ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
}}
}}


'''สาขาวิชานิติศาสตร์''' [[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] ก่อตั้งขึ้นในปี [[พ.ศ. 2523]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2523/A/040/5.PDF ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช], เล่ม ๙๗, ตอน ๔๐, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓, ฉบับพิเศษ หน้า ๕</ref> โดยสาขาวิชานิติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เปิดทำการเรียนการสอนในสาขานิติศาสตร์เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย '' (รองจาก[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] [[จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย]] และ[[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]) ''และมหาวิทยาลัยอันดับที่ 6 ของประเทศไทยที่เปิดสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ (รองจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์) ปัจจุบันสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรทางกฎหมาย จนถึงหลักสูตรปริญญาทางนิติศาสตร์
'''สาขาวิชานิติศาสตร์''' [[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] ก่อตั้งขึ้นในปี [[พ.ศ. 2523]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2523/A/040/5.PDF ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช], เล่ม ๙๗, ตอน ๔๐, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓, ฉบับพิเศษ หน้า ๕</ref> โดยสาขาวิชานิติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เปิดทำการเรียนการสอนในสาขานิติศาสตร์เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย '' (รองจาก[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] [[จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย]] และ[[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]) ''และมหาวิทยาลัยอันดับที่ 6 ของประเทศไทยที่เปิดสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ (รองจาก [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์) ปัจจุบันสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรทางกฎหมาย จนถึงหลักสูตรปริญญาทางนิติศาสตร์


ปัจจุบัน ปริญญาทางนิติศาสตร์ จากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับการรับรองจาก[[เนติบัณฑิตยสภา]]<ref>[http://www.thaibar.thaigov.net/Service/stu_regis.htm รายชื่อสถาบันการศึกษาที่เนติบัณฑิตยสภารับรองในปัจจุบัน. จากเว็บไซต์'''เนติบัณฑิตยสภา''']</ref> ผู้ได้รับปริญญาทางนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สามารถสมัครเข้าเป็นนักศึกษา ของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและสามารถสอบไล่เพื่อเป็น[[เนติบัณฑิตไทย]]ได้ '' (น.บ.ท.) ''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2507/A/035/240.PDF ข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภา​พ.ศ. ๒๕๐๗], เล่ม ๘๑, ตอน ๓๕ก, ๒๑​เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓, หน้า ๒๔๒</ref> และผู้ได้รับปริญญาทางนิติศาสตร์ จากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สามารถสมัครเป็นวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาได้ ซึ่งทำให้ผู้ได้รับปริญญาทางนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตได้ และหากได้ผ่านการอบรมวิชาว่าความจาก[[สภาทนายความ]]แล้ว สามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นทนายความได้โดยไม่ต้องสอบไล่ได้เนติบัณฑิตไทยก่อน<ref>การสมัครสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา. [ออน-ไลน์]. (2552). [ออน-ไลน์]. /แหล่งข้อมูล [http://www.gmwebsite.com/upload/thethaibar.org/file/2.%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8D.pdf]</ref>
ปัจจุบัน ปริญญาทางนิติศาสตร์ จากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับการรับรองจาก[[เนติบัณฑิตยสภา]]<ref>[http://www.thaibar.thaigov.net/Service/stu_regis.htm รายชื่อสถาบันการศึกษาที่เนติบัณฑิตยสภารับรองในปัจจุบัน. จากเว็บไซต์'''เนติบัณฑิตยสภา''']</ref> ผู้ได้รับปริญญาทางนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สามารถสมัครเข้าเป็นนักศึกษา ของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและสามารถสอบไล่เพื่อเป็น[[เนติบัณฑิตไทย]]ได้ '' (น.บ.ท.) ''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2507/A/035/240.PDF ข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภา​พ.ศ. ๒๕๐๗], เล่ม ๘๑, ตอน ๓๕ก, ๒๑​เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓, หน้า ๒๔๒</ref> และผู้ได้รับปริญญาทางนิติศาสตร์ จากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สามารถสมัครเป็นวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาได้ ซึ่งทำให้ผู้ได้รับปริญญาทางนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตได้ และหากได้ผ่านการอบรมวิชาว่าความจาก[[สภาทนายความ]]แล้ว สามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นทนายความได้โดยไม่ต้องสอบไล่ได้เนติบัณฑิตไทยก่อน<ref>การสมัครสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา. [ออน-ไลน์]. (2552). [ออน-ไลน์]. /แหล่งข้อมูล [http://www.gmwebsite.com/upload/thethaibar.org/file/2.%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8D.pdf]</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:55, 25 มีนาคม 2561

สาขาวิชานิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
School of Law Sukhothai Thammathirat
Open University
สถาปนาพ.ศ. 2523
คณบดีรองศาสตราจารย์ลาวัลย์ หอนพรัตน์
ที่อยู่
วารสารวารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธราช
Sukothai Tammatirat Law Journal
สีเขียว
มาสคอต
เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เปล่งรัศมีธรรมจักร
เว็บไซต์www.law.stou.ac.th/

สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2523[1] โดยสาขาวิชานิติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เปิดทำการเรียนการสอนในสาขานิติศาสตร์เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย (รองจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยรามคำแหง) และมหาวิทยาลัยอันดับที่ 6 ของประเทศไทยที่เปิดสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ (รองจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์) ปัจจุบันสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรทางกฎหมาย จนถึงหลักสูตรปริญญาทางนิติศาสตร์

ปัจจุบัน ปริญญาทางนิติศาสตร์ จากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับการรับรองจากเนติบัณฑิตยสภา[2] ผู้ได้รับปริญญาทางนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สามารถสมัครเข้าเป็นนักศึกษา ของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและสามารถสอบไล่เพื่อเป็นเนติบัณฑิตไทยได้ (น.บ.ท.) [3] และผู้ได้รับปริญญาทางนิติศาสตร์ จากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สามารถสมัครเป็นวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาได้ ซึ่งทำให้ผู้ได้รับปริญญาทางนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตได้ และหากได้ผ่านการอบรมวิชาว่าความจากสภาทนายความแล้ว สามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นทนายความได้โดยไม่ต้องสอบไล่ได้เนติบัณฑิตไทยก่อน[4]

ประวัติ

อาคารที่ทำการของสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งอยู่ที่ชั้น 5 อาคารวิชาการ 1 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีนโยบายจัดตั้งสาขาวิชานิติศาสตร์ขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นถึงความต้องการของสังคมในวิชาการด้านนี้เป็นอย่างมาก ดังปรากฏในรายงานการวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนต่อมหาวิทยาลัยเปิด (พ.ศ. 2521) ที่เสนอต่อทบวงมหาวิทยาลัย และผลของการสำรวจ ความต้องการของสังคมที่มีต่อวิชากฎหมาย (พ.ศ. 2523) โดยคณะกรรมการการศึกษาและจัดทำโครงการสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งปรากฏว่ามีผู้สนใจศึกษาวิชานิติศาสตร์ถึงร้อยละ 83.11 ของผู้ที่ตอบ แบบสอบถามมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงมีนโยบายที่จะเสริมสร้างและพัฒนา บุคลากรในวงวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อให้มีความรู้ทางด้านวิชานิติศาสตร์อย่างกว้างขวาง และเหมาะสมกับลักษณะงานในหน้าที่ของตนตาม ความต้องการของสังคม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชยังมีนโยบายที่จะส่งเสริม การศึกษาต่อเนื่องให้แก่ผู้ที่จบการศึกษา ขั้นปริญญาตรีและอนุปริญญาในสาขาวิชาอื่น ตลอดจนประชาชนผู้สนใจในวิชากฎหมายเพื่อเป็นการให้ความรู้ และให้บริการทางวิชาการ แก่สังคมอย่างกว้างขวางและทั่วถึง[5]


สัญลักษณ์

สัญลักษณ์สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มาจากแนวความคิดของเค้าโครงขององค์เจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์อันเป็นลักษณะที่เด่นที่สุดของตรามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วงกลมวงใหญ่หนาบางซึ่งมาจาก รูปแบบของธรรมจักรหรือธรรมศาสตร์ อันหมายถึงความเป็นธรรม ความชอบธรรม ความดีงาม ซึ่งเป็นเครื่องหมายดั้งเดิมของคำว่า "นิติศาสตร์" ในปัจจุบัน ตราชูสองแขนอันเป็นสัญลักษณ์สากลของศาสตร์แห่งกฎหมาย ด้านบนของแกนตราชั่งมีวงกลมหนาวงเล็ก หมายถึงบุคคล ขณะเดียวกันก็เป็นแกนของวงล้อธรรมจักรด้วย นำทั้งหมดนี้มาพัฒนารูปแบบให้เป็นรูปแบบกราฟิก เน้นความเรียบง่าย โดดเด่น งดงาม จำติดตา

