ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์
โลโก้ของดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ ในอินเดียและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | |
ประเภท | บริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต |
---|---|
ประเทศต้นทาง | อินเดีย |
พื้นที่ให้บริการ | ในชื่อ ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์: อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ไทย ในชื่อ ฮอตสตาร์: แคนาดา, สิงคโปร์, สหราชอาณาจักร, สหรัฐ |
เจ้าของ | สตาร์อินเดีย |
ประธาน | สุนิล รายาน |
บริษัทแม่ | ดิสนีย์ แผนกจำหน่ายสื่อและบันเทิง |
ยูอาร์แอล | hotstar |
ลงทะเบียน | จำเป็น[a] |
ผู้ใช้ | 34.5 ล้านคน (จ่ายแล้ว; ณ วันที่ 3 เมษายน 2021)[1] ผู้ใช้งาน 300 ล้านคน (พฤษภาคม 2020)[2] |
เปิดตัว | 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 |
สถานะปัจจุบัน | เปิดใช้งาน |
ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ หรือ ดิสนีย์พลัส ฮอตสตาร์ (อังกฤษ: Disney+ Hotstar, Disney Plus Hotstar) เป็นบริการสตรีมมิงวีดิทัศน์ตามคำขอแบบบอกรับสมาชิกที่ดำเนินการโดยแผนกจำหน่ายสื่อและความบันเทิงของเดอะวอลต์ดิสนีย์ เริ่มเปิดเผยแบรนด์ครั้งแรกเมื่อปี 2015 โดยสตาร์อินเดีย ในชื่อ ฮอตสตาร์ (อังกฤษ: Hotstar) โดยเป็นบริการสตรีมมิงที่มีเนื้อหาจากเครือข่ายท้องถิ่น รวมถึงภาพยนตร์ ซีรีส์ทางโทรทัศน์ กีฬาสด และผลงานต้นฉบับ ตลอดจนเนื้อหาที่ได้รับอนุญาตจากบุคคลที่สามในอินเดีย เช่น เอชบีโอ และ โชว์ไทม์ เป็นต้น และท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของบรอดแบนด์เคลื่อนที่ในอินเดีย ฮอตสตาร์ได้กลายเป็นบริการสตรีมมิงที่โดดเด่นในประเทศอย่างรวดเร็ว
หลังจากดิสนีย์เข้าซื้อกิจการทเวนตีเฟิสต์เซนจูรีฟอกซ์ บริษัทแม่ของสตาร์อินเดียเมื่อปี 2019 ดิสนีย์ได้เพิ่มคลังเนื้อหาของแบรนด์สตรีมมิงระดับสากลแห่งใหม่อย่างดิสนีย์+ ลงในฮอตสตาร์ในเดือนเมษายน 2020 ซึ่งรวมถึงผลงานต้นฉบับของดิสนีย์+ และภาพยนตร์และซีรีส์ทางโทรทัศน์จากแบรนด์เนื้อหาหลักของเดอะวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์, ลูคัสฟิล์ม, มาร์เวล, สตาร์ วอร์ส, ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์, เนชั่นแนลจีโอกราฟิก และพิกซาร์ และบริการทั้งหมดได้กลายเป็นตราสินค้าร่วมในชื่อ ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์
นอกอินเดีย บริการดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ ยังดำเนินการในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ซึ่งรวมเนื้อหาความบันเทิงที่ได้รับอนุญาตจากสตูดิโอของบุคคลที่สามในแต่ละประเทศ เข้ากับคลังเนื้อหาของดิสนีย์+ ที่ใหญ่ขึ้นเช่นเดียวกัน ในปี 2021 ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ เตรียมที่จะเปิดตัวในฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม ในปี 2022 ส่วนในแคนาดา สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐ ฮอตสตาร์ ดำเนินการเป็นบริการสตรีมมิงที่กำหนดเป้าหมายเป็นชาวอินเดียในประเทศนั้น ๆ โดยเน้นที่เนื้อหาความบันเทิงและกีฬาในประเทศของสตาร์อินเดีย (โดยที่ดิสนีย์+ ดำเนินการให้บริการแต่เพียงผู้เดียวในตลาดเหล่านี้)
