ข้ามไปเนื้อหา

ราชอาณาจักรอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรอียิปต์

المملكة المصرية
อัลมัมละกะฮ์ อัลมิศรี่ยะฮ์
1922–1953
เพลงชาติ"อัสซะลามิยะมิสรี" (ค.ศ. 1923-1936)
เพลงสรรเสริญพระบารมี
"ซะลามอัฟฟานดินาร์" (ค.ศ. 1936-1953)
สีเขียว: ราชอาณาจักรอียิปต์ สีเขียวอ่อน: อำนาจปกครองดินแดนร่วมกันแองโกล-อียิปต์ซูดาน สีเขียวอ่อนสุด: ยกจากซูดานให้แอฟริกาเหนือของอิตาลี ใน ค.ศ. 1919
สีเขียว: ราชอาณาจักรอียิปต์
สีเขียวอ่อน: อำนาจปกครองดินแดนร่วมกันแองโกล-อียิปต์ซูดาน
สีเขียวอ่อนสุด: ยกจากซูดานให้แอฟริกาเหนือของอิตาลี ใน ค.ศ. 1919
เมืองหลวงไคโร
ภาษาทั่วไปอาหรับ (ภาษาราชการ)[1]
ภาษาอาหรับอียิปต์
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
พระมหากษัตริย์ 
• 1922-1936
พระเจ้าฟูอัดที่ 1
• 1936-1952
พระเจ้าฟารุกที่ 1
• 1952-1953
พระเจ้าฟูอัดที่ 2 a
ข้าหลวงใหญ่ 
• 1922-1925
เซอร์ Edmund Allenby
• 1925-1929
เซอร์ George Lloyd
• 1929-1933
เซอร์ Percy Loraine
• 1933-1936
เซอร์ Miles Lampson
นายกรัฐมนตรี 
• 1922 (คนแรก)
อับเดล กาลิก ซาวัต ปาชา
• 1952-1953 (คนสุดท้าย)
มูฮัมหม้ด นาจิบb
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
สภาชูรา
สภาผู้แทนราษฎร
ยุคประวัติศาสตร์การปลดปล่อยอาณานิคมทวีปแอฟริกา
• สหราชอาณาจักรรับรองเอกราช
28 กุมภาพันธ์ 1922
• พระเจ้าฟูอัดที่ 1 ขึ้นครองราชย์
15 มีนาคม 1922
19 เมษายน 1923
27 สิงหาคม 1936
พฤษภาคม 1948 - มีนาคม 1949
23 กรกฎาคม 1952
• สถาปนาสาธารณรัฐ
18 มิถุนายน 1953
พื้นที่
สำมะโน 19373,418,400 ตารางกิโลเมตร (1,319,900 ตารางไมล์)
ประชากร
• สำมะโน 1927
14218000
• สำมะโน 1937
15933000
• สำมะโน 1947
19090447
สกุลเงินปอนด์อียิปต์
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐสุลต่านอียิปต์
สาธารณรัฐอียิปต์ (ค.ศ. 1953–1958)
ฝ่ายปกครองทหารอังกฤษ (ลิเบีย)
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อียิปต์
 ซูดาน
 ซูดานใต้
 ลิเบีย
  1. ภายใต้ผู้สำเร็จราชการ
  2. ต่อมาเป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐ
Area and density include inhabited areas only. The total area of Egypt, including deserts, is 994,000 km2.[2][3]

ราชอาณาจักรอียิปต์ (อาหรับ: المملكة المصرية) เป็นชื่อของรัฐอิยิปต์สมัยใหม่รัฐแรก ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1922 - ค.ศ. 1953 ราชอาณาจักรได้รับสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1922 เมื่อสหราชอาณาจักรตัดสินใจจะให้อียิปต์พ้นจากฐานะความเป็นรัฐในอารักขาของตนซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 สุลต่านฟูอัดที่ 1 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรแห่งนี้ ต่อมาพระเจ้าฟารุกที่ 1 จึงทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาในปี ค.ศ. 1936

