว้นอัลบั้ม ประชาธิปไตย ที่มาเขียนบนปกอัลบั้ม 30 ปี คาราบาว - ประชาธิปไตย (วางจำหน่ายเมื่อปี 2554) ในภายหลัง
* คาราบาว ได้รับฉายาจาก[[ชาวตะวันตก|ชาวต่างประเทศ]]ว่าเป็น ''[[เดอะโรลลิงสโตนส์|โรลลิ่ง สโตน]]เมืองไทย''
* ในปี พ.ศ. 2528 มีการสร้างภาพยนตร์ของทางวงออกมา ชื่อ ''[[เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ]]'' เขียนบทโดยแอ๊ด คาราบาว นำแสดงโดยสมาชิกของวงทั้งหมด ในปัจจุบันได้มีการทำเป็นวีซีดีออกมาจำหน่าย
* เทปแรกของรายการ[[แฟนพันธุ์แท้]]ที่ออกอากาศเมื่อคืนวันที่ [[1 กันยายน]] [[พ.ศ. 2543]] คือตอน ''คาราบาว'' และจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ได้จัดในตอนคาราบาวมาแล้วถึง 2 ครั้ง
* ประมาณปี พ.ศ. 2545 สมาชิกของวงคาราบาวได้ตัดสินใจรวบรวมเพลงที่โดนสั่งห้ามเผยแพร่ ห้ามออกอากาศมารวบรวมเป็นชุดโดยใช้ชื่อชุดว่า ''ห้ามออกอากาศ'' เป็นการรวบรวมเพลงในยุคแรกที่ถูก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) สั่งห้ามออกอากาศ โดยให้ทาง กระบือ แอนด์ โค จัดจำหน่าย
* อัลบั้มทุกชุด จะมีข้อเขียนในลักษณะความในใจของแอ๊ด หัวหน้าวง เสมอ นับเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของคาราบาว
* ในปี พ.ศ. 2548 [[อาร์เอส]] และ [[วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์]] ได้ทำอัลบั้มชุดพิเศษ โดยวงดนตรีคาราบาว และ ปาน - [[ธนพร แวกประยูร]] ในชื่ออัลบั้ม ''[[หนุ่มบาว-สาวปาน]]'' โดยเป็นอัลบั้มที่ทำขึ้นเฉพาะกิจระหว่าง 2 สุดยอดนักร้องคุณภาพที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วประเทศ
* ในปี [[พ.ศ. 2528]] มีการสร้าง[[ภาพยนตร์ไทย|ภาพยนตร์]]ของทางวงออกมา ชื่อ ''[[เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ]]'' เขียนบทโดยแอ๊ด นำแสดงโดยสมาชิกของวงทั้งหมด และนักแสดงรับเชิญ ปัจจุบัน ได้มีการทำเป็น[[วีซีดี]]ออกมาจำหน่าย
* ในปี พ.ศ. 2552 คาราบาว และ ปาน ได้ออกอัลบั้มอีกหนึ่งชุด คือ ''บาว + ปาน รีเทิร์น'' ถือเป็นการปิดฉากของโปรเจ็กต์หนุ่มบาว-สาวปาน
* ประมาณปี [[พ.ศ. 2545]] สมาชิกคาราบาวได้ตัดสินใจรวบรวมเพลงที่โดนสั่งห้ามเผยแพร่ ห้ามออกอากาศมารวบรวมเป็นชุดโดยใช้ชื่อชุดว่า ''ห้ามออกอากาศ'' เป็นการรวบรวมเพลงในยุคแรกที่ถูก [[คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์]] (กบว.) สั่งห้ามออกอากาศ โดยให้ทาง MGA จัดจำหน่าย ต้นสังกัดคือบริษัท กระบือ แอนด์ โค จำกัด
* ในปี [[พ.ศ. 2548]] [[อาร์เอส]] และ [[วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์]] ได้ทำอัลบั้มชุดพิเศษ โดยวงคาราบาวและปาน - [[ธนพร แวกประยูร]] ในชื่ออัลบั้ม ''[[หนุ่มบาว-สาวปาน]]'' โดยเป็นอัลบั้มที่ทำขึ้นเฉพาะกิจระหว่าง 2 สุดยอดนักร้องคุณภาพที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วประเทศ
* ในปี [[พ.ศ. 2552]] คาราบาว และ ปาน ได้ออกอัลบั้มอีกหนึ่งชุด คือ ''บาวปานรีเทิร์น'' เป็นการปิดฉากของโปรเจ็กต์หนุ่มบาว-สาวปาน
* ในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน [[พ.ศ. 2556]] ทาง [[วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์]] ได้ร่วมมือกับ [[เซเว่น อีเลฟเว่น|Seven Eleven]] และ Book Smlie ในการแจก Carabao MP3 Collection ซึ่งใน Mp3 จะเป็นเพลงสมัยแรกของวง
* ชื่อ คาราบาว ที่ต่อท้ายชื่อเล่นของบุคคล ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นนักร้อง นักดนตรีในวงเท่านั้น แต่ในบางครั้งจะใช้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือเคยร่วมงานกับวงด้วย เช่น นก คาราบาว (นักร้องประสานเสียงหญิง) ป๋อง คาราบาว (ผู้จัดการวง) เป็นต้น
* คาราบาว ได้ชื่อว่าเป็นวงที่ไม่มีสังกัดที่แน่นอน และในการออกอัลบั้มแต่ละชุด จะทำงานกับสังกัดหรือ[[ค่ายเพลง]]เป็นการเฉพาะไป เช่นอัลบั้ม [[เมด อิน ไทยแลนด์ (อัลบั้ม)|เมด อิน ไทยแลนด์]] ที่สร้างชื่อให้ในปี [[พ.ศ. 2527]] แม้ไม่ได้มีสังกัดที่แน่นอน แต่ก็มี[[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่|แกรมมี่]]สนับสนุนอยู่ มีเพียงตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2545]] ได้สังกัดกับ[[วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์]] และทางวงเคยตั้งบริษัทเพื่อดูแลผลประโยชน์ของวงขึ้นมา ในชื่อ กระบือ แอนด์ โค