ประวัติ
[แก้]สตาร์อินเดียเปิดตัวฮอตสตาร์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2015 หลังจากพัฒนามา 15 เดือน ตรงกับการแข่งขันคริกเกตชิงแชมป์โลกและอินเดียนพรีเมียร์ลีก ประจำปี 2015 (ซึ่งสตาร์อินเดีย (สตาร์) ได้รับสิทธิ์ในการถ่ายทอดสด) บริการสนับสนุนโฆษณาในขั้นต้นมีคลังเนื้อหามากกว่า 35,000 ชั่วโมง ใน 7 ภาษาประจำภูมิภาค รวมถึงการถ่ายทอดสดกีฬา เช่น ฟุตบอล กาบัดดี และ คริกเก็ต ภายใต้การถ่วงเวลาออกอากาศ ซันเจย์ กัปตา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสตาร์รู้สึกว่า "[เราไม่มี] แพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคชาวอินเดียจะสามารถนำเสนอเนื้อหาคุณภาพสูงและดูแลจัดการได้ นอกเหนือจากยูทูบ" และอธิบายว่าบริการนี้จะดึงดูดคนหนุ่มสาวที่กำลังเติบโตอย่างเด่นชัดที่สุด ข้อมูลประชากรสำหรับผู้ใหญ่ และนำเสนอโฆษณาที่ "ตรงเป้าหมายมาก" เขาคาดว่าภายในปี 2020 บริการนี้สามารถคิดเป็นเกือบหนึ่งในสี่ของรายได้ประจำปีของสตาร์[3][4]
ในเดือนเมษายน 2016 ฮอตสตาร์ได้เปิดตัวระบบบอกรับเป็นสมาชิก โดยเน้นไปที่เนื้อหาระดับสากลและความเป็นไปได้ของเนื้อหากีฬาระดับพรีเมียม บริการนี้เปิดตัวควบคู่ไปกับข้อตกลงใหม่เพื่อดำเนินการกัลบบอหาฉบับไม่ตัดต่อของเอชบีโอบนแพลตฟอร์ม โดยเปิดตัวพร้อมกับรอบปฐมทัศน์ของ มหาศึกชิงบัลลังก์ ซีซั่นที่ 6[5]
การเปิดตัว Jio ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายแอลทีอีโดยเฉพาะในปี 2016 กระตุ้นการเติบโตของบรอดแบนด์เคลื่อนที่ในอินเดีย และได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยหนุนการเติบโตของบริการสตรีมมิงในประเทศ ในขณะที่บริการที่มาจากสหรัฐ เช่น แอมะซอน ไพรม์ วิดีโอ และเน็ตฟลิกซ์ มีการเติบโตในตลาดอินเดีย แต่ฮอตสตาร์ยังคงเป็นบริการสตรีมมิ่งที่โดดเด่น[6] ในเดือนกรกฎาคม 2017 แอพพลิเคชั่นฮอตสตาร์มียอดดาวน์โหลดถึง 300 ล้านครั้ง และได้รับรายงานว่าเป็นแอปสตรีมวิดีโออันดับต้น ๆ ของประเทศ[7][8]
ในเดือนพฤษภาคม 2018 มีรายงานว่าบริการนี้มีผู้ใช้งาน 75–100 ล้านคนต่อเดือน[9] ในเดือนกันยายน 2018 อาจิท โมฮัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของฮอตสตาร์ได้ลาออกจากการเป็นรองประธานและกรรมการผู้จัดการของเฟซบุ๊กสาขาอินเดีย[10] เดือนนั้นมีรายงานว่าบริการดังกล่าวเริ่มมีการปรับโครงสร้างในส่วนความเป็นผู้นำเพื่อให้มีผู้บริหารที่แยกออกจากกันสำหรับบริการสนับสนุนโฆษณาและบริการระดับพรีเมียม และได้รับความช่วยเหลือจากการระดมทุนใหม่จากสตาร์ ยูเอส โฮลดิ้งส์ และยังวางแผนในการเพิ่มการผลิตผลงานต้นฉบับระดับพรีเมียมให้ดียิ่งขึ้นเพื่อแข่งขันกับแอมะซอนและเน็ตฟลิกซ์ ท่ามกลางความกังวลว่าบริการเริ่มประสบสภาวะขาดแคลนเงินสดอย่างรุนแรง[11]
