ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศอาร์เจนตินา

พิกัด: 34°S 64°W / 34°S 64°W / -34; -64
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Argentina)

34°S 64°W / 34°S 64°W / -34; -64

สาธารณรัฐอาร์เจนตินา[A]

República Argentina (สเปน)
คำขวัญ"ในเอกภาพและเสรีภาพ"
(สเปน: En unión y libertad)
พื้นที่ของอาร์เจนตินาตั้งอยู่ในสีเขียว พื้นที่ที่อ้างสิทธิ์แต่มิได้ควบคุมอยู่ในสีเขียวอ่อน
พื้นที่ของอาร์เจนตินาตั้งอยู่ในสีเขียว พื้นที่ที่อ้างสิทธิ์แต่มิได้ควบคุมอยู่ในสีเขียวอ่อน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
บัวโนสไอเรส
34°36′S 58°23′W / 34.600°S 58.383°W / -34.600; -58.383
ภาษาราชการสเปน[a]
กลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
(ค.ศ. 2019)[10]
การปกครองสหพันธ์สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
ฆาบิเอร์ มิเลย์
บิกโตเรีย บิยาร์รูเอล
นิโกลัส โปเซ
มาร์ติน เมเนม
โอราซิโอ โรซาติ
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
เอกราช 
จากสเปน
25 พฤษภาคม ค.ศ. 1810
9 กรกฎาคม ค.ศ. 1816
1 พฤษภาคม ค.ศ. 1853
พื้นที่
• รวม
2,780,400 ตารางกิโลเมตร (1,073,500 ตารางไมล์)[B] (อันดับที่ 8)
1.57
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
45,605,826[12] (อันดับที่ 31)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2010
40,117,096[11]
14.4 ต่อตารางกิโลเมตร (37.3 ต่อตารางไมล์)[11] (อันดับที่ 214)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
1.033 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[13] (อันดับที่ 26)
22,997 ดอลลาร์สหรัฐ[13] (อันดับที่ 56)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
444.458 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[13] (อันดับที่ 25)
9,890 ดอลลาร์สหรัฐ[13] (อันดับที่ 53)
จีนี (ค.ศ. 2020)Negative increase 42.9[14][15]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.845[16]
สูงมาก · อันดับที่ 46
สกุลเงินเปโซอาร์เจนตินา ($) (ARS)
เขตเวลาUTC−3 (เวลาในประเทศอาร์เจนตินา)
รูปแบบวันที่วว.ดด.ปปปป (ค.ศ.)
ขับรถด้านขวามือ[c]
รหัสโทรศัพท์+54
โดเมนบนสุด.ar
  1. แม้ว่าภาษาสเปนจะไม่ใช่ภาษาราชการโดยนิตินัย แต่เป็นเพียงภาษาเดียวที่ใช้ในการร่างกฎหมายและเอกสารทางการต่าง ๆ จึงมีสถานะเป็นภาษาราชการโดยพฤตินัย
  2. ชาวอาร์เจนตินาผิวขาวหลายคนสืบเชื้อสายจากหลายชาติในยุโรป อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายสเปนหรืออิตาลีอย่างน้อยส่วนหนึ่งหรือครึ่งหนึ่ง
  3. เริ่มตั้งแต่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1945 แต่รถไฟยังคงขับฝั่งซ้าย

อาร์เจนตินา (อังกฤษและสเปน: Argentina, เสียงอ่านภาษาสเปน: [aɾxenˈtina]) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาร์เจนตินา[A] (อังกฤษ: Argentine Republic; สเปน: República Argentina) เป็นประเทศทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ครอบคลุมพื้นที่ 2,780,400 ตารางกิโลเมตร (1,073,500 ตารางไมล์) นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในทวีปอเมริกาใต้ รองจากบราซิล อันดับที่ 4 ในทวีปอเมริกา และอันดับที่ 8 ของโลก อาร์เจนตินาตั้งอยู่ในภูมิภาคกรวยใต้ร่วมกับชิลีทางทิศตะวันตก และยังมีพรมแดนติดต่อกับโบลิเวียและปารากวัยทางทิศเหนือ บราซิลทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อุรุกวัยและมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ทางทิศตะวันออก และช่องแคบเดรกทางทิศใต้ เป็นสหพันธรัฐที่แบ่งออกเป็น 23 รัฐ กับ 1 นครปกครองตนเองซึ่งก็คือกรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของสหพันธ์และเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ นครปกครองตนเองและรัฐต่าง ๆ มีธรรมนูญเป็นของตนเองแต่อยู่ภายใต้ระบบของสหพันธ์ อาร์เจนตินายังอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกา หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ และเกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิชอีกด้วย

หลักฐานการปรากฏของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในอาร์เจนตินามีอายุย้อนไปได้ถึงยุคหินเก่า[17] จักรวรรดิอินคาขยายอำนาจมาถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศในสมัยก่อนโคลัมบัส ประเทศนี้มีรากฐานมาจากการยึดครองดินแดนเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16[18] ต่อมาอาร์เจนตินาปรากฏขึ้นเป็นรัฐสืบสิทธิ์ของเขตอุปราชแห่งริโอเดลาปลาตา[19] ซึ่งเป็นเขตอุปราชโพ้นทะเลของสเปนที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1776 การประกาศและการต่อสู้เพื่อเอกราช (ค.ศ. 1810–1818) ตามมาด้วยสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมาจนถึง ค.ศ. 1861 ซึ่งลงเอยด้วยการปฏิรูปโครงสร้างประเทศเป็นสหพันธรัฐ จากนั้นประเทศก็ค่อนข้างสงบและมีเสถียรภาพ โดยชาวยุโรป (ส่วนใหญ่เป็นชาวอิตาลีและชาวสเปน) ได้อพยพย้ายถิ่นเข้ามาหลายระลอกและเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางวัฒนธรรมและประชากรไปอย่างสิ้นเชิง ประชากรอาร์เจนตินากว่าร้อยละ 60 มีบรรพชนทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นชาวอิตาลี[20][21][22] และวัฒนธรรมอาร์เจนตินาเกี่ยวโยงกับวัฒนธรรมอิตาลีอย่างมีนัยสำคัญ[23]

