ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล"

พิกัด: 18°28′15″N 99°17′5″E / 18.47083°N 99.28472°E / 18.47083; 99.28472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
==พืชพรรณและสัตว์ป่า==
==พืชพรรณและสัตว์ป่า==
สังคมพืชของอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลสามารถจำแนกออกได้เป็น
สังคมพืชของอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลสามารถจำแนกออกได้เป็น
ป่าดิบแล้ง ขึ้นครอบคลุมพื้นที่ที่มีความชื้นค่อนข้างสูง โดยเฉพาะตามหุบเขาหรือร่องห้วย เช่น หุบเขาแม่ตาลน้อย ห้วยแม่ไพร ห้วยแม่เฟือง ห้วยแม่ออน ห้วยหลวง และห้วยแม่ค่อม โดยมีระดับความสูงจากน้ำทะเลเฉลี่ย 500-1,000 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่ โพบาย ยาง ตะคร้ำ สัตตบรรณ ตะเคียน ยมหอม มะหาด มะม่วงป่า กระท้อน พระเจ้าห้าพระองค์ ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวาย พืชในวงศ์ขิงข่า ผักกูด ผักหนาม และเฟิน เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง ขึ้นครอบคลุมพื้นที่ที่มีความชื้นค่อนข้างสูง โดยเฉพาะตามหุบเขาหรือร่องห้วย เช่น หุบเขาแม่ตาลน้อย ห้วยแม่ไพร ห้วยแม่เฟือง ห้วยแม่ออน ห้วยหลวง และห้วยแม่ค่อม โดยมีระดับความสูงจากน้ำทะเลเฉลี่ย 500-1,000 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่ โพบาย ยาง [[ตะคร้ำ]] สัตตบรรณ [[ตะเคียน]] ยมหอม [[มะหาด]] [[มะม่วงป่า]] [[กระท้อน]] [[พระเจ้าห้าพระองค์]] ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวาย พืชในวงศ์ขิงข่า [[ผักกูด]] [[ผักหนาม]] และ[[เฟิร์น]] เป็นต้น


*ป่าดิบเขา ขึ้นปกคลุมพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อหัวหมู ก่อน้ำ มะก่อ ทะโล้ จำปาป่า แหลบุก สารภีป่า รักขาว ลำพูป่า ฯลฯ
*ป่าดิบเขา ขึ้นปกคลุมพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อหัวหมู ก่อน้ำ มะก่อ ทะโล้ จำปาป่า แหลบุก สารภีป่า รักขาว ลำพูป่า ฯลฯ
บรรทัด 52: บรรทัด 52:
*ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่ขึ้นระหว่างป่าเต็งรังและป่าดงดิบบริเวณเชิงเขาทั้งทางด้านตะวันตกและตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ มีไผ่ซางขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ชนิดไม้ที่พบได้แก่ มะเกลือเลือด แดง มะกอกเกลื้อน [[สมอพิเภก]] ตะแบกแดง และงิ้วป่า เป็นต้น
*ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่ขึ้นระหว่างป่าเต็งรังและป่าดงดิบบริเวณเชิงเขาทั้งทางด้านตะวันตกและตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ มีไผ่ซางขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ชนิดไม้ที่พบได้แก่ มะเกลือเลือด แดง มะกอกเกลื้อน [[สมอพิเภก]] ตะแบกแดง และงิ้วป่า เป็นต้น


สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ประกอบด้วย
สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ประกอบด้วย [[เก้ง]] [[หมูป่า]] [[ชะมดแผงหางปล้อง]] [[อ้นเล็ก]] [[กระแตเหนือ]] [[กระรอกสวน]] หรือ กระรอกท้องแดง [[กระเล็นขนปลายหูสั้น]] [[กระจ้อน]] ค้างคาวขอบหูขาวกลาง [[หนูท้องขาว]] [[ไก่ป่า]] [[นกยางกรอกพันธุ์จีน]] นกยางไฟหัวน้ำตาล นกคุ่มอกลาย นกปากซ่อมหางพัด นกชายเลนน้ำจืด นกเด้าดิน นกเขาไฟ [[นกอีวาบตั๊กแตน]] นกบั้งรอกใหญ่ [[นกกระปูดใหญ่]] [[นกเค้ากู่]] นกแอ่นตาล นกกะเต็นน้อย นกจาบคาเล็ก นกตะขาบทุ่ง นกตีทอง นกเด้าลมเหลือง นกเขนน้อยปีกแถบขาว นกขมิ้นน้อยสวน นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า นกปรอดเหลืองหัวจุก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ นกกินปลีอกเหลือง จิ้งจกหางแบน กิ้งก่าบินปีกสีส้ม จิ้งเหลนหลากหลาย ตะกวด งูลายสอสวน งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว คางคกบ้าน กบหนอง และอึ่งข้างดำ เป็นต้น

