พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก รัชกาลที่ 4)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉายโดย จอห์น ทอมสัน
พระเจ้ากรุงสยาม
ครองราชย์2 เมษายน พ.ศ. 2394 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411
(17 ปี 182 วัน)
ราชาภิเษก15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394
ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถัดไปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระเจ้าแผ่นดินที่สองพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมุหนายก
สมุหพระกลาโหม
พระราชสมภพ18 ตุลาคม พ.ศ. 2347
พระราชวังเดิม เมืองธนบุรี อาณาจักรรัตนโกสินทร์
สวรรคต1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 (63 พรรษา)
พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ พระบรมมหาราชวัง เมืองพระนคร ประเทศสยาม
ถวายพระเพลิงพ.ศ. 2413
พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง
บรรจุพระบรมอัฐิพระวิมานทองกลาง บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระภรรยาเจ้า
สนม
พระราชบุตร84 พระองค์
วัดประจำรัชกาล
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระราชมารดาสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
ศาสนาเถรวาท
ลายพระอภิไธย

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรีและทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 48 ตามประวัติศาสตร์ไทย มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังเดิม เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช[1] เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

สยามรู้สึกถึงแรงกดดันจากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับเอานวัตกรรมตะวันตกมาและริเริ่มพัฒนาประเทศของพระองค์ให้ทันสมัย ทั้งในด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรม จนทำให้พระองค์ได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" และพระองค์ยังทรงเป็น 1 ใน 8 สมเด็จพระบูรพกษัตริย์สยามที่ทรงเป็น “มหาราช” ในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังสถาปนาพระอนุชาของพระองค์ คือ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 โดยได้ประกอบพิธีบวรราชาภิเษกในปี พ.ศ. 2394 เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวควรได้รับการถวายความเคารพเสมอด้วยพระองค์ (ดังที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำกับพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อ พ.ศ. 2135) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อำนาจของตระกูลบุนนาคมาถึงจุดสูงสุด กลายเป็นตระกูลขุนนางที่มีอำนาจสูงสุดในสยาม

พระราชประวัติ

ขณะทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะบวชเรียนจำพรรษา จิตรกรรมฝาผนัง ณ วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร

พระราชโอรสองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ฉศก จ.ศ. 1166 ซึ่งตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ณ พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดา เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร[2] โดยพระนามก่อนการมีพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระนามว่า "ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่"

พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์จึงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่มีพระชนม์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[3]

เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จขึ้นครองสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว พระองค์ได้เสด็จเข้ามาอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่ง พ.ศ. 2355 พระองค์มีพระชนมายุได้ 9 พรรษา จึงได้จัดการพระราชพิธีลงสรงเพื่อเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าอย่างเป็นทางการ พระราชพิธีในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชดำริว่า พระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าได้ทำเป็นอย่างมีแบบแผนอยู่แล้ว แต่การพระราชพิธีลงสรงตั้งพระนามเจ้าฟ้าครั้งกรุงศรีอยุธยายังหาได้ทำเป็นแบบอย่างลงไม่[4] รวมทั้ง ผู้ใหญ่ที่เคยเห็นพระราชพิธีดังกล่าวก็แก่ชราเกือบจะหมดตัวแล้ว เกรงว่าแบบแผนพระราชพิธีจะสูญไป พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษมนตรีและเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์) เป็นผู้อำนวยการพระราชพิธีลงสรงในครั้งนี้เพื่อเป็นแบบแผนของพระราชพิธีลงสรงสำหรับครั้งต่อไป พระราชพิธีในครั้งนี้จึงนับเป็นพระราชพิธีลงสรงครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ได้รับการเฉลิมพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงษ์ พงษ์อิศรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร"[5] ในปี พ.ศ. 2359 พระองค์มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถมีพระราชดำรัสจัดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ตามแบบอย่างพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าที่มีมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยได้สร้างเขาไกรลาสจำลองไว้บริเวณหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

พระองค์ทรงศึกษาอักษรสยามในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ตั้งแต่เมื่อครั้งยังประทับ ณ พระราชวังเดิม นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช รวมทั้ง ทรงฝึกการใช้อาวุธต่าง ๆ ด้วย[6]