ความเจริญรุ่งเรืองที่เพิ่มขึ้นอย่างแทบไม่มีใครเทียบได้ทำให้อาร์เจนตินากลายเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลกเมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[24][25][26] ใน ค.ศ. 1896 จีดีพีต่อหัวของอาร์เจนตินาแซงหน้าจีดีพีต่อหัวของสหรัฐ[27] และอยู่ในสิบอันดับแรกอย่างสม่ำเสมอก่อนถึง ค.ศ. 1920 เป็นอย่างน้อย[28][29] แต่หลังเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 1930 อาร์เจนตินาก็เข้าสู่ภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมืองและความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจที่ผลักประเทศกลับเข้าสู่ภาวะล้าหลัง[30] แม้จะยังคงอยู่ในกลุ่มสิบห้าประเทศที่ร่ำรวยที่สุดเป็นเวลาหลายทศวรรษก็ตาม[24] หลังจากที่ประธานาธิบดีฆวน เปรอน ถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1974 อิซาเบล มาร์ติเนซ เด เปรอน ภริยาและรองประธานาธิบดีของเขาก็ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีก่อนจะถูกโค่นล้มใน ค.ศ. 1976 คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐได้ไล่ล่าและสังหารนักวิจารณ์การเมือง นักเคลื่อนไหว และฝ่ายซ้ายนับพันคนใน "สงครามสกปรก" ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการก่อการร้ายโดยรัฐและการก่อความไม่สงบที่ดำเนินไปจนกระทั่งราอุล อัลฟอนซิน ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1983

อาร์เจนตินาเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ติดอันดับสูงมากในดัชนีการพัฒนามนุษย์ ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับที่ 2 ในลาตินอเมริการองจากชิลี เป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคและยังคงรักษาสถานะเก่าแก่ในฐานะประเทศอำนาจปานกลางในกิจการระหว่างประเทศ[31][32][33] เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในอเมริกาใต้และเป็นสมาชิกของกลุ่ม 15 และกลุ่ม 20 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกก่อตั้งของสหประชาชาติ เครือธนาคารโลก องค์การการค้าโลก ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง ประชาคมรัฐลาตินอเมริกาและแคริบเบียน และองค์การรัฐไอบีโร-อเมริกา

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ประเทศอาร์เจนตินามีพื้นที่ประมาณ 2,736,691 ตารางกิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับทีสองในทวีปอเมริกาใต้ มีขนาดความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ประมาณ 3,900 กิโลเมตร ความกว้างวัดจากส่วนที่กว้างที่สุดกว้างประมาณ 1,400 กิโลเมตร จุดที่สูงที่สุดของประเทศอยู่ที่เขาอากองกากัว ภาคกลางของอาร์เจนตินา จะเป็นพื้นที่ลุ่ม ส่วนทางภาคตะวันตกของประเทศ จะเป็นแนวเทือกเขาแอนดีส ทอดไปตามแนวความสูงของประเทศทั้งประเทศ

การเมืองการปกครอง

[แก้]

ระบบการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

ฝ่ายนิติบัญญัติ

[แก้]

ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วย 2 สภา คือ

  1. วุฒิสภา มีสมาชิก 72 คน มาจากการเลือกตั้งจากแต่ละรัฐและเขตเมืองหลวงสหพันธ์ เขตละ 3 คน มีวาระ 6 ปี
  2. สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 257 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 4 ปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกครึ่งหนึ่งทุกสองปี

ฝ่ายตุลาการ

[แก้]

ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงจำนวน 9 คน โดยได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

[แก้]

อาร์เจนตินากับไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 โดยเป็นประเทศแรกในลาตินอเมริกาและประเทศที่สองในทวีปอเมริกาที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย อาร์เจนตินามีสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ณ กรุงเทพมหานคร และไทยมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบัวโนสไอเรส[34]

อาร์เจนตินาเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของไทยในลาตินอเมริกา รองจากเม็กซิโกและบราซิล ค.ศ. 2016 ไทยและอาร์เจนตินามีปริมาณการค้ารวม 1,541.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคิดเป็นการส่งออกจากไทย 980.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้าของไทยจากอาร์เจนตินา 560.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้ดุลการค้า 420.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าส่งออกที่สำคัญจากไทยไปอาร์เจนตินา ได้แก่ รถยนต์, อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ, เหล็ก, เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ยาง และสินค้านำเข้าที่สำคัญจากอาร์เจนตินา ได้แก่ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (ถั่วเหลืองและกากถั่วเหลือง), สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์, สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป, ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และเคมีภัณฑ์[35]

ใน ค.ศ. 2018 มีนักท่องเที่ยวชาวอาร์เจนตินาเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 44,020 คน[36]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่ประเทศอาร์เจนตินาแสดงรัฐ (พื้นที่สีส้มของหมายเลข 23 แสดงหมู่เกาะฟอล์กแลนด์และดินแดนในทวีปแอนตาร์กติกาที่ประเทศอาร์เจนตินาอ้างสิทธิ์ครอบครอง)

ประเทศอาร์เจนตินาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 23 รัฐ (provincias) และ 1 นครปกครองตนเอง (ciudad autónoma) *

