ข้ามไปเนื้อหา

ตลก 6 ฉาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตลก 6 ฉาก
ประเภทรายการวาไรตี้ซิตคอม
พัฒนาโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
พิธีกรชูศักดิ์ เอี่ยมสุข
ภาณุพันธ์ ครุฑโต
สุดารัตน์ บุตรพรม
เจริญพร อ่อนละม้าย
พิษณุ นิ่มสกุล
ศิวดล จันทเสวี
นลินทิพย์ เพิ่มภัทรสกุล
ศิลป์ รุจิรวนิช
ดนู ชุตินาวี
ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำเวิร์คพอยท์สตูดิโอ
ความยาวตอน60 นาที (6 มกราคม พ.ศ. 2561 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2565)
บริษัทผู้ผลิตเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
ออกอากาศ
เครือข่ายททบ.5
(21 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557)
ช่องเวิร์คพอยท์
(3 มกราคม พ.ศ. 2558 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2565)
ออกอากาศ21 ตุลาคม พ.ศ. 2550 [ต้องการอ้างอิง] –
26 มีนาคม พ.ศ. 2565
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
หกฉากครับจารย์
ออกอากาศวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน
ช่องเวิร์คพอยท์

ตลก 6 ฉาก เป็นรายการวาไรตี้ผสมละครซิตคอมตลกสั้นจบในตอนมีความกระชับ และปิดท้ายด้วยเกมโชว์ ออกอากาศทุกวันเสาร์ 10:00 - 11:00 น. ทางช่องเวิร์คพอยท์ ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในยุคแรกมีฉากทั้งหมด 6 ฉาก เช่น ฉากโรงพยาบาล, ร้านกาแฟ, ซูเปอร์มาเก็ต, ฟิตเนส เป็นต้น จึงได้ชื่อว่า "ตลก 6 ฉาก" ละครจะเน้นความตลกขบขัน ภายใต้สโลแกนว่า “จะฉากอะไรในชีวิต ก็คิดให้มันเป็นเรื่อง..ตลก”[ต้องการอ้างอิง]

นอกจากนี้ยังเป็นรายการโทรทัศน์รายการแรกของไทยที่ได้รับ เหรียญรางวัลและเกียรติบัตรจาก เวที อินเตอร์เนชั่นแนล เอมี่ อะวอร์ดส รางวัลทางโทรทัศน์ระดับโลก [1]

ในปี 2565 ฉากในรายการจะมีทั้งหมด 9 ฉาก ได้แก่ ออฟฟิศจิตป่วน, ข่าวด่วนชวนยิ้ม, แท็กซี่ฮาเฮ, ร้านเฮียพัน, รถไฟฟ้า, บ้าน, ห้าง, ร้านโยเกิร์ต และรายการวิทยุ แต่ละฉากก็จะมีเนื้อเรื่องที่แตกต่างกันออกไป มีนักแสดงหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันแสดงทุกฉาก หากตอนในฉากใดมีหมายเลขกำกับด้านล่าง แสดงว่าเป็นตอนที่จะมีมากกว่า 1 ช่วงในตอนนั้น ๆ

รูปแบบ

[แก้]

ในยุคแรก เปิดรายการมาพิธีกรจะกล่าวสวัสดีคุณ​ผู้ชมแล้วก็แนะนำแขกรับเชิญประจำสัปดาห์ โดยการร้องเพลงต้อนรับ หลังจากนั้นก็จะมีการคุยกับแขกรับเชิญ แล้วจึงตัดมาเป็นละครซิตคอมสั้นช่วงละ 2 ฉาก (ปัจจุบันจะมีช่วงละ 4 ฉาก และ 6 ฉากในภายหลัง) เมื่อละครจบครบทั้ง 6 ฉาก (หรือ 11 ฉากและ 12 ฉากในภายหลัง) ก็มาถึงช่วงสุดท้ายของรายการ ซึ่งดารารับเชิญจะร่วมเล่นเกมกับพิธีกร (แต่อย่างไรก็ดี ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2553 ถึง 30 ธันวาคม 2553 ทางรายการจะไม่มีแขกรับเชิญมาร่วมรายการ จึงกลายเป็นการแข่งขันเกมของพิธีกรแทน)

โดยช่วงแรกจะไม่มีเพลงบรรเลงเข้าฉากถัดไปจะเป็นผู้บรรยายประกาศชื่อฉากที่จะนำออกอากาศ ต่อมาใน พ.ศ. 2552 มีการใช้เพลงบรรเลงประกอบฉากซึ่งทำนองจะเข้ากับฉากของแต่ละฉาก ต้นปี 2556 มีการดัดแปลงเพลงเข้าฉากเพื่อให้เข้ากับไตเติ้ลใหม่ แต่กลางปีเดียวกันกลายเป็นไตเติ้ลรายการแทน จนกระทั่งปี 2558

ต่อมาในปี 2557 เบรกแรก จะเปิดรายการด้วยละครก่อนต่อด้วยผู้ดำเนินรายการหลัก 10 คนมาต้อนรับผู้ชม และมีประเด็นประจำสัปดาห์มาให้ผู้ดำเนินรายการพูดคุยกัน แล้วส่งผู้ชมไปชมละคร ต่อมาเบรก 2-4 จะเป็นละคร เบรก 5 ที่เป็นการเล่นเกมของผู้ดำเนินรายการ ปิดท้ายด้วยคำคม และช่วงมุกหลุด ที่รวบรวมมุกหลุด ๆ จากละคร หรือมุกที่ไม่ได้มีในละคร

การออกอากาศ

[แก้]

“ตลก 6 ฉาก” เดิมออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.00 น. ทางช่อง 5 เริ่มครั้งแรก 21 ตุลาคม 2550[ต้องการอ้างอิง] ต่อมารายการนี้มีการเปลี่ยนแปลงเวลาออกอากาศมาเป็นทุกวันเสาร์ ช่อง 5 เวลา 14.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป และเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 ละครก็หลุดออกจากผังช่อง 5 พร้อมรายการอื่นในเครืออีก 4 รายการเนื่องจากความผิดพลาดในการสื่อสารและประสานงานกันของบริษัทกับสถานี[2] โดยตอนสุดท้ายออกอากาศเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ใน พ.ศ. 2552 กลับมาออกอากาศอีกครั้งที่ช่อง 5 เช่นเดิม ทุกวันศุกร์ เวลา 23.00 น. เป็นต้นไป เริ่มออกอากาศ 24 เมษายน พ.ศ. 2552[3] เพื่อทดแทนรายการแฟนพันธุ์แท้

ใน พ.ศ. 2553 ตั้งแต่เทปวันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 จะย้ายวัน และ เวลาออกอากาศไปเป็นวันพฤหัสบดี เวลา 23.30 - 00.10 น. เนื่องจากมีรายการของทางบริษัทฯ คือ SME ตีแตก มาออกอากาศในช่วงเวลาดังกล่าว และ เป็นการแข่งขันอีกรายการของทางบริษัท คือ ล้วงลับตับแตก ซึ่งออกอากาศคนละช่อง แต่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน "ตลก 6 ฉาก" ใน พ.ศ. 2554 เปลี่ยนแปลงเวลาออกอากาศเป็นทุกวันเสาร์เวลา 12.50 น. เริ่มวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 มีการขยับเวลาการออกอากาศจากเดิม 12.50 - 14.00 น. เป็น 13.50 - 15.00 น.(โดยประมาณ) เนื่องจากมีรายการคืนความสุขให้คนในชาติของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ออกอากาศรีรันในช่วง 08.00 น. โดยเริ่มออกอากาศตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 จนถึง ธันวาคม 2557

ใน พ.ศ. 2558 มีการเปลี่ยนแปลงการออกอากาศเป็นทุกวันเสาร์ เวลา 12.00 - 13.30 น. (1 ชั่วโมงครึ่ง) และ ย้ายการออกอากาศจาก ททบ.5 มาเป็น ช่องเวิร์คพอยท์ โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกวันเสาร์ที่ 3 มกราคม 2558 นี้[ต้องการอ้างอิง] เป็นต้นไปและออกอากาศซ้ำอีกครั้งทุกวันจันทร์เวลา 23.00 - 00.30 น.

ใน พ.ศ. 2559 งดออกอากาศจำนวน 1 วัน ในวันที่ 11 มิถุนายน 2559 เนื่องจากมีการรายงานข่าวและถ่ายทอดสดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี พ.ศ. 2559 ผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

ใน พ.ศ. 2560 เฉพาะเทปวันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 รายการ ตลก 6 ฉาก ได้งดออกอากาศจำนวน 1 วัน วันที่ 2 ธันวาคม อยู่ในระหว่างการประกอบพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ โดยจะกลับมาออกอากาศอีกครั้งในวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2560 [4]

ใน พ.ศ. 2561 มีการเปลี่ยนแปลงการออกอากาศเป็นทุกวันเสาร์ เวลา 11.30 - 12.30 น. (60 นาที) โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกวันเสาร์ที่ 6 มกราคม 2561 เป็นต้นไป[5] และงดออกอากาศจำนวน 3 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 18, 25 สิงหาคม และ 1 กันยายน เนื่องจากทางสถานี ถ่ายทอดสดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2018

ใน พ.ศ. 2562 ฉากห้องเรียน ได้ย้ายไปอยู่หกฉากครับจารย์ โดยการเพิ่ม ชูศักดิ์ เอี่ยมสุข และ ตุ๊กกี้ สุดารัตน์ บุตรพรม พร้อมปรับปรุง ห้องเรียนภายใน

ใน พ.ศ. 2565 มีการเปลี่ยนแปลงการออกอากาศให้เร็วขึ้น ในทุกวันเสาร์ จากเดิม 11:30 น. - 12:30 น. มาเป็น 10:00 - 11:00 น. เนื่องจากมีซิทคอม โอมเพี้ยงอาจารย์คง เวลาเดิม 12:00 น. - 13:00 น. (ปัจจุบัน 11:45 น. - 13:00 น.) โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกวันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2565

การยุติการออกอากาศ

[แก้]

วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ท๊อฟฟี่ ศิวดล จันทเสวี นักแสดงนำของตลกหกฉากได้ออกมาโพสต์ภาพความทรงจำ พร้อมข้อความมีใจความสำคัญว่า ตลกหกฉากได้ทำการปิดรายการลงหลังออกอากาศยาวนานถึง 15 ปี โดยตอนสุดท้ายออกอากาศวันที่ 26 มีนาคม 2565[6]

และมีต่อในรายการ "หกฉากครับจารย์" ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.45 - 13.00 น. มีนักแสดง "ตุ๊กกี้ สุดารัตน์ บุตรพรม" รับบท "ครูเพ็ญศรี" และ "โหน่ง ชะชะช่า" เป็นนักแสดงมาจากรายการ ตลก 6 ฉาก มาแสดงรายการนี้ด้วย[7]

นักแสดงและผู้ดำเนินรายการ

[แก้]

ละคร

[แก้]

