สภาสามัญชนสหราชอาณาจักร
สภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร House of Commons of the United Kingdom | |
---|---|
สภาชุดที่ 58 | |
![]() | |
ประเภท | |
ประเภท | สภาล่าง เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร |
ผู้บริหาร | |
ประธานสภา | เซอร์ ลินด์เซย์ ฮอยล์ MP ตั้งแต่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 |
นายกรัฐมนตรี | บอริส จอห์นสัน MP (พรรคอนุรักษนิยม) ตั้งแต่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 |
ผู้นำสภาสามัญชน | จาคอบส์ รีส์-มอกก์ MP (พรรคอนุรักษนิยม) ตั้งแต่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 |
ผู้นำฝ่ายค้าน | เซอร์ เคียร์ สตาร์เมอร์ MP (พรรคแรงงาน) ตั้งแต่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562 |
ผู้นำสภาเงา | วาเลรี่ วาซ MP (พรรคแรงงาน) ตั้งแต่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559 |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 650 ที่นั่ง
|
![]() | |
การเลือกตั้ง | |
ระบบการเลือกตั้ง | แบ่งเขตคะแนนสูงสุด |
การเลือกตั้งสมาชิกล่าสุด | การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2562 |
ที่ประชุม | |
![]() | |
พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ | |
เว็บไซต์ | |
House of Commons |
สภาสามัญชน[1] (อังกฤษ: House of Commons) เป็นสภาล่างในรัฐสภาแห่งอังกฤษ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า คณะสามัญชนผู้ทรงเกียรติแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือในที่ประชุมรัฐสภา (the Honourable the Commons of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland in Parliament assembled) ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาสามัญชน หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันมาจากการเลือกตั้งทุกห้าปี ในปัจจุบันมีสมาชิกสภาจำนวน 650 ที่นั่ง จากการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2562 โดยพระราชบัญญัติวาระรัฐสภา ค.ศ. 2011 (Fixed-term Parliament Act 2011) กำหนดให้มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี เพื่อมิให้รัฐบาลใดๆ อาศัยความได้เปรียบจากการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลนั้นๆ โดยหากจะให้มีการเลือกตั้งก่อนกำหนด จะต้องมีการผ่านมติเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสภาก่อน การประชุมสภาจัดขึ้นที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์
ปัจจุบันสภาสามัญชนมีบทบาทมาก เมื่อเทียบกับสภาขุนนาง (House of Lords) อันเป็นสภาสูง ซึ่งมีบทบาทน้อยลงเมื่อเทียบกับอดีต โดยบทบาทของสภาสามัญชนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างครั้งแรกเมื่อปี 1911 จากการตรา "พระราชบัญญัติรัฐสภา ค.ศ. 1911" (Parliament Act 1911) ซึ่งกำหนดให้สภาขุนนางสามารถระงับกฎหมายได้ไม่เกิน 2 ปีเท่านั้น และไม่สามารถระงับกับกฎหมายซึ่งเกี่ยวเนื่องกับงบประมาณและการคลังของประเทศได้ รวมถึงยกเลิกอำนาจวีโต (Veto) ของสภาขุนนาง ต่อกฎหมายใดๆ ต่อมา "พระราชบัญญัติรัฐสภา ค.ศ. 1949" (Parliament Act 1949) ลดระยะเวลาการระงับกฎหมายเหลือเพียง 1 ปีเท่านั้น
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์คำว่า House of Commons