# ธง จังหวัด อักษรย่อ ประชากร[37] เขต ความหนาแน่นของประชากร[37]
1 นครปกครองตนเองบัวโนสไอเรส CF 2,891,082 203 ตารางกิโลเมตร (78 ตารางไมล์) 14,241.8 คนต่อตารางกิโลเมตร (36,886 คนต่อตารางไมล์)
2 รัฐบัวโนสไอเรส BA 15,594,428 307,571 ตารางกิโลเมตร (118,754 ตารางไมล์) 50.7 คนต่อตารางกิโลเมตร (131 คนต่อตารางไมล์)
3 รัฐกาตามาร์กา CT 367,820 102,602 ตารางกิโลเมตร (39,615 ตารางไมล์) 3.6 คนต่อตารางกิโลเมตร (9.3 คนต่อตารางไมล์)
4 รัฐชาโก CC 1,053,466 99,633 ตารางกิโลเมตร (38,469 ตารางไมล์) 10.6 คนต่อตารางกิโลเมตร (27 คนต่อตารางไมล์)
5 รัฐชูบุต CH 506,668 224,686 ตารางกิโลเมตร (86,752 ตารางไมล์) 2.3 คนต่อตารางกิโลเมตร (6.0 คนต่อตารางไมล์)
6 รัฐกอร์โดบา CD 3,304,825 165,321 ตารางกิโลเมตร (63,831 ตารางไมล์) 20.0 คนต่อตารางกิโลเมตร (52 คนต่อตารางไมล์)
7 รัฐกอร์ริเอนเตส CR 993,338 88,199 ตารางกิโลเมตร (34,054 ตารางไมล์) 11.3 คนต่อตารางกิโลเมตร (29 คนต่อตารางไมล์)
8 รัฐเอนเตรริโอส ER 1,236,300 78,781 ตารางกิโลเมตร (30,418 ตารางไมล์) 15.7 คนต่อตารางกิโลเมตร (41 คนต่อตารางไมล์)
9 รัฐฟอร์โมซา FO 527,895 72,066 ตารางกิโลเมตร (27,825 ตารางไมล์) 7.3 คนต่อตารางกิโลเมตร (19 คนต่อตารางไมล์)
10 รัฐฆูฆุย JY 672,260 53,219 ตารางกิโลเมตร (20,548 ตารางไมล์) 12.6 คนต่อตารางกิโลเมตร (33 คนต่อตารางไมล์)
11 รัฐลาปัมปา LP 316,940 143,440 ตารางกิโลเมตร (55,380 ตารางไมล์) 2.2 คนต่อตารางกิโลเมตร (5.7 คนต่อตารางไมล์)
12 รัฐลาริโอฆา LR 331,847 89,680 ตารางกิโลเมตร (34,630 ตารางไมล์) 3.7 คนต่อตารางกิโลเมตร (9.6 คนต่อตารางไมล์)
13 รัฐเมนโดซา MZ 1,741,610 148,827 ตารางกิโลเมตร (57,462 ตารางไมล์) 11.7 คนต่อตารางกิโลเมตร (30 คนต่อตารางไมล์)
14 รัฐมิซิโอเนส MN 1,097,829 29,801 ตารางกิโลเมตร (11,506 ตารางไมล์) 36.8 คนต่อตารางกิโลเมตร (95 คนต่อตารางไมล์)
15 รัฐเนวเกน NQ 550,334 94,078 ตารางกิโลเมตร (36,324 ตารางไมล์) 5.8 คนต่อตารางกิโลเมตร (15 คนต่อตารางไมล์)
16 รัฐริโอเนโกร RN 633,374 203,013 ตารางกิโลเมตร (78,384 ตารางไมล์) 3.1 คนต่อตารางกิโลเมตร (8.0 คนต่อตารางไมล์)
17 รัฐซัลตา SA 1,215,207 155,488 ตารางกิโลเมตร (60,034 ตารางไมล์) 7.8 คนต่อตารางกิโลเมตร (20 คนต่อตารางไมล์)
18 รัฐซานฆวน SJ 680,427 89,651 ตารางกิโลเมตร (34,614 ตารางไมล์) 7.6 คนต่อตารางกิโลเมตร (20 คนต่อตารางไมล์)
19 รัฐซานลุยส์ SL 431,588 76,748 ตารางกิโลเมตร (29,633 ตารางไมล์) 5.6 คนต่อตารางกิโลเมตร (15 คนต่อตารางไมล์)
20 รัฐซานตากรุซ SC 272,524 243,943 ตารางกิโลเมตร (94,187 ตารางไมล์) 1.1 คนต่อตารางกิโลเมตร (2.8 คนต่อตารางไมล์)
21 รัฐซานตาเฟ SF 3,200,736 133,007 ตารางกิโลเมตร (51,354 ตารางไมล์) 24.1 คนต่อตารางกิโลเมตร (62 คนต่อตารางไมล์)
22 รัฐซานเตียโกเดลเอสเตโร SE 896,461 136,351 ตารางกิโลเมตร (52,645 ตารางไมล์) 6.6 คนต่อตารางกิโลเมตร (17 คนต่อตารางไมล์)
23 รัฐติเอร์ราเดลฟูเอโก TF 126,190a 21,263 ตารางกิโลเมตร (8,210 ตารางไมล์)a 5.8 คนต่อตารางกิโลเมตร (15 คนต่อตารางไมล์)a
24 รัฐตูกูมัน TM 1,448,200 22,524 ตารางกิโลเมตร (8,697 ตารางไมล์) 64.3 คนต่อตารางกิโลเมตร (167 คนต่อตารางไมล์)

a ไม่รวมหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ อาร์เจนตินา แอนตาร์กติกา

เศรษฐกิจ

[แก้]

เกษตรกรรม

[แก้]

เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบปัมปัสที่เหมาะสมสำหรับทำเกษตรกรรม ทำให้อาร์เจนตินาเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของอาร์เจนตินาคือถั่วเหลือง ซึ่งอาร์เจนตินาเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับที่ 3 ของโลก นอกจากนี้ยังมีเมล็ดทานตะวัน ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวไรย์ มะนาว องุ่น ถั่วลิสง ชา และแฟลกซ์ โดยนำเมล็ดไปใช้ทำนํ้ามันลินสีดสำหรับละลายหมึกสีและพรมนํ้ามัน นอกจากนี้ยังมีการทำปศุสัตว์เนื่องจากมีภูมิประเทศและอากาศที่เหมาะสม สัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่วัวและแกะ เลี้ยงมากในเกาะติเอร์ราเดลฟูเอโกซึ่งมีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาวและมีอากาศเย็นสบายในฤดูร้อน