ผนวช

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงศีล

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 14 พรรษา จึงทรงออกผนวชเป็นสามเณร โดยมีการสมโภชที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แล้วแห่ไปผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงษญาณ (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์และสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นพระอาจารย์ หลังจากนั้นได้เสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ผนวชจนออกพรรษาแล้วจึงทรงลาผนวช รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 7 เดือน เมื่อพระองค์ทรงพระเจริญวัยขึ้นแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษา จึงจะผนวชเป็นพระภิกษุ แต่ในระหว่างนั้นช้างสำคัญของบ้านเมืองถึง 2 ช้างได้แก่ พระยาเศวตไอยราและพระยาเศวตคชลักษณ์เกิดล้มลง รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี พระขนิษฐาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสิ้นพระชนม์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่สำราญพระราชหฤทัย จึงไม่ได้จัดพิธีผนวชอย่างใหญ่โต โปรดให้มีเพียงพิธีอย่างย่อเท่านั้น โดยให้ผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงษญาณ (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระองค์ได้รับพระนามฉายาว่า "วชิรญาโณ"[7] หรือ "วชิรญาณภิกขุ"[8] แล้วเสด็จไปประทับแรมที่วัดมหาธาตุ 3 วัน หลังจากนั้น จึงเสด็จไปจำพรรษาที่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเคยประทับอยู่เมื่อผนวช

ในขณะที่ผนวชอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะดำรงสมณเพศต่อไป ในระหว่างที่ผนวชอยู่นั้นได้เสด็จออกธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้ทรงคุ้นเคยกับสภาพความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏร์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงพระราชอุตสาหะวิริยะเรียนภาษาอังกฤษจนทรงเขียนได้ ตรัสได้ ทรงเป็นนักปราชญ์รอบรู้ ทำให้พระองค์ทรงมีความรอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี[1] พระองค์ทรงผนวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2367 จนถึงลาผนวชเพื่อรับการขึ้นครองราชย์ เป็นเวลารวมที่บวชเป็นภิกษุทั้งสิ้น 27 พรรษา (ขณะนั้นพระชนมายุ 48 พรรษา) หมายเหตุ; เวลาที่ผนวชเป็นสามเณร 7 เดือน

คณะธรรมยุติกนิกาย หลังจากการลาผนวชของพระวชิรญาณเถระยังคงเจริญรุ่งเรืองต่อไป เพราะได้พระมหากษัตริย์เป็นผู้อุปถัมภ์ และมีผู้นำที่เข้มแข็งคือ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นผู้ครองบังคับบัญชาคณะธรรมยุติกนิกาย

ครองราชย์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะประทับที่นั่ง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ วชิรญาณเถระ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แต่พระองค์ยังไม่ทรงลาผนวชและตรัสว่าต้องอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์เห็นว่าเป็นผู้ที่ควบคุมกำลังทหารเป็นอันมากได้

พระองค์ทรงลาผนวชเมื่อวันที่ 6 เมษายน ซึ่งตรงกับวันจักรี และทรงรับการบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาของปีนั้น และทรงได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยโดยย่อว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระนามเต็มตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า

"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "

เสด็จถึงวัดโพธิ์ ถ่ายโดย จอห์น ทอมสันในปี พ.ศ. 2408

พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม และทรงรับพระบวรราชโองการ ให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนในฝ่ายสมณศักดิ์นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส โดยทรงตั้งพิธีมหาสมณุตมาภิเษกขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม เป็นต้น

สวรรคต

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะประทับที่นั่ง

เมื่อ พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงคำนวณว่าจะสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ในประเทศสยาม ณ หมู่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระองค์จึงโปรดให้ตั้งพลับพลาเพื่อเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่พระองค์ทรงคำนวณก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงดังที่ทรงได้คำนวณไว้ พระองค์เสด็จประทับอยู่ที่หว้ากอเป็นระยะเวลาประมาณ 9 วัน จึงเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร ภายหลังการเสด็จกลับมายังพระนคร พระองค์เริ่มมีพระอาการประชวรจับไข้และทรงทราบว่าพระอาการประชวรของพระองค์ในครั้งนี้คงจะไม่หาย วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2411 พระองค์มีพระบรมราชโองการให้หา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่มีพระชนมายุมากกว่าพระองค์อื่น ๆ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ในราชการ และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อัครเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม หัวหน้าข้าราชการทั้งปวง เข้าเฝ้าพร้อมกันที่พระแท่นบรรทม โดยพระองค์มีพระบรมราชโองการมอบพระราชกิจในการดูแลพระนครแก่ทั้ง 3 ท่าน