== มิวสิควีดีโอของคาราบาว ==
== มิวสิควีดีโอของคาราบาว ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:25, 5 กุมภาพันธ์ 2559

คาราบาว
ไฟล์:Carabao-Logo.gif
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดมะนิลา, ประเทศฟิลิปปินส์
แนวเพลงร็อก, เพื่อชีวิต
ช่วงปีพ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงพีค็อก, อโซน่า, แกรมมี่, แว่วหวาน, วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์, ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์, กระบือ แอนด์ โค, มองโกล
สมาชิกยืนยง โอภากุล (แอ๊ด)
ปรีชา ชนะภัย (เล็ก)
เทียรี่ เมฆวัฒนา (รี่)
เกริกกำพล ประถมปัทมะ (อ๊อด)
ลือชัย งามสม (ดุก)
ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ (หมี)
ชูชาติ หนูด้วง (โก้)
ธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย (อ้วน)
อดีตสมาชิกสานิตย์ ลิ่มศิลา (ไข่)
กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว)
ไพรัช เพิ่มฉลาด (รัช)
อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี (เล็ก)
อำนาจ ลูกจันทร์ (เป้า)
ศยาพร สิงห์ทอง (น้อง)
เว็บไซต์http://www.carabao.net

คาราบาว (อังกฤษ: Carabao) เป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตและยังเป็นตำนานเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงโด่งดังและยังเป็นวงที่อมตะตลอดกาล[1] ของไทย โดยมี ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) เป็นหัวหน้าวง

ประวัติ

ก่อตั้ง

วงคาราบาวเกิดจากการก่อตั้งโดยนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีมาปัว กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ 3 คน คือแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล, เขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร และไข่ - สานิตย์ ลิ่มศิลา ขึ้นที่นั่น ในปี พ.ศ. 2523 โดยคำว่า คาราบาว เป็นภาษาตากาล็อก คือภาษาพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ แปลว่า ควาย หรือคนใช้แรงงาน ซึ่งทางฟิลิปปินส์ถือเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นเกษตร โดยหมายจะเป็นวงดนตรีที่มีเนื้อหาเพื่อชีวิต

คาราบาวในยุคแรกเริ่ม (จากซ้าย) เขียว, แอ๊ด, เล็ก

แอ๊ดได้มีโอกาสฟังเพลงของ เลด เซพเพลิน, จอห์น เดนเวอร์, ดิ อีเกิ้ลส์ และปีเตอร์ แฟลมตัน จากแผ่นเสียงที่ไข่สะสมไว้เป็นจำนวนมาก ต่อมาทั้ง 3 คนจึงร่วมกันตั้งวงดนตรีขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า คาราบาว เพื่อใช้ในการแสดงบนเวทีในงานของมหาวิทยาลัย โดยเล่นดนตรีโฟล์คในเนื้อหาที่สะท้อนสภาพปัญหาและความเป็นจริงของสังคม

