ฟุตบอลทีมชาติกือราเซา
![]() | |||
สมาคม | สหพันธ์ฟุตบอลกือราเซา (FFK) | ||
---|---|---|---|
สมาพันธ์ย่อย | สหภาพฟุตบอลแคริบเบียน (CFU) | ||
สมาพันธ์ | คอนคาแคฟ | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | เรมโก บิเซนตินี ![]() | ||
กัปตัน | กือโก มาร์ตินา | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | เออร์จิลิโอ ฮาโต (35) | ||
ทำประตูสูงสุด | เฟลิตเซียโน ชูสเชิน (9) | ||
สนามเหย้า | สนามกีฬาเออร์จิลิโอ ฮาโต วิลเลมสตัด | ||
รหัสฟีฟ่า | CUW | ||
อันดับฟีฟ่า | 76 ![]() | ||
อันดับฟีฟ่าสูงสุด | 68 (กรกฎาคม 2017) | ||
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด | 183 (เมษายน 2013,กรกฎาคม 2014) | ||
อันดับอีแอลโอ | 144 (มกราคม 2018) | ||
อันดับอีแอลโอสูงสุด | 41 (มีนาคม 1963 ในชื่อเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส) | ||
อันดับอีแอลโอต่ำสุด | 188 (ตุลาคม 2012) | ||
| |||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
ยุคแรก ![]() ![]() (อารูบา; 6 เมษายน 1924) ยุคก่อตั้งใหม่ ![]() ![]() (ซาน กริสโตบัล,โดมินิกัน, 18 สิงหาคม 2011) | |||
ชนะสูงสุด | |||
![]() ![]() (โคลัมเบีย, 21 ธันวาคม 1948) | |||
แพ้สูงสุด | |||
![]() ![]() (เนเธอร์แลนด์, 23 สิงหาคม 1948) | |||
คอนคาเคฟ แชมเปียนชิพ (ในนามทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส) | |||
เข้าร่วม | 5 (ครั้งแรกใน 1963) | ||
ผลงานดีที่สุด | อันดับสาม; 1963,1969 | ||
กีฬาโอลิมปิก (ในนามทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส) | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 1952) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบแรก 1952 |
ฟุตบอลทีมชาติกือราเซา เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศกือราเซา ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ บริหารงานและควบคุมโดยสหพันธ์ฟุตบอลกือราเซา (Federashon Futbol Korsou หรือ FFK) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.2010 ภายหลังจากการยุบดินแดนปกครองตนเองเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส โดยฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ได้เปลี่ยนมาเป็นทีมชาติกือราเซา และเป็นสมาชิกของฟีฟ่าและคอนคาเคฟ รวมถึงเป็นหนึ่งในสมาชิกของสหภาพฟุตบอลแคริบเบียน (CFU)
โดยฟุตบอลทีมชาติกือราเซา มีผลงานชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลแคริบเบียนคัพ 1 สมัย ในแคริบเบียนคัพ 2017 ที่มาร์ตีนิก ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนคอนคาแคฟ ทีมชาติกือราเซา ตกรอบคัดเลือกรอบ 3
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
ยุคดินแดนกือราเซาในอาณัติของเนเธอร์แลนด์ (ค.ศ. 1921–1954)[แก้]
ฟุตบอลทีมชาติกือราเซา เริ่มมาจากการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลกือราเซา (Curaçaose Voetbalbond) หรือ CVB ขึ้นในปี ค.ศ. 1921 ในขณะที่ยังเป็นอาณานิคมกือราเซาและเขตสังกัดของเนเธอร์แลนด์ (Territory Of Curaçao) เพื่อควบคุมและบริหารงานด้านฟุตบอลของทีมชาติกือราเซาในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติ
ดินแดนกือราเซาได้มีโอกาสเล่นในกีฬาโอลิมปิก 1 ครั้ง ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1952 ที่ประเทศฟินแลนด์ โดยเปลี่ยนมาใช้ชื่อในการแข่งขันโอลิมปิกว่าทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส
ยุคทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส (ค.ศ. 1954–2010)[แก้]