* [[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]] ได้แก่ [[เก้ง]] [[หมูป่า]] [[ชะมดแผงหางปล้อง]] [[อ้นเล็ก]] [[กระแตเหนือ]] [[กระรอกสวน]] หรือ กระรอกท้องแดง [[กระเล็นขนปลายหูสั้น]] [[กระจ้อน]] ค้างคาวขอบหูขาวกลาง [[หนูท้องขาว]] เป็นต้น
* [[สัตว์ปีก]] ได้แก่ [[ไก่ป่า]] [[นกยางกรอกพันธุ์จีน]] นกยางไฟหัวน้ำตาล นกคุ่มอกลาย นกปากซ่อมหางพัด นกชายเลนน้ำจืด นกเด้าดิน นกเขาไฟ [[นกอีวาบตั๊กแตน]] นกบั้งรอกใหญ่ [[นกกะปูดใหญ่]] [[นกเค้ากู่]] นกแอ่นตาล นกกะเต็นน้อย นกจาบคาเล็ก [[นกตะขาบทุ่ง]] [[นกตีทอง]] นกเด้าลมเหลือง นกเขนน้อยปีกแถบขาว นกขมิ้นน้อยสวน [[นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า]] นกปรอดเหลืองหัวจุก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ [[นกกินปลีอกเหลือง]] เป็นต้น
* [[สัตว์เลื้อยคลาน]] ได้แก่ จิ้งจกหางแบน กิ้งก่าบินปีกสีส้ม จิ้งเหลนหลากหลาย [[ตะกวด]] งูลายสอสวน งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว [[คางคกบ้าน]] กบหนอง และอึ่งข้างดำ เป็นต้น


== แหล่งท่องเที่ยว ==
== แหล่งท่องเที่ยว ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:59, 8 พฤศจิกายน 2562

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
ทางขึ้นอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
ที่ตั้งจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง
พิกัด18°28′15″N 99°17′5″E / 18.47083°N 99.28472°E / 18.47083; 99.28472
พื้นที่159,556.25 ไร่ (255.29 ตร.กม.) [1]
จัดตั้ง5 มีนาคม 2518
ผู้เยี่ยมชม12,659[2] (2551)
หน่วยราชการสำนักอุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนและอำเภอห้างฉัตร อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง สภาพพื้นที่เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำ สามารถเดินทางโดยรถไฟมาลงที่สถานีรถไฟขุนตาน ซึ่งเป็นที่ตั้งอุโมงค์ขุนตาน อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สร้างโดยชาวเยอรมัน ป่าดอยขุนตาลเป็นป่า 1 ใน 14 แห่ง ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ประกาศให้ป่าในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยขุนตาล ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 116 (พ.ศ. 2506) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอนที่ 82 วันที่ 13 สิงหาคม 2506 เนื้อที่ 39,206.25 ไร่ และในท้องที่บางส่วนของตำบลเวียงตาล ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร และตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยขุนตาลตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 359 (พ.ศ. 2511) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนที่ 109 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2511 เนื้อที่ 120,625 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาขุนตาลซึ่งเป็นเทือกเขาที่แบ่งระหว่างที่ราบลุ่มเชียงใหม่และที่ราบลุ่มลำปาง เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 325-1,373 เมตร จุดสูงสุดในเขตอุทยานแห่งชาติได้แก่ ดอยขุนตาล มีที่ราบอยู่เพียงเล็กน้อยอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตก และทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติ เป็นแหล่งต้นน้ำส่วนหนึ่งของแม่น้ำปิงซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของพื้นที่ และแม่น้ำวังซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของเขตอุทยานแห่งชาติ ลำน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำวังได้แก่ น้ำแม่ค่อม น้ำแม่ต๋ำ น้ำแม่ไพร เป็นต้น ส่วนที่ไหลลงสู่น้ำแม่ทาและออกสู่แม่น้ำปิงในที่สุด ได้แก่ ห้วยแม่ป่าข่า ห้วยแม่ยอนหวายหลวง ห้วยทุ่งไผ่ ห้วยสองท่า ห้วยแม่โฮ่งห่าง เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ

พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศ ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากผืนแผ่นดินใหญ่ของประเทศจีน ทำให้เกิดฤดูกาล 3 ฤดู คือ

  • ฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีอยู่ในช่วง 1,050-1,290 มิลลิเมตร
  • ฤดูหนาว ซึ่งอยู่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์
  • ฤดูร้อน ซึ่งอยู่ในช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งอากาศจะร้อนอบอ้าวก่อนที่จะเริ่มฤดูฝน

อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส เฉลี่ยต่ำสุดในเดือนธันวาคม และสูงสุดในช่วงเดือนเมษายน