การฟื้นฟูเศรษฐกิจ

[แก้]

อาร์เจนตินาประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงที่สุดเมื่อ ค.ศ. 2000–2002 หลังจากเกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี สาเหตุสำคัญมาจากภาวะชะงักงันของเงินทุนต่างประเทศ การขาดดุลการคลัง และดุลการค้า และความพยายามของรัฐบาลที่จะรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐไว้ที่ระดับ 1 เปโซ ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนั้นเศรษฐกิจของอาร์เจนตินายังได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งการระงับการจ่ายหนี้สินต่างประเทศและการลดค่าเงินเปโซ

เศรษฐกิจของอาร์เจนตินาเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลาย ค.ศ. 2002 จนถึงปัจจุบัน โดยมีการขยายตัวของการส่งออกและการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ ทั้งนี้ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกนับตั้งแต่ ค.ศ. 2003 เป็นผลจากการลดค่าเงินเปโซซึ่งทำให้อาร์เจนตินาได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่รัฐบาลอาร์เจนตินาสามารถผลักดันนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่การลดลงของอัตราการว่างงานและการเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าภายในประเทศ

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

การศึกษา

[แก้]

ระบบการศึกษาของอาร์เจนตินาจัดได้ว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดระบบหนึ่งในลาตินอเมริกา หลังจากได้รับเอกราช อาร์เจนตินาได้มีการสร้างระบบการศึกษาแห่งชาติขึ้นมาให้ทัดเทียมกับชาติอื่น ในปัจจุบันมีอัตราการรู้หนังสือร้อยละ 97 และผู้ใหญ่อายุเกิน 20 ปี สามในแปดคนจบการศึกษาระดับมัธยมปลายหรือสูงกว่า

การศึกษาภาคบังคับมีผลใช้ตั้งแต่อายุ 5 ถึง 17 ปี โดยประกอบด้วยการเรียนระดับประถมศึกษาเป็นเวลาหกหรือเจ็ดปี และระดับมัธยมศึกษาเป็นเวลาห้าถึงหกปี ประธานาธิบดีโดมิงโก เฟาส์ติโน เป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในการผลักดันและบังคับใช้ระบบการศึกษาสมัยใหม่แบบไม่คิดค่าเล่าเรียนในอาร์เจนตินา และการปฏิรูปมหาวิทยาลัยใน ค.ศ. 1918 ได้เป็นตัวสร้างรูปแบบมหาวิทยาลัยในระบบสามส่วน (tripartite) ในปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐส่วนใหญ่

ภาษีของประชาชนนั้นครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการศึกษาทั้งหมด ยกเว้นแต่การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา และมีระบบการศึกษาของเอกชนในทุกระดับด้วยเช่นกัน โดยใน ค.ศ. 2006 มีนักเรียนนักศึกษาอยู่ในการศึกษาในระบบประมาณ 11.4 ล้านคน โดยในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย 85 แห่งทั่วประเทศจำนวน 1.5 ล้านคน

นับตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ระบบการศึกษาของภาครัฐในอาร์เจนตินานั้นไม่คิดค่าเล่าเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ส่งผลให้ความต้องการเข้าเรียนนั้นสูงเกินกว่างบประมาณของรัฐ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา) และส่งผลให้สถาบันการศึกษาของเอกชนขยายตัวขึ้น

ทั่วประเทศมีมหาวิทยาลัยรัฐบาล 38 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส มหาวิทยาลัยแห่งชาติกอร์โดบา มหาวิทยาลัยแห่งชาติเดลาปลาตา มหาวิทยาลัยแห่งชาติโรซาริโอ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งชาติจัดได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่สำคัญที่สุด มหาวิทยาลัยของรัฐบาลนั้นไม่คิดค่าเล่าเรียนแก่นักศึกษาทุกคนรวมถึงนักศึกษาต่างชาติด้วย อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยของรัฐบาลนั้นประสบปัญหาการตัดงบประมาณในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 ซึ่งส่งผลให้คุณภาพโดยรวมนั้นลดลง

อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมานี้ รัฐบาลอาร์เจนตินาได้ให้ความสนใจด้านการศึกษามากขึ้น โดยมีการพลิกผันงบประมาณการศึกษาครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ใน ค.ศ. 2009 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ประชากรศาสตร์

[แก้]

เชื้อชาติ

[แก้]
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส พระสันตะปาปาองค์แรกจากโลกใหม่ ประสูติและเติบโตในประเทศอาร์เจนตินา

การประมาณจำนวนประชากรอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2009 ได้ผลว่าอาร์เจนตินามีประชากร 40,134,425 คน จัดเป็นอันดับที่ 3 ในอเมริกาใต้ และอันดับที่ 33 ของโลก โดยมีความหนาแน่นของประชากร 15 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นเฉลี่ยของโลกที่ 50 คนต่อตารางกิโลเมตรเป็นอย่างมาก อัตราการเติบโตของประชากรในปี 2008 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.92 ต่อปี โดยมีอัตราการเกิดมีชีพเฉลี่ย 16.32 คนต่อประชากร 1,000 คน และอัตราการตายอยู่ที่ 7.54 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการอพยพสุทธิอยู่ที่ 0 คนต่อผู้อยู่อาศัย 1,000 คน

อาร์เจนตินามีอัตราการเพิ่มของประชากรต่ำที่สุดประเทศหนึ่งในลาตินอเมริกา และมีอัตราการตายของทารกค่อนข้างต่ำ ค่ามัธยฐานของอายุประชากรอยู่ที่ 30 ปี และอายุขัยอยู่ที่ 76 ปี

ศาสนา

[แก้]

รัฐธรรมนูญอาร์เจนตินารับประกันเสรีภาพทางศาสนา[38] ถึงแม้จะไม่มีการระบุศาสนาประจำชาติไว้[39] แต่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกก็ได้รับสิทธิพิเศษ[40][C]

รายงานจากผลสำรวจของสภาวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคแห่งชาติใน ค.ศ. 2008 ร้อยละ 76.5 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก, ร้อยละ 11.3 นับถืออไญยนิยมและอเทวนิยม, ร้อยละ 9 นับถือโปรเตสแตนต์นิกายอีแวนเจลิคัล, ร้อยละ 1.2 นับถือพยานพระยะโฮวา และร้อยละ 0.9 นับถือมอร์มอน ในขณะที่ร้อยละ 1.2 นับถือศาสนาอื่น เช่น อิสลาม, ยูดาห์, พุทธ[42] ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตัวเลขเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ข้อมูลที่บันทึกใน ค.ศ. 2017 กล่าวว่า ประชากรที่นับถือโรมันคาทอลิกที่เคยมีถึงร้อยละ 66 ของประชากร ลดลงไปร้อยละ 10.5 ในเวลา 9 ปี และผู้ไม่นับถือศาสนาที่เคยมีร้อยละ 21 ของประชากร กลับเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในเวลาเดียวกัน[43]

ประเทศนี้มีทั้งประชากรมุสลิม[41] และยิวมากที่สุดในลาตินอเมริกา โดยกลุ่มหลังมีจำนวนมากเป็นอันดับที่ 7 ของโลก[44]

ชาวอาร์เจนตินามีการสร้างความเป็นตัวตนเฉพาะบุคคลและยกเลิกสถาบันความเชื่อทางศาสนาสูง[45] โดยมีผู้อ้างว่าเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาเสมอร้อยละ 23.8 เคยบางครั้งร้อยละ 49.1 และไม่เคยเลยร้อยละ 26.8[46]

ในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2013 ฆอร์เฆ มาริโอ เบร์โกกลิโอ คาร์ดินัลอัครมุขนายกแห่งบัวโนสไอเรส ได้รับเลือกเป็นบิชอปแห่งโรมและพระสันตะปาปาแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก พระองค์ใช้ชื่อของ "ฟรังซิส" และกลายเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกจากทวีปอเมริกาหรือซีกโลกใต้ พระองค์เป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่มาจากนอกยุโรปนับตั้งแต่สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 3 (ผู้เป็นชาวซีเรีย) ใน ค.ศ. 741[47]

วัฒนธรรม

[แก้]

วัฒนธรรมของอาร์เจนตินาได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากวัฒนธรรมยุโรป กรุงบัวโนสไอเรสเป็นทั้งเมืองหลวงแห่งชาติและเมืองหลวงทางวัฒนธรรม และมีลักษณะเด่นอยู่ตรงที่มีผู้สืบเชื้อสายจากชาวยุโรปอยู่เป็นจำนวนมาก และมีการเลียนแบบสถาปัตยกรรมยุโรป ส่วนอิทธิพลทางวัฒนธรรมอีกแง่หนึ่งมาจากกลุ่มโคบาลเกาโช (gaucho) และวิถีชีวิตของโคบาลในชนบทและวิถีชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง นอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมจากชาวอเมริกันพื้นเมือง (เช่น การดื่มชาเยร์บามาเต) ได้รับการซึมซับเข้ามาอยู่ในวัฒนธรรมทั่วไปของอาร์เจนตินา

