อำเภอดอยหลวง
อำเภอดอยหลวง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Doi Luang |
คำขวัญ: ดอยหลวงสูงสง่า ธาราสองสาย หลากหลายประเพณี สี่เผ่าพี่น้อง แดนทองเกษตรกรรม | |
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอดอยหลวง | |
พิกัด: 20°7′6″N 100°6′0″E / 20.11833°N 100.10000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงราย |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 223.0 ตร.กม. (86.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 18,652 คน |
• ความหนาแน่น | 83.64 คน/ตร.กม. (216.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 57110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5718 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอดอยหลวง ถนนสายปงน้อย-เชียงแสน ตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย 57110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ดอยหลวง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย เป็นอำเภอขนาดเล็กที่กำลังพัฒนาทางด้านคมนาคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านผังเมือง และเป็นอำเภอที่จะผ่านไปยังอำเภอเชียงของ เชียงแสน และพรมแดนประเทศลาวและพม่า จัดเป็นอำเภอที่อยู่ราบลุ่มน้ำแม่กก มีดอยหลวงสูง 1,043 เมตรจากน้ำทะเลปานกลาง จากทิวเขาหลวงพระบาง ทางด้านขนาดพื้นที่เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่น้อยที่สุดในจังหวัดเชียงราย
ประวัติ
[แก้]ท้องที่อำเภอดอยหลวงเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอแม่จัน ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอดอยหลวง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[1] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอดอยหลวง ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอดอยหลวงตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเชียงแสน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอเมืองเชียงราย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่จัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอดอยหลวงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 33 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร[3] |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | ปงน้อย | Pong Noi | 11 | 2,319 | 6,222 | |
2. | โชคชัย | Chok Chai | 12 | 3,503 | 8,229 | |
3. | หนองป่าก่อ | Nong Pa Ko | 10 | 1,806 | 4,557 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอดอยหลวงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปงน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโชคชัยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองป่าก่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองป่าก่อทั้งตำบล
งานประจำปี
[แก้]- งานสี่เผ่าชาวดอยหลวง
- งานสืบสานตำนานครูจูหลิง ปงกันมูล
เทศกาล
[แก้]- ปีใหม่อิ่วเมี่ยน (บ้านขุนแม่บง และบ้านห้วยช้างลอด)
- บั้งไฟพญานาค (บ้านไทรทอง และบ้านป่าลัน)
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
[แก้]- ผ้าทอพื้นเมืองบ้านปงน้อย หมู่ที่ 2 และ 10 (ปงน้อย)
- กล้วยตากบ้านทุ่งกวาง หมู่ที่ 1 และ 12 (โชคชัย)
สถานศึกษา
[แก้]- โรงเรียนดอยหลวง รัชมังคลาภิเษก (โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ)
- โรงเรียนอนุบาลดอยหลวง (โรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอ)
โรงเรียนขยายโอกาส
[แก้]- โรงเรียนอนุบาลโชคชัย ตำบลโชคชัย
- โรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา ตำบลหนองป่าก่อ
- โรงเรียนบ้านห้วยไร่ ตำบลปงน้อย
- โรงเรียนบ้านขุนแม่บง ตำบลโชคชัย
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- หอศิลป์ครูจูหลิง
- วัดห้วยสัก
- วัดป่าอรัญญวิเวก
- วัดวังเขียว (เศียรพระพุทธรูปโบราณ)
- ถ้ำผาตุบ
- น้ำตกห้วยดีหมี
- หมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยนและกะเหรี่ยง ตำบลโชคชัย
- ฟาร์มแกะดอยหลวง
โบราณสถาน
[แก้]- บ่อน้ำทิพย์ วัดห้วยสัก
- วัดร่องพระเจ้า
- วัดวังเขียว
- กู่เบี้ยปงน้อยใต้
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ครูจูหลิง ปงกันมูล ครูผู้เสียสละ (จากเหตุ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้)
- พระราชวชิราธิการ (หลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโต) ศิษย์ในองค์หลวงปูแหวน สุจิณโณ เจ้าอาวาสวัดป่าอรัญญวิเวก
- พระครูบาเจ้าเจษฎา จิรสีโล เจ้าอาวาสวัดห้วยสัก
- ศิลปินนักร้องปู่จ๋านลองไมค์ (พิษณุ บุญยืน)
ระบบชลประทาน
[แก้]- เขื่อนห้วยดีหมี
- เขื่อนห้วยสัก
- หนองปง (ขนาดใหญ่)
โรงพยาบาล
[แก้]- โรงพยาบาลดอยหลวง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปงน้อย
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแม่บง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านดอย
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองป่าก่อ
ขนส่ง
[แก้]- รถ บขส.สาย 962 ดอยหลวง-กรุงเทพ โดยจะวิ่งเส้นทางจากดอยหลวงไปยังกรุงเทพมหานคร ดอยหลวงห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 875 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาวิ่งประมาณ 12 ชั่วโมงการเดินทาง
- รถเมล์แดง สายเขียงของ-ดอยหลวง-เวียงเชียงรุ้ง-เวียงชัย-เทศบาลนครเชียงราย ใช้ระยะเวลาวิ่งประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที (เข้าสู่ตัวเมืองเชียงราย)
- รถเมล์แดง 2 สายดอยหลวง-เชียงของ ใช้ระยะเวลาวิ่งประมาณ 1 ชั่วโมง
แม่น้ำที่สำคัญ
[แก้]- น้ำแม่กก (แม่น้ำสายใหญ่)
- แม่น้ำบง (แม่น้ำสายเล็ก)
- แม่น้ำป่าซางหรือแม่น้ำไร่ (แม่น้ำสายเล็ก)
การเดินทาง
[แก้]- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1098 (กิ่วพร้าว (แม่จัน) - ปงน้อย (ดอยหลวง) - บ้านแก่น (เชียงของ)) ถนนสายหลักเชื่อมถนนสายเอเซีย AH3
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1271 (ปงน้อย (ดอยหลวง) - เชียงแสน) ถนนสายรองเชื่อม ถนนสายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1129 (เชียงแสน-เชียงของ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอดอยหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (พิเศษ 18 ง): 26. 26 มิถุนายน 2539.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07.
- ↑ จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย