ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิศาล อัครเศรณี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Kongkoy-laksi (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 204: บรรทัด 204:
; ออกอากาศทาง[[ช่อง 3]]
; ออกอากาศทาง[[ช่อง 3]]
* [[มนต์รักอสูร]] ปี 2532
* [[มนต์รักอสูร]] ปี 2532
* [[ผู้ชนะสิบทิศ]] ปี 2532
* [[ไฟรักอสูร]] ปี 2535
* [[ไฟรักอสูร]] ปี 2535
* อุ้งมือมาร ปี 2537
* อุ้งมือมาร ปี 2537

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:19, 6 ธันวาคม 2561

พิศาล อัครเศรณี
เกิด21 มิถุนายน พ.ศ. 2488
พิศาล อัครเศรณี
เสียชีวิต4 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (73 ปี)
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสสุดารัตน์ อัครเศรณี
ผลงานเด่นมังตรา ผู้ชนะสิบทิศ ละครโทรทัศน์ทางช่อง 9
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาราชดำ (พ.ศ. 2524)
เทอด มนต์รักอสูร ภาพยนตร์(พ.ศ. 2521) และละครโทรทัศน์ (พ.ศ. 2532) ทางช่อง 3
พระสุรัสวดีนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม

พ่อปลาไหลแม่พังพอน (พ.ศ. 2531)
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

พิศวาสซาตาน (พ.ศ. 2529)
โทรทัศน์ทองคำนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
อวสานเซลล์แมน (พ.ศ. 2530)
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb
ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2520 - พิศาล อัครเศรณี และ ผุสดี พลางกูล

นาย พิศาล อัครเศรณี (เปี๊ยก) (21 มิถุนายน พ.ศ. 2488 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561) เป็นผู้กำกับ นักแสดง โฆษก มีผลงานภาพยนตร์ไทยสร้างชื่ออย่าง “เพลงสุดท้าย” เป็นผู้ที่ได้รับฉายาว่า "พระเอกซาดิสต์" หรือ "ผู้กำกับซาดิสต์" เนื่องจากมักได้รับบทหรือกำกับละครหรือภาพยนตร์ที่พระเอกมักจะทำร้ายนางเอกด้วยการตบตี แต่ลงท้ายด้วยการจูบหรือแสดงความรัก ทำให้นางเอกใจอ่อนทุกที

ประวัติ

ผู้กำกับสุดแสนซาดิสย์จิตหลอนนอนไม่หลับคือสมยานามของสุดยอดตำนานอภิมหาอมตะภูนิรันดร์กาล พิศาล อัครเศรณี หรือชื่อเดิม เจริญพาสน์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2488[1] มารดาชื่อเชอรี่ อัครเศรณี ส่วนบิดามีเชื้อสายมอญ[2] พิศาลเป็นน้องชายของกิตติ อัครเศรณี อดีตผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชื่อดัง จบการศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ โดยในขณะที่ศึกษาวัดบวรก็ได้รู้จักกับ แดง ไบเล่ และเคยยกพวกตีแถวสิบสามห้าง[3][4] และจบด้านการแสดงที่โรงเรียนการกำกับการแสดง แผนกวิทยุโทรทัศน์ วอชิงตัน ดี.ซี. เริ่มทำงานที่สำนักข่าวสารอเมริกัน ก่อนจะเข้าไปคลุกคลีกับงานทั้งวิทยุ-โทรทัศน์ อาทิ วิทยุของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยังเคยเป็นโฆษกที่ช่อง 3 รวมทั้งเป็นนักแสดงอีกด้วย เริ่มงานกำกับการแสดงครั้งแรกในละครเรื่อง “สกาวเดือน” ออกอากาศทางช่อง 9 ส่วนการกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกคือ “ฟ้าหลังฝน

มีผลงานกำกับละครวิทยุกว่า 70 เรื่อง ละครโทรทัศน์กว่า 100 เรื่อง ภาพยนตร์กว่า 40 เรื่อง อาทิ มหาราชดำ, มนต์รักอสูร, รักประกาศิต, ละอองดาว, นางแมวป่า, ค่าของคน,พายุอารมณ์, ไฟรักอสูร, เลือดทมิฬ, อุ้งมือมาร และเพลงสุดท้าย

ในปี พ.ศ. 2544 ได้รับการติดต่อจากกร ทัพพะรังสี หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ให้กำกับภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่อ “ย่าโม” หรือท้าวสุรนารี แต่ยังไม่ทันสร้างก็ถูก วิจารณ์-กระแสต่อต้านจากประเทศลาวว่าภาพยนตร์เรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-ลาว

สำหรับ พิศาล อัครเศรณี สมรสกับ นางสุดารักษ์ มีบุตร 4 คน ในจำนวนนี้ลูกชายเป็นผู้กำกับชื่อว่า อัครพล อัครเศรณี ชื่อเล่น โอ[5] และเป็นนักแสดงหญิงชื่อดัง คือ พิยดา จุฑารัตนกุล ชื่อเล่น อ้อม[6]

พิศาลเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 02:00 น. วันอังคาร ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว อายุ 73 ปี[7]

ผลงาน

ละคร

ภาพยนตร์

ไฟล์:ละอองดาว poster.jpg
ละอองดาว (2523)
ดวงตาสวรรค์ (2524)
พ.ศ. 2511
พ.ศ. 2513
  • เรือมนุษย์
พ.ศ. 2514
  • ลูกยอด
พ.ศ. 2521
  • ตะวันอ้อมข้าว
  • มนต์รักอสูร รับบทเป็น เทอด
  • รักเอย รับบทเป็น เปี๊ยก
  • สามคนผัวเมีย
พ.ศ. 2522
  • หัวใจที่จมดิน
  • เพลิน
  • เลือดทมิฬ
พ.ศ. 2523
พ.ศ. 2524
พ.ศ. 2525
  • ดวงตาสวรรค์ รับบทเป็น เล็ก ราวิน
  • พายุอารมณ์
  • สายสวาทยังไม่สิ้น
  • สุดเหงา
พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2527
  • ครูเสือ รับบทเป็น ครูเสือ
  • ตีแสกหน้า
  • ไฟชีวิต
  • ลวดหนาม
พ.ศ. 2528
พ.ศ. 2529
  • พิศวาสซาตาน
  • อุ้งมือมาร รับบทเป็น ดำ ชุมพร


พ.ศ. 2530
  • สงครามรัก
  • สารวัตรเถื่อน รับบทเป็น จ่าเที่ยง
พ.ศ. 2531
  • พ่อปลาไหล แม่พังพอน
  • วิวาห์จำแลง รับบทเป็น ชาลี
พ.ศ. 2539
  • เด็กเสเพล
พ.ศ. 2544
พ.ศ. 2549
  • มากับพระ รับบทเป็น กำนันยศ
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2557

ผลงานกำกับการแสดง

ละคร

ออกอากาศทางช่อง 5
  • พ่อปลาไหล แม่พังพอน ปี 2534
ออกอากาศทางช่อง 3
ออกอากาศทางช่อง 3 เอสดี
ออกอากาศทางช่อง 7
  • พันท้ายนรสิงห์ ปี 2543
ออกอากาศทางช่องวัน

ภาพยนตร์

  • ฟ้าหลังฝน (2521)
  • ภาษาใจ (2521)
  • ทองผาภูมิ (2523)
  • รักประกาศิต (2523)
  • กล้วยไม้สีเลือด (2524) กำกับร่วมกับ ฮุยคิง
  • ภูชิชย์ นริศรา (2524)
  • ดวงตาสวรรค์ (2525)
  • นางแมวป่า (2525)
  • พายุอารมณ์ (2525)
  • ไฟรักอสูร (2526)
  • ลวดหนาม (2527) ร่วมกับ จารึก สงวนพงษ์
  • นางฟ้ากับซาตาน (2528)
  • นางเสือดาว (2528)
  • เพลงสุดท้าย (2528)
  • หัวใจเถื่อน (2528)
  • พิศวาสซาตาน (2529)
  • อุ้งมือมาร (2529)
  • ปรารถนาแห่งหัวใจ (2529)
  • ชะตาฟ้า (2530)
  • รักทรมาน (2530) ชื่ออื่น... เพลงสุดท้าย ภาค 2
  • ซอสามสาย (2531)
  • พ่อปลาไหล แม่พังพอน (2531) ร่วมกับ หนุ่ม ชิงชัย
  • วิวาห์จำแลง (2531)
  • ก่อนจะสิ้นแสงตะวัน (2533)
  • เพลงสุดท้าย (2549)
  • โก๋หลังวัง (2545)

ผลงานอื่นๆ

  • ละครเวที พันท้ายนรสิงห์ ปี 2532 แสดงที่ ศาลาเฉลิมไทย
  • พากย์ภาพยนตร์ บันทึกเสียงลงฟิล์มแทน สรพงษ์ ชาตรี ใน มันมากับความมืด (2514) และ เขาชื่อกานต์ (2516)
  • โฆษณาชุด "โอ๊ะ..เทวดา" รับบทเทวดาแนะนำผลิตภัณฑ์เคลียราซิลลดความมันบนใบหน้า
  • เป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เรื่อง วิวาห์เงินผ่อน ในปี 2518

อ้างอิง

  1. "พิศาล อัครเศรณี". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ตำนานตบจูบ "พิศาล อัครเศรณี" อุปสมบทครั้งแรกในชีวิต แทนคุณมารดา-แก้บนภรรยาหายป่วยมะเร็ง". มติชนออนไลน์. 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. ศึกสิบสามห้าง
  4. ดารารัวหมัด! อันธพาลนอกจอ
  5. ""อาเปี๊ยก-พิศาล" วางมือ จับลูกชาย "โอ-อัครพล" ขึ้นแท่นผู้กำกับ ประเดิมละครเรื่องแรก !!!". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 20 มิถุนายน 2556. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "2 ครอบครัวสุดชื่นมื่น "อ้อม-อาทรับพระราชทานน้ำสังข์". สยามดารา. 27 สิงหาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. เรื่องเล่าเช้านี้ (4 ธันวาคม 2561). "สิ้น 'เปี๊ยก พิศาล' หัวใจวายเสียชีวิต ในวัย 75 ปี ปิดตำนานพระเอกตบจูบ". ฝ่ายข่าวช่อง 3. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)