ข้ามไปเนื้อหา

ขับเจ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขับเจ้ง (ซี่ เจิ้ง)
郤正
เจ้าเมืองปาเส (巴西太守 ปาซีไท่โฉ่ว)[1]
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 273 (273) – ค.ศ. 278 (278)
กษัตริย์สุมาเอี๋ยน
นายอำเภออานหยาง (安陽令 อานหยางลิ่ง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 273 (273)
กษัตริย์สุมาเอี๋ยน
หัวหน้าห้องสมุดหลวง (秘書令 มี่ชูลิ่ง)[2]
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
เจ้าพนักงานห้องสมุดหลวง (秘書郎 มี่ชูหลาง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครเหยี่ยนชือ มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิต278[1]
บุพการี
  • ซี่ อี (บิดา)
อาชีพนักเขียนความเรียง, กวี, ขุนนาง
ชื่อรองลิ่งเซียน (令先)
ชื่อโดยกำเนิดซี่ จฺว่าน (郤纂)
บรรดาศักดิ์กวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว)

ขับเจ้ง (เสียชีวิต ค.ศ. 278) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ซี่ เจิ้ง (จีน: 郤正; พินอิน: Xì Zhèng) ชื่อรอง ลิ่งเซียน (จีน: 令先; พินอิน: Lìngxiān) เป็นนักเขียนความเรียง กวี และขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในช่วงปลายยุคสามก๊กของจีน ต่อมารับราชการเป็นขุนนางในช่วงต้นของราชวงศ์จิ้น

ประวัติช่วงต้น

[แก้]

ขับเจ้งเมื่อแรกเกิดมีชื่อว่าซี่ จฺว่าน (郤纂) เกิดในเมืองเหยี่ยนชือ (偃師) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนาน เมื่อขับเจ้งอยู่ในวัยเด็ก ครอบครัวของขับเจ้งได้ย้ายจากนครลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง) ไปทางตะวันออกเข้าสู่มณฑลเอ๊กจิ๋ว (ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่ง) บิดาของขับเจ้งคือซี่ อี (郤揖) เสียชีวิตขณะที่ขับเจ้งยังอยู่ในวัยเด็ก ขับเจ้งมีพรสวรรค์ในด้านภาษา และศึกษาในด้านประวัติศาสตร์และการปกครองด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ โดยยืมตำราและความเรียงจากปัญญาชนทั่วมณฑลเอ๊กจิ๋ว[2] ขับเจ้งเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานของห้องสมุดหลวง (秘書郎 มี่ชูหลาง) ในที่สุดก็ขึ้นมามีตำแหน่งเป็นหัวหน้าห้องสมุดหลวง (秘書令 มี่ชูลิ่ง) เป็นเวลา 30 ปี

การล่มสลายของจ๊กก๊ก

[แก้]

ขับเจ้งในฐานะหัวหน้าห้องสมุดหลวงเป็นข้าราชการระดับสูงที่มีความยุติธรรมในราชสำนักจ๊กก๊ก ฮุยโฮขันที่ผู้มีอำนาจมีความรู้สึกคลุมเครือต่อขับเข้ง ขับเจ้งจึงสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางการเมืองจากการขึ้นสู่อำนาจของฮุยโฮ[2]

ผลงานที่สำคัญที่่สุดในประวัติศาสตร์ของขับเจ้งคืองานเขียนเอกสารยอมจำนนของเล่าเสี้ยนต่อเตงงายขุนนพลของวุยก๊ก ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ในสามก๊กจี่[3] ขับเจ้งยังคงภักดีต่อเล่าเสี้ยนอย่างสูง และเป็นหนึ่งในสองอดีตข้าราชการระดับสูงของจ๊กก๊กที่ละทิ้งครอบครัวและตามเล่าเสี้ยนไปยังนครหลวงลกเอี๋ยงในช่วงที่จงโฮยก่อกบฏในปี ค.ศ. 264[1] ขับเจ้งเป็นหนึ่งในห้าอดีตข้าราชการของจ๊กก๊กที่ได้รับการตั้งให้มีบรรดาศักดิ์โหว (侯) โดยราชสำนักวุยก๊ก[4]

ในลกเอี๋ยง เล่าเสี้ยนพึ่งพาคำแนะนำของขับเจ้งในเรื่องการวางตัวและความเหมาะสม[1] ในฮั่นจิ้นชุนชิว (漢晉春秋) ของสี จั้วฉื่อ (習鑿齒) ระบุว่าสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่ววุยก๊กเคยถามเล่าเสี้ยนว่าคิดถึงจ๊กก๊กมากแค่ไหน คำตอบที่โด่งดังของเล่าเสี้ยนคือตอบว่าสนุกเกินกว่าจะคิดถึงจ๊กก๊ก ขับเจ้งไปหาเล่าเสี้ยนและแนะนำเล่าเสี้ยนว่าหากสุมาเจียวถามเรื่องนี้อีกครั้ง คำตอบที่เหมาะสมคือให้คร่ำครวญว่าตนถูกแยกจากสุสานของตระกูลไปไกลแค่ไหน[5]

ในปี ค.ศ. 273 ขับเจ้งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองของเมืองปาเส (巴西郡 ปาซีจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางตะวันออกของมณฑลเสวนและทางเหนือของนครฉงชิ่ง[1] ทำให้ขับเจ้งได้กลับไปทางตะวันตกในวัยชรา ผลงานของขับเจ้งมีเพียงเอกสารยอมจำนนของเล่าเสี้ยนถึงเตงงาย และอีกบทความหนึ่งที่หลงเหลือ ทั้งสองงานเขียนปรากฏอยู่ในสามก๊กจี่

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Records of the Three Kingdoms, 42.1041
  2. 2.0 2.1 2.2 Records of the Three Kingdoms, 42.1034
  3. Records of the Three Kingdoms, 33.900
  4. Records of the Three Kingdoms, 33.902
  5. Records of the Three Kingdoms, 33.902 n 1