เมื่อกลับมาเมืองไทย แอ๊ดและเขียวได้ร่วมกันเล่นดนตรีในเวลากลางคืน โดยกลางวันแอ๊ดทำงานอยู่ที่การเคหะแห่งชาติ ขณะที่เขียวทำให้กับบริษัทฟิลิปปินส์ที่มาเปิดในประเทศไทย ส่วนไข่ก็ขอลาออกจากวงและแยกตัวออกไปทำงานรับเหมาก่อสร้างอยู่ที่ภาคใต้ ทั้งคู่ออกอัลบั้มชุดแรกของวง ในชื่อ ขี้เมา เมื่อปี พ.ศ. 2524 และแอ๊ดก็ได้ติดต่อวง โฮป ให้มาเล่นเป็นแบ็คอัพในอัลบั้มชุดนี้ แต่ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้มีสมาชิกในวงเพิ่มขึ้นมาอีก 1 คน คือเล็ก - ปรีชา ชนะภัย จากวงเพรสซิเดนท์ และออกอัลบั้มเป็นชุดที่ 2 ในชื่อ แป๊ะขายขวด โดยเล็กได้ชักชวนวงเพรสซิเดนท์ทั้งวงรวมทั้งอ๊อด - อนุพงษ์ ประถมปัทมะ มือเบสที่ตอนนั้นยังอยู่ในวงเพรสซิเดนท์ให้มาเล่นเป็นแบ็คอัพของทั้ง 3 คน แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จอีก

รุ่งเรือง

ไฟล์:คาราบาว โปสเตอร์.png
สมาชิกในวงทั้ง 7 คน (จากซ้าย) แอ๊ด, เทียรี่, เล็ก, เป้า, เขียว, อ๊อด, อ.ธนิสร์

คาราบาว เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในอัลบั้มชุดที่ 3 ในปี พ.ศ. 2526 จากอัลบั้ม วณิพก กับสังกัดอโซน่า ด้วยเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม โดยมีทีมแบ็คอัพชุดเดิม คือวงเพรสซิเดนท์ แต่ได้หมู - พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ เข้ามาเล่นให้ด้วย และมีเนื้อหาที่แปลกแผกไปจากเพลงในยุคนั้น ๆ และดนตรีที่เป็นท่วงทำนองแบบไทย ๆ ผสมกับตะวันตก มีจังหวะที่สนุกสนาน ชวนให้รู้สึกคึกคัก เต้นรำได้ จึงสามารถแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในดิสโก้เทคได้เป็นเพลงแรกของไทย[2] ต่อมาในปลายปีเดียวกัน คาราบาวก็ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 คือ ท.ทหารอดทน ซึ่งได้ อำนาจ ลูกจันทร์ และไพรัช เพิ่มฉลาด เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในวง ในตำแหน่งมือกลอง และมือเบสตามลำดับ แต่กลับเริ่มมีปัญหากับสังกัดอโซน่าในการทำเพลง รวมทั้งเป็นอัลบั้มแรกของวงที่มีเพลงที่ถูก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) สั่งห้ามนำไปเผยแพร่ออกอากาศตามสื่อต่าง ๆ คือเพลง ท.ทหารอดทน และ ทินเนอร์ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังประสบความสำเร็จทางด้านยอดขายอย่างมาก

ความโด่งดังของอัลบั้ม ท.ทหารอดทน ทำให้วงคาราบาวทั้งวงได้เป็นแขกรับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง ปล.ผมรักคุณ รวมทั้งสมาชิกแบ็คอัพ คือ เทียรี่ เมฆวัฒนา และอ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดีด้วย พร้อมกับวงเพรสซิเดนท์

คาราบาวประสบความสำเร็จมากที่สุดในปลายปี พ.ศ. 2527 เมื่อออกอัลบั้มชื่อว่า เมด อิน ไทยแลนด์ เป็นอัลบั้มชุดที่ 5 ซึ่งทำยอดขายได้ถึง 5,000,000 ตลับ ซึ่งเป็นสถิติยอดจำหน่ายอัลบั้มเพลงของศิลปินไทยที่สูงที่สุดของไทยที่ขณะนั้นยังไม่มีใครทำลายได้ และเมื่อคาราบาวจัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรก คือ คอนเสิร์ตทำโดยคนไทย ที่เวโลโดรม หัวหมาก ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ก็มียอดผู้ชมถึง 60,000 คน แต่กลับเกิดเหตุสุดวิสัยคือผู้ชมขึ้นไปชมคอนเสิร์ตบนอัฒจันทร์ที่เลิกใช้งานแล้ว และมีชมตีกันกลางคอนเสิร์ต จนกลายเป็นนิยามว่า คาราบาวเล่นที่ไหนก็มีแต่คนตีกัน[3] แอ๊ดเตือนเรื่องความปลอดภัยของอัฒจันทร์ ในที่สุดก่อนจบการแสดงครึ่งชั่วโมง และเหลือเพลงที่ยังไม่ได้แสดงอีก 3 เพลง รวมทั้งเพลง เรฟูจี ที่สุรสีห์ อิทธิกุลต้องขึ้นไปขับร้องกับวงคาราบาวด้วย และเพลงประจำคอนเสิร์ตทำโดยคนไทย คือ เมด อิน ไทยแลนด์ อัฒจันทร์ก็ได้ถล่มลงมาทับผู้ชม จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก แอ๊ดจึงประกาศยุติคอนเสิร์ตโดยทันที และเพลงสุดท้ายที่แอ๊ดร้อง คือ รอยไถแปร[4]