ในปี 2019 บริการนี้มีผู้ใช้งานมากกว่า 150 ล้านคนต่อเดือน ในเดือนมีนาคม 2019 ก่อนอินเดียนพรีเมียร์ลีก 2019 ฮอตสตาร์ได้ย้ายสมาชิกที่มีอยู่ของแผนกีฬาประจำปีทั้งหมดไปยังแผนระดับเริ่มต้นใหม่ที่รู้จักกันในชื่อ "ฮอตสตาร์วีไอพี" มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวเลือกการรับชมในเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงเนื้อหากีฬา (รวมถึงอินเดียนพรีเมียร์ลีก, คริกเกตชิงแชมป์โลก 2019 และฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ) สิทธิ์การเข้าถึงซีรีส์ก่อนออกอากาศทางโทรทัศน์ และซีรีส์ต้นฉบับรูปแบบใหม่ "Hotstar Specials" นอกจากนี้ยังต้องชำระด้วยเงินสด วรุณ ณรัง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์อธิบายว่าข้อเสนอนี้เป็น "คุณค่าที่สร้างขึ้นโดยคำนึงถึงผู้ชมชาวอินเดียเป็นหัวใจสำคัญ[12]
เข้าซื้อกิจการโดยดิสนีย์ และรวมเข้ากับดิสนีย์+
[แก้]สตาร์อินเดียและรวมถึงฮอตสตาร์ถูกซื้อกิจการโดยเดอะวอลต์ดิสนีย์ในปี 2019 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าซื้อกิจการบริษัทแม่ในสหรัฐ ที่มีชื่อว่า ทเวนตีเฟิสต์เซนจูรีฟอกซ์[13][14]
ในระหว่างการประชุมแถลงผลประกอบการ (Earning Call) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 บ็อบ ไอเกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดิสนีย์ประกาศว่าแบรนด์สตรีมมิ่งระดับสากลที่ดิสนีย์เพิ่งเปิดตัวใหม่อย่างดิสนีย์+ รวมถึงผลงานต้นฉบับจะรวมเข้ากับฮอตสตาร์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเปิดตัวโฉมใหม่ในวันที่ 29 มีนาคม 2020 อีเกอร์ระบุด้วยว่าการเปิดตัวบริการซึ่งเดิมกำหนดไว้ในช่วงเริ่มต้นการแข่งขันอินเดียนพรีเมียร์ลีก 2020 จะใช้ประโยชน์จาก "แพลตฟอร์มที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว" และฐานลูกค้าที่มีอยู่ในฮอตสตาร์อย่างคุ้มค่า ทั้งนี้ The Motley Fool อธิบายว่าฮอตสตาร์เป็น "อาวุธลับ" ของดิสนีย์ในตลาด เนื่องจากอยู่ในตำแหน่งที่เด่นอยู่แล้ว[15][13][14]
ฮอตสตาร์เริ่มเปิดตัวบริการใหม่เบื้องต้นสำหรับผู้ใช้บางรายในเดือนมีนาคม แต่เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2020 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 และการเลื่อนฤดูกาลของอินเดียนพรีเมียร์ลีกที่เกี่ยวข้อง ดิสนีย์จึงประกาศเลื่อนการเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบเป็นวันที่ 3 เมษายน[16][17] บริการใหม่นี้เปิดตัวอย่างเป็นทางการด้วย "รอบปฐมทัศน์พรมแดงเสมือนจริง" ของเดอะไลอ้อนคิง และละครชุดของดิสนีย์+ เดอะแมนดาลอเรียน โดยมีนักแสดงจากทั้ง 2 เรื่องเข้าร่วมในการโต้ตอบสดด้วย[18] ราคาของบริการฮอตสตาร์พรีเมียมก็เพิ่มขึ้นจากการเปิดตัวบริการใหม่ดังกล่าว[19]
