ฟุตบอลทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก
ฉายา | Soca Warriors ทีมลิมโบ (ฉายาในภาษาไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลตรินิแดดและโตเบโก | ||
สมาพันธ์ย่อย | CFU (แคริบเบียน) | ||
สมาพันธ์ | CONCACAF (อเมริกาเหนือ) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | แองกัส อีฟ | ||
กัปตัน | คาลีม ไฮแลนด์ | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | แองกัส อีฟ (117) | ||
ทำประตูสูงสุด | สเติร์น จอห์น (70) | ||
สนามเหย้า | สนามกีฬาเฮสลีย์ ครอว์ฟอร์ด | ||
รหัสฟีฟ่า | TRI | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 99 1 (20 มิถุนายน 2024)[1] | ||
อันดับสูงสุด | 25 (มิถุนายน 2001) | ||
อันดับต่ำสุด | 106 (ตุลาคม 2010) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
กายอานาของอังกฤษ 1–4 ตรินิแดดและโตเบโก (บริติชเกียนา; 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1905)[2] | |||
ชนะสูงสุด | |||
ตรินิแดดและโตเบโก 15–0 แองกวิลลา (อารีมา ประเทศตรินิแดดและโตเบโก; 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019) | |||
แพ้สูงสุด | |||
เม็กซิโก 7–0 ตรินิแดดและโตเบโก (เม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก; 8 ตุลาคม ค.ศ. 2000) สหรัฐ 7–0 ตรินิแดดและโตเบโก (ออร์แลนโด สหรัฐ; 31 มกราคม ค.ศ. 2021) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 2006) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบกลุ่ม (2006) | ||
โกลด์คัพ | |||
เข้าร่วม | 16 (ครั้งแรกใน 1967) | ||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (1973) |
ฟุตบอลทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโกในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติ บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลตรินิแดดและโตเบโก (TTFA) โดยเป็นสมาชิกของคอนคาแคฟ และสหภาพฟุตบอลแคริบเบียน
ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก เคยผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก 1 ครั้ง ในฟุตบอลโลก 2006 ทำให้ได้รับการบันทึกว่าเป็นทีมชาติที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ได้เล่นในฟุตบอลโลกเมื่อวัดจากขนาดพื้นที่ของประเทศและจำนวนประชากร
นอกจากนี้ทีมชาติตรินิแดดฯยังเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปอย่าง คอนคาเคฟ โกลด์คัพ และการแข่งขันในระดับภูมิภาคอย่าง แคริบเบียน คัพ ซึ่งทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก จัดว่าเป็นทีมชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในกลุ่มประเทศแถบทะเลแคริบเบียน เมื่อชนะเลิศการแข่งขันแคริบเบียน คัพ ถึง 8 สมัย และได้ตำแหน่งรองชนะเลิศอีก 5 สมัย ได้รับการจารึกไว้ว่าครองสถิติชนะเลิศมากที่สุดในการแข่งขันรายการนี้
โดยในการแข่งขัน แคริบเบียน คัพ 2014 รอบสุดท้ายที่เมืองมอนเตโก เบย์ ประเทศจาเมกา ในวันที่ 10 - 17 พฤศจิกายน 2014 ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโกได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ หลังดวลจุดโทษแพ้ทีมชาติจาเมกา ในนัดชิงชนะเลิศ โดยเป็นการได้ตำแหน่งรองชนะเลิศรายการนี้เป็นสมัยที่ 5
สำหรับฉายา เดอะ โซก้า วอริเออร์ส ของทีมชาติตรินิแดดและโตเบโกนั้น คำว่า โซก้า หมายถึง โซก้า มิวสิค เป็นดนตรีพื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์และมีต้นกำเนิดมาจากประเทศตรินิแดดและโตเบโก ดนตรีประเภทนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มประเทศแถบแคริบเบียน
ประวัติ
[แก้]ฟุตบอลโลก 2006