โดยสมาชิกในวงคาราบาวในยุคนั้นเรียกว่า ยุคคลาสสิก มีสมาชิกในวงทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วย

ไฟล์:โปสเตอร์ เวลคัมทูไทยแลนด์.png
โปสเตอร์ขนาดยักษ์ สมาชิก 7 คน ชุด เวลคัมทูไทยแลนด์ มีสโลแกนว่า โค้ก ส่งเสริมคุณค่าแห่งความเป็นไทย (จากซ้าย) เขียว, อ๊อด, เทียรี่, แอ๊ด, เป้า, อ.ธนิสร์, เล็ก

ระหว่างปี พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2533 เรียกได้ว่าเป็นปีทองของคาราบาว โดยมีแอ๊ดเป็นผู้นำ โดยออกอัลบั้มออกมาทั้งหมด 5 ชุด ทุกชุดประสบความสำเร็จทั้งหมด ได้เล่นคอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรปหลายครั้ง รวมทั้งปี พ.ศ. 2528 วงคาราบาวได้แสดงภาพยนตร์เรื่องเสียงเพลงแห่งเสรีภาพร่วมกันทั้งวง มีหลายเพลงที่ฮิตและติดอยู่ในความทรงจำของแฟน ๆ คาราบาวจนถึงปัจจุบัน เช่น เมด อิน ไทยแลนด์, มหาลัย, เรฟูจี, บัวลอย (ถึกควายทุย ภาค ๕), คนจนผู้ยิ่งใหญ่, มะโหนก (ถึกควายทุย ภาค ๖), เจ้าตาก, เวลคัม ทู ไทยแลนด์, กระถางดอกไม้ให้คุณ, คนหนังเหนียว, บาปบริสุทธิ์, แม่สาย, ทับหลัง, รักทรหด เป็นต้น อีกทั้งได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการเพลงไทยในด้านต่าง ๆ เช่นดังนี้

  1. เป็นศิลปินกลุ่มแรกของไทยที่มีโฆษณาลงในปกอัลบั้มและได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ ในสังคม เช่น โค้ก
  2. การแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของวง ที่ชื่อ ทำโดยคนไทย ในปี พ.ศ. 2528 นับเป็นคอนเสิร์ตขนาดใหญ่ครั้งแรกของไทย และเป็นครั้งแรกด้วยที่มีการแสดงดนตรีในเวทีกลางแจ้ง
  3. อัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์ ที่เป็นประวัติศาสตร์ของวงการเพลงไทย แม้จะไม่มีมิวสิกวีดีโอ แต่เมื่อเพลงได้ถูกเผยแพร่ออกไป และได้รับความนิยมถึงขีดสุด ทางรัฐบาลในขณะนั้นนำโดย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในเนื้อหาที่รณรงค์ให้คนไทยใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย จึงได้จัดทำมิวสิกวีดีโอขึ้นมาต่างหากเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ แต่ไม่ได้ส่งเสริมการขายอัลบั้มแต่อย่างใด

แต่เพลงของวงคาราบาวบางเพลง แอ๊ดจะแต่งโดยมีเนื้อหาส่อเสียด จึงมักจะถูก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) สั่งห้ามนำไปเผยแพร่ออกอากาศเสมอ ๆ ในแต่ละอัลบั้ม เฉพาะในยุคก่อตั้งจนถึงยุคคลาสสิกจะมีเพลง ท.ทหารอดทน, ทินเนอร์ ในอัลบั้ม ท.ทหารอดทน, หำเทียม ในอัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์, หำเฮี้ยน ในอัลบั้ม อเมริโกย, วันเด็ก, ผู้ทน, ค.ควาย ค.คน ในอัลบั้ม ประชาธิปไตย และ พระอภัยมุณี ในอัลบั้ม ทับหลัง