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 มาตรา 35 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งชาติอาร์เจนตินาได้รับรองว่า "สหมณฑลริโอเดลาปลาตา", "สาธารณรัฐอาร์เจนตินา" และ "สมาพันธรัฐอาร์เจนตินา" เป็นชื่อทางการอย่างเท่าเทียมกัน และมีการใช้วลี "ชาติอาร์เจนตินา" ในการจัดทำและตรากฎหมาย
  2. ไม่รวมพื้นที่อ้างสิทธิในแอนตาร์กติกา (965,597 ตารางกิโลเมตร รวมหมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์), หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (11,410 ตารางกิโลเมตร), เกาะเซาท์จอร์เจีย (3,560 ตารางกิโลเมตร) และหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช (307 ตารางกิโลเมตร)[11]
  3. ในทางปฏิบัติ สิทธิพิเศษคือเงินอุดหนุนโรงเรียนที่ยกเว้นภาษีและการตั้งค่าใบอนุญาตสำหรับความถี่วิทยุกระจายเสียง[41]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ley No. 5598 de la Provincia de Corrientes, 22 October 2004.
  2. La educación intercultural bilingüe en Santiago del Estero, ¿mito o realidad? [La cámara de diputados de la provincia sanciona con fuerza de ley.] (ภาษาสเปน). Cámara de Diputados de la Nación. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 2021-10-25. Declárase de interés oficial la preservación, difusión, estímulo, estudio y práctica de la lengua Quíchua en todo el territorio de la provincia [..]
  3. Ley No. 6604 de la Provincia de Chaco, 28 July 2010, B.O., (9092).
  4. Enseñanza y desarrollo continuo del idioma galés en la provincia del Chubut. Expresión de beneplácito. Menna, Quetglas y Austin [Teaching and continuous development of the Welsh language in the province of Chubut. Expression of approval. Menna, Quetglas and Austin.] (PDF) (ภาษาสเปน). Cámara de Diputados de la Nación. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 May 2020. สืบค้นเมื่อ 17 December 2019. Declarar de interés de la Honorable Cámara de Diputados de la Nación la enseñanza y desarrollo continuo del idioma galés en la provincia del Chubut [..]
  5. 5.0 5.1 Argentina, World Factbook of CIA.
  6. "Argentina inicia una nueva etapa en su relación con Japón" [Argentina begins a new stage in its relationship with Japan]. Télam (ภาษาสเปน). 21 November 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2 August 2018.
  7. "La comunidad china en el país se duplicó en los últimos 5 años" [The Chinese community in the country doubled in the past 5 years]. Clarín (ภาษาสเปน). 27 September 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2 August 2018.
  8. "국가지표체계" [National Indicator System] (ภาษาเกาหลี). Ministry of Health and Welfare of South Korea. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2 August 2018.
  9. "Censo 2010" [2010 Census] (ภาษาสเปน). National Institute of Statistics and Census of Argentina (INDEC). สืบค้นเมื่อ 10 October 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)แม่แบบ:Pages needed
  10. Mallimac, Fortunato; Giménez Béliveau, Verónica; Esquivel, Juan Cruz; Irrazábal, Gabriela (2019). "Sociedad y Religión en Movimiento. Segunda Encuesta Nacional sobre Creencias y Actitudes Religiosas en la Argentina" (PDF) (ภาษาสเปน). Centro de Estudios e Investigaciones Laborales (CEIL). CONICET. ISSN 1515-7466. สืบค้นเมื่อ 19 November 2019.
  11. 11.0 11.1 11.2 "Población por sexo e índice de masculinidad. Superficie censada y densidad, según provincia. Total del país. Año 2010". Censo Nacional de Población, Hogares y Viviendas 2010 (ภาษาสเปน). Buenos Aires: INDEC – Instituto Nacional de Estadística y Censos. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (XLS)เมื่อ 8 June 2014.
  12. "Argentina Population 2021 (Demographics, Maps, Graphs)".
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 "Argentina". World Economic Outlook Database. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 8 December 2020.
  14. "GINI index (World Bank estimate) – Argentina". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2016. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
  15. "Índice de Gini | Data".
  16. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  17. Abad de Santillán 1971, p. 17.
  18. Crow 1992, p. 128.
  19. Levene 1948, p. 11: "[After the Viceroyalty became] a new period that commenced with the revolution of 1810, whose plan consisted in declaring the independence of a nation, thus turning the legal bond of vassalage into one of citizenship as a component of sovereignty and, in addition, organizing the democratic republic."; Sánchez Viamonte 1948, pp. 196–97: "The Argentine nation was a unity in colonial times, during the Viceroyalty, and remained so after the revolution of May 1810. [...] The provinces never acted as independent sovereign states, but as entities created within the nation and as integral parts of it, incidentally affected by internal conflicts."; Vanossi 1964, p. 11: "[The Argentine nationality is a] unique national entity, successor to the Viceroyalty, which, after undergoing a long period of anarchy and disorganization, adopted a decentralized form in 1853–1860 under the Constitution."
  20. Gordon A. Bridger (2013). Britain and the Making of Argentina. p. 101. ISBN 9781845646844. Some 86% identify themselves as being of European descent, of whom 60% would claim Italian links
  21. Departamento de Derecho y Ciencias Políticas de la Universidad Nacional de La Matanza (14 November 2011). "Historias de inmigrantes italianos en Argentina" (ภาษาสเปน). infouniversidades.siu.edu.ar. Se estima que en la actualidad, el 90% de la población argentina tiene alguna ascendencia europea y que al menos 25 millones están relacionados con algún inmigrante de Italia.
  22. "Italiani nel Mondo: diaspora italiana in cifre" [Italians in the World: Italian diaspora in figures] (PDF) (ภาษาอิตาลี). Migranti Torino. 30 April 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 February 2008. สืบค้นเมื่อ 22 September 2012.
  23. O.N.I. – Department of Education of Argentina เก็บถาวร 15 กันยายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  24. 24.0 24.1 Bolt & Van Zanden 2013.
  25. Díaz Alejandro 1970, p. 1.
  26. Bartenstein, Ben; Maki, Sydney; Gertz, Marisa (11 September 2019). "One Country, Eight Defaults: The Argentine Debacles". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
  27. Hanke, Steve. "Argentina Should Scrap the Peso and Dollarize". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 September 2021.
  28. Bolt, Jutta; Inklaar, Robert; de Jong, Herman; van Zanden, Jan Luiten (2018). Rebasing 'Maddison': new income comparisons and the shape of long-run economic development (2018 ed.). Maddison Project Database. สืบค้นเมื่อ 15 May 2020.
  29. "The tragedy of Argentina – A century of decline". The Economist. สืบค้นเมื่อ 15 May 2020.
  30. "Becoming a serious country". The Economist. London. 3 June 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2014. Argentina is thus not a "developing country". Uniquely, it achieved development and then lost it again.
  31. Wood 1988, p. 18; Solomon 1997, p. 3.
  32. Huntington 2000, p. 6; Nierop 2001, p. 61: "Secondary regional powers in Huntington's view (Huntington, 2000, p. 6) include Great Britain, Ukraine, Japan, South Korea, Pakistan, Saudi Arabia and Argentina."; Lake 2009, p. 55: "The US has created a foundation upon which the regional powers, especially Argentina and Brazil, can develop their own rules for further managing regional relations."; Papadopoulos 2010, p. 283: "The driving force behind the adoption of the MERCOSUR agreement was similar to that of the establishment of the EU: the hope of limiting the possibilities of traditional military hostility between the major regional powers, Brazil and Argentina."; Malamud 2011, p. 9: "Though not a surprise, the position of Argentina, Brazil's main regional partner, as the staunchest opponent of its main international ambition [to win a permanent seat on the UN Security Council] dealt a heavy blow to Brazil's image as a regional leader."; Boughton 2012, p. 101: "When the U.S. Treasury organized the next round of finance meetings, it included several non-APEC members, including all the European members of the G7, the Latin American powers Argentina and Brazil, and such other emerging markets as India, Poland, and South Africa."
  33. Morris 1988, p. 63: "Argentina has been the leading military and economic power in the Southern Cone in the Twentieth Century."; Adler & Greve 2009, p. 78: "The southern cone of South America, including Argentina and Brazil, the two regional powers, has recently become a pluralistic security community."; Ruiz-Dana et al. 2009, p. 18: "[...] notably by linking the Southern Cone's rival regional powers, Brazil and Argentina."
  34. "สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentina)". mfa. 21 มกราคม 2563.
  35. "ข้อมูลประเทศอาร์เจนตินา". กองลาตินอเมริกา. 23 พฤษภาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-25.
  36. "สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentina)". mfa. 21 มกราคม 2563.
  37. 37.0 37.1 "2010 Census provisional results". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-01. สืบค้นเมื่อ 2014-08-15.
  38. Constitution of Argentina, arts. 14, 20.
  39. Fayt 1985, p. 347; Bidart Campos 2005, p. 53.
  40. Constitution of Argentina, art. 2.
  41. 41.0 41.1 "International Religious Freedom Report 2012 – Argentina". Washington, DC: US Department of State. 2012.
  42. Mallimaci, Esquivel & Irrazábal 2008, p. 9.
  43. "Latinobarómetro 1995–2017: El Papa Francisco y la Religión en Chile y América Latina" (PDF) (ภาษาสเปน). January 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2018. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
  44. DellaPergola 2013, p. 50.
  45. Mallimaci, Esquivel & Irrazábal 2008, p. 21.
  46. Mallimaci, Esquivel & Irrazábal 2008, p. 24.
  47. Donadio, Rachel (13 March 2013). "Cardinals Pick Bergoglio, Who Will Be Pope Francis". The New York Times. New York. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2014.