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม สตาร์อินเดียประกาศว่าจะให้บริการฟรีแก่แรงงานข้ามชาติในสิงคโปร์จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม เพื่อให้ขวัญกำลังใจท่ามกลางผลกระทบจากโควิด-19[20] ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2020 ฮอตสตาร์ได้แต่งตั้งสุนิล รายาน ซึ่งเดิมบริหารกูเกิล เป็นประธานคนใหม่[21]
เนื้อหา
[แก้]อินเดีย
[แก้]บริการนี้ดำเนินการ 2 ระดับ ทั้งบริการฟรีที่มีโฆษณาและระดับการสมัครใช้งาน บริการฟรีที่มีโฆษณาจะรวมถึงการเข้าถึงภาพยนตร์อินเดียและซีรีส์ของสตาร์ที่ผ่านการคัดเลือกหลังจากการออกอากาศทางโทรทัศน์ ส่วนการสมัครสมาชิกดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ วีไอพี มุ่งเน้นไปที่เนื้อหาในประเทศ รวมถึงซีรีส์จากเครือข่ายโทรทัศน์ภาษาอินเดียของสตาร์ และแบนเนอร์ Hotstar Specials การเข้าถึงละครชุดทางโทรทัศน์ของสตาร์อินเดียก่อนฉายรอบปฐมทัศน์ การรายงานข่าวคริกเก็ต ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ[22][23][24] และการเข้าถึงเนื้อหาจากจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล[18] นอกจากนี้ ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ พรีเมียม ยังเพิ่มการเข้าถึงภาพยนตร์และซีรีส์ต่างประเทศ รวมถึงผลงานต้นฉบับของดิสนีย์+ และคลังเนื้อหาหลักของดิสนีย์+ โดยเดอะวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์ และวอลต์ดิสนีย์เทเลวิชัน, ลูคัสฟิล์ม (รวมถึงแฟรนไชส์ สตาร์ วอร์ส), มาร์เวลสตูดิโอส์ และเนชั่นแนล จีโอกราฟิก[18][19] นอกเหนือจากเนื้อหาที่ได้รับอนุญาตจากผู้ให้บริการบุคคลที่สาม[22][23][24]
ผลงานต้นฉบับบางส่วนในช่วงแรก ๆ ของบริการนี้ได้รวมถึงรายการล้อเลียนข่าวในรายการ On Air With AIB และ CinePlay ด้วย ในเดือนมีนาคม 2019 บริการได้เปิดตัวแบรนด์รวบรวมเนื้อหาต้นฉบับระดับพรีเมียมใหม่ Hotstar Specials โดยผลงานที่ผลิตครั้งแรกคือ Roar of the Lion—สารคดี มินิซีรีส์เรื่อง เชนไน ซูเปอร์ คิงส์ ในอินเดียนพรีเมียร์ลีก 2018 ฮอตสตาร์ระบุว่าซีรีส์เหล่านี้จะมีความยาวอย่างน้อย 6 ตอน โดยมีให้บริการใน 7 ภาษาประจำภูมิภาค (เบงกาลี, ฮินดี, กันนาดา, มลยาฬัม, มราฐี, ทมิฬ และ เตลูกู)[25] และเน้นให้บริการ "ละครฟอร์มยักษ์ คุณภาพสูง" นอกจากนี้ฮอตสตาร์ยังร่วมมือกับผู้สร้างภาพยนตร์ชาวอินเดียจำนวนมากในการผลิตซีรีส์ให้กับแบรนด์ดังกล่าว[26][27][28]
ในเดือนธันวาคม 2015 ฮอตสตาร์ได้รับสิทธิ์ในการสตรีมสำหรับซีรีส์ดั้งเดิมของเอชบีโอทั้งในปัจจุบันและในอดีตในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงที่ใหญ่กว่าของสตาร์อินเดียกับเครือข่าย[29] เป็นการบรรลุข้อตกลงที่คล้ายกันกับโชว์ไทม์ ในเดือนกรกฎาคม 2017[30] สิทธิ์ในเนื้อหาใหม่ของโชว์ไทม์ได้ย้ายไปที่ วูท ของ เวียคอม 18 (บริษัทในเครือโชว์ไทม์ผ่านทางบริษัทแม่ เวียคอมซีบีเอส)[31]
