ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลทีมชาติศรีลังกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Sri Lanka national football team)
ศรีลังกา
ฉายากองทัพทอง
රන් හමුදාව
தங்கப் படை
สมาคมฟุตบอลศรีลังกา
สมาพันธ์ย่อยSAFF (เอเชียใต้)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนแอนดี มอร์ริสัน
กัปตันSujan Perera
ติดทีมชาติสูงสุดArchunan Visvanathan (64)
ทำประตูสูงสุดArchunan Visvanathan (29)[1]
สนามเหย้าSugathadasa Stadium
Colombo Racecourse
รหัสฟีฟ่าSRI
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 204 Steady (4 เมษายน 2024)[2]
อันดับสูงสุด122 (สิงหาคม 1998)
อันดับต่ำสุด207 (ตุลาคม 2022)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติประเทศซีลอนในเครือจักรภพ ซีลอน 0–2 อินเดีย ธงชาติอินเดีย
(โคลัมโบ ซีลอน; 1 มกราคม ค.ศ. 1952)
ชนะสูงสุด
ธงชาติศรีลังกา ศรีลังกา 7–1 ปากีสถาน ธงชาติปากีสถาน
(ไทเป ประเทศไต้หวัน; 4 เมษายน ค.ศ. 2008)
ธงชาติศรีลังกา ศรีลังกา 6–0 ภูฏาน ธงชาติภูฏาน
(ธากา ประเทศบังกลาเทศ; 6 ธันวาคม ค.ศ. 2009)
แพ้สูงสุด
ธงชาติประเทศซีลอนในเครือจักรภพ ซีลอน 1–12 เยอรมนีตะวันออก ธงชาติเยอรมนีตะวันออก
(โคลัมโบ ซีลอน; 12 มกราคม ค.ศ. 1964)[3]
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียใต้
เข้าร่วม13 (ครั้งแรกใน 1993)
ผลงานดีที่สุด1 ชนะเลิศ (1995)
เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 2006)
ผลงานดีที่สุด2 รองชนะเลิศ (2006)

ฟุตบอลทีมชาติศรีลังกา (สิงหล: ශ්‍රී ලංකා පාපන්දු කණ්ඩායම, ทมิฬ: இலங்கை தேசிய கால்பந்து அணி) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศศรีลังกา อยู่ภายใต้การบริหารของฟุตบอลศรีลังกา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลฟุตบอลในประเทศศรีลังกา พวกเขาเป็นสมาชิกฟีฟ่าตั้งแต่ ค.ศ. 1952 และเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งแต่ ค.ศ. 1954 สนามเหย้าของทีมชาติคือสนามกีฬา Sugathadasa ในโคลัมโบ ก่อนหน้านี้ ศรีลังกาเคยใช้ชื่อ ฟุตบอลทีมชาติซีลอน จนถึง ค.ศ. 1972 ซึ่งเป็นปีที่เปลี่ยนชื่อประเทศ[4] อย่างไรก็ตาม ฟุตบอลภายในประเทศศรีลังกายังคงได้รับความนิยมน้อยกว่าคริกเกต

ในฐานะสมาชิกเอเอฟซี ทีมยังไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลกหรือเอเชียนคัพ พวกเขาเคยคว้าแชมป์ภูมิภาคเอเชียใต้ได้ใน ค.ศ. 1995 ต่อมา พวกเขาสามารถผ่านเข้าถึงรอบคัดเลือกรอบที่สองของฟุตบอลโลก 2006 และสามารถคว้ารองแชมป์เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพได้ในปี 2006

ในปี 2014 ซึ่งเป็นการครบรอบ 75 ปีของการก่อตั้งฟุตบอลศรีลังกา ประธานฟีฟ่า เซพพ์ บลัทเทอร์ และประธานเอเอฟซี Sheikh Salman Bin Ibrahim Al Khalifa ได้เดินทางมาเยี่ยมศรีลังกาและทำพิธีเปิดสนามฟุตบอลแห่งใหม่ในเมือง Jaffna บลัทเทอร์กล่าวว่าเขาไม่ค่อยประทับใจในการพัฒนาฟุตบอลในประเทศศรีลังกา และหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะพัฒนากีฬานี้อย่างเพียงพอ[5]

ในการแข่งขันรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก 2018 ศรีลังกาตกรอบแรกด้วยการแพ้ภูฏานทั้งไปและกลับ อย่างไรก็ตาม พวกเขาสามารถเข้าถึงรอบรองชนะเลิศของเอเอฟซีแชลเลนจ์คัพในปี 2015

อ้างอิง[แก้]

  1. László Földesi. "Kasun Nadika Jayasuriya Weerarathne – Goals in International Matches". RSSSF. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2018. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
  2. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  3. "Head to head stats Sri Lanka – GDR". WildStat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2018. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
  4. "Sri Lanka's first international win at football". sundaytimes.lk. The Sundaytimes Sri Lanka. 23 June 2013. สืบค้นเมื่อ 6 February 2017.
  5. "Blatter inaugurates symbolic post-war project in Sri Lanka". fifa.com. FIFA. 2 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2015. สืบค้นเมื่อ 6 February 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ฟุตบอลทีมชาติศรีลังกา ถัดไป
1993 อินเดีย ธงชาติอินเดีย แชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียใต้
(1995 (สมัยแรก))
1997 อินเดีย ธงชาติอินเดีย