บรรณานุกรม

[แก้]

เอกสารทางกฎหมาย

[แก้]

บทความ

[แก้]

หนังสือ

[แก้]
  • Abad de Santillán, Diego (1971). Historia Argentina (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Tipográfica Editora Argentina.
  • Adler, Emanuel; Greve, Patricia (2009). "When security community meets balance of power: overlapping regional mechanisms of security governance". ใน Fawn, Rick (บ.ก.). Globalising the Regional, Regionalising the Global. Review of International Studies. Vol. 35. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 59–84. ISBN 978-0-521-75988-5.
  • Aeberhard, Danny; Benson, Andrew; Phillips, Lucy (2000). The rough guide to Argentina. London: Rough Guides. ISBN 978-1-85828-569-6.
  • Akstinat, Björn (2013). Handbuch der deutschsprachigen Presse im Ausland (ภาษาเยอรมัน). Berlin: IMH–Verlag. ISBN 978-3-9815158-1-7.
  • Arbena, Joseph. "In Search of the Latin American Female Athlete". In Arbena & LaFrance (2002), pp. 219–232.
  • Arbena, Joseph; LaFrance, David Gerald, บ.ก. (2002). Sport in Latin America and the Caribbean. Lanham, MD: Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-8420-2821-9.
  • Barnes, John (1978). Evita, First Lady: A Biography of Eva Perón. New York: Grove Press. ISBN 978-0-8021-3479-0.
  • Bidart Campos, Germán J. (2005). Manual de la Constitución Reformada (ภาษาสเปน). Vol. I. Buenos Aires: Ediar. ISBN 978-950-574-121-2.
  • Bloom, Harold (1994). The Western Canon: The Books and School of the Ages. New York: Harcourt Brace & Company. ISBN 978-1-57322-514-4.
  • Boughton, James M. (2012). Tearing Down Walls. The International Monetary Fund 1990–1999. Washington, DC: International Monetary Fund. ISBN 978-1-61635-084-0.
  • Calvo, Carlos (1864). Anales históricos de la revolucion de la América latina, acompañados de los documentos en su apoyo. Desde el año 1808 hasta el reconocimiento de la independencia de ese extenso continente (ภาษาสเปน). Vol. 2. Paris: A. Durand.
  • Crooker, Richard A. (2009). Argentina. New York: Infobase Publishing. ISBN 978-1-4381-0481-2.
  • Crow, John A. (1992). The Epic of Latin America (4th ed.). Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-07723-2.
  • Díaz Alejandro, Carlos F. (1970). Essays on the Economic History of the Argentine Republic. New Haven, CT: Yale University Press. ISBN 978-0-300-01193-7.
  • Dougall, Angus (2013). The Greatest Racing Driver. Bloomington, IN: Balboa Press. ISBN 978-1-4525-1096-5.
  • Edwards, Todd L. (2008). Argentina: A Global Studies Handbook. Santa Barbara, CA: ABC-CLIO. ISBN 978-1-85109-986-3.
  • Epstein, Edward; Pion-Berlin, David (2006). "The Crisis of 2001 and Argentine Democracy". ใน Epstein, Edward; Pion-Berlin, David (บ.ก.). Broken Promises?: The Argentine Crisis and Argentine Democracy. Lanham, MD: Lexington Books. pp. 3–26. ISBN 978-0-7391-0928-1.
  • Fayt, Carlos S. (1985). Derecho Político (ภาษาสเปน). Vol. I (6th ed.). Buenos Aires: Depalma. ISBN 978-950-14-0276-6.
  • Fearns, Les; Fearns, Daisy (2005). Argentina. London: Evans Brothers. ISBN 978-0-237-52759-4.
  • Ferro, Carlos A. (1991). Historia de la Bandera Argentina (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Ediciones Depalma. ISBN 978-950-14-0610-8.
  • Foster, David W.; Lockhart, Melissa F.; Lockhart, Darrell B. (1998). Culture and Customs of Argentina. Westport, CT: Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0-313-30319-7.
  • Friedman, Ian C. (2007). Latino Athletes. New York: Infobase Publishing. ISBN 978-1-4381-0784-4.
  • Galasso, Norberto (2011). Historia de la Argentina, vol. I&II (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Colihue. ISBN 978-950-563-478-1.
  • Huntington, Samuel P. (2000). "Culture, Power, and Democracy". ใน Plattner, Marc; Smolar, Aleksander (บ.ก.). Globalization, Power, and Democracy. Baltimore, MD: The Johns Hopkins University Press. pp. 3–13. ISBN 978-0-8018-6568-8.
  • King, John (2000). Magical Reels: A History of Cinema in Latin America. Critical Studies in Latin American & Iberian Cultures. London: Verso. ISBN 978-1-85984-233-1.
  • Kopka, Deborah (2011). Central & South America. Dayton, OH: Lorenz Educational Press. ISBN 978-1-4291-2251-1.
  • Lake, David (2009). "Regional Hierarchies: Authority and Local International Order". ใน Fawn, Rick (บ.ก.). Globalising the Regional, Regionalising the Global. Review of International Studies. Vol. 35. Cambridge, UK: Cambridge University Press. pp. 35–58. ISBN 978-0-521-75988-5.
  • Levene, Ricardo (1948). Desde la Revolución de Mayo a la Asamblea de 1813–15. Historia del Derecho Argentino (ภาษาสเปน). Vol. IV. Buenos Aires: Editorial G. Kraf.
