นกกะปูดใหญ่
นกกะปูดใหญ่ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Cuculiformes |
วงศ์: | Cuculidae |
สกุล: | Centropus |
สปีชีส์: | C. sinensis |
ชื่อทวินาม | |
Centropus sinensis (Stephens, 1815)[2] |
นกกะปูดใหญ่ หรือ นกกดเพลิง[3] (อังกฤษ: Greater coucal, Crow pheasant) เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) แต่ไม่ใช่นกปรสิต เป็นนกประจำถิ่นที่มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเอเชีย จากประเทศอินเดียไปทางตะวันออกถึงจีนและลงไปทางใต้ถึงอินโดนีเซีย แบ่งออกเป็นหลายชนิดย่อย
นกกะปูดใหญ่มีขนาดใหญ่คล้ายอีกา มีหางยาว และมีปีกสีน้ำตาลทองแดง พบในแหล่งที่อยู่อาศัยหลากหลายจากป่าถึงพื้นเพาะปลูก และสวนในเมืองใหญ่ เป็นนกมักมีพฤติกรรมปีนป่ายตามพุ่มไม้หรือเดินอยู่ตามพื้นดินเพื่อหาแมลง ไข่ หรือลูกนกชนิดอื่นกินเป็นอาหาร
ลักษณะ
[แก้]นกกะปูดใหญ่เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์นกคัดคู ยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 48-52 ซม. ลำตัวค่อนข้างยาว ปากหนาและสันปากบนโค้งลงตอนปลาย ตอนปลายสุดงุ้มลงคลุมปลายปากล่าง ขนบริเวณหัว ลำคอ และอกค่อนข้างน้อยและเส้นขนค่อนข้างแข็ง ปีกค่อนข้างสั้นและมนกลม ขนปลายปีกมี 9 เส้น หางค่อนข้างยาวและปลายหางมน ขนหางมี 8 เส้น ขนหางแต่ละคู่ยาวลดหลั่นกันลงไปและสามารถแผ่ออกได้เหมือนพัด ขาค่อนข้างยาว หนาและแข็งแรง นิ้วเท้ามีข้างละ 4 นิ้ว นิ้วหลังมีเล็บยาวค่อนข้างตรง[3]
สองเพศมีสีสันเหมือนกัน แต่นกตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่านกตัวผู้เล็กน้อย[4] ปากสีดำ ม่านตาสีแดง หัว คอ และหลังตอนบนสีดำเหลือบเขียวเล็กน้อย แต่หลังตอนบนเหลือบสีน้ำตาลและม่วงด้วย ก้านขนบริเวณหัว คอ และอกสีดำเป็นมัน หลังตอนล่างและปีกสีน้ำตาลแกมแดง แต่ขนปลายปีกสีดำคล้ำๆ หางสีดำเหลือบเขียวหม่น ขนคลุมใต้ปีกสีดำ ขาและนิ้วเท้าสีดำ
นกวัยอ่อนมีชุดขนสีดำคล้ำมีจุดบนกระหม่อมและมีแถบสีขาวบนส่วนล่างและหาง
ชนิดย่อยและการกระจายพันธุ์
[แก้]ชนิดย่อยที่ได้รับการตั้งชื่อตามชนิดพบในหุบเขาอินดัส (Indus Valley) ผ่านเขตย่อยหิมาลายัน (sub-Himalayan) และที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (Gangetic plains) ไปจนถึงประเทศเนปาล รัฐอัสสัม และตีนเขาในประเทศภูฏาน และตอนใต้ของจีน (เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง, มณฑลเจ้อเจียง, มณฑลฝูเจี้ยน)[5]
- ชนิดย่อย parroti Stresemann, 1913 พบในคาบสมุทรอินเดีย (รัฐมหาราษฏระ, รัฐมัธยประเทศ, รัฐโอริศา และทางใต้) มีหลังสีดำ นกวัยอ่อนไม่มีขีดที่ปีก[5]
- ชนิดย่อย intermedius Hume, 1873 มีขนาดเล็กที่สุดพบในประเทศบังคลาเทศ ทางตะวันตกของคาชาร์ (Cachar) ในพม่า และหุบเขาชิน (Chin Hills) ในจีน (มณฑลยูนนาน, มณฑลไหหลำ), ไทย, อินโดจีน และตอนเหนือบางส่วนของคาบสมุทรมลายู[5]
- ชนิดย่อย bubutus Horsfield, 1821 พบในตอนใต้บางส่วนของคาบสมุทรมลายู, หมู่เกาะสุมาตรา, ไนแอส, หมู่เกาะเมนตาวี, ชวา, บาหลี, บอร์เนียว, ภาคตะวันตกฟิลิปปินส์ (บาลาแบก (Balabac), คากายัน (Cagayan), ซูลู และปาลาวัน) ชนิดย่อยนี้มีปีกสีแดงซีด[5]
- ชนิดย่อย anonymus Stresemann, 1913 พบในตะวันตกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์ (บาซิลัน, เกาะซูลู) และปีกสั้นและสีเข้มกว่า bubutus[5]
- ชนิดย่อย kangeangensis Vorderman, 1893 พบในเกาะแกงจีน (Kangean Islands) มีชุดขนซีดสลับเข้ม[5]
พฤติกรรมและนิเวศวิทยา
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International (2009). "Centropus sinensis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2009.2.
- ↑ In Shaw's General Zoology 9, pt. 1, p. 51. (Type locality China, Ning Po.) per Payne (2005)
- ↑ 3.0 3.1 นกกะปูดใหญ่ เก็บถาวร 2012-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน birds of Thailand
- ↑ Ali, S & SD Ripley (1981). Handbook of the birds of India and Pakistan. Volume 3 (2 ed.). Oxford University Press. pp. 240–244.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Payne, RB (2005). The Cuckoos. Oxford University Press. pp. 238–242. ISBN 0198502133.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Bhujle, BV; Nadkarni, VB (1977) Steroid synthesizing cellular sites in the testis of Crow Pheasant Centropus sinensis (Stephens). Pavo 14(1&2), 61–64.
- Bhujle, BV; Nadkarni, VB (1980) Histological and histochemical observations on the adrenal gland of four species of birds, Dicrurus macrocercus (Viellot), Centropus sinensis (Stephens), Sturnus pagodarum (Gmelin) and Columba livia (Gmelin). Zool. Beitrage 26(2):287–295.
- Khajuria, H (1975) The Crow-pheasant, Centropus sinensis (Stevens) (Aves: Cuculidae) of central and eastern Madhya Pradesh. All-India Congr. Zool. 3:42.
- Khajuria, H (1984) The Crow-Pheasant, Centropus sinensis (Stephens) (Aves: Cuculidae) of central and eastern Madhya Pradesh. Rec. Z.S.I. 81(1–2):89–93.
- Natarajan, V (1993). "Awakening, roosting and vocalisation behavioiur of the Southern Crow-Pheasant (Centropus sinensis) at Point Calimere, Tamil Nadu". ใน Verghese, A; Sridhar, S; Chakravarthy, AK (บ.ก.). Bird Conservation: Strategies for the Nineties and Beyond. Ornithological Society of India, Bangalore. pp. 158–160.
- Natarajan, V (1990) The ecology of the Southern Crow-Pheasant Centropus sinensis parroti Stresemann (Aves: Cuculidae) at Point Calimere, Tamil Nadu. Ph.D. Dissertation, University of Bombay, Bombay.