[แก้]ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก ผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2006 ที่ประเทศเยอรมัน ภายใต้การคุมทีมของลีโอ บีนฮัคเคอร์ โค้ชชาวฮอลแลนด์ ที่ได้เรียกตัวผู้เล่นประสบการณ์สูงอย่างดไวต์ ยอร์ก และ รัสเซลล์ ลาตาปี ให้กลับมารับใช้ชาติอีกครั้ง และสามารถคว้าอันดับ 4 ในการแข่งขันรอบคัดเลือกโซนคอนคาแคฟ รอบสุดท้าย ได้สำเร็จ โดยต้องไปเล่นเพลย์ออฟ กับทีมชาติบาห์เรน จากทวีปเอเชีย เพื่อหาทีมสุดท้ายที่จะได้เข้าร่วมฟุตบอลโลก
ในการแข่งขันรอบเพลย์ออฟนัดแรกที่สนามกีฬาเฮสลีย์ ครอว์ฟอร์ด ทั้งสองทีมเสมอกันไป 1-1 และในเกมส์นัดที่สองที่สนามกีฬาแห่งชาติบาห์เรน เมืองริฟฟา ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโกสามารถบุกมาเอาชนะได้ 1-0 จากลูกโหม่งของ เดนิส ลอว์เรนซ์ นักเตะจากสโมสรเร็กซ์แฮม ถือเป็นประตูชัยที่พาตรินิแดดฯเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
โดยในฟุตบอลโลก 2006 ที่ประเทศเยอรมัน ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มบี ร่วมกับทีมชาติอังกฤษ,ทีมชาติสวีเดน และทีมชาติปารากวัย
วันที่ 10 มิถุนายน ปี 2006 ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก ลงแข่งขันในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเป็นนัดแรก โดยเป็นเกมส์รอบแบ่งกลุ่มระหว่างทีมชาติตรินิแดดฯและทีมชาติสวีเดน ที่สนามเว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน เมืองดอร์ทมุนท์ เกมนัดดังกล่าวจบลงด้วยผลเสมอ 0 - 0 โดย เอเวรี่ จอห์น กองหลังทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก จากสโมสรนิว อิงแลนด์ เรฟโวลูชั่น โดนใบแดงในครึ่งหลัง
เกมส์ในรอบแบ่งกลุ่มอีก 2 นัดที่เหลือ ทีมชาติตรินิแดดฯ แข่งกับทีมชาติอังกฤษ ที่สนามแฟรงเกนชตาดิโยน เมืองเนือร์นแบร์ก โดยแพ้ 2-0 และพบกับทีมชาติปารากวัย ที่สนามฟริตซ์ วอลเตอร์ เมืองไคเซอร์สเลาเทิร์น และแพ้ปารากวัยไป 2 - 0 ตกรอบแบ่งกลุ่มในที่สุด
ฟุตบอลโลก 2018
[แก้]ในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนคอนคาแคฟ ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก จัดเป็นทีมวางและได้เริ่มแข่งขันในรอบที่ 4 หรือ รอบ 12 ทีมสุดท้าย โดยการแข่งขันในรอบนี้จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม คัดเอาอันดับที่ 1-2 ของกลุ่ม เข้าไปเล่นในรอบคัดเลือกรอบที่ 5 รวม 6 ทีม
ในรอบที่ 4 นี้ ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก ถูกจัดให้อยู่ร่วมกลุ่มกับทีมชาติสหรัฐอเมริกา, กัวเตมาลา และเซนต์วินเซนต์แอนด์เกรนาดีนส์ โดยทีมชาติตรินิแดดฯ ได้อันดับที่ 2 ของกลุ่ม ตามหลังทีมชาติสหรัฐอเมริกา และผ่านเข้ารอบ ได้ไปแข่งขันต่อในรอบที่ 5 ซึ่งเป็นการคัดเลือกรอบสุดท้าย
สนามเหย้า
[แก้]ในยุคแรกทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก ต้องใช้สนาม ควีนส์ปาร์ค โอวัล ซึ่งเป็นสนามที่ใช้แข่งกีฬาคริกเก็ตที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในแถบเวสต์ อินดีส ตั้งอยู่ที่เมืองพอร์ต-ออฟ-สเปน เป็นสนามเหย้าสำหรับแข่งฟุตบอลทีมชาติ จนกระทั่งรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโกได้สร้างสนามกีฬาแห่งชาติแล้วเสร็จในปี ค.ศ.1980 โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการแข่งขันกรีฑาและฟุตบอล มีความจุทั้งสิ้น 27,000 ที่นั่ง สมาคมฟุตบอลตรินิแดดและโตเบโก (TTFA) จึงได้รับอนุญาตจากกระทรวงการกีฬาของตรินิแดดฯ ให้ใช้สนามแห่งนี้เป็นสนามเหย้า ในการแข่งขันฟุตบอลทีมชาตินับแต่นั้นมา
ปี ค.ศ. 2001 สนามกีฬาแห่งชาตินี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เฮสลีย์ ครอว์ฟอร์ด สเตเดี้ยม เพื่อเป็นเกียรติแก่ เฮสลีย์ โจอาคิม ครอว์ฟอร์ด นักกรีฑา ที่เป็นชาวตรินิแดดและโตเบโกคนแรกที่ได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โดยเขาสามารถคว้าเหรียญทองได้จากการแข่งขันวิ่งระยะสั้น 100 เมตร ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา รวมทั้งได้เหรียญเงินจากการวิ่งผลัด 4×100 เมตร ในการแข่งขันกีฬาคอมมอนเวลธ์เกมส์ ปี 1978 ที่เมืองเอ็ดมอนตัน ประเทศแคนาดา