แยกย้าย

ไฟล์:Carabao-Group-Picture.jpg
สมาชิกในยุคปัจจุบัน (จากซ้าย) อ้วน, หมี, อ๊อด, เล็ก, แอ๊ด, เทียรี่, ดุก, โก้, น้อง (เสียชีวิตแล้ว)

ในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีแยกตัวของวงคาราบาว โดยสมาชิกแต่ละคนได้แยกย้ายกันไปทำอัลบั้มเดี่ยวของตนเอง มีดังนี้ แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล และอ๊อด - อนุพงษ์ ประถมปัทมะ ในชุด ทำมือ, เล็ก - ปรีชา ชนะภัย ในชุด ดนตรีที่มีวิญญาณ และมีสมาชิกในวง 4 คนที่ได้แยกตัวเป็นอิสระออกไป คือ เขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร ซึ่งได้ออกอัลบั้มเดี่ยวคือชุด ก่อกวน รวมทั้ง เทียรี่ เมฆวัฒนา, อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี และเป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ ก็ได้แยกตัวออกจากวง และออกอัลบั้มร่วมกันในชุด ขอเดี่ยวด้วยคนนะ ก่อนจะแยกย้ายกันไปทำอัลบั้มเดี่ยวจริง ๆ ของแต่ละคน ส่วนทางวงคาราบาวก็ได้รับสมาชิกเพิ่มเข้ามา มาแทนที่ตำแหน่งที่ออกไปคือดุก - ลือชัย งามสม และโก้ - ชูชาติ หนูด้วง ในอัลบั้ม วิชาแพะ ในปี พ.ศ. 2534 และยังคงออกอัลบั้มต่อมา แต่ในปี พ.ศ. 2536 หมี - ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ เข้ามาร่วมวงในตำแหน่งกีตาร์โซโล่ เล็ก - ปรีชา ชนะภัย จึงแยกตัวออกไป ต่อมาทางวงได้สมาชิกใหม่อีก 1 คน คือ น้อง - ศยาพร สิงห์ทอง ในอัลบั้ม แจกกล้วย ในปี พ.ศ. 2538 และในปีเดียวกันนั้น คาราบาวมีอายุครบ 15 ปี คาราบาวจึงได้ออกอัลบั้มชุดพิเศษ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันอีกครั้งของสมาชิกในยุคคาสสิกทั้ง 7 คน ในชื่อชุด หากหัวใจยังรักควาย โดยออกมาถึง 2 ชุดด้วยกัน และมีการจัดคอนเสิร์ตปิดอัลบั้มคือ คอนเสิร์ตปิดทองหลังพระ ในปี พ.ศ. 2539 แต่หลังจากคอนเสิร์ตปิดทองหลังพระ ชื่อเสียงและความนิยมของวงคาราบาวเริ่มสร่างซาลง เนื่องจากกระแสดนตรีที่เปลี่ยนไป แต่ทางวงก็ยังคงผลิตผลงานออกมาอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยเล็ก - ปรีชา ชนะภัย, เทียรี่ เมฆวัฒนา ที่แยกตัวออกไปได้กลับมาร่วมวงอีกครั้งตั้งแต่อัลบั้ม อเมริกันอันธพาล ปี พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน มีเพลงดังในช่วงตกอับนี้คือเพลง บางระจันวันเพ็ญ ในอัลบั้ม เซียมหล่อตือ หมูสยาม และทางวงก็ได้รับสมาชิกใหม่คืออ้วน - ธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย ในตำแหน่งมือกลอง ขลุ่ย และแซกโซโฟนตั้งแต่อัลบั้ม สาวเบียร์ช้าง ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจุบัน

คาราบาวแดง

โลโก้คาราบาวแดง

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2545 คาราบาวได้กลับมาเป็นที่ฮือฮาอีกครั้งของสังคม เมื่อทางวงนำโดยแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ร่วมทุนกับบริษัทโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดงผลิตสินค้าของตัวเองออกมาวางจำหน่าย เป็นเครื่องดื่มชูกำลัง ยี่ห้อ คาราบาวแดง ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคม และวงก็ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 23 คือ นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ มาพร้อมกัน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบของคนบางกลุ่มด้วย เนื่องมาจากการที่คาราบาวเองที่เป็นวงดนตรีเพื่อชีวิต แต่คราวนี้กลับทำตัวเป็นนายทุนเสียเอง เป็นการสมควรหรือไม่ อีกทั้งยังมีแง่มุมในการสมควรหรือไม่ที่ใช้วีรกรรมของวีรชนชาวไทยในอดีตมาใช้ในโฆษณาตัวแรกของคาราบาวแดงซึ่งออกฉายครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เวลา 18.30 น. เช่น ชาวบ้านบางระจัน, ท้าวสุรนารี หรือยุทธนาวีเกาะช้าง เป็นต้น

