อำเภอราชสาส์น
อำเภอราชสาส์น | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ratchasan |
คำขวัญ: อำเภอราชสาส์น ตำนานเมืองเก่า ใบโพธิ์สีขาว ข้าวหอมมะลิ | |
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอราชสาส์น | |
พิกัด: 13°46′56″N 101°16′54″E / 13.78222°N 101.28167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ฉะเชิงเทรา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 134.9 ตร.กม. (52.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 12,591 คน |
• ความหนาแน่น | 93.34 คน/ตร.กม. (241.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 24120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2407 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอราชสาส์น เลขที่ 87 หมู่ที่ 2 ถนนราชสาส์น-พนมสารคาม ตำบลบางคา อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา 24120 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ราชสาส์น เป็นอำเภอของจังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพนมสารคาม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอปี พ.ศ. 2520[1] และตั้งเป็นอำเภอลำดับที่ 9 ของทางจังหวัดปี พ.ศ. 2537[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอราชสาส์นมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านสร้าง (จังหวัดปราจีนบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพนมสารคาม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแปลงยาวและอำเภอบางคล้า
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางคล้า
ประวัติ
[แก้]ท้องที่เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองพนมสารคาม มณฑลปราจีนบุรี ต่อมาเมืองพนมสารคามถูกลดฐานะเป็นอำเภอ มีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ ณ บ้านเมืองใหม่ ตำบลเมืองใหม่ ในปี พ.ศ. 2480 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปที่บ้านหนองรี ริมคลองท่าลาดฝั่งซ้าย ของตำบลเมืองเก่า[3] รวมทั้งจัดการปกครองของตำบลเมืองใหม่ขึ้นใหม่ โดยโอนพื้นที่หมู่ 1,3 ไปขึ้นกับตำบลเมืองเก่าปี พ.ศ. 2481[4] และแยกพื้นที่หมู่ 1–4 ตำบลเมืองใหม่ ตั้งเป็น ตำบลบางคา[5]
ทางราชการได้เห็นว่าพื้นที่มีระยะห่างจากอำเภอต้นสังกัดมากกว่า 11 กิโลเมตร นายสุจินต์ กิตยารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และนายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแยกพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลบางคา ตำบลเมืองใหม่ ตำบลดงน้อย ของอำเภอพนมสารคาม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2520[1] โดยตั้งที่ว่าการกิ่งที่หมู่ 2 ตำบลบางคา ในที่ดินนายอั๋น มันทสูตร์ ยกให้แก่ทางราชการจำนวน 25 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา
โดยใช้ชื่อกิ่งว่า "ราชสาส์น" (ราด-ชะ-สาน) มาจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง พระรถเมรี สถานที่ที่พระฤๅษีแปลงสาส์นให้กับพระรถนี้ จึงใช้เป็นชื่อหมู่บ้านว่า "ราชสาส์น" สืบมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นชื่อที่เป็นมงคลเพราะเป็นสถานที่ที่เปลี่ยนสถานการณ์จากร้ายให้กลายเป็นดี จึงใช้เป็นชื่อกิ่งอำเภอเพื่อเป็นสิริมงคล ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ได้ยกฐานะเป็น อำเภอราชสาส์น ปี พ.ศ. 2537[2] มีระยะเวลาในการเป็นกิ่งอำเภอทั้งหมด 17 ปี 101 วัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอราชสาส์นแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 31 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางคา | (Bang Kha) | 6 หมู่บ้าน | |||
2. | เมืองใหม่ | (Mueang Mai) | 9 หมู่บ้าน | |||
3. | ดงน้อย | (Dong Noi) | 16 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอราชสาส์นประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางคา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองใหม่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงน้อยทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอราชสาส์น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (13 ง): 773. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520
- ↑ 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 420–421. วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2480
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2986–2987. วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2581
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2490