หลังจากนั้น ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) ที่สมุหนายก เข้าเฝ้าฯ และมีพระราชดำรัสว่า[9]

ท่านทั้ง 3 กับพระองค์ได้ทำนุบำรุงประคับประคองกันมา บัดนี้กาละจะถึงพระองค์แล้ว ขอลาท่านทั้งหลายในวันนี้ ขอฝากพระราชโอรสธิดาอย่าให้มีภัยอันตราย หรือเป็นที่กีดขวางในการแผ่นดิน ถ้ามีผิดสิ่งไรเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ให้เป็นแต่โทษเนรเทศ ขอให้ท่านทั้ง 3 จงเป็นที่พึ่งแก่พระราชโอรสธิดาต่อไปด้วยเถิด

— พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว '1 ตุลาคม พ.ศ. 2411
พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2413

พระองค์ตรัสขอให้ผู้ใหญ่ทั้ง 3 ท่านได้ช่วยกันดูแลบ้านเมืองต่อไป ให้ทูลพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่เอาธุระรับฎีกาของราษฎรผู้มีทุกข์ร้อนดังที่พระองค์เคยปฏิบัติมา โดยไม่ทรงเอ่ยว่าจะให้ผู้ใดขึ้นครองราชย์แทนพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์รับสั่งว่าเมื่อพระองค์ผนวชอยู่นั้น ทรงออกอุทานวาจาว่าวันใดเป็นวันพระราชสมภพก็อยากสวรรคตในวันนั้น โดยพระองค์พระราชสมภพในวันเพ็ญเดือน 11 ซึ่งเป็นวันมหาปวารณา เมื่อพระองค์จะสวรรคตก็ขอให้สวรรคตท่ามกลางสงฆ์ขณะที่พระสงฆ์กระทำวินัยกรรมมหาปวารณา[10] ในเวลา 20.06 นาฬิกา พระองค์ทรงภาวนาอรหังสัมมาสัมพุทโธแล้วผ่อนอัสสาสะปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า-ออก) เป็นครั้งคราว จนกระทั่ง เวลา 21.05 นาฬิกา เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ ภายในพระบรมมหาราชวัง สิริพระชนมพรรษา 64 พรรษา

พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา

พระราชกรณียกิจ

ด้านกฎหมาย

สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (ขวา) ยืนข้างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในเครื่องแบบทหารเรือ

ในรัชสมัยของพระองค์ มีการลดภาษีอากร ลดหย่อนค่านา ยกเลิกการเก็บอากรตลาด เปลี่ยนเป็นเก็บภาษีโรงร้านเรือนแพจากผู้ค้าขายรายใหม่ ประกาศมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา ออกพระราชบัญญัติกำหนดใช้ค่าที่ดินให้ราษฎรเมื่อมีการเวนคืน ออกประกาศเตือนราษฎรให้รอบคอบในการทำนิติกรรม ยังมีการออกกฎหมายสำคัญ คือกำหนดลักษณะของผู้ที่จะถูกขายเป็นทาสให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกกฎหมายเดิมที่ให้ สิทธิบิดา มารดา และสามีในการขายบุตรและภรรยา และตราพระราชบัญญัติใหม่ให้การซื้อขายทาส เป็นไปด้วยความยินยอมของเจ้าตัวที่จะถูกขายเป็นทาสเท่านั้น[11]

ด้านวรรณคดีพุทธศาสนา

พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี พระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่เป็นประเภทร้อยแก้ว บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่

  • ชุมนุมพระบรมราโชบาย 4 หมวด คือ หมวดวรรณคดี โบราณคดี ธรรมคดี และตำรา
  • ตำนานเรื่อง พระแก้วมรกต เรื่องปฐมวงศ์
  • ทรงริเริ่มให้มีการค้นคว้าศิลาจารึกในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก คือ จารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงและจารึกหลักที่ 4 ของพระยาลิไทย

ด้านพระพุทธศาสนา

พระองค์ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง โดยทรงตั้งธรรมยุตติกาวงศ์ขึ้น เป็นนิกายใหม่ในพระพุทธศาสนา ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยและระเบียบแบบแผน ด้านพระพุทธศาสนา

ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ฉบับภาษาไทยของ 'สนธิสัญญามิตรภาพและการค้าระหว่างราชอาณาจักรสยามกับจักรวรรดิอังกฤษ' ฉบับภาษาไทย ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 หรือที่เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง

ด้วยเหตุที่ทรงสนพระทัยในวิทยาการตะวันตกมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ จึงทรงคุ้นเคยกับชาวตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษเป็นอย่างมาก ทั้งยังเกี่ยวข้องกับเสนาบดีสกุลบุนนาคเช่นพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์นั้นก็เป็นผู้สนิทสนมและนิยมอังกฤษ เช่นนี้ในรัชสมัยของพระองค์จึงเปิดความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง มีการทำสัญญากับต่างประเทศถึง 10 ประเทศ ทรงยึดนโยบาย "ผ่อนสั้น ผ่อนยาว" มาใช้กับประเทศมหาอำนาจเป็นพระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ อันทำให้ไทยสามารถดำรงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้ พระองค์ได้ส่งคณะทูตไทยโดยมีพระยามนตรีสุริยวงศ์เป็นราชทูต เจ้าหมื่นสรรเพ็ชภักดีเป็นอุปทูต หมื่นมณเฑียรพิทักษ์เป็นตรีทูต นำพระราชสาส์นไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษนับเป็นความคิดริเริ่มให้มีการเดินทางออกนอกประเทศได้ เนื่องจากแต่เดิมกฎหมายห้ามมิให้ เจ้านาย พระราชวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่เดินทางออกจากพระนคร เว้นเสียแต่ไปในการสงครามกับกองทัพ

พระองค์โปรดเกล้าให้ชาวต่างประเทศรับราชการเป็นกงสุลไทย เช่น เซอร์ จอห์น เบาริง อัครราชทูตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ เข้ามาทำสนธิสัญญากับประเทศไทยเป็นชาติแรก เมื่อ พ.ศ. 2398 ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ" เป็นกงสุลไทยประจำกรุงลอนดอน

การรุกรานอินโดจีนของฝรั่งเศส

เมื่อราชสำนักเวียดนามตั้งตัวเป็นศัตรูต่อศาสนาคริสต์ ทำให้ฝรั่งเศสมีเหตุผลที่จะใช้กำลังทหารเข้าแทรกแทรงเวียดนามด้วยกำลังอาวุธ ท้ายที่สุดเวียดนามก็เสียภาคใต้แก่ฝรั่งเศสในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2402 รัฐบาลสยามค่อนข้างยินดีที่ฝรั่งเศสทำให้ภัยคุกคามต่อสยามจากเวียดนามกำลังจะหมดไป และปรารถนาที่กระชับไมตรีกับฝรั่งเศสในทันทีที่ฝรั่งเศสเข้าปกครองเวียดนามทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ราชสำนักเวียดนามในกรุงฮานอยได้ส่งราชทูตลับมายังกรุงเทพ เพื่อเสนอยกบางส่วนของไซ่ง่อนให้สยาม[12] แลกกับการที่สยามจะต้องให้เวียดนามเดินทัพผ่านเขมร(ซึ่งเป็นประเทศราชของสยาม)เพื่ออ้อมไปโจมตีฝรั่งเศส[12] แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะไม่เห็นด้วย แต่เนื่องจากพวกขุนนางสยามสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวทำให้พระองค์ต้องยอมตาม ดังนั้นสยามจึงยกทัพเข้าประจำชายแดนด้านตะวันออกติดกับเวียดนาม และยื่นคำขาดว่า หากเวียดนามกระทำการใดที่เป็นการรุกรานเขมรแล้ว สยามจะบุกเวียดนามทันที

ราชทูตสยามเข้าเฝ้าจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 พ.ศ. 2404

รัฐบาลฝรั่งเศสมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็น "นโยบายเหยียบเรือสองแคม" ของสยาม[13] คือวางตัวเป็นกลางระหว่างเวียดนามและฝรั่งเศส ส่วนกงสุลฝรั่งเศสก็เรียกร้องต่อรัฐบาลสยามเพื่อขอทำสนธิสัญญากับเขมรโดยตรง เนื่องจากเขมรมีพรมแดนร่วมกับไซ่ง่อนซึ่งอยู่ในบังคับของฝรั่งเศสแล้ว ขณะเดียวกัน สหรัฐและอังกฤษก็พยายามยุแยงให้สยามไม่ไว้วางใจฝรั่งเศส การที่รัฐบาลสยามเอาแน่เอานอนไม่ได้เช่นนี้ ทำให้รัฐบาลฝรั่งเศสมีความเห็นว่าฝรั่งเศสควรจะแสดงบทบาทเป็นผู้อารักขาอินโดจีนเสียเลย ดังนั้นรัฐบาลฝรั่งเศสจึงมีโทรเลขถึงรัฐบาลสยาม เรียกร้องสิทธิของฝรั่งเศสเหนือเขมรและเรียกร้องขอทำสนธิสัญญาโดยตรงกับเขมร โดยอ้างชัยชนะของตนในเวียดนามใต้ รัฐบาลสยามปฏิเสธในทันที เรียกร้องให้มีการเจรจากันที่กรุงเทพ[13] ในระหว่างนี้สยามได้ชิงตัดหน้าฝรั่งเศสทำสนธิสัญญากับเขมรอย่างลับ ๆ ใน พ.ศ. 2406 มีเนื้อหาระบุว่าเขมรยอมรับอธิปไตยของสยามเหนือเขมร

...ถ้าหากเราพบบ่อทองในประเทศของเราพอที่จะซื้อเรือรบจำนวนร้อย ๆ ลำก็ตาม เราก็คงไม่สามารถจะสู้กับพวกนี้ได้ เพราะเราจะต้องซื้อเรือรบและอาวุธจากประเทศเหล่านี้ พวกนี้จะหยุดขายให้เราเมื่อไหร่ก็ได้ อาวุธชนิดเดียวที่จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อเราในอนาคตคือวาจาและหัวใจของเราอันกอปรด้วยสติและปัญญา[14]

— มงกุฎ ป.ร.

ในปีพ.ศ. 2410 รัฐบาลสยามทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส โดยสยามยกดินแดน 123,050 ตร.กม. พร้อมเกาะ 6 เกาะให้เป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส และฝรั่งเศสก็รับรองว่าดินเขมรส่วนใน อันประกอบด้วย พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เป็นดินแดนในอธิปไตยของสยาม

ด้านการศึกษาศิลปวิทยา

พระบรมรูปประดิษฐาน ณ อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักดาราศาสตร์ไทย ทรงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ล่วงหน้า 2 ปี[15] และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมเชิญทูตฝรั่งเศสและสิงคโปร์ทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้น นอกจากนี้ พระปรีชาสามารถของพระองค์ในด้านวิทยาศาสตร์นั้น ยังทำให้พระองค์ได้รับการยกย่องเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสัตววิทยาสมาคมแห่งสหราชาอาณาจักรอีกด้วย[16] วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประกาศยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" และอนุมัติให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ทรงใส่พระทัยกวดขันคนไทยให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ทรงสนับสนุนโรงเรียนของหมอสอนศาสนาที่เข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทยเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ภาษา อรรถคดี และวิทยาการของชาติตะวันตก ทรงพระกรุณาส่งข้าราชการระดับบริหารไปศึกษางานที่จำเป็น สำหรับราชการไทย ณ ต่างประเทศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ จัดตั้งโรงอักษรพิมพการขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ผลิตข่าวสารของทางราชการเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน ใช้ชื่อว่า ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งยังคงพิมพ์มาจนถึงปัจจุบัน

ด้านโหราศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและคณะดูสุริยุปราคา ทรงประทับอยู่กลางศาลา ณ ที่ประจวบคีรีขันธ์

นอกจากนี้แล้ว ยังทรงเป็นนักโหราศาสตร์อีกด้วย ทรงแต่งตำราทางโหราศาสตร์ที่เรียกว่า "เศษพระจอมเกล้า" ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตำราที่ได้รับการยอมรับว่าแม่นยำ [17] และทรงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติว่าทรงเป็น "พระบิดาแห่งโหราศาสตร์ไทย" [18]

เหตุการณ์สำคัญในสมัย

  • พ.ศ. 2396 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
    • โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ “หมาย” แทนเงินตรา
    • ไทยรบพม่าที่เมืองเชียงตุง ( เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่าง ไทย - พม่า )
  • พ.ศ. 2399 ทำสนธิสัญญาการทูตกับอเมริกาและฝรั่งเศส
  • พ.ศ. 2401 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในวัง เรียกว่า "โรงราชกิจจานุเบกษา" เพื่อออกราชกิจจานุเบกษาเสนอข่าวราชการเป็นครั้งแรก

พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้าขอรับ/เพคะ

พระบรมราชอิสริยยศ

  • สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ (18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2356)
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์ พงศ์อิศวรกษัตริย์ วรขัตติยราชกุมาร (8 มีนาคม พ.ศ. 2356 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามกุฎสมมติวงศ์ พระวชิรญาณมหาเถร (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394)[20]
  • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 - 1 ตุลาคม พ.ศ.2411)

