อำเภอท่าตะเกียบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอท่าตะเกียบ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Tha Takiap
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน เป็นป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ได้แก่ อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา, อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว, อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง, อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี และอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
คำขวัญ: 
ตำนานเสาชิงช้า เจ้าพ่อเขากาศักดิ์สิทธิ์
ผลผลิตหลากหลาย อ่างน้ำใหญ่ป่าสมบูรณ์
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอท่าตะเกียบ
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอท่าตะเกียบ
พิกัด: 13°26′41″N 101°36′40″E / 13.44472°N 101.61111°E / 13.44472; 101.61111
ประเทศ ไทย
จังหวัดฉะเชิงเทรา
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,521.54 ตร.กม. (587.47 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด47,077 คน
 • ความหนาแน่น44.63 คน/ตร.กม. (115.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 24160
รหัสภูมิศาสตร์2410
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอท่าตะเกียบ เลขที่ 179 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ท่าตะเกียบ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอท่าตะเกียบมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ[แก้]

ท้องที่อำเภอท่าตะเกียบเดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม ต่อมาได้แยกออกมาเป็นตำบลท่าตะเกียบ ในปี พ.ศ. 2490[1] และย้ายมาขึ้นการปกครองกับอำเภอสนามชัยเขต ในปี พ.ศ. 2516[2][3] และแยกออกมาเป็นตำบลคลองตะเกรา ในปี พ.ศ. 2526[4] ในปี พ.ศ. 2532 ทางราชการได้เห็นว่าท้องที่อำเภอสนามชัยเขตกว้างขวางถึง 2,720 ตารางกิโลเมตร อีกทั้งตำบลคลองตะเกรา และตำบลท่าตะเกียบเป็นตำบลที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากตัวอำเภอ เจ้าหน้าที่มีโอกาสตรวจเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎรน้อยมาก เพราะทางคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งอาจเป็นการเสียหายในด้านการปกครอง ประกอบกับหมู่บ้านดังกล่าวมีโอกาสที่จะเจริญในอนาคต เพราะราษฎรอาศัยอยู่กันหนาแน่นมาก และมีพื้นที่ทำมาหากินได้ โดยเฉพาะมีทรัพยากรทางธรรมชาติ พอที่จะยกระดับการครองชีพของราษฎรทั้งสองตำบลดังกล่าวนี้ให้ดียิ่งขึ้น จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอสนามชัยเขตรายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ขอจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้น

จึงแบ่งพื้นที่การปกครองตำบลคลองตะเกรา และตำบลท่าตะเกียบ ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าตะเกียบ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2533 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2534[5] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอท่าตะเกียบ โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[6] กลายเป็นอำเภอลำดับที่ 10 ของจังหวัดฉะเชิงเทรา

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอท่าตะเกียบแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ท่าตะเกียบ (Tha Takiap) 22 หมู่บ้าน
2. คลองตะเกรา (Khlong Takrao) 25 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอท่าตะเกียบประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะเกียบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าตะเกียบทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตะเกรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองตะเกราทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2490
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (6 ง): 254. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04. วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2509
  3. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาพนม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแม่อาย อำเภอขามสะแกแสง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอหนองพอก อำเภอละอุ่น อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอศรีธาตุ พ.ศ. ๒๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (75 ก): (ฉบับพิเศษ) 32-36. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04. วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2516
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (131 ง): 2693–2695. วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2526
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอท่าตะเกียบ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (15 ง): 1063. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04. วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534
  6. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-10-29. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]