ข้ามไปเนื้อหา

เงินตรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนบัตร และเหรียญที่แตกต่างกันจากประเทศต่าง ๆ

เงินตรา หมายถึง วัตถุหรือเอกสารใด ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการและใช้ชำระหนี้ในประเทศหรือในบริษัทสังคมเศรษฐกิจหนึ่งๆตามตัวบทกฎหมาย[1][2][3] หน้าที่หลักของเงินจำแนกได้ว่า (1) เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (2) เป็นหน่วยวัดมูลค่า (3) เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า และ (4) บางครั้งในอดีต เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้า[4][5] วัตถุหรือเอกสารที่ตรวจสอบได้และปลอดภัยใด ๆ ซึ่งสามารถทำหน้าที่เหล่านี้ล้วนเป็นเงินทั้งสิ้น

เงินถือกำเนิดขึ้นเป็นเงินที่เป็นสิ่งของ (commodity money) แต่ระบบเงินร่วมสมัยแทบทั้งหมดเป็นแบบเงินกระดาษ (fiat money)[4] เงินกระดาษนั้นปราศจากมูลค่าใช้สอยแท้จริงเฉกเช่นสินค้าทางกายภาพ และค่าของเงินกระดาษมาจากการประกาศของรัฐบาลให้เป็นเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย นั่นคือ เงินนั้นจะต้องได้รับการยอมรับให้เป็นรูปแบบการแลกเปลี่ยนภายในอาณาเขตของประเทศ กับ "หนี้สินทั้งหมด ทั้งหนี้สาธารณะและเอกชน"

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mishkin, Frederic S. (2007). The Economics of Money, Banking, and Financial Markets (Alternate Edition). Boston: Addison Wesley. p. 8. ISBN 0-321-42177-9.
  2. What Is Money? By John N. Smithin [1]. Retrieved July-17-09.
  3. "money : The New Palgrave Dictionary of Economics". The New Palgrave Dictionary of Economics. สืบค้นเมื่อ 18 December 2010.
  4. 4.0 4.1 Mankiw, N. Gregory (2007). "2". Macroeconomics (6th ed.). New York: Worth Publishers. pp. 22–32. ISBN 0-7167-6213-7.
  5. T.H. Greco. Money: Understanding and Creating Alternatives to Legal Tender, White River Junction, Vt: Chelsea Green Publishing (2001). ISBN 1-890132-37-3