พาราไดซ์ พาร์ค
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พาราไดซ์พาร์ค ในปี พ.ศ. 2550 ก่อนปรับปรุง | |
พิกัด | 13°41′16″N 100°38′50″E / 13.6877°N 100.6472°E |
---|---|
ที่อยู่ | 61 ถนนศรีนครินทร์, แขวงหนองบอน, เขตประเวศ, กรุงเทพมหานคร 10250 |
เปิดให้บริการ | 26 มีนาคม พ.ศ. 2537 (เสรีเซ็นเตอร์) 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (พาราไดซ์ พาร์ค) |
ผู้พัฒนา | กลุ่มเอ็มบีเค & สยามพิวรรธน์ |
ผู้บริหารงาน | บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) (MBK PLC.) PT Retail Corp., Ltd (ห้างสรรพสินค้าโตคิว|ปิดกิจการ) |
ขนส่งมวลชน | สถานีสวนหลวง ร.9 |
พาราไดซ์ พาร์ค (เดิม: เสรีเซ็นเตอร์) และ พาราไดซ์ เพลส (เดิม: ฮ่า ฮ่า) เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ 61 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ
พาราไดซ์ พาร์ค เปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งเดิมเคยเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าแพรงตองและไทยไดมารู จนเมื่อ พ.ศ. 2551 กลุ่มสยามพิวรรธน์ และเอ็มบีเค ดีเวลอปเมนท์ ได้เข้ามาบริหารศูนย์การค้าแทนผู้บริหารเดิม และได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ศูนย์การค้าใหม่ทั้งหมด ชูจุดเด่นเป็นศูนย์การค้าระดับกลางถึงบนในเขตกรุงเทพตะวันออก โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์การค้า เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553[1]
การจัดสรรพื้นที่
[แก้]พาราไดซ์ พาร์ค แบ่งพื้นที่ออกเป็นทั้งหมดสองอาคารได้แก่อาคารพาราไดซ์ พาร์ค หรือเสรีเซ็นเตอร์เดิมที่เปิดดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2537 และอาคารพาราไดซ์ เพลส (ฮ่า ฮ่า เดิม) ที่สร้างขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2555 โดยทั้งสองอาคารมีรายละเอียดดังนี้
พาราไดซ์ พาร์ค
[แก้]พาราไดซ์ พาร์ค ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้
- วิลล่า มาร์เก็ต
- ตลาดเสรีมาร์เก็ต
- โฮมโปร
- เดอะเพาเวอร์ บาย โฮมโปร
- สปอร์ตเวิลด์
- ศูนย์สุขภาพรามาเฮลธ์สเปซ โดยความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล[2] (เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
พาราไดซ์ เพลส
[แก้]พาราไดซ์ เพลส ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้
- เซเว่น อีเลฟเว่น สาขาพาราไดช์ เพลส (เปิดบริการ 24 ชั่วโมง)
- โรงเรียนกวดวิชา
- บริษัท หลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ จำกัด
- สำนักงานให้เช่า
พื้นที่จัดสรรในอดีต
[แก้]- ห้างสรรพสินค้าไทยไดมารู สาขาเสรีเซ็นเตอร์ ปิดกิจการเมื่อ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543[3]
- ห้างสรรพสินค้าแพรงตองส์ สาขาเสรีเซ็นเตอร์
- โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สาขาเสรีเซ็นเตอร์
- ห้างสรรพสินค้าแอทอีซ
- ห้างสรรพสินค้าโตคิว สาขาพาราไดซ์ พาร์ค (ปิดกิจการ)[4]
- โรงภาพยนตร์พาราไดซ์ ซีนีเพล็กซ์ จำนวน 8 โรง ปิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 (ได้ย้ายไปยังโรงภาพยนตร์ซีคอน ซีนีเพล็กซ์ ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์)
การคมนาคม
[แก้]- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง สถานีสวนหลวง ร.9
- รถเมล์ ขสมก. สาย 145(3-18),206(3-30),3-21(207),3-19E(145 ทางด่วน)
- รถเมล์เอกชน สาย 133(3-15),1013 เสริม,3-27,3-34,537E(3-26E)
- รถสองแถว สาย 1013(4),1013(5),1013(9),1013(11),1014(ม.รามคำแหง 2 > รร.คลองปักหลัก > ซีคอนสแควร์),1014(ตลาดอุดมสุข > ซีคอนสแควร์)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""พาราไดซ์ พาร์ค" พร้อมเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่". posttoday.com (ภาษาอังกฤษ). 2010-08-17.
- ↑ ""พาราไดซ์ พาร์ค" ทุ่มงบพันล้านปรับโฉมใหม่ พร้อมจับมือ รพ.รามาธิบดี เปิด Rama Health Space@ Paradise Park". สยามรัฐ. 2023-04-27.
- ↑ ""ไดมารู" ชื่อนี้เหลือเพียงประวัติศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
- ↑ https://www.prachachat.net/marketing/news-246152 พ่ายศึกค้าปลีก! ห้างสรรพสินค้า ‘โตคิว ‘ ปิดสาขาพาราไดซ์ พาร์ค ศรีนครินทร์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พาราไดซ์ พาร์ค เก็บถาวร 2010-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน