วัดทุ่งลานนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดทุ่งลานนา
แผนที่
ชื่อสามัญวัดทุ่งลานนา (ชมทองผินถวิลอุปถัมภ์), วัดทุ่งลานนา
ที่ตั้งเลขที่ 165 ซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 28 แยก 3-1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูเนกขัมมคุณาจารย์ (จันทร์แดง คุณวีโร)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดทุ่งลานนา เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 16 ไร่

วัดทุ่งลานนาสร้างขึ้นโดยมีผู้ยกที่ดินให้สร้างวัดคือ นายขุนทองและนางฉะอ้อน บุญมาเลิศ ยกให้ 10 ไร่ นายกันและนางลิป ปานเถื่อน ยกให้ 4 ไร่ และนางถวิล มีสายทอง ยกให้ 2 ไร่[1] ผู้ดำเนินการสร้างวัดฝ่ายฆราวาสคือนางถวิล ส่วนผู้ดำเนินการสร้างวัดฝ่ายสงฆ์คือพระครูเนกขัมมคุณาจารย์ (จันทร์แดง คุณวีโร)[2] ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2511 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวัดอย่างถูกต้องตามกฎหมายเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2512 โดยใช้ชื่อว่า "วัดทุ่งลานนา (ชมทองผินถวิลอุปถัมภ์)"[3] วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2513 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงตัดลูกนิมิต ด้านการศึกษา ทางวัดได้เปิดสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ. 2515

อาคารเสนาสนะได้แก่ อุโบสถ กว้าง 8.50 เมตร ยาว 24.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511 กุฏิสงฆ์ จำนวน 16 หลัง หอสวดมนต์ กว้าง 10 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2512 ศาลาการเปรียญ กว้าง 20.50 เมตร ยาว 38.50 เมตร เป็นอาคารทรงล้านนา นอกจากนั้นยังมีเจดีย์ 1 องค์[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติ วัดทุ่งลานนา ชมทองผินถวิลอุปถัมภ์". สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ศิลปวัฒนธรรม". สำนักงานเขตประเวศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-27. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งวัดทุ่งลานนา (ชมทองผินถวิลอุปถัมภ์)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
  4. สมคิด ทองสิมา, บุญมา ศรีสุรเมธี (2526). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2. กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. p. 104.