ในเดือนตุลาคม 2018 ฮอตสตาร์ร่วมมือกับฮูค เพื่อนำเสนอเนื้อหาและบริการระดับพรีเมียม รวมถึงสิทธิ์ในภาพยนตร์และซีรีส์จากเจ้าของร่วม โซนี่พิคเจอร์สเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และ วอร์เนอร์บราเธอส์ ตลอดจนบริษัทอื่น ๆ ที่เป็นพันธมิตรด้านเนื้อหา[32] ความร่วมมือสิ้นสุดลงหลังจากการชำระบัญชีของฮูคในเดือนเมษายน 2020[33]
ในเดือนมิถุนายน 2020 ฮอตสตาร์ประกาศว่าจะเริ่มฉายภาพยนตร์อินเดียเป็นรอบปฐมทัศน์ในรูปแบบคล้ายกับหนังแผ่น ภายใต้แบนเนอร์ "Disney+ Hotstar Multiplex" เนื่องจากการปิดโรงภาพยนตร์จากผลกระทบของโรคโควิด-19 เริ่มจาก ดิล เบชาร่า ของฟ็อกซ์สตาร์สตูดิโอส์ ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2020 ตามด้วยภาพยนตร์อีก 7 เรื่อง[34]
อินโดนีเซียและมาเลเซีย
[แก้]ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ ในอินโดนีเซียและมาเลเซียให้ความสำคัญกับการเข้าซื้อกิจการในประเทศเป็นอย่างมาก ในอินโดนีเซีย ฮอตสตาร์ได้บรรลุข้อตกลงในการจัดหาเนื้อหากับบริษัทผลิตเนื้อหาในท้องถิ่นหลายแห่ง และยังได้รับการอนุญาตให้เปิดตัวสู่การสตรีมโดยตรงเป็นครั้งแรกด้วย (ซึ่งกำลังวางตลาดในชื่อ "Hotstar Originals" หรือผลงานต้นฉบับของฮอตสตาร์) เพื่อดึงดูดใจชาวฮินดูในท้องถิ่น บริการนี้ยังมีภาพยนตร์ บอลลีวูด ที่มีคำบรรยาย และ/หรือ เสียงพากย์ เป็นภาษาอินโดนีเซียอีกด้วย เช่นเดียวกับมาเลเซียที่ได้บรรลุข้อตกลงกับบริษัทผลิตเนื้อหาในท้องถิ่นหลายแห่งเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ก่อนสตรีมบนแพลตฟอร์มนี้เช่นเดียวกัน[35][36][37]
ประเทศไทย
[แก้]สำหรับประเทศไทย บริษัทผลิตเนื้อหาและผู้แพร่ภาพกระจายเสียงที่ร่วมมือกับดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ ในการนำเนื้อหาในประเทศไทยขึ้นสตรีมในแพลตฟอร์มนี้มีหลายแห่ง จีดีเอช, สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, กันตนา และ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ และยังได้รับลิขสิทธิ์เนื้อหาจากภูมิภาคอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน[38][39] รวมถึงยังมีภาพยนตร์แอนิเมชัน และทีวีแอนิเมชันจาก มิวส์ คอมมิวนิเคชัน ร่วมให้บริการบนแพลตฟอร์มด้วย
กำหนดการฉาย
[แก้]เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2017 สตาร์สปอร์ตส์ ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดอินเดียนพรีเมียร์ลีก โดยมีฮอตสตาร์ทำหน้าที่เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ดิจิทัลระหว่างประเทศ หลังจากนั้นฮอตสตาร์ได้เปิดตัวบริการบอกรับเป็นสมาชิกระหว่างประเทศในแคนาดาและสหรัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บริการเนื้อหาและกีฬาจากประเทศอินเดีย[40] ฮอตสตาร์เปิดตัวในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2018 เพื่อให้ตรงกับเอเชียคัพ 2018[41] เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2019 สตาร์อินเดียได้ยุติการให้บริการช่องรายการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกระหว่างประเทศในสหรัฐ (เช่น สตาร์พลัส) เพื่อมุ่งเน้นความสนใจของคนในภูมิภาคไปที่ฮอตสตาร์[42]