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นทีมชาติชุดใหญ่
[แก้]รายชื่อผู้เล่นที่ใช้ในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนคอนคาแคฟ รอบที่ 5 โดยพบกับทีมชาติคอสตาริกา วันที่ 11 พฤศจิกายน 2016 ที่กรุงพอร์ต-ออฟ-สเปน และพบกับทีมชาติฮอนดูรัส วันที่ 15 พฤศจิกายน 2016 ที่ ซานเปโดรซูลา
- จำนวนนัดและสถิติยิงประตูในทีมชาตินับถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2016 หลังจบการแข่งขันกับฮอนดูรัส
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
GK | แยน-ไมเคิล วิลเลียมส์ | 26 ตุลาคม ค.ศ. 1984 | 75 | 0 | เซ็นทรัล เอฟซี | |
GK | มาร์วิน ฟิลลิป | 1 สิงหาคม ค.ศ. 1984 | 68 | 0 | เซ็นทรัล | |
GK | อาเดรียน ฟอนเซ็ตเต | 10 ตุลาคม ค.ศ. 1988 | 11 | 0 | โปลิส เอฟซี | |
DF | อูเบรย์ เดวิด | 11 ตุลาคม ค.ศ. 1990 | 34 | 1 | เอฟซี ดัลลัส | |
DF | เชลดอน บาโต | 29 มกราคม ค.ศ. 1991 | 27 | 3 | ครีเลีย โซเวตอฟ สมารา | |
DF | ดานีล ไซรัส | 15 ธันวาคม ค.ศ. 1990 | 61 | 0 | ดับบลิว คอนเนคชัน | |
DF | คาร์ลีล มิทเชลล์ | 8 สิงหาคม ค.ศ. 1987 | 33 | 1 | โซล อี แลนด์ | |
DF | ราดานฟะฮ์ อะบู บักร์ | 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 | 32 | 2 | ซิลลาเม คาเลฟ | |
DF | โยฮันซ์ มาร์แชลล์ | 22 มกราคม ค.ศ. 1986 | 14 | 1 | มูร์ซีลากอส | |
MF | โจวิน โจนส์ | 3 สิงหาคม ค.ศ. 1991 | 59 | 6 | ซีแอตเติล ซอนเดอส์ | |
MF | คาลีม ไฮแลนด์ | 5 มิถุนายน ค.ศ. 1989 | 68 | 4 | เวสเตอร์โล | |
MF | อันเดร บูโก | 10 ตุลาคม ค.ศ. 1984 | 44 | 2 | ดาเกแนม แอนด์ เร้ดบริดจ์ | |
MF | คอร์เดลล์ คาโต | 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 | 20 | 2 | ซาน โฮเซ เอิร์ทเควกส์ | |
MF | คีแวน จอร์จ | 30 มกราคม ค.ศ. 1990 | 27 | 0 | แจคสันวิลล์ อมาดา | |
MF | เนเวียล แฮคชอว์ | 21 กันยายน ค.ศ. 1995 | 6 | 0 | ชาร์เลสตัน แบตเตอร์รี | |
MF | มาร์คัส โจเซฟ | 29 เมษายน ค.ศ. 1991 | 11 | 1 | เซ็นทรัล | |
MF | เลวี การ์เซีย | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 | 10 | 2 | อัล์คมาร์ | |
MF | โจมาล วิลเลียมส์ | 28 เมษายน ค.ศ. 1994 | 8 | 1 | มูร์เซียลากอส | |
MF | จอห์น บอสต็อก | 15 มกราคม ค.ศ. 1992 | 0 | 0 | ล็องส์ | |
FW | เทรวิน เซซาร์ | 27 สิงหาคม ค.ศ. 1987 | 12 | 3 | ออเรนจ์ เคาน์ตี บลูส์ | |
FW | เคนวีน โจนส์ (c) | 5 ตุลาคม ค.ศ. 1984 | 87 | 23 | เซ็นทรัล เอฟซี | |
FW | วิลลิส พลาซา | 3 ตุลาคม ค.ศ. 1987 | 25 | 7 | ซาน ฮวน จาโบลเตห์ |
ดาวยิงทีมชาติ
[แก้]ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2015 หลังจบคอนคาแคฟ โกลด์คัพ 2015 ที่เสมอปานามา 1-1 (ผู้เล่นที่ยังเล่นทีมชาติอยู่ ตัวหนา)[3]:
# | ซื่อ | ประตู | นัด |
---|---|---|---|
1 | สเติร์น จอห์น | 70 | 115 |
2 | แองกัส อีฟ | 34 | 117 |
3 | รัสเซลล์ ลาตาปี | 29 | 81 |
4 | อาร์โนลด์ ดวาริก้า | 28 | 73 |
5 | คอร์เนลล์ เกล็น | 24 | 72 |
6 | เคนวีน โจนส์ | 23 | 90 |
7 | ลีออนสัน ลูอิส | 22 | 36 |
ไนเจล ปิแอร์ | 56 | ||
9 | ดไวต์ ยอร์ก | 19 | 74 |
เควิน โมลิโน | 43 | ||
11 | เดวอร์น จอร์สลิง | 18 | 41 |
ผู้จัดการทีม
[แก้]อดีตผู้เล่นคนสำคัญ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ Trinidad and Tobago – List of International Matches
- ↑ "อันดับดาวยิงทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-06. สืบค้นเมื่อ 2014-11-13.