  • Lewis, Daniel K. (2003). The History of Argentina. Palgrave Essential Histories Series. New York: Palgrave Macmillan. ISBN 978-1-4039-6254-6.
  • Lewis, M. Paul; Simons, Gary F.; Fennig, Charles D., บ.ก. (2014). Ethnologue: Languages of the World (17th ed.). Dallas, TX: Summer Institute of Linguistics International.
  • Lewis, Paul (1990). The Crisis of Argentine Capitalism. Chapel Hill, NC: University of North Carolina Press. ISBN 978-0-8078-4356-7.
  • Maddison, Angus (1995). Monitoring the World Economy 1820–1992. Paris: OECD Publishing. ISBN 978-92-64-14549-8.
  • Maddison, Angus (2001). The World Economy: A Millennial Perspective. OECD Publishing. ISBN 978-92-64-18654-5.
  • Maldifassi, José O.; Abetti, Pier A. (1994). Defense industries in Latin American countries: Argentina, Brazil, and Chile. Praeger. ISBN 978-0-275-94729-3.
  • Margheritis, Ana (2010). Argentina's foreign policy: domestic politics and democracy promotion in the Americas. Boulder, CO: FirstForumPress. ISBN 978-1-935049-19-7.
  • McCloskey, Erin; Burford, Tim (2006). Argentina. Guilford, CT: Bradt Travel Guides. ISBN 978-1-84162-138-8.
  • McKinney, Kevin (1993). Everyday geography. New York: GuildAmerica Books. ISBN 978-1-56865-032-6.
  • Menutti, Adela; Menutti, María Mercedes (1980). Geografía Argentina y Universal (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Edil.
  • Morris, Michael (1988). Mangone, Gerard (บ.ก.). The Strait of Magellan. International Straits of the World. Vol. 11. Dordrecht: Martinus Nijhoff Publishes. ISBN 978-0-7923-0181-3.
  • Mosk, Sanford A. (1990). "Latin America and the World Economy, 1850–1914". ใน Hanke, Lewis; Rausch, Jane M. (บ.ก.). People and Issues in Latin American History. Vol. II: From Independence to the Present. New York: Markus Wiener Publishing. pp. 86–96. ISBN 978-1-55876-018-9.
  • Nauright, John; Parrish, Charles, บ.ก. (2012). Sports around the World: History, Culture, and Practice. Vol. 3. Santa Barbara, CA: ABC-CLIO. ISBN 978-1-59884-301-9.
  • Nierop, Tom (2001). "The Clash of Civilisations". ใน Dijkink, Gertjan; Knippenberg, Hans (บ.ก.). The Territorial Factor. Amsterdam: Vossiuspers UvA – Amsterdam University Press. pp. 51–76. ISBN 978-90-5629-188-4.
  • Papadopoulos, Anestis (2010). The International Dimension of EU Competition Law and Policy. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-19646-8.
  • Rey Balmaceda, Raúl (1995). Mi país, la Argentina (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Arte Gráfico Editorial Argentino. ISBN 978-84-599-3442-8.
  • Rivas, José Andrés (1989). Santiago en sus letras: antología criticotemática de las letras santiagueñas (ภาษาสเปน). Santiago del Estero, SE, Argentina: Universidad Nacional de Santiago del Estero.
  • Robben, Antonius C.G.M. (2011). Political Violence and Trauma in Argentina. Philadelphia: University of Pennsylvania Press. ISBN 978-0-8122-0331-8.
  • Rock, David (1987). Argentina, 1516–1987: From Spanish Colonization to the Falklands War. Berkeley, CA: University of California Press. ISBN 978-0-520-06178-1.
  • Rodríguez, Robert G. (2009). The Regulation of Boxing: A History and Comparative Analysis of Policies Among American States. Jefferson, NC: McFarland. ISBN 978-0-7864-5284-2.
  • Rosenblat, Ángel (1964). El nombre de la Argentina (ภาษาสเปน). Buenos Aires: EUDEBA – Editorial Universitaria de Buenos Aires.
  • Ruiz-Dana, Alejandra; Goldschag, Peter; Claro, Edmundo; Blanco, Hernán (2009). "Regional Integration, Trade and Conflicts in Latin America". ใน Khan, Shaheen Rafi (บ.ก.). Regional Trade Integration and Conflict Resolution. New York: Routledge. pp. 15–44. ISBN 978-0-415-47673-7.
  • Sánchez Viamonte, Carlos (1948). Historia Institucional Argentina (ภาษาสเปน) (2nd ed.). Mexico D. F.: Fondo de Cultura Económica.
  • Traba, Juan (1985). Origen de la palabra "¿¡Argentina!?" (ภาษาสเปน). Rosario, SF, Argentina: Escuela de Artes Gráficas del Colegio San José.
  • Vanossi, Jorge R. (1964). Situación actual del federalismo: aspectos institucionales y económicos, en particular sobre la realidad argentina. Cuadernos de ciencia política de la Asociación Argentina de Ciencia Política (ภาษาสเปน). Vol. 2. Buenos Aires: Ediciones Depalma.
  • Wood, Bernard (1988). The middle powers and the general interest. Ottawa: North–South Institute. ISBN 978-0-920494-81-3.
  • Young, Richard; Cisneros, Odile (2010). Historical Dictionary of Latin American Literature and Theater. Lanham, MD: Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-7498-5.
  • Young, Ronald (2005). "Argentina". ใน McColl, Robert W. (บ.ก.). Encyclopedia of World Geography. Vol. I. New York: Golson Books. pp. 51–53. ISBN 978-0-8160-7229-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]