พืชพรรณและสัตว์ป่า

สังคมพืชของอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลสามารถจำแนกออกได้เป็น ป่าดิบแล้ง ขึ้นครอบคลุมพื้นที่ที่มีความชื้นค่อนข้างสูง โดยเฉพาะตามหุบเขาหรือร่องห้วย เช่น หุบเขาแม่ตาลน้อย ห้วยแม่ไพร ห้วยแม่เฟือง ห้วยแม่ออน ห้วยหลวง และห้วยแม่ค่อม โดยมีระดับความสูงจากน้ำทะเลเฉลี่ย 500-1,000 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่ โพบาย ยาง ตะคร้ำ สัตตบรรณ ตะเคียน ยมหอม มะหาด มะม่วงป่า กระท้อน พระเจ้าห้าพระองค์ ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวาย พืชในวงศ์ขิงข่า ผักกูด ผักหนาม และเฟิร์น เป็นต้น

  • ป่าดิบเขา ขึ้นปกคลุมพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อหัวหมู ก่อน้ำ มะก่อ ทะโล้ จำปาป่า แหลบุก สารภีป่า รักขาว ลำพูป่า ฯลฯ

ป่าสนเขา พบกระจายเป็นหย่อมเล็กๆ บริเวณ ย.2 ย.3 และ ย.4 ป่าสนเขาในบริเวณนี้เป็นป่าที่ปลูกขึ้นมากว่า 50 ปี ชนิดสนที่พบได้แก่ สนสามใบ นอกจากนี้ยังมีไม้อื่นขึ้นปะปนได้แก่ กางขี้มอด กระพี้เขาควาย มะขามป้อม มะกอกเกลื้อน ประดู่ตะเลน อ้อยช้าง แข้งกวาง เป็นต้น

  • ป่าเต็งรัง ขึ้นปกคลุมตามเชิงเขาโดยรอบทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีสภาพดินเป็นกรวดหรือดินลูกรัง มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ชนิดไม้ที่พบได้แก่ พลวง เหียง รักใหญ่ เก็ดแดง กาสามปีก รกฟ้า ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เป้งเขา และหญ้าชนิดต่างๆ
  • ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่ขึ้นระหว่างป่าเต็งรังและป่าดงดิบบริเวณเชิงเขาทั้งทางด้านตะวันตกและตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ มีไผ่ซางขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ชนิดไม้ที่พบได้แก่ มะเกลือเลือด แดง มะกอกเกลื้อน สมอพิเภก ตะแบกแดง และงิ้วป่า เป็นต้น

สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ประกอบด้วย

แหล่งท่องเที่ยว

ย.1 เป็นที่ตั้งบ้านพักรับรองของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ใช้เป็นที่ประทับแรมระหว่างการก่อสร้างอุโมงค์ ระยะทางห่างจากที่ทำการอุทยาน 1,500 เมตร ปัจจุบันเปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

ย.2 ระยะทางห่างจาก ย.1 ประมาณ 800 เมตร บริเวณนี้มีสนเขาอยู่หนาแน่น มีความร่มเย็นสวยงามตามธรรมชาติ ในอดีตเคยเป็นแค็มป์ของบริษัททำไม้ หลังจากนั้น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ซื้อพื้นที่นี้เพื่อสร้างบ้านพักและปลูกสวนดอกไม้ สวนผลไม้ เป็นสถานที่พักผ่อนส่วนตัว มีสวนลิ้นจี่ สถานที่นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จไปพักผ่อนอิริยาบถที่เรือนรับรองนี้ 2 ครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2512 และ พ.ศ. 2516

ย.3 ห่างจาก ย.2 ประมาณ 3,500 เมตร มีสภาพเป็นป่าดิบเขา และมีนกป่า เช่น นกสาลิกาเขียว นกพญาไฟใหญ่ นกปีกลายสกอต นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ บริเวณนี้เป็นสถานที่ที่คณะมิชชันนารีอเมริกันคริสตจักร ได้สร้างบ้านพักและเดินทางมาพักผ่อนในเดือนเมษายนเป็นประจำทุกปี ปัจจุบันบ้านพักอยู่ในการดูแลของมหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ และเปิดบริการให้แก่นักท่องเที่ยวทั่วไป

ย.4 อยู่ห่างจาก ย.3 มาประมาณ 1,000 เมตร เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของทิวเขาขุนตาน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสถานที่ส่องกล้องทางไกล ซึ่งเรียกว่า ม่อนส่องกล้อง สามารถมองเห็นทัศนียภาพตัวเมืองลำปางได้อย่างชัดเจน

อ้างอิง

  1. อุทยานแห่งชาติ จากธรรมชาติสู่เขตอนุรักษ์, สำนักอุทยานแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, 2545, 48
  2. สถิติข้อมูลนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ

แหล่งข้อมูลอื่น

ดูเพิ่ม