ฉาก

[แก้]
ฉาก รายละเอียด
ห้องเรียน เหตุการณ์ภายในห้องเรียนมีเหตุการณ์ที่แตกต่างกันไป ปัจจุบันเป็นห้องเรียนของชั้น ม. 6/3 โรงเรียน ต.ล.ก. ที่มีนักเรียนคือ อาร์ต ดะ นุ่น และมีครูเพ็ญศรี วัฒนาวงศ์วานร (ตุ๊กกี้) มาประจำ ไม่ว่าจะวิชาอะไรครูเพ็ญศรีก็มาสอนแทนครูคนอื่นหมด (วิชาหลักคือวิชาเพาะชำ) เช่น พวกวิชาภาษา ก็จะสอนแบบให้เขียนให้อ่านหรือแปลตามตัว จนนักเรียนงงตลอดเวลา หรือมีเหตุการณ์ต่าง ๆ ในห้องเรียน
มหาวิทยาลัย เรื่องราวของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดยจะมีตัวละครและเหตุการณ์แตกต่างกันไปที่โต๊ะสนามไม้หน้าร้านบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า
โชว์รูม เรื่องราวในร้านขายรถยนต์โตโยต้าชัวร์ โดยจะมีลูกค้าหลากหลายประเภทและเหตุการณ์ต่างกันไป
ร้านสะดวกรัก เรื่องของเฮียไฝเจ้าของร้านสะดวกซื้อจอมเจ้าชู้ (โหน่ง) เจ๊หมึก-ภรรยา (โอปอล์) และแป้ง-ลูกจ้าง ของเจ๊หมึกภายในร้าน (พีค) ซึ่งเฮียไฝมักจะหาทางแต๊ะอั๋งแป้งอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ถูกเจ๊หมึกจับได้ทุกครั้งไป และผู้ได้รับผลผระโยชน์ทั้งหมดจากการกระทำของเฮียไฝคือแก๊ป(บอย) ที่เดินเข้าร้านในตอนจบ ต่อมา ฉากนี้ก็ถูกแทนที่ด้วยฉากปั๊มเติมยิ้ม
นางฟ้าฟิตเนส เรื่องของชู (โหน่ง) และดล (ท็อฟฟี่) ซึ่งมาเล่นฟิตเนส โดยมีครูฟ้า (พีค) เป็นเทรนเนอร์ ซึ่งทั้งชูและดลก็พยายามจีบครูฟ้าในทุกตอน แต่ก็ผิดหวังทุกครั้งไป (อนึ่ง ชื่อชูและดลนั้น มาจากชื่อจริงของโหน่งและท๊อฟฟี่) ต่อมา ฉากนี้ก็ถูกแทนที่ด้วยฉากออฟฟิศจิตป่วน แต่ยังคงในองค์ประกอบเดิมทุกอย่าง
สามสาวซาลอน เรื่องของร้านเสริมสวย เดิมทีมีเจ๊น้อยโหน่ง (โหน่ง) คำหล้า (ซาร่า) และเจ๊แป๋ว (โอปอล์) เป็นเจ้าของร้าน แต่ต่อมาก็มีคุกกี้ (ตุ๊กกี้) มาทำงานแทนเจ๊แป๋ว และบางครั้งก็มีอุ๋ม (พีค) มาทำงานแทนคำหล้า (ในความเป็นจริงคือ มาช่วยสมทบในกรณีที่ซาร่าไม่ได้มาร่วมบันทึกในเทปนั้น ๆ แต่ในเวลาต่อมา มักจะเห็นแต่เจ๊น้อยโหน่ง)
มุมบาร์มุมฮา เรื่องของพนักงานบริษัทสองคนที่เลิกงานแล้ว (พันและบอย) มานั่งดื่มเหล้ากันในบาร์ (ในช่วงที่รายการยังออกอากาศกลางวัน ทั้งคู่จะนั่งดื่มน้ำชากัน)
โมบายป้ายยิ้ม เรื่องราวของพนักงานขายคนหนึ่ง (พัน) ในร้านขายโทรศัพท์มือถือไอโมบายที่คอยบริการลูกค้าหลากหลายประเภท
ICUมหาสนุก เรื่องราวของหมอ (บอย) กับพยาบาลเปิ้ล (ซาร่า) หรือพยาบาลตุ๊ก (ตุ๊กกี้) ในคลินิกแห่งหนึ่ง โดยมีคนไข้เข้ามารับการรักษา แต่มักจะไม่ได้การรักษาที่ถูกต้อง ในอดีต หมอนั้นไม่เคยเรียกชื่อพยาบาลเปิ้ลถูกเลยสักครั้ง
ยิ้มดอตเน็ต เรื่องราวของ กิ๊ก (ตุ๊กกี้) พนักงานให้บริการคนหนึ่งในร้านทรีบรอดแบรนด์ ที่พยายามจีบ ไบร์ท (บอย) พนักงานรักษาความปลอดภัยในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง แต่ก็ล้มเหลวทุกครั้ง ปัจจุบันฉากนี้ถูกแทนด้วยซีนีม่าฮาเฮ
ปั๊มเติมยิ้ม เรื่องภายในปั๊มน้ำมัน G Station โดยมีดำ (โก๊ะตี๋) และแนน (พีค) เป็นเด็กปั๊ม คอยบริการลูกค้าที่มักจะไม่ค่อยปกติ
ฮา อิน วัน เรื่องของสนามกอล์ฟแห่งหนึ่งซึ่งมีเหตุการณ์แตกต่างกันไป
ฮา-บีคิว เรื่องของร้านบาร์บีคิวพลาซ่า ซึ่งมีเหตุการณ์แตกต่างกันไป
ยิ้มติดล้อ เรื่องราวของพนักงานคนหนึ่ง (ท็อฟฟี่) ในโชว์รูมมอเตอร์ไซค์ยามาฮ่าที่คอยบริการลูกค้าที่มีหลากหลายประเภท
เหตุเกิดที่มุมตึก เรื่องราวของโจรอ้วน (โหน่ง) และโจรผอม (บอย) ที่รอปล้นผู้ที่ผ่านไปผ่านมาแถวมุมตึก โดยบางตอนจะมีโก๊ะตี๋และบอลมาร่วมฉากด้วย
ลิฟท์ฮาเฮ เรื่องของพนักงานบริษัทคนหนึ่ง (โก๊ะตี๋) พยายามหาทางเข้าลิฟต์เพื่อขึ้นไปยังชั้นที่ 39 แต่ไม่เคยสำเร็จสักครั้ง (มีเพียงสองครั้งเท่านั้นที่พนักงานสามารถขึ้นลิฟท์ได้ โดยเหลิมขึ้นได้แต่ลิฟท์มีแค่ชั้น 1 ส่วนโก๊ะตี๋สามารถขึ้นได้ถึงชั้น 7 ซึ่งเป็นชั้นที่ทำงานได้สำเร็จ) ฉากนี้จะจบฉากด้วยการสรุปมุกเป็นฉากเดียวที่มีการสรุปมุกในตอนจบ และเป็นฉากที่มีระยะสั้นที่สุด ภายหลังเป็น เหตุการณ์ในลิฟต์แทน
ซีนีม่าฮาเฮ เรื่องราวของฟ้าลั่น (พัน) และฟ้าคราม (ตุ๊กกี้) สามีภรรยาคู่หนึ่ง มีเรื่องราวป่วน ๆ ไม่ปกติในโรงภาพยนตร์ เช่นจับกิ๊ก คิดว่ามีอะไรกันในโรงหนังให้คนอื่นเข้าใจผิด ซ้อมกันในโรงหนัง ปัจจุบันเป็นเรื่องราวของพนักงานต้อนรับลูกค้าสองคน(ท็อฟฟี่) โดยจะมีลูกค้าหลายประเภทและมีเหตุการณ์แตกต่างกันไป
แก๊ก-แพค-เกอร์ เรื่องของร้านกระเป๋าเดินทางแห่งหนึ่ง โดยมีกิ๊ฟหกฉาก เป็นพนักงานขาย โดยจะมีลูกค้าหลายประเภทและมีเหตุการณ์แตกต่างกันไป
คาเฟ่ เดอ ฮา
(เดิมชื่อ แมวมองคอร์เนอร์)
เรื่องราวภายในคอฟฟี่ช็อป (ในอดีตเป็นร้านนม+เบเกอรี่ และในปัจจุบันได้เปลี่ยนกลับมาเป็นร้านนมอีกครั้ง) โดยมีเอ (ท็อฟฟี่) เป็นพนักงานภายในร้าน โดยมีเจนนี่ (โอปอล์) เป็นผู้จัดการคิวงานของดาราต่าง ๆ มานั่งรับประทานกาแฟที่นี่พร้อมพูดคุยเรื่องในวงการบันเทิง ต่อมา เหลือเพียงเอคนเดียวที่ทำงานในร้าน และมีตุ๊กกี้ มารับบทเป็นตัวเองแทนตำแหน่งของโอปอล์
ฮา...โหล เรื่องของร้านโทรศัพท์แห่งหนึ่ง โดยมี ท็อฟฟี่ เป็นพนักงานขายโทรศัพท์ซัมซุง โดยจะต้อนรับลูกค้าหลายประเภท
ลิสซิ่ง สถานการณ์ในแหล่งให้บริการสินเชื่อกรุงไทยธุรกิจลิสซิ่ง โดยจะมีลูกค้าหลากหลายประเภทและมีเหตุการณ์ที่แตกต่างกันไป
ร้านค้าปลอดภาษี เรื่องราวในร้านค้าปลอดภาษีKING POWERภายในสนามบิน โดยจะมีลูกค้าหลากหลายประเภทและมีเหตุการณ์ที่แตกต่างกันไป
ห้องซ้อมดนตรี สถานการณ์ในห้องซ้อมดนตรี โดยมี วง Room 3.50 บาท (รูม สามบาทห้าสิบ) มาซ้อมที่นี่เป็นประจำ วง Room 3.50 บาท มีแขกมากหน้าหลายตามาเยือน พร้อมเรื่องตลกกับดนตรีและเพลง ปัจจุบันกลายเป็นช่วง ตลก 6 บรรเลง
2 min. cooking อร่อย 2 นาที การทำอาหารภายในเวลา 2 นาทีโดยโก๊ะตี๋ และมีดะเป็นผู้ช่วย ซึ่งเมื่อทำเสร็จแล้วมักจะเป็นอาหารที่ดูไม่เป็นอาหารเสียเลย เช่น เป็ดปักกิ่งเป็นการเอากิ่งมาปักบนเป็ด และเอาเป็ดมาจากข้าวหน้าเป็ด ส่วนเครื่องเทศเป็นผักจากต่างประเทศ
ร้านขายรถแทรกเตอร์ เรื่องราวในร้านขายรถแทรกเตอร์คูโบต้า โดยจะมีลูกค้าหลากหลายประเภทและเหตุการณ์ต่างกันไป
ร้านชำสำราญ เรื่องราวในมินิมาร์ทแห่งหนึ่งที่เน้นวางขายโลชั่นและสเปรย์กันยุงซอฟเฟล โดยจะมีลูกค้าหลายประเภทและมีเหตุการณ์แตกต่างกันไป โดยมีฝน นลินทิพย์และท๊อฟฟี่เป็นพนักงาน
เฟอร์ ฟอร์ ฟัน เรื่องราวในร้านคอนเซ็ปต์เฟอร์นิเจอร์โดยจะมีลูกค้าหลายประเภทและมีเหตุการณ์แตกต่างกันไป
ฮามิดไมล์ เรื่องราวในโชว์รูมรถยนต์เชฟโรเลต โดยจะมีลูกค้าหลากหลายประเภทและเหตุการณ์ต่างกันไป
คุกคุก เรื่องราวภายในคุกแห่งหนึ่งที่มีผู้ต้องขังเป็นโจรอ้วน (โหน่ง) และโจรผอม (บอย) เป็นผู้ต้องขังที่จะมีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นภายในคุกหรืออาจมีผู้คุมมาร่วมเหตุการณ์ในบางตอน
ห้างสรรพสินค้า เรื่องราวภายในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งที่แผนกเสื้อผ้าหน้าธนาคารกสิกรไทยก็จะมีลูกค้าที่มาเดินช้อปปิ้งหลากหลายประเภทและมีเหตุการณ์แตกต่างกันไป
ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า เรื่องราวในร้านฮิตาชิ โดยจะมีลูกค้าหลายประเภทและมีเหตุการณ์แตกต่างกันไป
มินิมาร์ท เรื่องราวในเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส โดยจะมีลูกค้าหลายประเภทและมีเหตุการณ์แตกต่างกันไป โดยมีนนท์เป็นพนักงาน
ห้างวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เรื่องราวในห้างโฮมโปร โดยจะมีลูกค้าหลายประเภทที่มาเลือกซื้อสินค้าและมีเหตุการณ์สนุกสนานแตกต่างกันไป
คอลเซ็นเตอร์ เรื่องราวในศูนย์คอลเซ็นเตอร์ของโฮมชอปปิ้ง โดยจะมีเรื่องราวสนุกสนานของลูกค้าที่โทรมาสั่งซื้อสินค้าและพนักงานรับโทรศัพท์ก็จะมีเหตุการณ์แตกต่างกันไป
ร้านเบเกอร์รี่ เรื่องราวในร้านเบเกอร์รี่และกาแฟแห่งหนึ่งที่มีร้าน AIS BUDDY ตั้งอยู่ด้านหน้าร้าน โดยจะมีลูกค้าหลากหลายประเภทและเหตุการณ์ต่างกันไป
ออฟฟิศจิตป่วน เรื่องราวการประชุมภายในออฟฟิศตอนกลางคืน ของบริษัทแห่งหนึ่ง โดยมี บอส (โหน่ง) เดือน-เลขา (ฝน) พรพรรณ (ตุ๊กกี้) ณวัฒน์ (ท็อฟฟี่), แมนเมือง (บอย) บางครั้งจะมี ดุษฏี (โก๋ะตี๋) เข้าประชุม โดยฉากนี้บอสมักจะพูดประโยคว่า ทำไมบริษัทของเรา ถึงไม่เจริญสักที เป็นการเปิดประเด็นปัญหาทุกครั้ง และลงเอยด้วยสาเหตุที่มาจากการกระทำของพนักงาน หรือการกระทำ (ที่ไม่รู้ตัว) ของบอสเสียเอง ในบางครั้งจะมีการมาเยี่ยมพนักงานของ ท่านประธาน (พัน) ที่จะมาแจ้งการแจกเงินโบนัสปลายปีด้วยวิธีแปลก ๆ เช่น การถามคำถามล้อเลียนรายการปริศนาฟ้าแลบ ในชื่อ ปริศนาฟ้าร้องโดยใช้บันไดอะลูมิเนียมแทน"เก้าอี้ล่อฟ้า"ในชื่อว่า"บันไดล่อฝน"
ข่าวด่วนชวนยิ้ม การรายงานข่าวที่ไม่ธรรมดาของสถานีโทรทัศน์ช่อง 6 โดยสุรพันธ์ ชาวบางกะปิ (ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น พัน พลุแตก) (พัน) บางครั้งผู้ประกาศข่าวจะรับบทโดยนักแสดงคนอื่น เช่น โก๊ะตี๋ , นุ้ย EFM, ตุ๊กกี้ หรือ อาร์ต ศิลป์ เป็นต้น และมักจะมาพร้อมกับผู้สนับสนุนรายการซึ่งมีชื่อและสโลแกนที่มาในแนวตลก เช่น มรสุมแอร์ไลน์ หักคานทองทัวร์ ไวน์มองดูวัวบนระเบียง ฯลฯ เป็นต้น
แท็กซี่ฮาเฮ เดิมชื่อคือ เข้าเกียร์ฮา เรื่องของคนขับแท็กซี่ ซึ่งส่วนใหญ่จะนำแสดงโดย พัน พลุแตก ที่ต้องเจอลูกค้าที่ไม่ปกติ หรือเป็นคนขับแท็กซี่ที่ไม่ปกติซะเอง ต่อมามีการนำนักแสดงคนอื่นมาแสดงในฉากนี้เช่นเดียวกันฉากข่าวด่วนชวนยิ้ม
ร้านเฮียพัน เรื่องในร้านขายอาหารตามสั่ง มีเฮียพันและเจ๊หมึก-ภรรยา (พัน) (ตุ๊กกี้) เป็นเจ้าของร้าน ที่ต้องเจอลูกค้าที่ไม่ปกติ หรือเฮียพันไม่ปกติและเจ๊หมึกไม่ปกติที่ชอบบ่นประจำ ต่อมามีการนำนักแสดงคนอื่นมาแสดงในฉากนี้เช่นเดียวกันฉากข่าวด่วนชวนยิ้มและแท็กซี่ฮาเฮ
รถไฟฟ้า เหตุการณ์ภายในขบวนรถไฟฟ้า กับผู้โดยสารหลายรูปแบบ บางครั้งก็มีนิสัย คือ ไม่สมประกอบบ้าง ชอบทำตัวแบบคนไฮโซบ้าง เป็นต้น
โกดัง เหตุการณ์ภายในโกดังแห่งหนึ่ง บางตอนก็จะมีโจรอ้วนและโจรผอม มาร่วมแสดงด้วย
บ้าน เรื่องราวในบ้าน โดยในทุก ๆ ตอนมีการเปลี่ยนตัวละคร
ร้านนมเปรี้ยว เรื่องราวในร้านนมเปรี้ยวดีไลท์แห่งหนึ่ง
ซูเปอร์มาร์เก็ต เรื่องราวในร้านซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต โดยจะมีลูกค้าหลายประเภทและมีเหตุการณ์แตกต่างกันไป
โรงพยาบาลชีวาวาย สถานการณ์ในโรงพยาบาลชีวาวาย
สำนักงานการไฟฟ้า เรื่องราวในสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง โดยจะมีผู้ใช้บริการที่แตกต่างกันไป โดยมีฝ้ายเป็นพนักงาน
ร้านบริการสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ เรื่องราวในแหล่งบริการสินเชื่อเงินด่วน เงินติดล้อแห่งหนึ่ง โดยจะมีผู้ใช้บริการที่แตกต่างกันไปมาสอบถามเรื่องสินเชื่อและมานั่งสนทนาเรื่องราวต่าง ๆ
โรงพยาบาลสัตว์หัดรักษา สถานการณ์ในโรงพยาบาลสัตว์หัดรักษา
วินมอเตอร์ไซค์ เรื่องราวของวินมอเตอร์ไซค์ใจเกินร้อยหน้าปากซอย 6 ที่คนขับวินและผู้โดยสารมักมีเรื่องราวต่าง ๆมาให้ได้สนุกสนาน
เกมเซ็นเตอร์ เรื่องราวในร้านเกมเซ็นเตอร์ โดยจะมีลูกค้าหลากหลายประเภทและเหตุการณ์ต่างกันไป

ช่วงอื่น ๆ

[แก้]
ฉาก รายละเอียด
บัฟฟอลโลว์ (Bufffollow) เป็นช่วงที่ตั๊กกับดะจะมาเล่ามุกตลกแบบฮา ๆ ให้ผู้ชมได้ขำกัน
กูรูวิจารณ์ยับ ช่วงพูดคุย วิจารณ์ วงการฟุตบอลแบบฮา ๆ บางครั้งมีการพากย์บอล นำโดย หน่อง นกรู้ (พัน), เซียนโก๊ะ สตั๊ดไร้ปุ่ม (โก๊ะตี๋), อ่อง เดเคอาร์ต (อาร์ต) และแจ็ค วิลแชร์ (แจ็ค)
SICK STUDIO ช่วงของวง 3.50 ที่จะนำศิลปินชื่อดังมาร้องเพลงของตัวเอง ในสไตล์ของวง 3.50
MINI SERIES (ตั้งแต่ 19 ตุลาคม 2559) เป็นการถ่ายทำนอกสถานที่ โดยจะมีเหตุการณ์และสถานที่ต่างกันไป
ตลก 6 บรรทัด เป็นช่วงอ่านมุกจากทางบ้านโดยพิธีกรตลก 6 ฉากที่มีความยาว 6 บรรทัด มุกไหนที่คัดเลือกออกอากาศจะได้เสื้อไป
ตลก 6 บรรเลง ช่วงของวง 3.50 ที่จะมาแนะนำเพลงที่เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ปัจจุบันกลายเป็นช่วง SICK STUDIO

ตัวละคร

[แก้]

ตัวละครประจำ

[แก้]
  • พนักงานออฟฟิศ บอส, พรพรรณ, แมนเมือง, ณวัฒน์, เดือน และดุษฎี (รับบทโดย โหน่ง, ตุ๊กกี้, บอย, ท็อฟฟี่, ฝน และโก๊ะตี๋)
  • พัน พลุแตก ผู้ประกาศข่าวรายการข่าวด่วนชวนยิ้ม (รับบทโดย พัน)
  • คุณครูเพ็ญศรี (รับบทโดย ตุ๊กกี้)
  • นักเรียน นุ่น, ดะ, อาร์ต (รับบทโดย นุ่น ไกอา, ดะ, อาร์ต)
  • เฮียพัน (รับบทโดย พัน) และ เจ๊หมึก (รับบทโดย ตุ๊กกี้) ร้านอาหารตามสั่ง
  • บอย หรือ บาส - ทมิฬ หินดำเนิน นักแสดงหนุ่มชื่อดัง ที่แสดงแข็งมาก (รับบทโดย อาร์ต)
  • โจรอ้วน กับ โจรผอม (รับบทโดย โหน่ง และบอย)
  • หน่อง นกรู้ (รับบทโดย พัน), อ่อง เดเคอาร์ต (รับบทโดย อาร์ต) และ เซียนโก๊ะ สตั๊ดไร้ปุ่ม (รับบทโดย โก๊ะตี๋) กูรูวิจารณ์ยับ
  • เจ้าของร้านเกมตู้ (รับบทโดย ดู๋), เซียนเกมตู้ (รับบทโดย กิ๊ก)
  • เจ๊แต๋ม (รับบทโดน ไมล์ยา), ลูกตาล (รับบทโดย ไอซ์)
  • พนักงานปั๊มเติมยิ้ม พี่ดำ และแนน (รับบทโดย โก๊ะตี๋ และพีค)
  • ตา (รับบทโดย โหน่ง) และ ยาย (รับบทโดย ตุ๊กกี้) 2 ตายายที่ส่วนมากมักจะมาในฉาก ซินีม่าฮาเฮ (แต่บางครั้งมักจะมาในฉากต่าง ๆ) เพื่อมาดูหนังแต่มักทำให้โรงหนังเสียหายเพราะด้วยอายุของทั้งคู่

ตัวละครพิเศษ

[แก้]
  • นักสืบโคขุน โพนยางแฟบ (รับบทโดย พัน พลุแตก)

ยอดนักสืบที่มักจะปรากฏตัวในฉากต่าง ๆ เพื่อสืบคดีหรือแม้กระทั่งตามสืบชู้แต่มักจะไม่ประสบความสำเร็จในการสืบ จนมีการทำ ตลก 6 ฉาก ตอนพิเศษ "โคขุน ยอดนักสืบ" ที่จะมีประโยคพูดเปิดตัวว่า เพราะความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น

  • เจมส์ บ๊อง (รับบทโดย ตั๊ก บริบูรณ์) เป็นตัวละครนักสืบที่ปรากฏตัวเฉพาะใน ตลก 6 ฉาก ตอนพิเศษ"โคขุน ยอดนักสืบ"ที่มาเป็นคู่แข่งสืบคดีกับ"โคขุน โพนยางแฟบ"
  • ยักษ์จินนี่ (รับบทโดย โก๊ะตี๋) เป็นยักษ์ที่มักจะปรากฏตัวมาจากตะเกียงหรืออุปกรณ์ในฉากต่าง ๆ เช่น ลิฟต์, เบาะในรถแท็กซี่ เป็นต้น การปรากฏตัวของยักษ์จินนี่มักจะมากับการให้พรกับผู้ที่ให้จินนี่ออกมาแต่สิ่งที่จินนี่ให้มักจะไม่ตรงกับที่ผู้ขอปรารถนา
  • แบค ทีเรีย (รับบทโดย โก๊ะตี๋) ปรากฏตัวเป็นแขกรับเชิญชาวต่างชาติมาสัมภาษณ์ในช่วง "ราตรีสวัสดิ์ประเทศไทย" กับผู้ประกาศข่าว "พัน พลุแตก" ในรายการ "ข่าวด่วนชวนยิ้ม" ที่เข้าใจผิดในพฤติกรรมบางอย่างของคนไทยบางคนแล้วมาชื่นชม เช่น การรับผู้โดยสารของแท๊กซี่และรถตู้, การขับขี่รถยนต์/มารยาทบนท้องถนน, ความล่าช้าของรถไฟ เป็นต้น
  • เด่น (รับบทโดย โก๊ะตี๋) และ เดือน (รับบทโดย ฝน นลินทิพย์) 2 นักขายกับสินค้าหลายอย่าง เช่น แชมพูสบายแฮร์, เครื่องดื่มแป๊บนึง, น้ำยาบ้วนปากอะโลฮ่า ที่จะมาพร้อมกับประโยคขายสินค้าว่า เพราะใช้แล้วดีจึงอยากพูดคำนี้ เจ๋งจริง ๆ เจ๋งจริง ๆ เจ๋งจริง ๆ
  • คุณตุน (รับบทโดย โก๊ะตี๋) เจ้าของธุรกิจที่ชอบแจกโชคให้ผู้บริโภคจากสินค้าต่าง ๆ เช่น ป็อปคอร์น, มะขาม, ข้าวสาร, น้ำชาเขียว

ละครพิเศษ

[แก้]

รัก 6 ฉาก เป็นชื่อรายการตลก 6 ฉากในเทปพิเศษ ออกอากาศในช่วงที่มีการงดรายการบันเทิง เพื่อแสดงความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 13 มกราคม, 20 มกราคม, 8 พฤศจิกายน และ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดย 2 เทปแรก จะมีแขกรับเชิญเทปละ 2 ท่านเป็นชาย 1 คนและหญิง 1 คน โดยรายการตลกหกฉากในชื่อพิเศษนี้จะเป็นเทปที่งดเสียงหัวเราะ งดความสนุกสนาน งดเสียงดนตรี แต่พิธีกรจะพูดคุยกับแขกรับเชิญในเรื่องของความรัก และมีละครสั้นซิตคอม 6 ฉากเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรักล้วน ๆ ทั้งสดใส เหงา เศร้า และสมหวัง เมื่อละครจบครบทั้ง 6 ฉาก พิธีกรก็มีการพูดคุยกับแขกรับเชิญเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนกล่าวปิดรายการ ยกเว้นในเทปวันที่ 8 และ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ที่มีแขกรับเชิญเพียงคนเดียว ได้ร้องเพลงตามปกติก่อนปิดรายการ

เกมโชว์

[แก้]
  • ร้องเพลง - ช่วงสุดท้ายของรายการ จะการร้องเพลงจากแผ่นป้าย แขกรับเชิญจะต้องเลือกแผ่นป้ายที่กำหนดให้ ภายในป้ายจะมีเพลงซ่อนอยู่ เมื่อเลือกแล้วแขกรับเชิญจะต้องร้องเพลงร่วมกับพิธีกร โดยจะมีพิธีกร 1 คนลงไปชี้ตัว เมื่อร้องจบแล้วก็ถึงเวลาสำหรับการให้คะแนนจากท่านผู้ชมในห้องส่งจำนวน 100% ในอดีต ถ้าคะแนนจากท่านผู้ชมมากกว่า 50% ขึ้นไปแขกรับเชิญจะได้รางวัลเครื่องปรับอากาศ แต่ถ้าคะแนนไม่ถึง 50% ก็จะได้รับรางวัลเป็นพัดลมแทน แต่ปัจจุบันจะมีรางวัลเป็นกล้องถ่ายวิดีโอให้หากได้คะแนนจากท่านผู้ชมมากกว่า 50 % (ในภายหลัง ได้เปลี่ยนวิธีแสดงผลคะแนนเป็น O และ X แทน โดย O คือผ่าน X คือไม่ผ่าน)
  • ทายชื่อเพลง - พิธีกรจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ทีม คือทีมของ "พีค-ทอฟฟี่-โก๊ะตี๋" และ "บอย-โหน่ง-ตุ๊กกี้" โดยจะมีพันเข้ามาเป็นกรรมการด้วย ทั้ง 2 ทีมจะส่งตัวแทนออกมาเป่ายิ้งฉุบ เพื่อหาว่าทีมไหนจะได้เล่นก่อน หลังจากนั้น ทางรายการจะเปิดเพลง และแสดงชื่อเพลงบนจอ(โดยไม่มีพยัญชนะ, สระ หรือวรรณยุกต์ใด ๆ) ทีมที่ได้เล่นก่อนจะต้องเลือกแผ่นป้ายว่าสมาชิกคนไหนในทีมจะได้ทายชื่อเพลง (โดยทีมของ พีค-ทอฟฟี่-โก๊ะตี๋ จะได้เลือกแผ่นป้ายหมายเลข 1-3 หรือแผ่นป้ายแถวบน ส่วนทีมของ บอย-โหน่ง-ตุ๊กกี้ จะได้เลือกแผ่นป้ายหมายเลข 4-6 หรือแผ่นป้ายแถวล่าง) เมื่อเลือกแผ่นป้ายแล้ว พิธีกรคนนั้นจะมีสิทธิทายพยัญชนะ,สระ หรือวรรณยุกต์ 1 ตัว หากตัวอักษรที่ทาย มีปรากฏอยู่ในชื่อเพลง จะสามารถเล่นต่อไปได้ แต่หากไม่มีปรากฏในชื่อเพลง อีกทีมหนึ่งจะได้เล่นต่อ โดยจะต้องเลือกแผ่นป้ายใหม่ และได้ฟังเพลงเพิ่ม หากทีมไหนทายชื่อเพลงได้ถูกต้องก่อนจะเป็นฝ่ายชนะไป แต่ถ้าหากทายชื่อเพลงแล้วผิด ทีมนั้นจะแพ้ทันที ซึ่งทีมที่แพ้ จะถูกทำโทษไปในแต่ละอาทิตย์
  • โจรสลัด - แขกรับเชิญจะต้องเลือกแผ่นป้าย 1 แผ่นป้ายจากทั้งหมด 6 แผ่นป้าย โดยด้านหลังแผ่นป้ายจะเป็นรูปใบหน้าของพิธีกรทั้ง 6 คน คือ โหน่ง บอย พีค ทอฟฟี่ โก๊ะตี๋ และ ตุ๊กกี้ เมื่อเปิดออกมาแล้ว เป็นพิธีกรคนใด พิธีกรคนนั้นจะต้องแต่งชุดเป็นโจรสลัด แล้วต้องเข้ามาอยู่ในถังไม้ที่มีช่องเสียบมีดทั้งหมด 10 ช่อง จากนั้นพิธีกรที่เหลือจะต้องมาแข่งเกมกับแขกรับเชิญ ด้วยการเสียบมีดให้โจรสลัด(พิธีกรที่ถูกเลือก)กระเด้งออกจากถังไม้(ถูกสลิงดึงขึ้นไปข้างบน) โดยแขกรับเชิญจะเริ่มต้นเสียบมีดก่อน หากยังไม่กระเด้ง ทีมพิธีกรก็จะได้เสียบมีดต่อไป สลับกันไปเรื่อย ๆ จนโจรสลัดกระเด้งออกมา หากแขกรับเชิญสามารถเสียบมีดแล้วโจรสลัดสามารถกระเด้งออกจากถังไม้ได้ ก็จะได้รับรางวัลจากทางรายการ และตั้งแต่เดือนมีนาคม แขกรับเชิญจะต้องเป็นโจรสลัดด้วย และต้องเลือกพิธีกรเป็นคู่แข่งจากการเลือกแผ่นป้ายทั้ง 6 แผ่นป้าย จากนั้น ทั้งคู่จะต้องอยู่ในถังไม้ โดยทั้งสองถังจะมีช่องเสียบมีดอยู่ 5 ช่อง โดยแขกรับเชิญจะเริ่มเลือกช่องเสียบมีดฝั่งพิธีกรก่อน โดยจะมีพิธีกรที่ไม่ได้เป็นโจรสลัดมาช่วยเสียบมีดให้ หากพิธีกรไม่กระเด้ง พิธีกรที่เป็นโจรสลัดก็จะเลือกเสียบมีดฝั่งแขกรับเชิญสลับกันไป หากโจรสลัดฝั่งใดกระเด้งขึ้นก่อนก็จะแพ้ไป หากเป็นโจรสลัดฝั่งพิธีกรกระเด้งออกจากถังไม้ขึ้นก่อน แขกรับเชิญก็จะชนะและได้รับรางวัลจากทางรายการ
  • แข่งเกมกับ - แขกรับเชิญจะต้องแข่งเกมกับพิธีกรทุกคน (ยกเว้นพันที่จะทำหน้าที่กรรมการ) โดยแขกรับเชิญจะต้องเลือก 1 แผ่นป้ายจากทั้งหมด 6 แผ่นป้าย เพื่อดูว่าจะได้เล่นเกมอะไร และถ้าแขกรับเชิญสามารถทำได้ตามเงื่อนไขที่ทางรายการกำหนด แขกรับเชิญก็จะได้รับของรางวัลจากทางรายการทันทีปัจจุบันนี้เป็นการแข่งเกมของพิธีกรกันเอง
  • พยางค์ปากเอก - แขกรับเชิญและพิธีกรทุกคนจะต้องตอบคำถามในหัวข้อที่กำหนด โดยผลัดกันตอบทีละคน ใครตอบซ้ำ หรือตอบไม่ทันภายใน 3 วินาที จะต้องออกจากการแข่งขัน
    • เงื่อนไข แขกรับเชิญต้องอยู่ในเกมจนถึงรอบ 3 คนสุดท้าย
  • พลุแป้งระเบิด - แขกรับเชิญจะต้องแข่งกับพิธีกรแต่ละคน โดยจะมีพลุกระดาษให้ 2 กระบอก กระบอกหนึ่งบรรจุสายรุ้งกระดาษ อีกกระบอกหนึ่งบรรจุแป้ง ให้แขกรับเชิญและพิธีกรเลือกพลุกระดาษแล้วยิงใส่กัน ใครโดนแป้งจะแพ้ในรอบนั้น
    • เงื่อนไข แขกรับเชิญห้ามโดนแป้งเกิน 2 ครั้ง (หากโดนแป้งครั้งที่ 3 จะถือว่าแพ้ทันที)
  • ใบ้ด้วยภาพ - พิธีกรจะแบ่งเป็น 2 ทีม ทีมละ 5 คน โดยจะจับฉลากคำที่มี 4 พยางค์ โดยให้พิธีกร 4 คน วาดภาพคนละพยางค์ แล้วให้อีกคนทายว่ารวมเป็นคำว่าอะไร ถ้าตอบถูกก็จะชนะ บางครั้งก็มีเสมอกัน
  • ใบ้ไป สองไพเบี้ย - พิธีกรจะแบ่งเป็น 2 ทีม ทีมละ 5 คน โดยจะจับฉลากประโยคชวนมึน โดยให้คนหนึ่งใบ้ อีก 4 คนก็ช่วยกันตอบ หากตอบถูกก็จะชนะไป บางครั้งก็มีเสมอกัน
  • มองหน้าหาเรื่อง - พิธีกรจะแบ่งเป็น 2 ทีม ทีมละ 5 คน โดยจะส่งตัวแทนออกมา 1 คน ให้มานั่งจ้องหน้า และให้พูดอะไรก็ได้ที่เป็นคำถาม ถ้าเผลอตอบ หรือหันหน้าหนี อีกทีมก็จะได้คะแนน ทีมไหนได้คะแนนมากกว่าก็จะชนะไป

อ้างอิง

[แก้]
  1. ตลก 6 ฉาก คว้าเหรียญทอง เอมมี่ อวอร์ด
  2. "เวิร์คพอยท์หลุด 5 รายการ เสี่ยตา แจงเคลียร์ปัญหาแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-15. สืบค้นเมื่อ 2009-03-30.
  3. ""ตลกหกฉาก" กลับมาแล้ว. !!! 24 เมษายนนี้ ที่ช่อง 5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-03. สืบค้นเมื่อ 2009-03-30.
  4. ตลก 6 ฉาก กลับมาอีกครั้งวันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2560 เที่ยงตรง
  5. "ผังรายการเดือนมกราคม 2561". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-19. สืบค้นเมื่อ 2017-12-31.
  6. "ปิดตำนาน 15 ปี "ตลก 6 ฉาก" รายการวาไรตี้ "ซิทคอมตลก" ที่มียอดดูกว่า 200 ล้านวิว". bangkokbiznews. 2022-05-25.
  7. หกฉากครับจารย์ ซิทคอมห้องเรียนสุดฮา เริ่ม 6 ต.ค.นี้

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]