ภายหลังการสวรรคต

  • พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 - สมัยรัชกาลที่ 7)
  • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมัยรัชกาลที่ 7 - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562)
  • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช (18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน)[21]

พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎ หนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งการสร้างพระลัญจกรประจำพระองค์นั้น จะใช้แนวคิดมาจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "มงกุฎ" นั่นเอง โดยพระราชลัญจกรจะเป็นตรางา ลักษณะกลมรี ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า 2 ชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำรา ซึ่งแสดงถึงทรงมีความเชี่ยวชาญทางด้านอักษรศาสตร์และดาราศาสตร์ ส่วนทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์ เพชร ซึ่งมาจากพระฉายาเมื่อพระองค์ผนวชว่า "วชิรญาณ"

พระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ยังได้ใช้เป็นแม่แบบของพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย[22]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พระราชสมัญญานาม

  • พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย[23]
  • พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช[21]

ชั้นยศ

  • จอมพล
  • จอมพลเรือ
  • จอมพลอากาศ

พงศาวลี

แผนผัง

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch (1)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
 
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(2)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(3)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
Monarch(4)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าปิ๋ว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าโสมนัส
 
Monarch(5)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
 
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์
 
Monarch(6)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
 
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
 
Monarch(7)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(8)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
 
Monarch(9)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(10)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ดูเพิ่ม

คลังภาพ

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 อ. วิโรจน์ ไตรเพียร, 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี, สำนักพิมพ์ คลังศึกษา,2543,หน้า 38-50
  2. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๔
  3. หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, หน้า ๑๕
  4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๘
  5. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ตอนที่ ๒ พระราชพิธีปราบดาภิเษก". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2017.
  6. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๙
  7. หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, หน้า ๑๗
  8. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเวปไซต์รากฐานไทย ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศ
  9. จดหมายเหตุ ปลายรัชชกาลที่ 4 และต้นรัชชกาลที่ 5, พระนคร, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2478
  10. หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, หน้า ๑๖๗
  11. พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสังเขป
  12. 12.0 12.1 พบหลักฐานใหม่ในปารีส จดหมายคิงมงกุฎถึงนโปเลียน “น่าสงสัย” ไกรฤกษ์ นานา. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ มีนาคม 2547
  13. 13.0 13.1 เพ็ญศรี ดุ๊ก, ศ.ดร. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย (สยาม) กับฝรั่งเศส. ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ, ๒๕๓๙
  14. การต่างประเทศกับเอกราชและอธิปไตยของไทย. ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ ๒๗๔๒
  15. ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย.
  16. "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-15. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
  17. ตำราเศษพระจอมเกล้าฯ
  18. "พระบิดาแห่งโหราศาสตร์ไทยและพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-07. สืบค้นเมื่อ 2016-05-18.
  19. วิวัฒนาการระบบการชำระเงินของไทย เก็บถาวร 2007-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ธนาคารแห่งประเทศไทย
  20. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2011). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
  21. 21.0 21.1 "พระบรมราชโองการประกาศถวายพระราชสมัญญา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 (ตอน 54 ข): หน้า 1. 18 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2019.
  22. สนเทศน่ารู้ : พระราชลัญจกรประจำรัชกาล, สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  23. ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
  24. 24.0 24.1 24.2 ลำดับราชินิกูลบางช้าง. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร. 2501.
  25. พงษาวดารราชินิกูลบางช้าง (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย สพานยศเส. 2457.
หนังสือ
  • จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, เทศนาพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ๒๕๐๕, ๑๖๐ หน้า
  • แน่งน้อย ศักดิ์ศรี,หม่อมราชวงศ์, พระอภิเนาว์นิเวศน์ พระราชนิเวศน์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, สำนักพิมพ์มติชน, 2549 ISBN 974-323-641-4
  • เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากบันทึกหลักฐานและเหตุการณ์สมัยกรุงเทพ, มานวสาร, ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๓๔ ถึง ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๓ มีนาคม พ.ศ ๒๕๓๕

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระเจ้ากรุงสยาม
(2 เมษายน พ.ศ. 2394 — 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไม่มี ไฟล์:ธรรมยุตินิกาย.gif
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
(พ.ศ. 2379 — พ.ศ. 2394)
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์