ปัจจุบัน

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นปีที่ทางวงวางจำหน่ายอัลบั้ม ลูกลุงขี้เมา ที่ทางวงจัดทำขึ้นเพื่อฉลองครบรอบ 25 ปีของวง ทางวงได้ปรับไลน์อัพของวงไปเป็นลักษณะแบบปัจจุบัน เนื่องจากน้อง - ศยาพร สิงห์ทอง ได้ขอลาออกจากวงจากปัญหาเรื่องสุขภาพ และได้เสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557 ส่วนทางวงก็มีผลงานต่อมาอีก 3 ชุด โดยมีเหตุการณ์สำคัญระหว่างออกอัลบั้ม คือ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 มีกระแสข่าวออกมาว่า นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ได้เข้าซื้อกิจการทั้งหมดของคาราบาว เพื่อผลประโยชน์ด้านการเมือง และเพื่อให้การบริหารจัดการในวงมีความคล่องตัวมากขึ้น แต่นายวินิจ เลิศรัตนชัย ผู้บริหารบริษัท เฟรชแอร์ เฟสติวัล จำกัด ในฐานะผู้จัดมหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว ซึ่งเป็นการแสดงดนตรีของคาราบาวในวาระครบรอบ 30 ปีของวง ซึ่งแสดงเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2555 เพื่อโปรโมทอัลบั้ม กำลังใจคาราบาว 30 ปี ได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าว[5][6] และอัลบั้มชุดล่าสุดที่วงคาราบาวออกจำหน่าย คือ สวัสดีประเทศไทย ซึ่งวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2557

จนถึงปัจจุบันนี้ คาราบาวมีอัลบั้มทั้งสิ้น 28 ชุด ไม่นับรวมถึงอัลบั้มพิเศษของทางวงหรือของสมาชิกในวง หรือบทเพลงในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากนับรวมกันแล้วคงมีไม่ต่ำกว่า 100 ชุด มีเพลงไม่ต่ำกว่า 1,000 เพลง เป็นวงดนตรีที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุดทั้งในวงการดนตรีทั่วไปและวงการเพลงเพื่อชีวิต เป็นที่รู้จักของผู้คนในสังคมทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มผู้ฟังเพลง หรือผู้ที่นิยมในเพลงเพื่อชีวิตเท่านั้น จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ตำนานเพลงเพื่อชีวิต

สมาชิก

สมาชิกปัจจุบัน

ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ หรือ หมี คาราบาว เกิดวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2509 (57 ปี) ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีชื่อเล่นว่า หมี เป็นมือกีตาร์ของวงคาราบาวในยุคปัจจุบัน เข้าร่วมวงกับคาราบาวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จากอัลบั้ม ช้างไห้

หมีมีสไตล์การเล่นกีตาร์ที่ดุดัน เช่น เพลง แร้งคอย, เช กูวาร่า, เปาบุ้นจิ้นกับคนตัดไม้, แม่สาว, เต่า, หลวงพ่อคูณ ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ทำให้คาราบาวเปลี่ยนจากดนตรีแนวเพื่อชีวิตแท้ ๆ ให้กลายเป็นแนวร็อก เห็นได้ชัดในเพลง ลุงขี้เมา ที่มีการเล่นเป็นร็อกแตกต่างจากในอดีตที่เล็ก - ปรีชา ชนะภัย เล่น ชอบเล่นในสไตล์บลู ฟั๊งก์ ในอดีตเคยเป็นมือกีตาร์ของฤทธิพร อินสว่าง และวง Up the earth band และนอกจากเล่นกีตาร์ได้ดีแล้วยังเล่นแมนโดลินได้อีกด้วย

ชีวิตส่วนตัว สมรสแล้วมีลูกสาว 2 คนคือ ดาเรศ หุตะวัฒนะ และ ดารารัตน์ หุตะวัฒนะ ซึ่งปัจจุบันเป็นคอรัสให้กับคาราบาว และยังขายสุนัขที่ตลาดนัดสวนจตุจักร

ชูชาติ หนูด้วง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โก้ คาราบาว มือกลองของวงคาราบาว มีชื่อเล่นว่า โก้ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 (76 ปี) ที่กรุงเทพมหานคร เป็นชาวไทยมุสลิม จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