ในเดือนสิงหาคม 2019 บ็อบ ไอเกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดิสนีย์ระบุว่า มีแผนขยายฮอตสตาร์เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้[43] ในเดือนสิงหาคม 2020 มีการประกาศว่าดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ จะเริ่มให้บริการในอินโดนีเซียในวันที่ 5 กันยายน นับเป็นการขยายบริการแบบครบวงจรครั้งแรกนอกอินเดีย[44] เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม สตาร์อินเดียได้ประกาศเปิดตัวฮอตสตาร์ในสิงคโปร์ซึ่งเริ่มให้บริการในวันที่ 1 พฤศจิกายน[45] วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2021 มีรายงานว่าดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ จะเปิดตัวในมาเลเซีย และไทยในปี 2021[46] เริ่มจากมาเลเซียก่อนในวันที่ 1 มิถุนายน[47] ตามด้วยประเทศไทยในวันที่ 30 มิถุนายน[48]
วันฉาย | ประเทศ/ดินแดน | ผู้นำเข้า | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|
11 กุมภาพันธ์ 2015[3] | อินเดีย | None | ปรับปรุงเครื่องหมายการค้าเป็น ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ เมื่อ 3 เมษายน 2020[49] | |
4 กันยายน 2017[40] | แคนาดา | เปิดตัวในชื่อ ฮอตสตาร์ | ||
สหรัฐ | ||||
13 กันยายน 2018[41] | สหราชอาณาจักร | |||
5 กันยายน 2020[44] | อินโดนีเซีย | Telkomsel | เปิดตัวในชื่อ ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ | |
1 พฤศจิกายน 2020[45] | สิงคโปร์ | StarHub | เปิดตัวในชื่อ ฮอตสตาร์ | |
1 มิถุนายน 2021[47] | มาเลเซีย | Astro | เปิดตัวในชื่อ ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ | |
30 มิถุนายน 2021[48] | ไทย | AIS[38] | ||
2023[46] | เวียดนาม | กำลังจะเปิดตัวในชื่อ ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ไม่บังคับในอินเดีย แต่จำเป็นต้องสมัครสมาชิกรายเดือนเพื่อเข้าถึงเนื้อหาเพิ่มเติม
ดูเพิ่ม
[แก้]- ดิสนีย์+
- สตาร์, แบรนด์สตรีมมิ่งที่คล้ายคลึงกันซึ่งดิสนีย์ใช้สำหรับเนื้อหาความบันเทิงทั่วไปในตลาดอื่นๆ ซึ่งให้บริการภายในโครงสร้างพื้นฐานของดิสนีย์+
อ้างอิง
[แก้]- ↑ SN, Vikas (2021-05-14). "Disney+ Hotstar ad revenue plunges amid IPL suspension". The Economic Times. สืบค้นเมื่อ 2021-05-31.
- ↑ "Disney+ Hotstar has about 8 million subscribers". เทคครันช์. 9 April 2020. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
- ↑ 3.0 3.1 Dina, Arzoo (11 February 2015). "With Hotstar, Star India aims to change the way content is consumed in India". Livemint (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2019. สืบค้นเมื่อ 29 May 2019.
