ข้ามไปเนื้อหา

กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา
ซากกำแพงเมืองในสวนมรุพงษ์
ชื่ออื่นกำแพงเมืองแปดริ้ว
ที่ตั้งตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
ประเภทระบบป้อมปราการ
ส่วนหนึ่งของสวนมรุพงษ์
ความยาว525 เมตร
ความกว้าง290 เมตร
ความสูง3 เมตร
ความเป็นมา
ผู้สร้างพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัสดุอิฐ
สร้างพ.ศ. 2380
ละทิ้งสมัยรัชกาลที่ 5
สมัยรัตนโกสินทร์
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
สภาพซากเหลือจากการรื้อถอน
ผู้บริหารจัดการเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนกำแพงเมือง
ขึ้นเมื่อ5 มกราคม พ.ศ. 2497
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา
เลขอ้างอิง0000835

กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่บนถนนมรุพงษ์ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ในพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ กล่าวว่าสร้างในปี พ.ศ. 2377 โดยมีกรมหลวงรักษ์รณเรศร์เป็นแม่กองก่อสร้าง แต่ในหนังสือเจ้าพระยาจักรี มาถึง เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยามหาโยธา ในปี 2378 กลับให้รายละเอียดว่า เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยามหาโยธา ยังไม่ได้เริ่มลงมือก่อกำแพงเมืองและป้อมเมืองฉะเชิงเทรา และในจดหมายเหตุโหร ฉบับพระยาประมูลธนรัตน์ ได้บันทึกว่า "...ปีระกา จ.ศ.1199 ...ทำ(ป้อม)เมืองฉะเชิงเทรา..." เมื่อคำนวณตามปีปัจจุบัน จ.ศ.1199 จะตรง กับ พ.ศ. 2380 ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า กำแพงเมืองและป้อมเมืองฉะเชิงเทราเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2380 เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูรุกราน[1] และในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ใช้เป็นที่ตั้งมั่นกองทัพในการปราบกบฏอั้งยี่ ซึ่งเป็นพ่อค้าฝิ่นเถื่อนชาวจีนที่มาสร้างความเดือดร้อนและวุ่นวายปล้นสะดมภ์ชาวบ้านเมืองแปดริ้วในขณะนั้น

ปัจจุบันบริเวณหน้าป้อมเมืองฉะเชิงเทรา ได้จัดเป็นสวนสาธารณะเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ สำหรับชมวิวทิวทัศน์บริเวณริมแม่น้ำบางปะกง และมีปืนใหญ่ให้ชมอยู่ตามกำแพงเมืองในปัจจุบัน และยังใช้เป็นที่จัดงานวันลอยกระทงของจังหวัด เป็นประจำทุกปีอีกด้วย โดยใช้ชื่องานว่า "ลอยกระทง ย้อนเวลาหาวิถีไทยเมืองฉะเชิงเทรา"

สถาปัตยกรรมบริเวณกำแพงเมือง

[แก้]

ตัวกำแพงตั้งเป็นแนวทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก มีความยาวโดยประมาณ 525 เมตร กว้างประมาณ 290 เมตร ตัวกำแพงหนาประมาณหนึ่งเมตรสูงสามเมตร ด้านหลังมีคูน้ำและมีปืนใหญ่ตั้งอยู่ตามกำแพงเมือง

ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติมาตั้งแต่ พ.ศ. 2497 ปัจจุบันด้านหน้าถูกปรับเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจ โดยตั้งชื่อว่า "สวนมรุพงษ์" ช่วงกลางคืนมีการเปิดไฟรอบกำแพงยามสีสันสวยงาม

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=853331754820359&set=pcb.1874195036194801&type=3&ifg=1&__tn__=HH-R&eid=ARB2C8Hu-K83ZFkYywKIL01KmgRX51DGSxEd9hbiueacYsou324DDeotRV-OIkHYCgAtPzBwGyngHxMT