ก่อนหน้าสมัยราชอาณาจักร ประเทศอียิปต์ได้ถูกยึดครองและควบคุมโดยสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่ ค.ศ. 1882 เมื่อมหาอำนาจยุโรปได้ส่งกองทัพเข้ามาสนับสนุนการปกครองระบอบเคดีฟเพื่อต่อต้านการลุกฮือของขบวนการชาตินิยม เหตุการณ์ดังกล่าวได้เป็นจุดเริ่มต้นให้สหราชอาณาจักรเข้าควบคุมอียิปต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันแต่เพียงในนาม ในปี ค.ศ. 1914 ผลจากการประกาศสงครามต่อจักรวรรดิออตโตมันได้ทำให้สหราชอาณาจักรต้องประกาศให้อียิปต์เป็นรัฐในอารักขาและถอดถอนเคดีฟออกจากตำแหน่ง พร้อมทั้งแต่งตั้งฮุสเซน กามิล พระญาติของเคดีฟ ขึ้นเป็นสุลต่านแห่งอียิปต์แทน

อียิปต์ได้รับการสถาปนาและได้รับการยอมรับโดยสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1922 โดยมีพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ และได้ต่อสู้ทางการเมืองกับพรรควาฟด์ (Wafd) อันเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่แนวทางชาตินิยมที่ต่อต้านทั้งอิทธิพลของสหราชอาณาจักรและประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งพรรคดังกล่าวต้องการจะให้อียิปต์เข้าควบคุมคลองสุเอซโดยตรง นอกจากนั้นยังมีขบวนการทางการเมืองอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวในยุคนี้ เช่น พรรคคอมมิวนิสต์อียิปต์ (ก่อตั้ง ค.ศ. 1925) และขบวนการภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood - ก่อตั้ง ค.ศ. 1928) ซึ่งขบวนการหลังนี้เป็นขบวนการที่ทรงอำนาจทั้งทางการเมืองและศาสนา

พระเจ้าฟูอัดที่ 1 เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1936 ราชสมบัติจึงตกอยู่กับเจ้าชายฟารุกซึ่งขณะนั้นมีพระชนม์ได้ 16 พรรษา การรุกรานเอธิโอเปียโดยอิตาลีในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน เป็นสัญญานเตือนให้พระองค์ต้องลงพระนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-อียิปต์ เพื่อให้สหราชอาณาจักรถอนทหารออกไปจากอียิปต์ทั้งหมด โดยยกเว้นเพียงบริเวณคลองสุเอซ ซึ่งสหราชอาณาจักรได้ตกลงถอนทหารในปี ค.ศ. 1949

ราชอาณาจักรอียิปต์ประสบความยุ่งยากจากภาวะการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการที่พลเมืองของตนเองมองว่าประเทศของตนเป็นเพียงหุ่นเชิดของสหราชอาณาจักร จากเหตุเหล่านี้ และซ้ำเติมด้วยสงครามอาหรับ-อิสราเอล ในปี ค.ศ. 1948 ได้นำไปสู่การปฏิวัติอียิปต์ในปี ค.ศ. 1952 โดยคณะนายทหารซึ่งเรียกตัวเองว่า "ขบวนการนายทหารอิสระ" (Free Officers Movement) พระเจ้าฟารุกที่ 1 จึงทรงสละราชสมบัติให้แก่เจ้าชายฟูอัดที่ 2 พระราชโอรสวัยเยาว์ของพระองค์ อย่างไรก็ตาม ระบอบราชาธิปไตยอียิปต์ได้ถูกล้มเลิกอย่างเป็นทางการและได้มีการสถาปนาสาธารณรัฐอียิปต์ขึ้นแทนในปี ค.ศ. 1953

อ้างอิง

[แก้]
  1. มาตรา 149 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ค.ศ. 1923.
  2. Bonné, Alfred (2003) [First published 1945]. The Economic Development of the Middle East: An Outline of Planned Reconstruction after the War. The International Library of Sociology. London: Routledge. p. 24. ISBN 978-0-415-17525-8. OCLC 39915162. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
  3. Shousha, Aly Tewfik (1947). "Cholera Epidemic in Egypt: A Preliminary Report". Bull. World Health Organ. National Center for Biotechnology Information. 1 (2): 371. PMC 2553924. PMID 20603928.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]