วิรัช ลิ้มวิชัย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
นายวิรัช ลิ้มวิชัย | |
---|---|
ประธานศาลฎีกา คนที่ 38 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2552 | |
ก่อนหน้า | นายปัญญา ถนอมรอด |
ถัดไป | นายสบโชค สุขารมณ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
นายวิรัช ลิ้มวิชัย (13 ตุลาคม พ.ศ. 2490 - ) อดีตประธานศาลฎีกาและประธานศาลรัฐธรรมนูญ[1] (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส)
นายวิรัชสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย (สอบได้อันดับที่ 3 ของรุ่นที่ 24) เมื่อปี พ.ศ. 2516 เริ่มรับราชการสอบได้เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา จากนั้น ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาประจำกระทรวง และผู้พิพากษาศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช และศาลจังหวัดเพชรบุรี
ปี พ.ศ. 2526 จึงได้ขึ้นเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลภาษีอากรกลาง และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี โดยได้เป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี ปี 2537 รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ปี 2539 จากนั้น ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในศาลสูง ได้เป็นประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 8 ปี 2546 และประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา
ในปี พ.ศ. 2548 นายวิรัชดำรงตำแหน่งรองประธานศาลฎีกา และได้รับความไว้วางใจจากนายปัญญา ถนอมรอด ประธานศาลฎีกา แต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีร้องเรียนว่ามีข้าราชการพยายามเสนอสินบนตุลาการรัฐธรรมนูญ ในการพิพากษาคดียุบพรรคการเมือง
นายวิรัชดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 สืบต่อจากนายปัญญา ถนอมรอด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2541 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 2017-09-06.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๔๐๓, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
ก่อนหน้า | วิรัช ลิ้มวิชัย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นายปัญญา ถนอมรอด | ประธานศาลฎีกา คนที่ 38 (1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2552) |
นายสบโชค สุขารมณ์ |