จอม รุ่งสว่าง
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
จอม รุ่งสว่าง | |
---|---|
องคมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง |
ถัดไป | พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน |
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 |
คู่สมรส | พลอากาศตรีหญิง กรนันท์ รุ่งสว่าง |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 16 (ตท.16) โรงเรียนนายเรืออากาศญี่ปุ่น |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ยศ | พลอากาศเอก |
พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2501) เป็นนายทหารชาวไทย อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ,ตุลาการศาลทหารสูงสุด[1] ,อดีตผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน[2] และเป็นองคมนตรี[3]
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พล.อ.อ. จอม หรือที่สื่อมวลชนสายทหารเรียกว่า บิ๊กจอม เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของพล.อ.ท. สุรยุทธ กับนางรัมภา รัศมี รุ่งสว่าง พล.อ.อ. จอมสมรสกับ พล.อ.ต.หญิง กรนันท์ รุ่งสว่าง มีบุตร - ธิดา 3 คน[4]
การศึกษา
[แก้]พล.อ.อ. จอม จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 16 (รุ่นเดียวกับ พล.อ. เฉลิมชัย สิทธิสาท, พล.อ. กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.อ. ธวัช สุกปลั่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก และ พล.ท. ภัทรพล รักษนคร อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก) จากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบันป้องกันประเทศแห่งชาติญี่ปุ่น จนกระทั่งศึกษาจบจึงเดินทางกลับประเทศไทย
การทำงาน
[แก้]ราชการทหาร
[แก้]หลังจากเดินทางกลับประเทศไทย พล.อ.อ. จอม ได้เข้ารับราชการที่กองทัพอากาศจนเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จนกระทั่งวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557 พล.อ.ท. จอม (ยศในสมัยนั้น) และดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารอากาศได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารอากาศสืบต่อจาก พล.อ.อ. ตรีทศ สนแจ้ง ที่ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ[5] โดยได้รับโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศ พลอากาศเอก ในวันเดียวกัน[6] ในช่วงที่ปฏิบัติหน้าที่เสนาธิการทหารอากาศ
พล.อ.อ. จอม ได้รับผิดชอบในการกำกับดูแลการปรับปรุงยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 20 ปีของรัฐบาล จนเป็นยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ฉบับ 20 ปี พ.ศ. 2560 - 2579 โดยยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าวมีนโยบายด้านต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายสู่วิสัยทัศน์ กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค ด้วยความสำเร็จด้านยุทธศาสตร์และการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเสนาธิการทหารอากาศ
พล.อ.อ. จอม ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ คนที่ 24 เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ตลอดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ กองทัพอากาศได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ ความเข้มแข็งของมิติทางไซเบอร์ ตลอดจนวางรากฐานการดำเนินงานในมิติด้านอวกาศ ด้วยแนวทางการ
- "สาน" ต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- "เสริม" ขีดความสามารถเดิมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
- "สร้าง" ความแข้มแข็งในมิติทั้งสาม
โดยมีแนวคิดในการพัฒนาการปฏิบัติงานของกองทัพอากาศว่า "ทหารฉลาดอาวุธฉลาดกลยุทธ์ที่ฉลาดชนะ" ในช่วงเวลาดังกล่าว กองทัพอากาศมีการจัดหาอากาศยานที่มีความทันสมัยเพื่อตอบสนองต่อภารกิจด้านต่าง ๆ ทดแทนอากาศยานที่อายุการใช้งานมาก รวมทั้งการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ และดาวเทียมทางการทหาร ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนากองทัพอากาศสู่อนาคต พล.อ.อ. จอม เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 และได้ส่งมอบการบังคับบัญชาต่อให้ พล.อ.อ. ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศ ท่านต่อไป
ราชการพิเศษ
[แก้]- กรรมการในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2559[7]
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[8]
- กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- ราชองครักษ์เวร[9]
- กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ[10]
- กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ[11]
- กรรมการในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[12]
- ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สโมสรฟุตบอล อินทรีทัพฟ้า แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล เอฟซี
- สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[13]
- กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[14]
- อดีตกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2560[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[18]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[19]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[20]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[21]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[22]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- สิงคโปร์ :
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2561 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 2[25][26]
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2563 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[27]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนและแต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด, เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๒๐๙ ง หน้า ๒, ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๗/๒๕๕๘ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการกํากับดูแลและพัฒนาการบินพลเรือนของประเทศไทย, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๒๑๕ ง หน้า ๔, ๑๑ กันยายน ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี , เล่ม ๑๓๕ ตอน ๒๔๔ ง พิเศษ หน้า ๑, ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ↑ ชีวประวัติ จอม รุ่งสว่าง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง หน้า ๑, ๘ กันยายน ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๘ กันยายน ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖/๒๕๕๙ เรื่อง แก้ไขบุคคลตามองค์ประกอบคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ, เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๒๘๒ ง หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๔๗ ง พิเศษ หน้า ๑, ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งราชองครักษ์เวรและนายตํารวจราชสํานักเวร, เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๙๕ ง หน้า ๑, ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๕๙ ง หน้า ๑, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ นายกมูลนิธิ และคณะกรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์, เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๓๐๔ ง หน้า ๒, ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
- ↑ "ทำเนียบประธานกรรมการมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-04-11.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๗๘ ข หน้า ๒, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๑๕ ง หน้า ๒, ๒๐ สิงหาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๒, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๒, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
- ↑ Ministry of Defence Singapore. MSM(M) Investiture for Royal Thai Air Force Commander-in-Chief Johm Rungswang. เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2561 สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566
- ↑ Republic of Singapore Air force. Royal Thai Air Force Chief Receives Prestigious Military Award เก็บถาวร 2023-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เมื่อ 28 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566
- ↑ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, พิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2562, 3 เมษายน พ.ศ. 2562
- ↑ admin2. "ขอแสดงความยินดีกับท่านองคมนตรี พลอากาศเอกจอม รุ่งสว่าง | สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ U.S. Embassy Bangkok, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มอบเครื่องอิสริยาภรณ์ Legion of Merit (Degree of Commander) ให้แก่ พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง, เมื่อ 16 กันยายน 2563 สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566
ก่อนหน้า | จอม รุ่งสว่าง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง | ผู้บัญชาการทหารอากาศ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561) |
พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- ทหารอากาศชาวไทย
- พลอากาศเอกชาวไทย
- พลอากาศโทชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย
- สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 10