อ้อยช้าง
หน้าตา
อ้อยช้าง | |
---|---|
ใบและผลของอ้อยช้างในอินเดีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Sapindales |
วงศ์: | Anacardiaceae |
สกุล: | Lannea |
สปีชีส์: | L. coromandelica |
ชื่อทวินาม | |
Lannea coromandelica (Houtt.) Merr. |
อ้อยช้าง หรือ กอกกัน, อด, กุ๊ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lannea coromandelica) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Anacardiaceae เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดรูปสี่เหลี่ยม ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ สีเหลืองอ่อน ออกดอกแล้วจะทิ้งใบหมด ผลขนาดเล็ก สุกแล้วสีเหลืองหรือแดง เป็นพืชที่รับประทานได้ โดยนำยอดอ่อนมารับประทานเป็นผัก รากสะสมน้ำไว้มาก สามารถตัดรากแล้วรองน้ำมาดื่มได้ นิยมนำรากไปผสมในยาตำรับต่าง ๆ เพื่อให้รสดีขึ้น
เป็นพรรณไม้ที่คนมักเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า เป็นต้นเดียวกันกับต้นปีบทอง ซึ่งมีชื่อเรียกในบางภูมิภาคว่าอ้อยช้างเช่นกัน
-
เปลือกต้นอ้อยช้างในอินเดีย
-
ดอกอ้อยช้างในอินเดีย
-
ผลอ้อยช้างในอินเดีย
อ้างอิง
[แก้]- สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2544 หน้า 35