คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
กบว. ก่อตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2518 |
ยุบเลิก | 3 กันยายน พ.ศ. 2535 |
หน่วยงานสืบทอด |
|
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
เอกสารหลัก |
|
คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ กบว. เป็นหน่วยงานของไทย ที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2518[1] ตามระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2518 โดยมีหน้าที่ในการควบคุมการดำเนินการของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย รวมถึงการเซ็นเซอร์เนื้อหาของรายการต่างๆ[2]
กบว. ประกอบด้วย กรรมการจากส่วนราชการจำนวน 16 คน ได้แก่ ประธานกรรมการ คือ นายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ มีหัวหน้ากองงานคณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ร่วมด้วย เจ้าหน้าที่ระดับสูงและผู้แทนจากหน่วยงานความมั่นคง ทั้งทหารและตำรวจ[3]โดยมีการตั้งอนุกรรมการ เพื่อตรวจพิจารณาเนื้อหาของรายการประเภทต่างๆ เช่น รายการทั่วไป ละคร ภาพยนตร์ และ โฆษณา รวมถึงมีอำนาจควบคุมการเซ็นเซอร์ด้วย
กบว. ยกเลิกในสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ในช่วงพฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 โดยมีการตั้งคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กกช. ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการกำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2535 ขึ้นมาแทน และยกเลิกการตรวจพิจารณาเนื้อหารายการ โดยให้คณะกรรมการของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์แต่ละแห่ง ตรวจพิจารณากันเอง[4]
ผลงานเด่นของ กบว. เช่น การห้ามออกอากาศเพลงที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม หรือส่อเสียดทางการเมือง ของวงดนตรีเพื่อชีวิต คาราบาว หรือของแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ซึ่งเป็นหัวหน้าวง เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สารบาญระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี (parliament.go.th)
- ↑ เพื่อเห็นแก่ชาติ ได้โปรดเถอะ ให้เอกชนเป็นเจ้าของสถานี ทีวี-วิทยุเดี๋ยวนี้, นิตยสารผู้จัดการ(กรกฎาคม 2535)[ลิงก์เสีย]
- ↑ การจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านสื่อ บทเรียนจากนานาประเทศ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ระเบียบ ว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2535". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-10-20.