หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล | |
---|---|
หม่อม | หม่อมบงกชปริยา ยุคล ณ อยุธยา |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์ศรีเฉลิม ยุคล หม่อมราชวงศ์อุรรัตน ยุคล พระมงคลสุทธิวงศ์ (หม่อมราชวงศ์นันทวัฒน์ ยุคล) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร |
พระมารดา | สมเชื้อ มุกสิกบุตร |
ประสูติ | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2479 (84 ปี) |
![]() |
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ: |
หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล (ประสูติ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2479) เป็นพระโอรสในพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ประสูติแต่หม่อมสมเชื้อ มุกสิกบุตร และเป็นพระราชวงศ์ที่เสด็จแทนพระองค์ในพระราชพิธีสำคัญอยู่บ่อยครั้ง
หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล เป็นพระโอรสในพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ประสูติแต่สมเชื้อ มุกสิกบุตร (สกุลเดิม ชมเสวี; ธิดาของพระนิเวศน์วิสุทธิ์ (เอิบ ชมเสวี)) มีพี่น้องต่างพระบิดา 2 คน[1] และต่างมารดาอีก 6 องค์
หม่อมเจ้ามงคลเฉลิมเสกสมรสกับหม่อมบงกชปริยา ยุคล ณ อยุธยา (นามเดิม เบ็ตตี คอลค์สตีน) มีโอรส-ธิดาสามคน คือ[2]
- หม่อมราชวงศ์ศรีเฉลิม กาญจนภู ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ 2 สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา สมรสกับวรุณ กาญจนภู ผู้บริหารระดับสูง ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จำกัด (มหาชน) มีบุตรสองคน
- หม่อมราชวงศ์อุรรัตนา ยุคล
- พระมงคลสุทธิวงศ์ (หม่อมราชวงศ์นันทวัฒน์ ชยวฑฺฒโน)
การศึกษา[แก้]
- บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น, สหรัฐ
- พาณิชยศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3]
การทรงงาน[แก้]
ภายหลังทรงสำเร็จการศึกษา หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล ทรงปฏิบัติงานที่ ธนาคารกรุงเทพ ในตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
- 2547 - ปัจจุบัน: กรรมการตรวจสอบ บริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)[4]
- เมษายน 2546 - ปัจจุบัน: กรรมการอิสระ บริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- 2543 - 2546: ที่ปรึกษาประจำฝ่ายการประชาสัมพันธ์ บริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- 2509 - 2542: ผู้บริหาร บริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
กรณียกิจ[แก้]
หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล ทรงร่วมงานพระราชพิธีและเคยเสด็จแทนพระองค์หลายครั้ง เช่น พระราชพิธีสังเวยพระป้าย ในเทศกาลตรุษจีน[5][6][7][8]
ในการบำเพ็ญพระราชกุศลพิธีกงเต็ก ถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธุ์ พุทธศักราช 2560 หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทำหน้าที่อัญเชิญเครื่องทองน้อย ในพิธีข้ามสะพานโอฆสงสาร โดยพระสงฆ์จีนสวดพระพุทธมนต์ นำเสด็จดวงพระวิญญาณลงจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พร้อมเชิญเครื่องทองน้อย และธงพุ่มดวงพระวิญญาณลงมาประดิษฐาน ณ มณฑลพิธี พระสงฆ์จีนสวดพระพุทธมนต์ นำดวงพระวิญญาณ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินข้ามสะพานโอฆสงสาร 3 รอบ โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินตามเครื่องทองน้อยที่อัญเชิญโดยหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล และธงพุ่มดวงพระวิญญาณ อัญเชิญโดยพลโทหม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล พร้อมกันนั้นได้ทรงโปรยเหรียญลงในขันสาครที่หัวสะพานและท้ายสะพาน
เมื่อครบ 3 รอบ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยเพื่อบูชาเทพรักษาสะพาน ที่ท้ายสะพาน ทรงรับกระดาษเงิน กระดาษทอง แล้วพระราชทานแก่เจ้าพนักงานนำไปเผา พระสงฆ์จีนสวดพระพุทธมนต์นำดวงพระวิญญาณ เสด็จพระราชดำเนินข้ามสะพานโอฆสงสาร เที่ยวกลับ 3 รอบ จนครบ จึงเชิญดวงพระวิญญาณเสด็จขึ้นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล เป็นหนึ่งในผู้ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำอภิเษกแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ โดยหม่อมเจ้ามงคลเฉลิมทรงเป็นผู้แทนประจำทิศอาคเนย์[9]
ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 16.59 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล เสด็จแทนพระองค์ ไปยังศาลาสหทัยสมาคม พระบรมมหาราชวัง ในการทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมเทียนรุ่ง เทียนเดิน และธูปที่ทรงพระราชอุทิศพระราชทาน ไปจุดบูชาพระรัตนตรัย ตามพระอารามหลวงต่าง ๆ เนื่องในวันวิสาขบูชา จำนวน 6 วัด และเนื่องในวันอัฏฐมีบูชา อีก 7 วัด[10] และในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 16.51 น. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จแทนพระองค์ ไปทรงจุดเทียนรุ่งที่ทรงพระราชอุทิศบูชาพระรัตนตรัยตามพระอารามหลวงต่าง ๆ เนื่องในวันอัฏฐมีบูชา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[11][12]
หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล ยังได้ถวายงานสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในการเสด็จไปทรงประกอบพระกรณียกิจแทนพระองค์อยู่บ่อยครั้ง
นอกจากนี้ หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล ยังโปรดสนทนาธรรมกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่อยู่เสมอ หม่อมเจ้ามงคลเฉลิมทรงแขวนพระเครื่องติดตัวประจำหลายองค์ ส่วนใหญ่เป็นพระกริ่ง โดยได้รับประทานจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล เคยประทานสัมภาษณ์ว่า "ชีวิตตั้งแต่เกิดมา มีเหตุการณ์เฉียดตายมาตลอด ขนาดรถพลิกคว่ำหลายตลบยังไม่เป็นอะไรเลย ยิ่งสมัยเด็ก ๆ เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ที่วังลดาวัลย์ ซึ่งเป็นบ้านเก่าของปู่ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์) มีลูกระเบิดเพลิงลงหน้าบ้านหลังบ้านก็ไม่ระเบิด"[13]
ในการพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ปีพุทธศักราช 2556 หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการอํานวยการจัดงานพระศพ สมเด็จพระญาณ สังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในตำแหน่งคณะที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส[14]
หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก มหาวชิรมงกุฎ และตติยจุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า สืบตระกูลพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร
ธรรมเนียมพระยศของ หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
ลำดับโปเจียม | 24 |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2555 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2551 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[16]
- พ.ศ. 2549 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[17]
- พ.ศ. 2547 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[18]
- พ.ศ. 2562 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[19]
- พ.ศ. 2537 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. 2535 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)[20] สืบตระกูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
- พ.ศ. 2562 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[21]
- พ.ศ. 2493 -
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๙ (ร.ร.ศ.9)
พงศาวลี[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอ่วม
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ https://www.bangkokbank.com/th-TH/About-Us/Board-Directors/HSH-PRINCE-MONGKOLCHALEAM-YUGALA
- ↑ ธนาคารกรุงเทพ
- ↑ “ในหลวง” โปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจสังเวยพระป้าย ณ พระราชวังบางปะอิน
- ↑ ข่าวในพระราชสำนักราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 16ข วันที่ 15 มิถุนายน 2559
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก (๑ มกราคม - ๓๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐)
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก (๑ มกราคม - ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑)
- ↑ หมายกำหนดการ ที่ ๑๐/๒๕๖๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ https://ch3thailandnews.bectero.com/news/186485
- ↑ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/880567
- ↑ โปรดเกล้าฯให้'ม.จ.มงคลเฉลิม ยุคล'เสด็จแทนพระองค์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา
- ↑ สุทธิคุณ กองทอง ความสุขในร่มกาสาวพัสตร์ ของ...พระมหา ม.ร.ว.นันทวัฒน์ ชยวฑฺฒโน http://oknation.nationtv.tv/blog/sutku/2010/01/24/entry-1
- ↑ คําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรีที่ 299/2556 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการจัดงานพระศพสมเด็จพระญาณ สังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 129, ตอนที่ 18 ข 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555, หน้า 2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม 125, ตอนที่ 16 ข 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกให้แก่พระราชวงศ์ เล่ม 123 ตอนที่ 25 ข, 29 ธันวาคม 2549, หน้า 2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เล่ม 121 ตอนที่ 23 ข, 26 พฤศจิกายน 2547, หน้า 77
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์ และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ, เล่ม 136, ตอนที่ 16 ข, 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 109, ตอนที่ 59 ข 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์ และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ, เล่ม 136, ตอนที่ 16 ข, 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 2
- บทความที่ใช้แหล่งอ้างอิงปฐมภูมิเป็นหลัก
- บทความทั้งหมดที่ใช้แหล่งอ้างอิงปฐมภูมิเป็นหลัก
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2479
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ราชสกุลยุคล
- หม่อมเจ้าชาย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.3 (ร.10)
- สกุลโอสถานนท์