ฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส
to 1958–2010
Shirt badge/Association crest
ฉายาDe Antilopen
สมาคมสหภาพฟุตบอลเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส
สมาพันธ์CONCACAF (อเมริกาเหนือ)
สนามเหย้าStadion Ergilio Hato
รหัสฟีฟ่าANT
อันดับฟีฟ่า
อันดับสูงสุด118 (กรกฎาคม ค.ศ. 1995)
อันดับต่ำสุด188 (ธันวาคม ค.ศ. 2003)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
Flag of the Netherlands Antilles เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส 3–1 ปานามา ธงชาติปานามา
(กัวเตมาลาซิตี กัวเตมาลา; 4 มีนาคม ค.ศ. 1948)
ชนะสูงสุด
Flag of the Netherlands Antilles เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส 15–0 ปวยร์โตรีโก ธงชาติปวยร์โตรีโก
(การากัส, ประเทศเวเนซุเอลา; 15 มกราคม ค.ศ. 1959)
แพ้สูงสุด
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 8–0 เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส Flag of the Netherlands Antilles
(อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์; 5 กันยายน ค.ศ. 1962)
ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก 8–0 เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส Flag of the Netherlands Antilles
(ปอร์โตแปรงซ์ ประเทศเฮติ; 8 ธันวาคม ค.ศ. 1973)
คอนคาเคฟแชมเปียนชิพ
& โกลด์คัพ
เข้าร่วม4 (ครั้งแรกใน 1963)
ผลงานดีที่สุดอันดับที่ 3, 1963, 1969

ฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส (เนปาล: Nederlands-Antilliaans voetbalelftal; ปาเปียเมนตู: Selekshon Antiano di futbòl) เป็นอดีตทีมฟุตบอลตัวแทนของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ประกอบด้วยกูราเซากับโบแนเรอ อารูบาแยกตัวออกใน ค.ศ. 1986 และมีทีมของตนเอง

ประวัติ[แก้]

ฟุตบอลทีมนี้เล่นการแข่งขันระดับนานาชาติครั้งแรกใน ค.ศ. 1934 (ปะทะซูรินาม ซึ่งในเวลานั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เช่นกัน) ภายใต้ชื่อ กูราเซา และยังคงใช้ชื่อนั้นจนกระทั่งฟุตบอลรอบคัดเลือกชิงแชมป์โลกใน ค.ศ. 1958[1] ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อจาก "ดินแดนกูราเซา" ไปเป็น "เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส" ใน ค.ศ. 1948 ก็ตาม

การยุบประเทศ[แก้]

เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสยุบประเทศในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2010 และ 5 เกาะในนั้นมีสถานะใหม่ในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์[2] ก่อให้เกิด 2 ประเทศใหม่ (กูราเซาและซินต์มาร์เติน) กับ 3 เทศบาลพิเศษใหม่ของเนเธอร์แลนด์ (โบแนเรอ, ซาบา และซินต์เอิสตาซียึส)

ในช่วงที่มีการยุบประเทศ ทีมนี้กำลังจะแข่งขันรอบคัดเลือกในการชิงแชมป์แคริบเบียน 2010 และท้ายที่สุดจึงแข่งขันภายใต้ชื่อเก่า ฟุตบอลทีมชาติซินต์มาร์เตินกับฟุตบอลทีมชาติโบแนเรอเป้นสมาชิก CONCACAF แต่ไม่ได้เป็นสมาชิก FIFA ส่วนฟุตบอลทีมชาติกูราเซาถือเป็นผู้สืบทอดทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสในฐานะสมาชิก FIFA[3]

ประวัติผู้ฝึกสอน[แก้]

ผู้จัดการชั่วคราวอยู่ในตัวเอียง


  1. Jan Zwartkruis ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการทั้งเนเธอร์แลนด์และเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสใน ค.ศ. 1978 ถึง 1981

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "History of the FIFA worldcup preliminary competition (By year)" (PDF). FIFA. 19 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 June 2010. สืบค้นเมื่อ 22 December 2010.
  2. "Antillen opgeheven op 10-10-2010" (ภาษาดัตช์). NOS. 1 October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-04. สืบค้นเมื่อ 1 October 2009.
  3. "Curaçao page on". FIFA. 12 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2011. สืบค้นเมื่อ 18 September 2012.
  4. "1988 Matches North and Central America and Caribbean". RSSSF.com. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
  5. "Netherlandse Antillen " Selectie FIFA WK KW Concacaf 1992/1993". Voetbal.com. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
  6. "1996 Matches North and Central America and Caribbean". RSSSF.com. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
  7. "Von Trinidad bis Uruguay: 777 Spiele und 2452 Tore". FIFA. 17 May 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2014. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
  8. "Pim Verbeek nieuwe bondscoach Antillen". Voetbal International. 15 October 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-21. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
  9. "Digicel Caribbean Championship...Dominica is 3rd team in Guyana group, Aruba for group A". Kaieteur News. 28 July 2008. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
  10. "Nederlandse Antillen in zee met Leen Looyen". Voetbal International. 17 December 2007. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
  11. "'Bondscoach' Remko Bicentini hoopt op finale tegen NEC". De Gelderlander. 22 May 2010. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
  12. "Nederlandse Antillen | Antias Hulandes Squad (2010)". National Football Teams. 31 October 2010. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]