- ↑ "Star India's Novi Digital Entertainment bags IPL media rights for whopping Rs 302 crore". Firstpost. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2018. สืบค้นเมื่อ 5 April 2018.
- ↑ "Hotstar launches monthly subscriptions to offer US TV shows & movies". ETTech (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2019. สืบค้นเมื่อ 29 May 2019.
- ↑ Singh, Manish (6 July 2018). "Netflix and Amazon are struggling to win over the world's second-largest internet market". CNBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2019. สืบค้นเมื่อ 29 May 2019.
- ↑ Choudhary, Vidhi (16 July 2017). "Hotstar retains No. 1 spot among video streaming apps in January–June, shows data". Livemint.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2019. สืบค้นเมื่อ 29 May 2019.
- ↑ Laghate, Gaurav (29 December 2017). "Fall in data prices, new users reason for rise in video consumption". The Economic Times. สืบค้นเมื่อ 29 May 2019.
- ↑ Ramachandran, Naman (4 May 2018). "Fox Streaming Service Hotstar Breaks Out in Burgeoning India Market". Variety (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2019. สืบค้นเมื่อ 29 May 2019.
- ↑ "Who is Ajit Mohan, the new Facebook India head- Business News". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2019. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019.
- ↑ "Star India rejigs Hotstar service to drive growth". Economic Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2019. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019.
- ↑ "Star India launches Hotstar VIP OTT featuring premium sport". SportsPro Media. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019.
- ↑ 13.0 13.1 "Disney+ to launch in India through Hotstar on March 29". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-06. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
- ↑ 14.0 14.1 Vena, Danny (10 February 2020). "Disney+ Has a Secret Weapon in India". The Motley Fool (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2020. สืบค้นเมื่อ 9 March 2020.
- ↑ Frater, Patrick (5 February 2020). "Disney Plus To Launch on India's Hotstar". Variety (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2020. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020.
- ↑ Jha, Lata (20 March 2020). "Disney+ Hotstar launch deferred in India". Livemint. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2020. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
- ↑ "Disney+ India launch postponed". TechCrunch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-06. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 Bhushan, Nyay (3 April 2020). "Disney+ Launched in India with "Virtual Red Carpet Premiere" Amid Coronavirus Lockdown". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2020. สืบค้นเมื่อ 3 April 2020.
- ↑ 19.0 19.1 "Disney+ Hotstar Subscription Costs More Than Hotstar Premium: Here's Why". News18. 2 April 2020. สืบค้นเมื่อ 11 March 2021.
- ↑ "Walt Disney Company bringing streaming service to migrant workers in Singapore". Channel NewsAsia. MediaCorp. 4 May 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Ramachandran, Naman (20 June 2020). "India's Disney Plus Hotstar Taps Google's Sunil Rayan as President". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2020. สืบค้นเมื่อ 23 June 2020.
- ↑ 22.0 22.1 "Hotstar Rs 365 VIP subscription: What is it, what does it offer and everything you need to know". India Today. Ist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2019. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019.
- ↑ 23.0 23.1 "Should You Subscribe to Hotstar VIP or Hotstar Premium Ahead of IPL 2019?". News18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2019. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019.
- ↑ 24.0 24.1 Laghate, Gaurav (20 March 2019). "Hotstar launches new subscription pack ahead of IPL". The Economic Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2019. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019.
- ↑ Laghate, Gaurav (15 January 2019). "Hotstar to invest Rs 120 crore in generating original content". The Economic Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2019. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019.
- ↑ "MS Dhoni bared his soul in Roar of the Lion: Kabir Khan". The Indian Express. 12 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
- ↑ "MS Dhoni to feature in Hotstar's docu-drama Roar of the Lion". The Indian Express. 5 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
- ↑ Ramachandran, Naman (14 January 2019). "Hotstar, Fox's Indian Streaming Service, Moves Into Original Content With Big-Name Talent". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2019. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019.
