รักใหญ่
รักใหญ่ | |
---|---|
ภาพประกอบจาก Plantae Asiaticae Rariores | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | เงาะ Sapindales |
วงศ์: | วงศ์มะม่วง Anacardiaceae |
วงศ์ย่อย: | Anacardioideae Anacardioideae |
สกุล: | Gluta Gluta (Wall.) Ding Hou. |
สปีชีส์: | Gluta usitata |
ชื่อทวินาม | |
Gluta usitata (Wall.) Ding Hou. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
Melanorrhoea usitata Wall. |
รักใหญ่ ฮักหลวง (คำเมือง) หรือ รักพม่า[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gluta usitata) เป็นพืชในวงศ์มะม่วง มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินโดจีน[3]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]รักใหญ่เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-25 เมตร มีขนสั้นหนานุ่มตามกิ่งอ่อน ช่อดอก กลีบเลี้ยงด้านในและกลีบดอกทั้งสองด้าน ใบเรียงเวียนรูปรี ขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 12-36 เซนติเมตร ปลายใบมน กลมหรือแหลม แผ่นใบหนา มีขนประปราย ก้านใบยาว 1.5-3 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อแบบแยกแขนง ยาวได้ถึง 35 เซนติเมตร มีดอกจำนวนมาก กลีบเลี้ยงคล้ายหมวกแฉกลึกด้านเดียว ยาวได้ถึง 7 มิลลิเมตร ร่วงเร็ว ดอกสีขาวอมชมพูมี 5-7 กลีบ รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ติดบนฐานดอกนูน (torus) ยาวเท่า ๆ กลีบดอก รังไข่มีช่องเดียว มีก้านสั้น ๆ ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรมีขนยาว ผลเป็นแบบผนังชั้นในแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เซนติเมตร มีปีกที่ขยายมาจากกลีบดอกรูปขอบขนาน ยาว 5-10 เซนติเมตร ปลายปีกมน มีเส้นกลีบ ก้านผลยาว 1.5-2 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดเดียว[4]
สรรพคุณและการใช้ประโยชน์
[แก้]เปลือกต้นรักใหญ่มีรสเมา ใช้ต้มดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้กามโรค บิดและโรคเรื้อน เปลือกรากมีรสเมาเบื่อ แก้พยาธิลำไส้ รักษาโรคผิวหนัง เมล็ดใช้แก้ปากคอเปื่อย แก้ปวดฟัน น้ำยางจากรักใหญ่ใช้เป็นน้ำยาเคลือบเงาธรรมชาติ น้ำยางมีสารอูรูชิออล[5] และสารอนุพันธ์ของแคทีชอล (C6H4(OH)2)[6] ในรูปของทิตซิออลซึ่งเป็นสารสำคัญในยางรักชนิดนี้ มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนัง[5] นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาถ่ายอย่างรุนแรง น้ำยางรักใหญ่ผสมน้ำผึ้งใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง[7][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ding Hou (1978) in: Blumea, 24(1): 14
- ↑ Melanorrhoea usitata เก็บถาวร 2012-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at ZipcodeZoo.com
- ↑ Wiersema, John H.; León, Blanca. "World Economic Plants: A Standard Reference, Second Edition". Google Books. สืบค้นเมื่อ July 14, 2017.
- ↑ สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 373, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
- ↑ 5.0 5.1 "Economically Important Plant Families". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-27. สืบค้นเมื่อ 13 June 2010.
- ↑ Boonjaeng, Somsak. "Characterization of Gluta UsitataSap and Adhesion on Ceramic Surfac". Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal. 11 (2): 92.
- ↑ "รักใหญ่ - Gluta usitata (Wall.) Ding Hou". ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ July 14, 2017.
- ↑ "รักใหญ่ - Gluta usitata (Wall.) Ding Hou". ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. สืบค้นเมื่อ July 14, 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Gluta usitata
- Type specimen of Melanorrhoea usitata
- Isotype