บุนเดิสทาค

พิกัด: 52°31′07″N 13°22′34″E / 52.51861°N 13.37611°E / 52.51861; 13.37611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bundestag)
สภาสหพันธ์
(บุนเดิสทาค)

Bundestag
ชุดที่ 20
ประวัติ
สถาปนาค.ศ. 1949
ก่อนหน้าไรชส์ทาค (นาซีเยอรมนี) ค.ศ. 1933–1945
หอประชาชน (เยอรมนีตะวันออก) ค.ศ. 1949–1990
ผู้บริหาร
เบร์เบิล บัส, SPD
ตั้งแต่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2021
โครงสร้าง
สมาชิก736 คน[1]
กลุ่มการเมืองใน
บุนเดิสทาค
ฝ่ายรัฐบาล (417)
  •   SPD (207)
  •   The Greens (118)
  •   FDP (92)

ฝ่ายค้าน (319)

การเลือกตั้ง
ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม (MMP)
การเลือกตั้งสมาชิกบุนเดิสทาคครั้งล่าสุด
26 กันยายน ค.ศ. 2021
การเลือกตั้งสมาชิกบุนเดิสทาคครั้งหน้า
ก่อน ตุลาคม ค.ศ. 2025
ที่ประชุม
อาคารที่ประชุมใหญ่ไรชส์ทาค
เขตมิทเทอ, เบอร์ลิน
 เยอรมนี
เว็บไซต์
www.bundestag.de/en แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
ข้อบังคับ
Rules of Procedure of the German Bundestag and Mediation Committee (ภาษาอังกฤษ)

บุนเดิสทาค (เยอรมัน: Bundestag; แปลว่า สภาสหพันธ์) เป็นสภากลางของประเทศเยอรมนี เป็นสถาบันนิติบัญญัติเดียวที่สมาชิกได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั่วทั้งประเทศ บุนเดิสทาคอาจเทียบได้กับสภาล่างในประเทศที่ใช้ระบบสองสภา เช่น สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ บุนเดิสทาคดำรงอยู่ตามบทบัญญัติหมวดที่สามของกฎหมายพื้นฐานสำหรับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (รัฐธรรมนูญ)[2] ซึ่งบังคับใช้เมื่อ ค.ศ. 1949 เป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่รับช่วงมาจากไรชส์ทาคของนาซีเยอรมนี อย่างไรก็ตาม กฎหมายพื้นฐานไม่ได้บัญญัติว่าประเทศเยอรมนีใช้ระบบสองสภา

บรรดาสมาชิกบุนเดิสทาคคือผู้แทนของประชาชนชาวเยอรมันทั้งปวง ไม่อยู่ใต้อาณัติคำสั่งใด อยู่ใต้มโนธรรมของตนเท่านั้น มีเพียงภาระรายงานเรื่องต่างๆ ต่อประชาชนของตน จำนวนสมาชิกบุนเดิสทาคขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้คือ 598 คน[3] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระบบการชดเชยที่นั่งส่วนขยายเพื่อให้เกิดความเป็นสัดส่วนนั้นทำให้ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกถึง 709 คน ซึ่งถือเป็นบุนเดิสทาคที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา

สมาชิกสภาสหพันธ์มาการเลือกตั้งจัดขึ้นทุกสี่ปีโดยประชาชนเยอรมันที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป[4] การเลือกตั้งนั้นใช้ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมซึ่งผสมผสานระหว่างระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดกับระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อเพื่อให้ขนาดของพรรคต่างๆ ในสภานั้นตรงกับคะแนนเสียงโดยรวมจากคะแนนรวมทั้งประเทศ

บทบาทหน้าที่ของสภาสหพันธ์มีหลายประการ บุนเดิสทาคนั้นถือเป็นสภานิติบัญญัติส่วนกลางของประเทศเยอรมนี โดยเปิดทางให้แต่ละมลรัฐมีส่วนร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติผ่านทาง บุนเดิสราท (คณะมนตรีสหพันธ์) ซึ่งคล้ายกับสภาสูงในระบบสองสภา อย่างไรก็ตาม กฎหมายพื้นฐาน[5]แบ่งแยกอำนาจทั้งสององค์กรออกจากกันโดยสิ้นเชิง แต่ยังคงร่วมมือกันในการตรากฎหมายสำหรับใช้ในระดับสหพันธ์ บุนเดิสทาคยังมีหน้าที่ในการเลือกตั้งฝ่ายบริหาร และยังมีบทบาทในการกำกับการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งการจัดการด้านงบประมาณในระดับสหพันธ์ด้วย

ตั้งแต่การรวมประเทศในปี 1999 ที่ทำการสภาสหพันธ์ตั้งอยู่ที่อาคารไรชส์ทาคในเบอร์ลิน[6] และยังมีสำนักงานย่อยตามอาคารอื่นของรัฐ ทั้งยังมีตำรวจสภาสหพันธ์ (Bundestagspolizei) ซึ่งเป็นตำรวจที่ขึ้นตรงต่อสภา

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Sitzverteilung des 20. Deutschen Bundestages" (ภาษาเยอรมัน). Bundestag.de. 2022-05-30. สืบค้นเมื่อ 2022-11-26. |
  2. มาตรา 38 ถึง 49
  3. Paragraph 1 Section 1 of the Federal Elections Act (Bundeswahlgesetz)
  4. มาตรา 38 วรรค 2 แห่งกฎหมายพื้นฐานสหพันธ์: บุคคลผู้มีอายุถึงสิบแปดปีสามารถใช้สิทธิ์ลงคะแนนได้ บุคคลผู้บรรลุนิติภาวะแล้วสามารถรับเลือกตั้งได้
  5. Grundgesetz für die Bundesrepublik Deutschland (PDF) (23.12.2014 ed.). Bonn: Parlamentarischer Rat. 8 May 1949. สืบค้นเมื่อ 19 June 2016.
  6. "Plenarsaal "Deutscher Bundestag" – The Path of Democracy". www.wegderdemokratie.de (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-11.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

52°31′07″N 13°22′34″E / 52.51861°N 13.37611°E / 52.51861; 13.37611