โก้ ตีกลองในแนวเฮฟวี่ เมทัลและเคยร่วมเป็นสมาชิกในวงดนตรีเฮฟวี่ เมทัลต่าง ๆ มาแล้ว เป็นจำนวนมาก เช่น นิวเวฟ, คาไลโดสโคป, ชัคกี้ ธัญญรัตน์ และ บลู พลาเน็ต เป็นต้น

เข้าร่วมวงคาราบาวในหน้าที่มือกลองอัลบั้มชุดที่ 11 วิชาแพะ ในปี พ.ศ. 2534 และเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการในอัลบั้ม สัจจะ ๑๐ ประการ จนถึงปัจจุบัน

อดีตสมาชิก

  • สานิตย์ ลิ่มศิลา (ไข่) : กีตาร์ (ร่วมก่อตั้งวงแต่ไม่ได้ออกอัลบั้ม)
  • ไพรัช เพิ่มฉลาด (รัช) : เบส (พ.ศ. 2526 - 2527) (เสียชีวิต)
  • ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี (เล็ก, ธนิสร์) : คีย์บอร์ด, แซกโซโฟน, ขลุ่ย, ร้องนำ, ร้องประสาน (พ.ศ. 2526-2532, พ.ศ. 2538-2539, พ.ศ. 2554-2555 ร่วมวงอีกครั้งในโอกาสครบรอบ 30 ปีคาราบาว)
  • อำนาจ ลูกจันทร์ (เป้า) : กลอง, เพอร์คัสชั่น (พ.ศ. 2526 - 2532, พ.ศ. 2538 - 2539)
  • กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว) : กีตาร์, ร้องนำ, คีย์บอร์ด, ประสานเสียง (พ.ศ. 2524 - 2534, พ.ศ. 2538 - 2539, 2541, 2550)
  • ศยาพร สิงห์ทอง (น้อง) : เพอร์คัสชั่น (พ.ศ. 2538 - 2550) (เสียชีวิต)

ศยาพร สิงห์ทอง (ชื่อเล่น: น้อง; 19 กันยายน พ.ศ. 2506 ที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม - 6 มีนาคม พ.ศ. 2557 (50 ปี)[7]) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ น้อง คาราบาว เป็นอดีตสมาชิกวงคาราบาว จบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.ว.ส.)

น้องเคยร่วมงานกับวงดนตรีและนักดนตรีต่าง ๆ มามาก อาทิ ฟรีเบิร์ดส, ฤทธิพร อินสว่าง, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ และยิ่งยง โอภากุล หรือ อี๊ด พี่ชายฝาแฝดของยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว หัวหน้าวง

เข้าร่วมวงคาราบาวในฐานะมือกลองเพอร์คัสชั่นและร้องประสานเสียง จากอัลบั้ม แจกกล้วย ในปี พ.ศ. 2538

ชีวิตส่วนตัว น้องสมรสแล้วและมีลูกสาวหนึ่งคนชื่อเล่นว่า อะตอม น้องได้ขอลาออกจากวงไปในปี พ.ศ. 2550 เนื่องจากป่วยเป็นระยะเวลานาน[8] และได้เสียชีวิตไปในเวลาเช้าของวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557[7]

ผลงานอัลบั้มของคาราบาว

เฉพาะอัลบั้มภาคปกติของวงคาราบาว มีดังนี้

พ.ศ. 2524-2529

พ.ศ. 2530-2538

พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน

คอนเสิร์ตครั้งสำคัญ

ไฟล์:ทำโดยคนไทย.jpg
คอนเสิร์ตทำโดยคนไทย คอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของคาราบาว

เกร็ด

  • เทปแรกของรายการ แฟนพันธุ์แท้ ที่ออกอากาศเมื่อคืนวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 คือตอนของวง คาราบาว และจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ได้จัดในตอนคาราบาวมาแล้วถึง 2 ครั้ง
  • อัลบั้มทุกชุด จะมีข้อเขียนในลักษณะความในใจของแอ๊ด คาราบาว อยู่เสมอ นับเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของคาราบาว ยกเว้นอัลบั้ม ประชาธิปไตย ที่มาเขียนบนปกอัลบั้ม 30 ปี คาราบาว - ประชาธิปไตย (วางจำหน่ายเมื่อปี 2554) ในภายหลัง
  • ในปี พ.ศ. 2528 มีการสร้างภาพยนตร์ของทางวงออกมา ชื่อ เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ เขียนบทโดยแอ๊ด คาราบาว นำแสดงโดยสมาชิกของวงทั้งหมด ในปัจจุบันได้มีการทำเป็นวีซีดีออกมาจำหน่าย
  • ประมาณปี พ.ศ. 2545 สมาชิกของวงคาราบาวได้ตัดสินใจรวบรวมเพลงที่โดนสั่งห้ามเผยแพร่ ห้ามออกอากาศมารวบรวมเป็นชุดโดยใช้ชื่อชุดว่า ห้ามออกอากาศ เป็นการรวบรวมเพลงในยุคแรกที่ถูก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) สั่งห้ามออกอากาศ โดยให้ทาง กระบือ แอนด์ โค จัดจำหน่าย
  • ในปี พ.ศ. 2548 อาร์เอส และ วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ ได้ทำอัลบั้มชุดพิเศษ โดยวงดนตรีคาราบาว และ ปาน - ธนพร แวกประยูร ในชื่ออัลบั้ม หนุ่มบาว-สาวปาน โดยเป็นอัลบั้มที่ทำขึ้นเฉพาะกิจระหว่าง 2 สุดยอดนักร้องคุณภาพที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วประเทศ
  • ในปี พ.ศ. 2552 คาราบาว และ ปาน ได้ออกอัลบั้มอีกหนึ่งชุด คือ บาว + ปาน รีเทิร์น ถือเป็นการปิดฉากของโปรเจ็กต์หนุ่มบาว-สาวปาน

มิวสิควีดีโอของคาราบาว

อัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์

  • เมด อิน ไทยแลนด์ [a 1]

อัลบั้ม ประชาธิปไตย

  • ประชาธิปไตย
  • เจ้าตาก
  • ผู้ทน
  • ตาตี๋

อัลบั้ม เวลคัม ทู ไทยแลนด์

  • เวลคัม ทู ไทยแลนด์
  • กระถางดอกไม้ให้คุณ
  • สบายกว่า
  • เทวดาถ้าจะแย่

อัลบั้ม ทับหลัง

  • ทับหลัง
  • รักทรหด
  • แม่สาย
  • หนุ่มสุพรรณ (2)

อัลบั้ม ห้ามจอดควาย

  • สัญญาหน้าฝน
  • ผ้าขี้ริ้ว
  • ดิบแดก
  • ปอดแหก

อัลบั้ม วิชาแพะ

  • พ่อหลี
  • บิ๊กสุ
  • หัวใจรำวง
  • นายกอ
  • นรกคอรัปชั่น

อัลบั้ม สัจจะ ๑๐ ประการ

  • สัจจะ ๑๐ ประการ
  • สามช่าจงเจริญ
  • น้ำ

อัลบั้ม ช้างไห้

  • ช้างไห้
  • ยายสำอาง
  • แร้งคอย
  • ปกากะญอ
  • ทายาทตระกูลหยี

อัลบั้ม รุ่นคนสร้างชาติ

  • คนสร้างชาติ
  • หลวงพ่อคูณ
  • เปาบุ้นจิ้นกับคนตัดไม้
  • ตาดี [a 2]

อัลบั้ม แจกกล้วย

  • กำนันผู้ใหญ่บ้าน

อัลบั้ม หากหัวใจยังรักควาย

  • หลงวัฒน์
  • บุญหมา

อัลบั้ม พออยู่พอกิน

  • พออยู่พอกิน
  • นายร้อย
  • ลมพัดใจเพ

อัลบั้ม เซียมหล่อตือ

  • เซียมหล่อตือ
  • บางระจันวันเพ็ญ [a 3]
  • รักเธอคนเดียว
  • รักสุดราง

อัลบั้ม สาวเบียร์ช้าง - โฮะ

  • มีทุกเพลง [a 4]


  1. เป็นเพลงแรกของทางวงที่ทำมิวสิควีดีโอ
  2. เพลงนี้ไม่ได้ทำมิวสิควีดีโอตั้งแต่แรก แต่มาทำภายหลังเพื่อโปรโมทอัลบั้ม ปากหมา 3
  3. เป็นมิวสิควีดีโอที่ใช้โปรโมทภาพยนตร์เรื่อง บางระจัน
  4. เป็นการถ่ายมิวสิควีดีโอลง วีซีดี คาราโอเกะ

ภาพยนตร์

  • สวรรค์บ้านนา (พ.ศ. 2526) [a 1]
  • ป.ล.ผมรักคุณ (พ.ศ. 2527)
  • เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ (พ.ศ. 2528) [a 2]
  1. ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงนำโดย แอ๊ด คาราบาว โดยวงคาราบาวได้แสดงในช่วงจบเรื่อง
  2. ภาพยนตร์เรื่องแรกและเรื่องเดียวของวงคาราบาวที่ได้แสดงทั้งวง แบบเต็ม ๆ ทั้งเรื่อง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น