คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 18

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 18
วันที่31 มีนาคม 2565 (2565-03-31)
ที่ตั้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ประเทศไทย
เว็บไซต์awards.komchadluek.net
โทรทัศน์/วิทยุ
เครือข่าย
← 2563 · 2564 · 2565 →

คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 18 เป็นงานประกาศรางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ในครั้งที่ 18 โดยพิจารณาจากผลงานด้านวงการบันเทิงของไทยสาขาต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2564 พิธีการมอบรางวัลมีขึ้นในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 (เดิมกำหนดจัดในวันที่ 29 มีนาคม) ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยในปีนี้ใช้ธีมในการจัดงานว่า "White of Begining" หรือ สีขาวแห่งการเริ่มต้นใหม่[1]

รางวัล[แก้]

คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 18 มีการเพิ่มรางวัลในสาขาต่าง ๆ โดยสาขาละคร/ซีรีส์ ได้เพิ่มรางวัลละครสร้างสรรค์สังคมยอดเยี่ยม ขณะที่รางวัลป็อบปูลาร์โหวต ได้มีการปรับจำนวนเป็น 9 สาขา คือรางวัลเดิมได้แก่ นักร้องเพลงไทยสากลยอดนิยม, ภาพยนตร์ไทยยอดนิยม, นักแสดงชายยอดนิยม, นักแสดงหญิงยอดนิยม และ ละครไทย/ซีรีส์ไทยยอดนิยม และรางวัลใหม่เพิ่มอีก 4 สาขาคือ Influencer สร้างสรรค์สังคมยอดนิยม, Influencer LGBTQ ยอดนิยม, Influencer ยอดนิยม และ คู่จิ้นยอดนิยม[1] ต่อมาได้ยกเลิก 3 รางวัล Infulencer และเปลี่ยนเป็นรางวัล LGBTQ+ ยอดนิยม รวมเป็น 7 รางวัล

รางวัลยอดเยี่ยมจะตัดสินโดยคณะกรรมการ ขณะที่รางวัลป็อบปูลาร์โหวต จะตัดสินจากประชาชนที่ส่งคะแนนผ่านเอสเอ็มเอส (60%), เว็บไซต์คมชัดลึก (25%) และเฟซบุ๊กของคมชัดลึก อวอร์ด (15%) โดยเปิดรับการส่งเสนอชื่อระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และเปิดลงคะแนนรอบสุดท้ายระหว่างวันที่ 17 มกราคม - 18 มีนาคม พ.ศ. 2565

สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัล และผู้ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิง มีดังนี้[2] (ผู้ชนะจะขึ้น ตัวหนา (double-dagger))

ประเภทละครโทรทัศน์และซีรีส์[แก้]

สาขาละครโทรทัศน์และซีรีส์ - ละครโทรทัศน์/ซีรีส์ยอดเยี่ยม
สาขาละครโทรทัศน์และซีรีส์ - ผู้กำกับยอดเยี่ยม
สาขาละครโทรทัศน์และซีรีส์ - นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
สาขาละครโทรทัศน์และซีรีส์ - นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
สาขาละครโทรทัศน์และซีรีส์ - นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
สาขาละครโทรทัศน์และซีรีส์ - นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
สาขาละครโทรทัศน์และซีรีส์ - บทละครยอดเยี่ยม
สาขาละครโทรทัศน์และซีรีส์ - ละคร/ซีรีส์ สร้างสรรค์สังคม

ประเภทภาพยนตร์ไทย[แก้]

สาขาภาพยนตร์ - ภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม
สาขาภาพยนตร์ - ผู้กำกับยอดเยี่ยม
สาขาภาพยนตร์ - นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
สาขาภาพยนตร์ - นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
สาขาภาพยนตร์ - นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
สาขาภาพยนตร์ - นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
สาขาภาพยนตร์ - บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

ประเภทเพลงไทยสากล[แก้]

ศิลปินหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม
ศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม
ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม
ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม
  • HENS ผลงาน "แพนด้า", "มนุษย์อวกาศ (LOST)" (What The Duck)double-dagger
    • 4EVE อัลบั้ม THE FIRST ALBUM, Trick or Treat (XOXO Entertainment)
    • 4MIX ผลงาน "คิดผิด", "Y U COMEBACK" (Khaosan Entertainment (KS GANG))
    • PiXXiE ผลงาน "เด็ด", "มูเตลู" (LIT ENTERTAINMENT)
    • SAMMii ภัคธีมา ชิลเลอร์ ผลงาน "ทานตะวัน", "ปราสาทวังวน", "Plaster" (Universal Music (Thailand))
เพลงยอดเยี่ยม
อัลบั้มยอดเยี่ยม
  • "ANTLV" - AUTTA (กร-อัษฏกร เดชมาก) (YUPP!)double-dagger
    • "I Just Wanna Pen Fan You Dai Bor?" - สิงโต นำโชค (อิสระ)
    • "โลกคู่ขนาน (Isekai)" - D Gerrard (Wayfer Records)
    • "ต่อจากนี้เพลงรักทุกเพลงจะเป็นของเธอเท่านั้น" - No One Else (SpicyDisc)
    • "อิสรภาพ…ไม่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ" - Greasy Cafe (Smallroom)

ป็อบปูลาร์โหวต[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "กลับมาแล้ว "คมชัดลึก อวอร์ด" งานประกาศรางวัลคนบันเทิง จัดขึ้นครั้งที่ 18". Komchadluek Online. 2021-11-29.
  2. "ตัวเต็งมาแน่น! เปิดโผผู้เข้าชิง คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 18". TrueID. 2022-02-25.