เดือนธันวาคม ค.ศ. 1954 กือราเซาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองที่ตั้งขึ้นมาใหม่ภายใต้ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พร้อมกับอารูบา, โบแนเรอ, ซินต์เอิสตาซียึส, ซาบา และซินต์มาร์เติน โดยในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1954 กือราเซาได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส อย่างเป็นทางการ และอยู่ภายใต้การควบคุมของสหภาพฟุตบอลเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส (Nederlands Antilliaanse Voetbal Unie, NAVU) พร้อมกันนี้ได้มีธงทีมชาติเป็นของตัวเองครั้งแรก จากที่เคยใช้ธงแข่งขันในระดับชาติแบบเดียวกับราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
ทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก ตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1958 จนถึงฟุตบอลโลก 2010 แต่ยังไม่เคยผ่านเข้าไปแข่งขันในรอบสุดท้าย และได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปอย่างคอนคาเคฟ แชมเปียนชิพ เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1963 ที่เอลซัลวาดอร์ โดยการเข้าร่วมแข่งขันครั้งแรกก็สามารถคว้าอันดับสาม มาครองได้สำเร็จ และมาได้อันดับสามอีกครั้งในปี ค.ศ. 1969 ที่คอสตาริกา
ปี ค.ศ. 1986 อารูบาได้แยกตัวออกจากเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ไปเป็นดินแดนปกครองตนเองที่ขึ้นกับราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์โดยตรง และมีทีมชาติของตัวเองแยกต่างหาก
ในส่วนของทัวร์นาเมนต์ระดับท้องถิ่นอย่าง แคริบเบียนคัพ ทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ผ่านเข้าไปแข่งขันรายการนี้ 2 ครั้ง โดยผ่านเข้าไปแข่งขันครั้งแรกใน แคริบเบียนคัพ 1989 ที่บาร์เบโดส โดยสามารถเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศ และใน แคริบเบียนคัพ 1998 ที่จาเมกา เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสตกรอบแรก
ทีมชาติกือราเซายุคปัจจุบัน (ค.ศ. 2010–ปัจจุบัน)[แก้]
วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ดินแดนปกครองตนเองเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสได้ถูกยุบ กือราเซาและซินต์มาร์เตินกลายเป็นดินแดนปกครองตนเองเช่นเดียวกับอารูบาที่แยกออกไปก่อนหน้านี้ และกลับไปก่อตั้งทีมฟุตบอลของตนเองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ส่วนดินแดนที่เหลือของแคว้นเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสที่ยุบไป ได้ถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และมีสภาพเป็นเทศบาลเมือง
ทีมชาติกือราเซาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลกือราเซา (Federashon Futbol Korsou, FFK) ได้รับช่วงต่อจากทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส โดยเป็นสมาชิกของฟีฟ่าและคอนคาเคฟ ส่วนทีมชาติซินต์มาร์เตินเป็นสมาชิกของคอนคาเคฟ แต่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า
อย่างไรก็ตามดินแดนอย่างโบแนเรอที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส แม้ในปัจจุบันจะมีฐานะเป็นเทศบาลเมืองของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ แต่ก็มีทีมฟุตบอลเป็นของตนเอง โดยได้เป็นสมาชิกของคอนคาเคฟ ในปี ค.ศ. 2013 แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า
ทีมชาติกือราเซาในยุคที่ก่อตั้งขึ้นใหม่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกเป็นครั้งแรกในฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก โซนคอนคาแคฟ โดยตกรอบคัดเลือกรอบ 2
ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลระดับภูมิภาค กือเราเซาสามารถผ่านเข้าไปแข่งขันในรายการ แคริบเบียนคัพ 2014 รอบสุดท้าย ที่จาเมกา ได้สำเร็จ หลังจากเคยแข่งขันในรายการนี้มาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อครั้งยังเป็นทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส โดยถึงแม้ในแคริบเบียนคัพ 2014 ทีมชาติกือราเซา จะตกรอบแรก แต่ในแคริบเบียนคัพ ครั้งต่อมา กือราเซากลับสามารถทำผลงานได้อย่างเหนือความคาดหมายโดยในแคริบเบียนคัพ 2017 ที่เกาะมาร์ตีนิก กือราเซาเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศ และสามารถเอาชนะแชมป์เก่าอย่างทีมชาติจาเมกา คว้าแชมป์ได้เป็นสมัยแรก
ผู้เล่น[แก้]
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]
- รายชื่อผู้เล่นที่ถูกเรียกมาเล่นให้กับทีมชาติ ในการแข่งขันนัดกระชับมิตร
- วันที่: 10 ตุลาคม 2017
- คู่แข่งขัน:
กาตาร์
- สนาม: ญาสซิม บิน ฮาหมัด สเตเดียม (เมืองโดฮา ,ประเทศกาตาร์)
- ผลการแข่งขัน: ชนะ 2–1
- จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2017 หลังแข่งกับ
กาตาร์
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | อีลอย รูม | 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 (30 ปี) | 19 | 0 | ![]() |
16 | GK | จาร์ซินโญ่ ปีเตอร์ | 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987 (32 ปี) | 12 | 0 | ![]() |
2 | DF | ซูเอนท์ลี อัลเบอร์โต | 9 มิถุนายน ค.ศ. 1996 (23 ปี) | 1 | 0 | ![]() |
3 | DF | กือโก มาร์ตินา (c) | 25 กันยายน ค.ศ. 1989 (30 ปี) | 31 | 0 | ![]() |
4 | DF | จูเรียน การิ | 3 ธันวาคม ค.ศ. 1993 (26 ปี) | 5 | 0 | ![]() |
5 | DF | เออร์ตัน สตาตี | 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 (25 ปี) | 7 | 0 | ![]() |
12 | DF | ชานอน คาร์มิเลีย | 20 มีนาคม ค.ศ. 1989 (30 ปี) | 31 | 0 | ![]() |
17 | DF | จิลเลียน จัสเตียน่า | 5 มีนาคม ค.ศ. 1991 (28 ปี) | 14 | 0 | ![]() |
6 | MF | เยเรมี เดอ นอยเยอร์ | 15 มีนาคม ค.ศ. 1992 (27 ปี) | 7 | 1 | ![]() |
7 | MF | ลีแอนโดร บาคูนา | 21 สิงหาคม ค.ศ. 1991 (28 ปี) | 14 | 5 | ![]() |
8 | MF | จาร์ชินิโอ อันโตเนีย | 27 ธันวาคม ค.ศ. 1990 (28 ปี) | 14 | 0 | ![]() |
11 | MF | เกบาโร นีโปมูเซโน | 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 (27 ปี) | 30 | 4 | ![]() |
13 | MF | เอลสัน ฮอย | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1991 (28 ปี) | 12 | 3 | ![]() |
15 | MF | เควนเตน มาร์ตินัส | 7 มีนาคม ค.ศ. 1991 (28 ปี) | 6 | 0 | ![]() |
9 | FW | จิโน ฟัน เคสเซิล | 9 มีนาคม ค.ศ. 1993 (26 ปี) | 17 | 7 | ![]() |
10 | FW | ชาร์ลิสัน เบนช็อพ | 21 สิงหาคม ค.ศ. 1989 (30 ปี) | 1 | 0 | ![]() |
14 | FW | แรนเจโล แยนกา | 16 เมษายน ค.ศ. 1992 (27 ปี) | 11 | 4 | ![]() |
19 | FW | เฟลิตเซียโน ซูสเซิน | 24 มกราคม ค.ศ. 1992 (27 ปี) | 13 | 9 | ![]() |
ทำเนียบผู้จัดการทีม[แก้]
รายชื่อผู้จัดการทีมชาติกือราเซาตั้งแต่ก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลกือราเซา (Federashon Futbol Korsou, FFK) ในเดือนธันวาคม ค.ศ.2010 โดยมานูเอล บิลเชส เป็นผู้จัดการทีมคนแรกของทีมชาติกือราเซาในยุคปัจจุบัน
เกียรติประวัติ[แก้]
- CFU Caribbean Cup:
- ชนะเลิศ (1): 2017
รายการอื่น[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 19 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562.