โดยองค์ประกอบของสัญลักษณ์ทั้งหมดนี้ สื่อความหมายถึงถึงบุคคลผู้ศึกษาหาความรู้จากศาสตร์แห่งความเป็นธรรมในสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะสามารถใช้ความรู้ความสามารถเพื่อดำรงความเป็นธรรม ความชอบธรรม ให้เกิดแก่สังคมและมวลมนุษย์[6]

หลักสูตร [7]

ระดับหลักสูตรประกาศนียบัตร ระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท

ประกาศนียบัตรกฎหมายการที่ดินและทรัพย์สิน

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายการที่ดินและทรัพย์สิน (2 ปี) อักษรย่อ ป.กท.[8]

อนุปริญญานิติศาสตร์​

  • หลักสูตรอนุปริญญานิติศาสตร์ อักษรย่อ อนุ น.บ.

นิติศาสตรบัณฑิต​

  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (4 ปี) อักษรย่อ น.บ.
  • หลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง (3 ปี) อักษรย่อ น.บ.[9]

นิติศาสตรมหาบัณฑิต​

  • หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม ′′อักษรย่อ น.ม.
  • หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ อักษรย่อ น.ม.
  • หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกกฎหมายมหาชน อักษรย่อ น.ม.[10]


การศึกษา

ศาลจำลองสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ภายในอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

การศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นการศึกษาในระบบทางไกล โดยนักศึกษาต้องศึกษาทำความเข้าใจจากเอกสารการสอนและสื่อต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยส่งไปให้นักศึกษาทางไปรษณีย์ และจากการเข้าเรียนเสริมจากศูนย์บริการการศึกษาต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดห้องเรียนเฉพาะขึ้นในบางวิชา รวมไปถึงการศึกษาจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น เช่น e-Learning โทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น

จาการที่สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตัดคะแนนผ่านด้วยการสอบไล่ 100% ไม่มีคะแนนเก็บในทุกชุดวิชา และไม่มีการเปิดห้องเรียนตามปกติเหมือนมหาวิทยาลัยปิดและเปิดอื่น ๆ ในประเทศไทย นักศึกษาจึงจำเป็นต้องศึกษาด้วยตนเองจากสื่อที่จำกัด ทำให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้จำเป็นต้องศึกษาเอกสารการสอนและศึกษาเพิ่มเติมให้ครบถ้วนและเข้าใจด้วยตนเองโดยถ่องแท้ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด เพื่อสามารถทำข้อสอบของมหาวิทยาลัยได้

สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีการออกข้อสอบวิชากฎหมาย แตกต่างจากโรงเรียนกฎหมายอื่นในประเทศไทยคือ มีการออกข้อสอบแบบปรนัยในการสอบไล่วิชากฎหมายด้วย โดยตัดคะแนนปรนัย 50% และอัตนัย 50% โดยการออกข้อสอบในภาคปรกติ จะออกข้อสอบแบบตัวเลือก (ปรนัย) 60 ข้อ และข้อสอบแบบเขียนตอบ (อัตนัย) 3 ข้อ (ข้อละ 20 คะแนน) โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนอัตนัยเช่นเดียวกับโรงเรียนกฎหมายทั่วไป (คณะนิติศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ) โดยตัดคะแนนผ่านในชุดวิชานั้น ๆ ที่ 60/100 คะแนน

ไฟล์:Stoulaw.gif
บรรยากาศห้องเรียนศาลจำลอง ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา)

(ในคำวินิจฉัยปัญหาข้อสอบกฎหมาย ในวารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช มีคำแนะนำว่า มีหลายครั้งที่นักศึกษาทำข้อสอบอัตนัยได้คะแนนดี แต่ทำข้อสอบปรนัยไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น ทั้งนี้เนื่องจากข้อสอบปรนัยของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นการออกข้อสอบที่ไม่เน้นออกบทเรียนเฉพาะจุด ไม่ซ้ำซ้อนกับภาคที่ผ่านมา (ออกข้อสอบใหม่หมดในทุกภาค ไม่มีการนำข้อสอบเก่ามาออกใหม่) ทั้งนี้เพื่อการประเมินผลความรู้โดยรวมของนักศึกษา และบ่อยครั้งที่ออกข้อสอบปรนัยในระดับวิเคราะห์และสังเคราะห์ปะปนกันไป[11] ด้วยเหตุนี้จึงอาจทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เน้นเฉพาะการทำข้อสอบอัตนัยเท่านั้นสอบไม่ผ่าน ทั้งที่สามารถทำข้อสอบอัตนัยได้คะแนนดีมาก)

เมื่อใกล้สำเร็จการศึกษา สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะมีการจัดอบรมประสบการณ์วิชาชีพกฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (นนทบุรี) เพื่ออบรมนักศึกษาในด้านฝึกการปฏิบัติการทางกฎหมาย และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การเข้าห้องเรียนศาลจำลอง (โดยมีผู้พิพากษาตัวจริงเป็นผู้พิพากษาศาลจำลอง) เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์จริงในการปฏิบัติการทางกฎหมาย เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยไปใช้จริงได้ในอนาคต

วารสารประจำสาขาวิชา (วารสารคณะ)

หน้าปก "วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช" ​ฉบับพิเศษเล่มที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่​2)

วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นวารสารประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช​ได้ตีพิมพ์วารสารสุโขทัยธรรมาธิราชขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531​เพื่อเป็นวารสารกลางในการลงพิมพ์บทความทางวิชาการ รายงานการวิจัยทางนิติศาสตร์ รวมไปถึงเฉลยและวิเคราะห์ข้อสอบปัญหาข้อกฎหมายที่น่าสนใจที่สาขาวิชานำมาออกเป็นปัญหาข้อสอบในภาคที่ผ่านมา รวมไปถึงการวิจารณ์และแนะนำหนังสือกฎหมายที่น่าสนใจ

ปัจจุบัน วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช แบ่งเป็นวารสารฉบับปกติ และฉบับพิเศษ โดยฉบับปกติตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ในเดือนมิถุนายน และเดือนธันวาคม ส่วนฉบับพิเศษตีพิมพ์เพียงสองฉบับ โดยฉบับพิเศษแรกตีพิมพ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 ฉบับพิเศษที่สองตีพิมพ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 โดยฉบับพิเศษทั้งสองเล่มมีเนื้อหาเกี่ยวกับการแนะนำการศึกษาวิชากฎหมายในแต่ละชุดวิชาของมหาวิทยาลัย และข้อสอบวิชากฎหมายบางส่วนที่สาขาวิชาเคยนำมาออกเป็นข้อสอบประจำภาค รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อสอบที่น่าสนใจอย่างละเอียด[12]

ความร่วมมือทางวิชาการและบริการสังคม

ปัจจุบันสาขาวิชานิติศาสตร์​มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ก่อตั้งศูนย์กฎหมายและสถาบันให้ความรู้ด้านกฎหมายต่าง ๆ เพื่อเป็นการให้ความรู้และเพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ความรู้ในด้านกฎหมายเฉพาะต่าง ๆ แก่สังคมไทย เช่น การจัดตั้งศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา​ (ศกส) [13] โครงการสถาบันศึกษากฎหมายเศรษฐกิจและธุรกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น

เกียรติประวัติ

ไฟล์:ถวายปริญญาบัตร มสธ..jpg
นายกสภามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญานิติศาสตร์บัณฑิตแด่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงเข้าศึกษาในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในปี พ.ศ. 2527 และทรงสำเร็จการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับสอง เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2531 (รุ่นที่ 2) จึงนับว่าเป็นมงคลและเกียรติประวัติยิ่งแก่สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชอย่างหาที่สุดมิได้[14]

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เล่ม ๙๗, ตอน ๔๐, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓, ฉบับพิเศษ หน้า ๕
  2. รายชื่อสถาบันการศึกษาที่เนติบัณฑิตยสภารับรองในปัจจุบัน. จากเว็บไซต์เนติบัณฑิตยสภา
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภา​พ.ศ. ๒๕๐๗, เล่ม ๘๑, ตอน ๓๕ก, ๒๑​เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓, หน้า ๒๔๒
  4. การสมัครสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา. [ออน-ไลน์]. (2552). [ออน-ไลน์]. /แหล่งข้อมูล [1]
  5. ข้อมูลสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  6. นายสมศักดิ์ จุนถาวร เป็นผู้ออกแบบตราประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  7. หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  8. โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๓, เล่ม ๑๑๗, ตอน ๘๗ ก, ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓, หน้า ๑
  10. โครงสร้างหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชานิติศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  11. กิตติพงศ์ หังสพฤกษ์.ผศ.ดร..วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช:วิธีศึกษาวิชากฎหมายและวิธีตอบปัญหาข้อสอบ.นนทบุรี:สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2547
  12. ข้อมูลวารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช. จากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  13. เว็บไซต์หลัก โครงการศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา สาขาวิชานิติศาสตร์​มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  14. พระราชภารกิจด้านการศึกษา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

แหล่งข้อมูลอื่น