- ↑ "Fox's Star India Strikes Exclusive Deal for HBO Originals". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2019. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019.
- ↑ Choudhary, Vidhi (12 July 2017). "Hotstar to stream shows from CBS's Showtime". Livemint.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2019. สืบค้นเมื่อ 29 May 2019.
- ↑ "Viacom18 launches subscription-based video streaming service 'Voot Select' – ET BrandEquity". ETBrandEquity.com. สืบค้นเมื่อ 11 March 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Frater, Patrick (8 October 2018). "HOOQ Massively Expands India Reach With Hotstar Partnership (EXCLUSIVE)". Variety. สืบค้นเมื่อ 10 July 2020.
- ↑ "Indian Arrowverse Fans Left in the Dark as Hooq Shuts Down". NDTV. 30 April 2020. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ www.ETBrandEquity.com. "Disney+ Hotstar launches Multiplex, to directly release Bollywood films – ET BrandEquity". ETBrandEquity.com. สืบค้นเมื่อ 11 July 2020.
- ↑ Frater, Patrick (7 May 2021). "Disney to Tailor Streaming Content for Competitive Asian Markets After Shuttering Linear Channels". Variety. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
- ↑ Frater, Patrick (10 August 2020). "Local Content Gets Priority as Disney Plus Hotstar Confirms Indonesia Launch". Variety. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
- ↑ Frater, Patrick (3 May 2021). "Disney Plus Hotstar to Launch in Malaysia With Local Content Component". Variety. สืบค้นเมื่อ 4 May 2021.
- ↑ 38.0 38.1 อารีเพิ่มพร, ปณชัย (2021-06-08). "ตลาดสตรีมมิงมีหนาว 'Disney+ Hotstar' ไทยมาแล้ว เริ่มดูได้ 30 มิ.ย. นี้ ค่าสมาชิก 799 บาทต่อปี ใช้ AIS ได้ราคาพิเศษ 35 บาทต่อเดือน". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 2021-07-14.
- ↑ เหล่ารัตนกุล, ศุภกานต์ (2021-06-28). "5 สิ่งที่ควรรู้ก่อนออกโลดแล่นสู่ดินแดน Disney+ Hotstar 30 มิ.ย. นี้". แบไต๋. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
- ↑ 40.0 40.1 "Hotstar Launches Its Premium Service in US and Canada". NDTV Gadgets 360. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2018. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019.
- ↑ 41.0 41.1 "Star India's Hotstar launches in United Kingdom". Economic Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2019. สืบค้นเมื่อ 13 May 2019.
- ↑ Baddhan, Raj (7 December 2018). "Star TV to shutdown television operations in USA". BizAsia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2019. สืบค้นเมื่อ 11 August 2019.
- ↑ "Disney Plans Southeast Asia Expansion for Hotstar". NDTV Gadgets 360. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2019. สืบค้นเมื่อ 7 August 2019.
- ↑ 44.0 44.1 Frater, Patrick (5 August 2020). "Disney Plus Hotstar to Launch in Indonesia in September". Variety. สืบค้นเมื่อ 5 August 2020.
- ↑ 45.0 45.1 Ramachandran, Naman (19 October 2020). "Disney Streaming Platform Hotstar Set For Singapore Launch on StarHub". Variety. สืบค้นเมื่อ 19 June 2021.
- ↑ 46.0 46.1 "Disney+Hotstar expected to end 2021 with 50 million subscribers". indiantelevision.com. 25 February 2021. สืบค้นเมื่อ 25 February 2021.
- ↑ 47.0 47.1 Frater, Patrick (3 May 2021). "Disney Plus Hotstar to Launch in Malaysia With Local Content Component". Variety. สืบค้นเมื่อ 4 May 2021.
- ↑ 48.0 48.1 "Disney+ เตรียมเปิดตัวในไทย 30 มิ.ย.นี้". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2021-07-14.
- ↑ "Disney debuts its streaming service in India". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2020. สืบค้นเมื่อ 3 April 2020.