ข้ามไปเนื้อหา

นกยางกรอกพันธุ์จีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นกยางกรอกพันธุ์จีน
(Chinese pond heron)
ขนนกในฤดูผสมพันธุ์
ขนนกนอกฤดูผสมพันธุ์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์ปีก
Aves
อันดับ: นกกระทุง
Pelecaniformes
วงศ์: วงศ์นกยาง
Ardeidae
สกุล: Ardeola
Ardeola
(Bonaparte, 1855)
สปีชีส์: Ardeola bacchus
ชื่อทวินาม
Ardeola bacchus
(Bonaparte, 1855)
การกระจายตัวของ A. bacchus เทียบกับนกที่ใกล้เคียงกับมันมากที่สุด
  Ardeola bacchus การกระจายตัวในฤดูผสมพันธุ์
  Ardeola bacchus การกระจายตัวเพิ่มนอกฤดูผสมพันธุ์
  Ardeola grayii range
  Ardeola speciosa range
นกบินขึ้น ขนนอกฤดูผสมพันธุ์

นกยางกรอกพันธุ์จีน[2] (อังกฤษ: Chinese pond heron, ชื่อวิทยาศาสตร์: Ardeola bacchus) เป็นนกน้ำจืดเอเชียตะวันออกพันธุ์หนึ่งในวงศ์นกยาง (Ardeidae) เป็นพันธุ์หนึ่งใน 6 สปีชีส์ที่อยู่ในสกุล Ardeola (อังกฤษ: pond heron) มันเป็นสปีชีส์ที่เกิดข้างบริเวณ (parapatric) หรือเกือบอย่างนั้นกับนกยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) ทางทิศตะวันตก และนกยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) ทางใต้ นกสามสปีชีส์นี้สมมุติว่าประกอบเป็นซูเปอร์สปีชีส์ นกกลุ่มนี้เป็นญาติกับ squacco heron (A. ralloides) และนกยางกรอกพันธุ์มาดากัสการ์ (A. idae) จนถึงกลางปี 2011 ก็ยังไม่ได้วิเคราะห์ยีนของนกสกุลนี้ว่าสัมพันธ์กับกันและกันเช่นไร[3] และก็ยังไม่ได้วิเคราะห์กระดูกเพื่อเปรียบเทียบนกต่าง ๆ ที่เป็นประเด็นเช่นกัน[4] ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[2]

ลักษณะและนิเวศวิทยา

[แก้]

นกปกติยาว 47 ซม. มีปีกขาว ปากเหลืองปลายดำ ตาและขาเหลือง ในฤดูผสมพันธุ์ สีทั่วไปเป็นสีแดง น้ำเงิน (หรือเทา-ดำ) และขาว[5]คือ หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทาอมดำ อกสีแดง[6] และนอกฤดูผสมพันธุ์ เป็นสีน้ำตาล-เทามีลายและจุดขาว ๆ[5]

นกอยู่ที่พื้นที่ชุ่มน้ำและสระน้ำตื้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเค็มน้ำจืดในประเทศจีนและในเอเชียตะวันออกเขตอบอุ่นและเขตกึ่งร้อนที่ใกล้ ๆ กัน เพราะเป็นนกที่ลุ่ม ที่อยู่จึงจำกัดโดยเขตกึ่งอาร์กติกทางเหนือ โดยทิวเขาทางตะวันตกและทางใต้[5]

นกเดี่ยว ๆ อาจจะจรจัดไปไกลในที่อื่นบ้าง มีรายงานปี 1995 ว่าเห็นนกมีขนช่วงผสมพันธุ์ตัวหนึ่งที่แม่น้ำ Bonzon ใกล้เมือง Gangaw ในเขตมะกเว (รัฐชีน) ของประเทศพม่า เกินจากแนวตะวันตกที่เป็นเขตของสปีชีส์นี้ มีรายงานปี 1997 ว่าเห็นนกมาหยุดพักที่เกาะเซนต์พอล รัฐอะแลสกา เป็นการบันทึกเห็นนกเป็นครั้งแรกในสหรัฐ[7][8] นกกินแมลง ปลา และกุ้งกั้งปู มักทำรังกับนกยางพันธุ์ต่าง ๆ วางไข่สีเขียวออกน้ำเงิน 3-6 ฟอง[5]

นกค่อนข้างสามัญและไม่จัดว่าเสี่ยงสูญพันธุ์ (threatened) โดยสหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ[9] แต่ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[2]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. BirdLife International (2012). "Ardeola bacchus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 2013-11-26.
  2. 2.0 2.1 2.2 "สัตว์ป่าคุ้มครอง". โลกสีเขียว. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23. ๗๐๓ นกยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus)
  3. Though a number of studies have used DNA of A. bacchus, there is almost no comparison data from other Ardeola: GenBank: Ardeola bacchus, Ardeola. Retrieved 2011-JUL-14.
  4. McCracken, Kevin G.; Sheldon, Frederick H. (1998). "Molecular and osteological heron phylogenies: sources of incongruence" (PDF). Auk. 115: 127–141. doi:10.2307/4089118.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Robson, Craig R. (2002). A guide to the birds of Southeast Asia: Thailand, Peninsular Malaysia, Singapore, Myanmar, Laos, Vietnam, Cambodia. New Holland, London.
  6. "กรอก", พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, ๒ น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทาอมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลา.
  7. Robson, Craig R.; Buck, H.; Farrow, D.S.; Fisher, T.; King, B.F. (1998). "A birdwatching visit to the Chin Hills, West Burma (Myanmar), with notes from nearby areas" (PDF). Forktail. 13: 109–120. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-11. สืบค้นเมื่อ 2009-05-23.
  8. American Ornithologists' Union (2000). "Forty-second supplement to the American Ornithologists' Union Check-list of North American Birds" (PDF). The Auk. 117 (3): 847. doi:10.1642/0004-8038(2000)117[0847:FSSTTA]2.0.CO;2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-08-05. สืบค้นเมื่อ 2019-09-12.
  9. BirdLife International (2012). Ardeola bacchus. In: IUCN 2012. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]